เจตนารมณ์การสร้างมนุษย์


หากจะถามว่ามนุษย์เกิดมามีเป้าหมายเพื่ออะไร เราอาจจะได้คำตอบที่หลากหลายแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าผู้ที่ให้คำตอบจะมีพื้นฐานทางความเชื่อ หรือพื้นฐานทางความคิดอย่างไร แต่สำหรับมุสลิมแล้วมีเป้าหมายของชีวิตที่ชัดเจน เพราะมุสลิมมีรากฐานทางความเชื่อ และรากฐานทางความคิดที่เหมือนกัน นั่นคือ มุสลิมจะเชื่อในอัลลอฮฺ และอัลลอฮได้บอกว่าเป้าหมายที่พระองค์ได้สร้างมนุษย์นั้นมี 3 ประการ ดังนี้

1. เพื่อทำอิบาดะฮฺ (เคารพภักดี)ต่อพระผู้เป็นเจ้า  ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

وَمَا خَلَقْتُ الْجِنَّ وَالْإِنسَ إِلَّا لِيَعْبُدُونِ
และข้ามิได้สร้างญิน และ มนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า [51.อัซซาริยาต.56]

     เพื่อให้มุสลิมสามารถดำรงและรักษาเป้าหมายนี้เอาไว้ได้ จึงใคร่ขอสรุปพันธกิจหรือภาระหน้าที่ของมุสลิมในการประกอบอามัลอิบาดะฮฺรายวัน ไว้พอสังเขป 15 ข้อ ดังนี้
1. อ่านอัลกุรอ่านทุกวัน และใน 1 เดือนควรจบ 1 รอบ นอกจากนั้นควรท่องจำบางอายะฮฺ
2. ละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสยิดทุกเวลา และมีจิจใจผูกพันอยู่กับมัสยิด
3. อ่านวิริดทุกครั้งหลังละหมาด
4. อิสติฆฟารวันละ 100 ครั้ง
5. อ่านซิกิรมะซูรอต เช้า – เย็น
6. ละหมาดสุนัตรอวาติบ
7. ละหมาดกียามุลลัยลฺและละหมาดวิตรฺทุกคืน
8. ละหมาดสุนัตฎูฮา
9. ถือศีลอด 2 วัน / สัปดาห์
10.รักษามารยาทอิสลามตามซุนนะฮฺในทุก ๆ อิริยาบถ เช่น กิน ดื่ม นอน ฯลฯ
11. อิอฺติกาฟ 10 คืนสุดท้ายของรอมฎอน
12. รักษาน้ำละหมาดอยู่เสมอ
13.ประกอบพิธีฮัจญ์
14. ซิยาเราะฮฺกูบูรอย่างน้อยเดือนละครั้ง
15.มุฮาซาบะฮฺ (ตรวจสอบตนเอง) ก่อนนอนทุกคืน


2. เพื่อทรงทดสอบว่าผู้ใดมีอามัล (การงานที่ดี) ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

الَّذِي خَلَقَ الْمَوْتَ وَالْحَيَاةَ لِيَبْلُوَكُمْ أَيُّكُمْ أَحْسَنُ عَمَلا وَهُوَ الْعَزِيزُ الْغَفُورً
พระผู้ทรงให้มีความตายและให้มีความเป็น เพื่อจะทดสอบพวกเจ้าว่า ผู้ใดบ้างในหมู่พวกเจ้าที่มีผลงานดียิ่ง และพระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงให้อภัยเสมอ [67.อัลมุลกฺ . 2]

เพื่อให้มุสลิมสามารถดำรงและรักษาเป้าหมายนี้เอาไว้ได้ จึงใคร่ขอสรุปพันธกิจหรือภาระหน้าที่ของมุสลิมในการประกอบอามัล ไว้พอสังเขป ดังนี้
1.      พันธกิจหรืออามัลในด้านจิตใจ (القلب)
         1.1 มีจิตใจอิคลาศ หวังความโปรดปรานจากอัลลอฮฺในทุกกิจการงาน
         1.2.มีเจตนารมณ์ที่จะปฏิบัติตามทุก ๆ คำสอนของอิสลามตามอัลกุรอ่านและซุนนะฮฺของนบี
         1.3 มีเจตนาที่จะทำดีต่อมุมิน มนุษย์ทั่วไป และไม่มีเจตนาร้ายต่อผู้ใด
         1.4 มีเจตนาที่จะญิฮาด และไฝ่ฝันชะฮีดเสมอ ๆ
         1.5 คิดที่จะทำงานอิสลามในทุก ๆ วันหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
         1.6 มีทัศนคติที่ดี และรักใคร่ต่อพี่น้องผู้ศรัทธา
         1.7 ให้อภัยในความผิดพลาดของพี่น้องร่วมศรัทา
         1.8 มีลักษณะถ่อมตนเสมอ ไม่หยิ่งยะโส ไม่โอ้อวด
         1.9 ตักวาและยำเกรงต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ผูกพันธ์กับพระองค์ และรำลึกถึงอาคีเราะฮฺ

2.     พันธกิจหรืออามัลด้านสติปัญญา (العقل)
          2.1 เพิ่มพูนความรู้อยู่เสมอ ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น อ่านหนังสือ ร่วมในมัจลิสอิลมีย์
          2.2 ติดตามข่าวสาร เหตุการณ์ของโลกเสมอ ๆ ผ่านวารสาร หนังสือพิมพ์ วิทยุ ทีวี และสื่อต่าง ๆ
          2.3     พบปะแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เชี่ยวชาญเสมอ ๆ
          2.4     จัดมัจลิสวิชาการในหมู่พี่น้องตามความเหมาะสม
          2.5     ฝึกฝนตนเองในด้านการเขียน แต่ง และแปลหนังสือ
          2.6     จัดให้มีห้องสมุดส่วนตัวที่บ้านเท่าที่มีความสามารถ
          2.7     ปรับปรุงการอ่านอัลกุรอ่าน
          2.8     ฝึกฝนความชำนาญเฉพาะด้าน

3.     พันธกิจหรืออามัลในด้านสุขภาพร่างกาย (جسمانى)
        3.1     ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อย 15 นาที/วัน
        3.2      ศึกษาและติดตามข่าวสารสุขภาพ
        3.3     มีตู้ยาประจำบ้าน
        3.4     รักษาสุขภาพให้ดีที่สุด และพบแพทย์ทันทีเมื่อมีปัญหาภาพ
        3.5     รักษาความสะอาดของร่างกาย อาหาร พาหนะ ที่ทำงาน ฯลฯ
        3.6     หลีกห่างจากการดื่ม - กินอาหารที่หะรอมและไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
        3.7     ฝึกฝนว่ายน้ำ ปีนเขา และขับขี่พาหนะ
        3.8     หลีกห่างจากอาหารชุบฮาต
        3.9      พักผ่อนให้เพียงพอ

4.     พันธกิจหรืออามัลในด้านสังคม (إجتماعى)
        4.1     ให้เกียรติคนชราและเด็ก
        4.2     ฟื้นฟูการสลามและการสัมผัสมือกับบุคคลที่รู้จักและไม่รู้จัก
        4.3     เยี่ยมเยียนพี่น้องมุสลิมในหนทางของอัลลอฮฺ
        4.4     เยี่ยมเยียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวอย่างน้อยเดือนละครั้ง
        4.5     เยี่ยมเยียนอุลามาอฺ (ผู้รู้) อย่างน้อยเดือนละครั้ง
        4.6     เยี่ยมเยียนผู้นำในสังคม / ชุมชน
        4.7     เยี่ยมเยียนคนป่วยเสมอ
        4.8     ทำดีต่อเพื่อนบ้าน แขก คนยากจน คนอนาถา ฯลฯ
        4.9     คิดมัตแก่มัสยิดและสังคมส่วนรวมตามการกำหนดของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
        4.10 ยายามฟื้นฟูวิถีชีวิตแบบอิสลามและทำลายวิถีชีวิตแบบญาฮีลียะฮฺ
        4.11 ห่างไกลจากการคบคนชั่วเป็นมิตร
        4.12 ไม่มีความรู้สึกหยิ่งผยองลำพองตนและดูแลบุคคลอื่น
        4.13. รู้จักสมาชิกที่อยู่พร้อมกับเราทุก ๆ คนอย่างลึกซึ้ง
        4.14 หลีกห่างจากสถานที่มะอฺซียัตและสถานอบายมุขต่าง ๆ

5.     พันธกิจอามัลในด้านครอบครัว(اسرة)
        5.1     ทำดีและเชื่อฟังพ่อ - แม่
        5.2     มีความผูกพันอันดีระหว่างบุคคลในครอบครัว
        5.3     มีความอ่อนโยนในการอยู่ร่วมกัน ไม่มีการติฉินนินทา ด่าทอ ดูถูกเหยียดหยามซึ่งกันและกัน
        5.4      มีการศึกษาอิสลามร่วมกัน ปรึกษาหารือและมีหะละเกาะฮฺ (กลุ่มศึกษาอิสลาม) ในครอบครัว
        5.5     ให้ปัจจัยยังชีพแก่ครอบครัว
        5.6     มีม่านในบ้านเพื่อปิดกั้น แบ่งแยกระหว่างชาย - หญิง
        5.7     อบรมลูก ๆ และภรรยาด้วยมารยาทอิสลาม
        5.8     แยกที่นอนระหว่างลูกชาย หญิง เมื่อเธอมีอายุ 10 ขวบ
        5.9     ไม่มีรูปภาพที่ต้องห้ามตามหลักชาเราะอฺอยู่ภายในบ้าน
        5.10 จัดบ้านให้เรียบร้อย สะอาด เหมาะกับบ้านมุสลิม
        5.11 สวมฮิญาบ ญิลบาบ ในหมู่สตรีในครอบครัว

6. พันธกิจหรืออามัลในด้านเศรษฐกิจ(إقتصادى)
        6.1     ประกอบอาชีพอิสระเพื่อหาปัจจัยยังชีพ
        6.2      ห่างไกลจากกิจการงานที่หะรอม
        6.3     อย่าโลภในทรัพย์จนต้องกระทำในสิ่งที่หะรอม
        6.4     ไม่เอาทรัพย์สินของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
        6.5     อย่าลุ่มหลงในตำแหน่งการงานจนเป็นอุปสรรคต่อการทำงานอิสลาม
        6.6     ออมทรัพย์ไว้จำนวนหนึ่งเพื่อเวลาที่วิกฤตเร่งด่วน
        6.7      ใช้จ่ายทรัพย์สินเงินทองอย่างพอดี ไม่ฟุ้มเฟือย
        6.8     พร้อมที่จะจ่ายทรัยพ์สินในหนทางของอัลลอฮฺเสมอ
        6.9     จ่ายซะกาตประจำทุกปี
        6.10 หลีกเลี่ยงความสุรุ่ยสุร่าย
        6.11 พยายามในการจัดตั้งองค์กรทางเศรษฐกิจ / รวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

3. เพื่อเป็นคอลีฟะฮฺ (ตัวแทน) ของพระเจ้า บนหน้าแผ่นดิน ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

وَإِذْ قَالَ رَبُّكَ لِلْمَلاَئِكَةِ إِنِّي جَاعِلٌ فِي الأَرْضِ خَلِيفَةً قَالُواْ أَتَجْعَلُ فِيهَا مَن يُفْسِدُ فِيهَا وَيَسْفِكُ الدِّمَاء وَنَحْنُ نُسَبِّحُ بِحَمْدِكَ وَنُقَدِّسُ لَكَ قَالَ إِنِّي أَعْلَمُ مَا لاَ تَعْلَمُونَ

จงรำลึกถึงเวลา ที่พระผู้อภิบาลของเจ้า ได้กล่าวกับมลาอิกะฮ์ว่า ฉันจะแต่งตั้งตัวแทนคนหนึ่ง ขึ้นบนหน้าแผ่นดิน บรรดามลาอิกะฮ์ทูลว่า พระองค์จะทรงตั้งผู้ที่จะก่อการเสียหาย และหลั่งเลือดกันในแผ่นดินกระนั้นหรือ ทั้ง ๆ ที่เรากล่าวสดุดี ด้วยการแซ่ซ้องสรรเสริญพระองค์ (และปฏิบัติ ตามคำบัญชาของพระองค์) และเทิดทูนความบริสุทธิ์ของพระองค์ พระองค์ได้ทรงตอบว่า แท้จริงฉันรู้ในสิ่งที่สูเจ้าไม่รู้ [2. อัลบะเกาะเราะฮฺ . 30] 
    
 เพื่อให้เราบรรลุสู่เป้าหมายนี้ ขอให้เราได้เริ่มต้นในการ
      1. ปฏิรูปตนเองสู่มุสลิมที่ดี
      2. ปฏิรูปครบครัวสู่ครอบครัวอิสลาม
      3. ปฏิรูปสังคมสู่สังคมอิสลาม

          หากท่านได้สถาปนาอิสลามในใจคุณ ด้วยการปฏิบัติพันธกิจหรืออามัลอิสลามมีย์ดังที่ได้กล่าวข้างต้นอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ อินชาอัลลอฮระบบคอลีฟะฮฺได้ถูกสถาปนาในใจคุณ ครอบครัวคุณ และสังคมของคุณ และในที่สุดท่านได้เป็นตัวแทนของอัลลอฮฺ(คอลีฟะฮฺ)บนหน้าแผ่นดินนี้ตามที่อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

وَإِذْ قَالَ رَبُّكَ لِلْمَلاَئِكَةِ إِنِّي جَاعِلٌ فِي الأَرْضِ خَلِيفَةً

จงรำลึกถึงเวลา ที่พระผู้อภิบาลของเจ้า ได้กล่าวกับมลาอิกะฮ์ว่า ฉันจะแต่งตั้งตัวแทนคนหนึ่ง ขึ้นบนหน้าแผ่นดิน

หมายเลขบันทึก: 115373เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2007 21:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท