การรุกคืบของจตุคาม รามเทพ สะท้อน ความล้มเหลวในการจัดการศึกษาของปอเนาะ


จากอัลกุรอ่านข้างต้นแสดงให้เห็นว่าอัลลอฮฺประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมภาคี (ชิริก) อันเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยความชั่วช้าสู่สังคมที่สะอาดบริสุทธิ์หรือสังคมที่ให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺเท่านั้น โดยการจัดการศึกษาที่มีเตาฮีดเป็นรากฐานเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลง

               อิสลามถูกกำเนิดมาท่ามกลางสังคมที่เต็มไปด้วยการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ (ชิริก) มีชิริกหลากหลายรูปแบบ เช่น วัตถุบูชา อันได้แก่ เทวรูปจำนวนมากมายที่อยู่ในบัยตุลลอฮฺ วัตถุสิ่งของอื่น ๆ อุดมการณ์ แนวคิด ต่าง ๆ เช่นการให้อำนาจต่อชนชั้นปกครอง เหนือกว่าอำนาจของพระเจ้า ฯลฯ ในขณะที่รากเหง้าของอิสลาม คือ لاإله الا الله محمد رسول الله (การศรัทธาว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุหัมหมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ)
              ดังนั้นการให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺจึงเป็นสุดยอดแห่งความดีและความถูกต้อง ด้วยเหตุนี้การชิริกจึงกลายสุดยอดแห่งความชั่วช้า หรือ ปฐมเหตุของความชั่ว นั่นเอง ภารกิจแรกของท่านศาสดาจึงอยู่ที่การขัดเกลาสังคมให้สะอาดบริสุทธิ์ปราศจากการตั้งภาคีทั้งปวง ด้วยเหตุนี้อัลกุรอ่านโองการแรกที่ควรจะถูกประทานลงมาน่าจะเกี่ยวกับความศรัทธาหรือการให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺ แต่กลับกลายมาเป็นโองการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ดังนี้

اقْرَأْ بِاسْمِ رَبِّكَ الَّذِي خَلَق خَلَقَ الْإِنسَانَ مِنْ عَلَقٍ
اقْرَأْ وَرَبُّكَ الْأَكْرَمُ الَّذِي عَلَّمَ بِالْقَلَمِ
عَلَّمَ الْإِنسَانَ مَا لَمْ يَعْلَمْ

1] จงอ่าน ด้วยพระนามแห่งพระเจ้าของเจ้าผู้ทรงบังเกิด 2] ทรงบังเกิดมนุษย์จากก้อนเลือด
3] จงอ่านเถิด และพระเจ้าของเจ้านั้นผู้ทรงใจบุญยิ่ง 4] ผู้ทรงสอนการใช้ปากกา
5] ผู้ทรงสอนมนุษย์ในสิ่งที่เขาไม่รู้
(อัลอะลัก : 1-5)

              จากอัลกุรอ่านข้างต้นแสดงให้เห็นว่าอัลลอฮฺประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมภาคี (ชิริก) อันเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยความชั่วช้าสู่สังคมที่สะอาดบริสุทธิ์หรือสังคมที่ให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺเท่านั้น โดยการจัดการศึกษาที่มีเตาฮีดเป็นรากฐานเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลง ท่านนบีได้ใช้เวลา 23 ปีในการจัดการศึกษาเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมดังกล่าว จนกลายเป็นสังคมที่สะอาดบริสุทธิ์ปราศจากการตั้งภาคีทั้งปวง นอกจากนั้นท่านนบียังได้ส่งออกหรือเผยแพร่การศึกษาที่มีเตาฮีดออกไปทั่วโลก จนกระทั่งอิสลามอันพิสุทธิ์มาถึงเราในทุกวันนี้
             จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ที่มีศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาเป็นรากฐานของสังคม อิสลามเข้ามาสู่จังหวัดนครศรธรรมราชครั้งสำคัญโดยผ่านเชลยศึกจากเมืองไทรบุรี เชลยศึกเหล่านั้นมีทั้งปราชญ์ นักปกครอง ช่างฝีมือ และชาวบ้านทั่ว ๆ ไป ปราชญ์ที่มีชื่อเสียงในยุคต้น ๆ ได้แก่ โต๊ะฮาริษ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า โต๊ะการาหมาด บ้านหัวทะเล ต่อมา ลูกหลานของเชลยศึกเหล่านี้ได้รับการศึกษาที่สูงขึ้นได้นำเอาอิสลามเข้ามาวางรากฐานในสังคมมุสลิมจังหวัดนครศรีธรรมราช จนกระทั่งลูกหลานของเชลยศึกเหล่านี้ได้กลายเป็นปราชญ์ ปูชนียบุคคลที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช และเอเชียอาคเนย์ บุคคลเหล่านนั้น ได้แก่ อัลมัรฮูมฮัจญียะกู๊บ สุมาลี (ยะกู๊บแก่) , อัลมัรฮูมฮัจญียะกู๊บ พิศสุวรรณ (ยะกู๊บหนุ่ม) ฯลฯ บุคคลเหล่านี้ได้ทุ่มเททั้งชีวิตในการสอนอิสลามโดยใช้ปอเนาะเป็นฐาน ท่านเหล่านั้นได้ทำลายชิริก คูรอฟาต ในรูปแบบต่าง ๆ จนกระสังคมมุสลิมในจังหวัดนครศรีธรรมราชถูกวางรากฐานโดยใช้อิสลามเป็นรากฐานของสังคม เราจะเห็นได้ว่าเมื่อใดที่สังคมเกิดการพิพาทก็จะนำเอาอิสลามมาเป็นบรรทัดฐานในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทนั้น สังคมจะให้ความสำคัญกับปราชญ์ ผู้รู้ ที่ยึดมั่นในศาสนามากกว่าวัตถุปัจจัย ดังกล่าวนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในจัดการศึกษาเพื่อให้อิสลามเป็นรากฐานของสังคมของปูชนียบุคคลเหล่านั้น และเป็นที่น่าสังเกตก็คือ ความสำเร็จดังกล่าวเป็นความสำเร็จในการปักธงชัยแห่งอิสลามท่ามกลางสภาพแวดล้อมของสังคมมุชริกที่มีศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาเป็นรากฐานของสังคม

             ระยะเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วปอเนาะถูกแปรสภาพมาเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ซึ่งถูกรุกรานจากแนวคิดวัตถุนิยมโดยใช้วัตถุปัจจัยเป็นรากฐานที่สำคัญในการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาของปอเนาะในปัจจุบันได้ละเลยเป้าหมายในการจัดการศึกษาที่สำคัญของท่านรอซูล (ศ็อลฯ) ผู้บริหารมักจะให้ความสำคัญกับงบประมาณรายหัวของนักเรียนมากกว่าคุณภาพของการศึกษา คณะครูทั้งภาคศาสนาและสามัญให้ความสำคัญกับเงินเดือนมากกว่าการเจริญงอกงามของอีหม่าน สติปัญญา ร่างกายอารมณ์และสังคมของเยาวชนมุสลิม ความบริสุทธิ์ใจ (อิคลาศ) ที่เจริญงอกงามมาจากอีหม่านของปัจเจคบุคคลได้เหือดแห้งไปจากสังคมนี้ สังคมนี้จึงเป็นสังคมที่มักจะไม่ค่อยปรากฏการทุ่มเท เสียสละเพื่อความเจริญงอกงามของเยาวชนมุสลิม และไม่มีการทุ่มเทที่จะวางรากฐานเพื่อที่จะทำให้อิสลามเป็นรากฐานที่มั่นคงของสังคมมากนัก

              ปรากฏการความเลื่อมใสศรัทธาของจาตุคามรามเทพไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในแวดวงของคนกาฟิรเท่านั้น แต่มันได้หลั่งไหลเข้ามาสู่สังคมมุสลิม เพียงเพราะคำพูดง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า “จาตุคามรามเทพไม่ใช่พระ แต่เป็นเทพ มุสลิมสามารถใช้ได้ และซื้อขายได้” ด้วยคำพูดเพียงเท่านี้ทำให้มุสลิมเราจำนวนหนึ่งได้หลงกลและตกเป็นทาสของชัยฏอนไปเสียแล้ว รากแก้วแห่งอิสลามในสังคมมุสลิมของเรากำลังเริ่มเน่า และถูกคุกคามอย่างหนัก หลังจากที่รากฝอย รากแขนงของเราถูกทำลายมานานวันแล้ว

                วันนี้ธงชัยแห่งอิสลาม ธงแห่ง لاإله الا الله محمد رسول الله ที่เคยปลิวไสวอยู่ท่ามกลางสังคมมุชริกอย่างตระหง่าน ได้ถูกชัยฏอนมารร้ายใช้กลยุทธ โดยใช้จาตุคามรามเทพ รุกคืบเข้ามาถอดถอนธงชัยที่บรรพบุรุษของเราได้ปักไว้ทีละธง สองธง ...

               ถึงเวลาหรือยังที่ชาวปอเนาะที่เคยเป็นฐานที่มั่น และยุทธภูมิที่เข้มแข็งในอดีตจะลุกขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับการรุกคืบของชัยฏอนมารร้าย      โดยการหันกลับมาทบทวนถึงเป้าหมายในการจัดการศึกษาของท่านรอซูล (ศ็อลฯ) โดยการขัดเกลาให้สังคมปราศจากชีริกหรือการตั้งภาคี และสถาปนาอิสลาม โดยการปลูกฝังรากฐาน لاإله الا الله محمد رسول الله ลงไปสู่จิตใจของเยาวชนมุสลิม พวกเขาเหล่านั้น คือ เรือกสวน ไร่นา อิสลาม คือ เมล็ดพันธุ์ ปอเนาะ (ผู้บริหาร ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาของปอเนาะ) คือ เกษตรกร
              เกษตรกรจะสามารถปลูกเมล็ดพันธุ์แห่งอิสลามลงไปในเรือกสวนไร่นา ดูแล รดน้ำ พรวนดิน เพื่อฟูมฟักให้เมล็ดพันธุ์เหล่านี้เจริญงอกงาม ผลิดอก ออกผล ให้มวลมุสลิมได้เชยชม ให้สังคมได้บริโภคอย่างอิ่มหนำสำราญอีกครั้ง

 

 

หมายเลขบันทึก: 115370เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2007 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
สถานการณ์เป็นแบบนี้เอง.
บังน่าจะปรับ font ให้ใช้ Tahoma นะครับ ตัวมันเล็ก อ่านไม่ค่อยออก (ผมใช้ firefox ครับ)

อัสลามูอะลัยกุม

     เปลี่ยน font ให้แล้วครับน้องซอบรี  ยินดีมากครับที่ได้กลับมาพบกันในgotonkow แล้วคงได้แลกเปลี่ยนกันนะครับ 

  • ตอนนี้กำลังเรียนวิชาการศึกษาอิสระอยู่ค่ะ
  • มีเพื่อนกลุ่มนึงทำการศึกษาเรื่องทหารพรานหญิง(รวมถึงที่เป็นมุสลิมะฮฺด้วย)ซึ่งวันก่อนเพื่อนได้รายงานผลการศึกษาเบื้องต้นถึง  ความคิด และทัศนคติของทหารพรานหญิงที่เป็นมุสลีมะห์เหล่านั้นต่อการคลุมฮิญาบ
  • คำตอบที่ได้มามันน่าสลดใจมาก  เพราะมันสื่อถึงความคิดและทัศนคติที่ล้มเหลวของมุสลิม(ส่วนหนึ่ง)ปัจจับุน ทั้งๆที่พวกเขาเหล่านั้นก็ล้วนมีการศึกษาทั้งสิ้น
  • เนื่ยงด้วยเพราะ พวกเขาเหล่านั้นมองว่า การสวมฮิญาบก่อให้เกิดความยุ่งยากลำบาก เช่น ทำให้รู้สึกร้อน  ไม่สะดวก  มองเห็นไม่ชัด
  • จึงต้องการสวมแค่ในระหว่างลงปฎิบัติการในพื้นที่ หรือในชุมชนเท่านั้น  เพียงเพื่อจะได้ไม่สร้างความโกรธเคือง  และไม่พอใจจนเกิดการต่อต้านจากชาวบ้านเท่านั้น
  • นี่เป็นความคิดที่กลั่นกรองมาจากมันสมองของคนที่เป็นทหานพรานมุสลีมะปัจจุบัน จริงๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท