มองการศึกษาผ่านอิสลามานุวัฒน์


หากเราย้อนมองไปในอดีต ในสมัยที่ท่านรอซูล (ศ็อลฯ) จัดการศึกษาท่านได้สอนบรรดาศอฮาบะฮฺให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้แบบหน้ามือเป็นหลังมือ เช่น ทาสผิวดำ อย่างบิลาล บิน รอบาฮฺ ท่านสามารถเปลี่ยนจากทาสผิวดำไปสู่วีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ของโลก

1. รากฐานของชีวิต
                     การดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน ทุกเผ่าพันธุ์ล้วนแล้วแต่มีรากฐานของการดำรงชีวิตทั้งสิ้น และรากของของแต่ละชีวิต แต่ละเผ่าพันธุ์จะเป็นปัจจัยที่กำหนดวิธีคิดของเขา และพฤติกรรมของพวกเขาเหล่านั้น ดังนั้นมนุษย์คนใดเขาจะมีพฤติกรรมอย่างไร ดำรงชีวิตอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กำว่าเขามีวิธีคิดเช่นใด และวิธีคิดของเขาก็ถูกกำหนดโดยรากฐานของชีวิต หากเรามองสังคมทุกระดับในสังคมปัจจุบันนี้เราจะเห็นว่ารากฐานการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันมาจาก 2 รากฐานใหญ่ ๆ คือ

                  1. รากเหง้าแห่งความเป็นวัตถุนิยม ซึ่งเป็นรากฐานของวัฒนธรรมตะวันตก
                  2.  รากเหง้าจากลาอีลาฮาอิลลัลลฮฺ มุหัมมะดุรรอซูลลุลลอฮฺ หรือรากเหง้าจากแก่นแท้ของอิสลาม
                 ใครที่มีรากฐานของชีวิตที่เกิดมาจากความเป็นวัตถุนิยม วิธีคิดของเขาก็จะถูกครอบงำด้วยความเป็นวัตถุนิยม พฤติกรรมของเขาก็จะแสวงหาวัตถุมาตอบสนองอารมณ์ของตน แสวงหาเกียรติยศ ชื่อเสียง หน้าตา ทรัพย์สิน เงินทอง วิธีคิดของเขาจะถูกยึดติดโดยดุนยา เมื่อเขามองหรือพิจารณาอะไรเขาก็จะสวมใส่แว่นตาแห่งวัตถุนิยมในการมอง และเป็นแว่นตาที่ไม่สามารถทะลุมิติแห่งดุนยาไปได้ ดังนั้นเขาจึงมีวิสัยทัศน์ที่สั้นนัก เพราะวิสัยทัศน์ของเขาเป็นวิสัยทัศน์ที่ถูกครอบงำโดยดุนยา ในทางตรงกันข้าม หากชีวิตของคน ๆ หนึ่งที่เติบโตมาจากรากเหง้าลาอีลาฮาอิลลัลลฮฺ มุหัมมะดุรรอซูลลุลลอฮฺ หรือรากเหง้าจากแก่นแท้ของอิสลาม วิถีชีวิตของเขาจะถูกชี้นำโดยฮิดายะฮฺจากพระองค์ พฤติกรรมของเขาจะอยู่ในกรอบของชารีอัตที่ได้รับการรับรองจากพระเจ้า หากเขาจะมองหรือพิจารณาสิ่งใดเขามองด้วยแว่นตาแห่งอิสลาม ซึ่งเป็นแว่นตาที่สามารถมองผ่านทะลุมิติสูมิติแห่งอาคีเราะฮฺ หรือเขามองได้ยาวไกลกว่า มองสู่โลกอีกมิติหนึ่ง คือ โลกอาคีราะฮฺ ดังนั้นเขาจึงมีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลสู่อาคีเราะฮฺ (VISION AKIRAH) เพราะเป้าหมายชีวิตของเขามิใช่เพื่อดุนยานี้เท่านั้น แต่เขามีเป้าหมายชีวิตที่ยาวไกลกว่า และล้ำลึกกว่านั่น คือ
              1. เพืออิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ
              2. เพื่อสถาปนาระบบคอลีฟะฮฺบนหน้าแผ่นดิน


2. รากฐานทางการศึกษา
                       เมื่อเรามองการศึกษาในปัจจุบัน เราจะเห็นว่าการศึกษาไม่สามารถที่จะพัฒนาคนให้เจริญงอกงามได้ หากเจริญงอกงามได้ก็เป็นความเจริญงอกงามที่ขาดความสมดุลของจิตวิญญาณ สติปัญญา ร่างกาย อารมณ์และสังคม มองดูแล้วเป็นคนที่บิดเบี้ยว ผิดรูป ผิดทรง ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่เรามักจะเห็นว่าปัญหาสังคมในปัจจุบันเกิดมาจากปัญญาชนที่ได้รับการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาชั้นสูง ที่มีชื่อเสียงของแต่ละประเทศ เพราะการจัดการศึกษาของแต่ละประเทศล้วนแล้วแต่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกทั้งสิ้น โดยเฉพาะประเทศไทยได้รับการวางรากฐานการศึกษาตั้งแต่สมัย ร.5 โดยชาติตะวันตก ระบบสหศึกษา หลักสูตร การบริหารและจัดการศึกษาล้วนแล้วแต่ถูกปลูกฝังรากเหง้าของความเป็นวัตถุนิยมมาช้านาน ปัจจุบันคือยุคที่วัตถุกำลังเจริญงอกงามในทุกอณูของสังคมไทย ไม่เว้นแม้กระทั้งโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม หรือที่เราเรียกว่า ปอเนาะ เราจะเห็นว่าปอเนาะซึ่งเคยเป็นสถาบันที่เป็นความหวังในการผลิตคนในอดีตไม่สามารถที่จะดำรงอัตลักษณ์ของตนเองไว้ได้ เพราะรากเหง้าของปอเนาะถูกเปลี่ยนจาก ลาอีลาฮาอิลลัลลฮฺ มุหัมมะดุรรอซูลลุลลอฮฺ มาเป็นรากของ วัตถุนิยม ไปเสียแล้ว
                หากเราย้อนมองไปในอดีต ในสมัยที่ท่านรอซูล (ศ็อลฯ) จัดการศึกษาท่านได้สอนบรรดาศอฮาบะฮฺให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้แบบหน้ามือเป็นหลังมือ เช่น ทาสผิวดำ อย่างบิลาล บิน รอบาฮฺ ท่านสามารถเปลี่ยนจากทาสผิวดำไปสู่วีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ของโลก ท่านอุมัร บินคอฏฏอบ ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ ผู้ที่มีส่วนในการเปลียนแปลงโดยการปลดปล่อยผู้คนเกือบครึ่งค่อนโลกจากความเป็นทาสของวัตถุหรือดุนยา สู่ การศิโรราบต่อเอกองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) แต่เพียงผู้เดียว คอลิด บิน วาลีด , ซัลมาน อัลฟารีซีย์ ผู้แสวงหาจากเปอเซีย , ซุเฮบ อัรรูมีย์ ฯลฯ บุคคลเหล่านี้ คือ ผลิตผลทางการศึกษาของท่านรอซูล (ศ็อลฯ) ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาที่ปราศจากอิทธิพลของความเป็นวัตถุนิยม หลักสูตรของท่าน คือ อัลกุรอ่านและจริยวัตรของท่าน อาคารเรียนของท่านอยู่ใต้ร่มไม้ สื่อการสอนของท่าน คือ สิ่งที่อยู่รอบตัวของท่าน การวัดผลของท่านวัดจากอีหม่านเพิ่มขึ้นหรือไม่ เปลี่ยนพฤติกรรมจากญาฮีลียะฮฺสู่อิสลามหรือไม่ และผลิตผลทางการศึกษาของท่านรอซูล (ศ็อล ฯ) ต่างก็ได้สร้างสรรค์โลกให้เจริญงอกงามภายใต้การศิโรราบต่อ ลาอีลาฮาอิลลัลลฮฺ มุหัมมะดุรรอซูลลุลลอฮฺ ซึ่งต่างจากผลิตผลทางการศึกษาที่เติบโตจากรากเหง้าของ วัตถุนิยม ที่ลงทุนไปอย่างมหาศาลแต่ผลที่ได้รับไม่คุ้มกับต้นทุน ผลิตผลที่ถูกผลิตให้มาทำลายโลก และ สังคม ฯลฯ

3. เป้าหมายทางการศึกษา
               1. การศึกษาเพื่ออัลลอฮฺ มิใช่เพื่อความก้าวหน้าทางดุนยา
            2. การศึกษาเพื่อพัฒนาคน ให้เป็นคนดี หรือคนซอและห์ โดยที่คนที่ถูกพัฒนาต้องเกิดการเจริญงอกงามทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
                     - จิตวิญญาณ
                     - สติปัญญา
                     - ร่างกาย
                     - อารมณ์และสังคม
               และทั้ง 4 ด้านนี้ควรได้รับการพัฒนาที่สมดุล โดยเฉพาะการเน้นหนักที่จิตวิญญาณ ต้องเปี่ยมล้นไปด้วยอะกีดะฮฺ อิสลามียะฮฺที่ถูกต้อง

              สำหรับ ดร.ยูซุฟ อัลก็อรฎอวีย์ ได้เสนอ อินซาน ศอลิหฺ ซึ่งประกอบด้วย 7 ประการ ดังนี้
1)อินซาน อีมาน วะ อะกีดะฮฺ – คนที่มีความศรัทธาและหลักยึดมั่นที่ถูกต้องมั่นคง
2)อินซาน อักลฺ วะ อิลมฺ – คนที่ใช้ปัญญาและแสวงหาความรู้
3)อินซาน นุซุก วะ อิบาดะฮฺ – คนที่มีการเคารพบูชาอัลลอฮฺตามแบบที่ท่านนบีฯได้สอนไว้
4)อินซาน คุลุก วะ ฟะฎีละฮฺ – คนที่มีบุคลิภาพและจริธรรมตามคำสอนอิสลาม
5)อินซาน ชะรีอะฮฺ วะ มันฮัจญฺ – คนที่ยึดเอาวิถีชีวิตที่อัลลอฮฺประทานให้มาเป็นมาตราฐาน
6)อินซาน อิมาเราะฮฺ วะ อินตาจญฺ – คนที่สร้างสรรค์ผลงานต่างๆตามความสามารถที่ตนมี
7)อินซาน ดะอฺวะฮฺ วะ ญิฮาด – คนที่อุทิศตนในการทำงานและต่อสู้เพื่ออิสลาม 
                                                                          
                      (คัดลอกจาก อินซาน ศอลิหฺ www.fityah.com)


4. ประเภทของการศึกษา
การศึกษาแบบตะวันตกได้จำแนกประเภทของการศึกษาโดยจำแนกเป็นสาขาต่าง ๆ ได้แก่
             -  กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
             -  กลุ่มสังคมศาสตร์ / ศิลปะศาสตร์
อิสลามได้จำแนกประเภทของการศึกษาตามความจำเป็นของมุสลิม ดังนี้
             - วิชาที่จำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคน เรียกว่า ฟัรฎูอัยนฺ (فرض عين) ได้แก่ วิชาเตาหีด วิชาฟิกฮฺ วิชาตะเซาวุฟ
             - วิชาที่จำเป็นสำหรับสังคม ในสังคมหนึ่งจำเป็นต้องมีมุสลิมอย่างน้อง 1 ศึกษาในสาขานั้น ๆ (فرض كفاية) เช่น วิชาในกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชาในกลุ่มสังคมศาสตร์ / ศิลปะศาสตร์ วิชาในกลุ่มภาษาศาสตร์ / อักษรศาสตร์
             - วิชาที่ต้องห้ามในการศึกษา (حرام) ได้แก่ วิชาไสยศาสตร์


5. ปัญหาและทางออกของการศึกษา
               การจัดการศึกษาอิสลามในประเทศไทยมีปัญหามากมาย แต่ปัญหาหนึ่งที่ผู้เขียนเห็นว่าน่าจะเป็นรากเหง้าของปัญหานั่นคือการมองปัญหาด้วยสายตาของตะวันตก หรือมองด้วยแนวคิดเซคคิวลาร์ริสซึม (secularism (علمانية/ซึ่งเป็นการมองปัญหาแบบแยกส่วนระหว่างวิชาศาสนากับสามัญแยกออกจากกัน เมื่อเรามองปัญหาผิดพลาดย่อมนำพาไปสู่การแก้ปัญหาที่ผิดพลาด ทำให้ผลผลิตของการจัดการศึกษาออกมาแบบผิดพลาด แต่ในการดำรงชีวิตวิชาการศาสนากับวิชาการสามัญไม่สามารถแยกออกจากกันได้เลย ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมองปัญหาการศึกษาแบบองค์รวม ซึ่งมีแนวคิดหนึ่งที่น่าสนใจและเป็นแนวคิดที่ถูกนำไปใช้ในการจัดการศึกษาอิสลามในหลายประเทศ นั่นคือ แนวคิด อิสลามานุวัตน์ ดร.อิสมาแอล อัลฟารูกี ชาวปาเลสไตน์ จากสถาบันนานาชาติเกี่ยวกับแนวคิดอิสลาม หรือ Internatioanal Institute Islamic though (IIIT) ได้นิยามอิสลามานุวัตรองค์ความรู้(Islamization of knowledge) ว่า การทำให้องค์ความรู้สมัยใหม่ให้เป็นแบบฉบับอิสลาม ในขณะที่ ซัยยิด นากิบ อัล อัตลาส จากสถาบันนานาชาติแห่งความคิดและอารยธรรมอิสลาม หรือ Internatioanal Institute of Islamic though and civilization (ISTAC) ได้ให้คำนิยามว่าการทำให้องค์ความรู้ร่วมสมัยเป็นแบบฉบับอิสลาม
                  ดังนั้นเราลองมองการศึกษาโดยใช้แนวคิดอิสลามานุวัตน์ ก็จะได้ว่า มุสลิมจำเป็นต้องศึกษาศาสตร์ที่เป็นภาคบังคับ (فرض عين) ได้แก่ วิชาเตาหีด วิชาฟิกฮฺ วิชาตะเซาวุฟ เพื่อเป็นรากฐานในการดำรงชีวิต และพื่อการอีบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺอย่างแท้จริง ประกอบกับมุสลิมต้องศึกษาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ที่ตนเองถนัด เพื่อใช้ความรู้ตามที่ตนเองถนัดเพื่อประกอบอาชีพและดูแลเลี้ยงดูครอบครัว นอกจากนั้นยังต้องศึกษาศาสตร์เหล่านี้เพื่อสถาปนาระบบคอลีฟะฮฺบนหน้าแผ่นดินนี้

 

 

หมายเลขบันทึก: 115368เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2007 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นี้คือเเนวคิคที่สัจจริง

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท