บุคคลสำคัญของโลก


5 มหาราช

อนุเสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์
เฉลิมพระบรมราชกฤดาภินิหาร แห่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พระองค์ผู้เป็นมหาวีรบุรุษของชาติไทย ประสูติ พ.ศ. ๒๒๗๗ สวรรคต พ.ศ. ๒๓๒๕ รัฐบาลไทยพร้อมด้วยประชาชนชาวไทยได้ร่วมกันสร้างขึ้นประดิษฐานไว้ เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๗
เพื่อเตือนใจให้ประชาชนไทย รำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณ
ที่ได้ทรงเพียรพยายามปราบปราม อริราชศัตรู กอบกู้เอกราชของชาติไทย ให้กลับคืนดำรงอิสรภาพสืบมา

<div align="center"><table border="0" cellpadding="0" width="467" class="MsoNormalTable" style="width: 467px; height: 140px"><tbody><tr><td width="99%" style="width: 99.16%; background-color: transparent; border: #ece9d8; padding: 0.75pt"><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">          ราชวงศ์สุโขทัยมีประวัติปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) ใจความว่า ผู้ตั้งราชวงศ์มี 2 คน ด้วยกัน คือ พ่อขุนผาเมือง และพ่อขุนบางกลางหาว ได้ช่วยกันตั้งราชวงศ์ขึ้นเมื่อพ.ศ. 1800 พ่อขุนผาเมืองเป็นลูกพ่อขุนศรีนาวนำถม ซึ่งเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยในครั้งนั้นเมืองสุโขทัยยังเป็นเมืองประเทศราชของขอมอยู่ </p></td></tr></tbody></table></div>

     พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์องค์ที่สามแห่งราชวงศ์พระร่วง ศักราชที่ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1) คือ มหาศักราช 1205 (พ.ศ. 1826) นั้นเป็นปีที่พระองค์ได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น มหาศักราช 1207 (พ.ศ. 1828) ทรงสร้างพระมหาธาตุเมืองศรีสัชนาลัย (เข้าใจว่า คือ พระเจดีย์ที่วัดช้างล้อม ในปัจจุบัน) มหาศักราช 1214 (พ.ศ. 1835) โปรดให้สร้างแท่นหิน ชื่อ พระแท่นมนังศิลาบาตร และสร้างศาลา 2 หลังชื่อ ศาลาพระมาสและพุทธศาลา ประดิษฐานไว้กลางดงตาล เพื่อเป็นที่ประทับว่าราชการและทรงสั่งสอนข้าราชการและประชาชนในวันธรรมดา ส่วนวันอุโบสถโปรดให้พระสงฆ์นั่งสวดพระปาติโมกข์และแสดงธรรม รัชสมัยของพระองค์รุ่งเรืองยิ่งกว่ารัชกาลใด ๆ ราชอาณาเขตแผ่ขยายไปกว้างขวาง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างที่เรียกกันว่า "ไพร่ฟ้าหน้าใส" การพาณิชย์เจริญก้าวหน้า ศิลปวิทยาเจริญรุ่งเรืองหลายประการ

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์สุโขทัย ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาเมื่อมีพระชนมายุได้ 9 พรรษา พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ทรงขอไปเลี้ยงเป็นพระราชบุตรบุญธรรมเพื่อเป็นตัวประกันที่หงสาวดี ซึ่งในขณะนั้น กรุงศรีอยุทธยาตกอยู่ในความปกครองของพม่า จนพระชนมายุได้ 15 พรรษา จึงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2098 ทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก ณ เมือง แครง ประกาศอิสรภาพของชาติไทยโดยไม่ขึ้นกับพม่าอีกต่อไป และทรงขึ้นครองราชเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2133 ในรัชสมัยของพระองค์ทรงกระทำสงครามขยายพระราชอาณาจักรไทย ให้แผ่ไพศาลไปในจตุรทิศ ทรงเป็นกษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่และกล้าหาญ ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชแก่กรุงหงสาวดี เมื่อปี พ.ศ. 2135 พระมหาวีรกรรมของพระองค์เลื่องลือจนทั่ว สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.2148 ที่เมืองหาง ขณะพระชนมายุได้ 50 พรรษา รวมเวลาที่ทรงขึ้นครองราชนาน 15 ปี

<p></p>

พระเจ้าอโศกมหาราช (Ashoka the great - พ.ศ. 240 - พ.ศ. 312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมริยะผู้ปรีชาสามารถพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ ปกครองแคว้นมคธ มีพระราชธานีชื่อว่า ปาฏลีบุตร (ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ Patna) ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสารแห่งราชวงศ์เมารยะ พระมารดานามว่าศิริธรรม พระเจ้าอโศกมีพระโอรส และธิดา 11 พระองค์

 วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ …..
เด็กชายคนหนึ่งถือกำเนิดขึ้น ต่อมาโลกได้จารึกพระนามของพระองค์ไว้
ในฐานะพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักของปวงชนชาวไทย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาล เมานท์ออเบอร์น เป็นเคมบริดจ์ รัฐแมสสาชูเชตต์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีเถาะ นพศกจุลศักราช ๑๒๘๙ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐

มีพระนามเดิมว่า ….. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี และ สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นาง เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประสูติเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคมพุทธศักราช ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรมนี
</span></span></span></span>

คำสำคัญ (Tags): #5 มหาราช
หมายเลขบันทึก: 115230เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2007 08:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท