6.CSR กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Af &Ben)


CSR ใช่เพียงแต่สร้างภาพลักษณ์ เพิ่มยอดขาย ทำให้สินค้าติดตลาด หากแต่ยังทำให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรบุคคลซึ่งทำให้องค์การพัฒนายิ่งๆขึ้นไป

เหตุผลหรือแรงจูงใจให้ทำเรื่อง CSR อันเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์            

         ปัจจุบันคนเป็นปัจจัยสำคัญในดำเนินธุรกิจให้ขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การพัฒนาคนในองค์การจึงเสมือนการพัฒนาองค์การนั้น ๆ ให้เติบโตก้าวหน้าไปได้ จะเห็นได้จากการที่บริษัทมุ่งเน้นฝึกอบรมและประเมินผลการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของพนักงาน ซึ่งเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์               

           อย่างไรก็ดี จากการศึกษาค้นคว้าผู้จัดทำบทความฉบับนี้เห็นว่า การฝึกอบรมอาจไม่ใช่วิธีการหรือกลยุทธ์เดียวที่ก่อให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างได้ผล หากแต่กลยุทธ์บางอย่างที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นการสนองตอบเป้าหมายทางการตลาดและ/หรือเป็นการตอบแทนสังคม นั่นก็คือ CSR หรือ การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สามารถยังประโยชน์ต่องานพัฒนาบุคคลได้เช่นกัน ผู้จัดทำจึงเห็นว่าเป็นประเด็นที่ควรได้รับการศึกษาและนำมาปรับใช้กับองค์การต่าง ๆ ในประเทศไทยอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ในการศึกษาด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่อ ๆ ไป 

CSR อันเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 

CSR ย่อมาจาก Corporate Social Responsibility หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ หรือ ที่สถาบันไทยพัฒน์ เรียกว่า บรรษัทภิบาล หมายถึง การดำเนินกิจกรรมขององค์การที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับย่อย เช่น พนักงาน ลูกค้า ชุมชน ฯลฯ และสังคมโดยรวม เช่น สภาพแวดล้อมของประเทศชาติ ของโลก เรื่องสิทธิมนุษยชนฯลฯ โดยเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับพันธกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กร               

 อันที่จริง CSR มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่เมื่อประมาณ 200 ปีก่อน ครั้งที่บริษัทอีสอินเดียถูกคว่ำบาตรจากประชาชนเพราะใช้แรงงานทาสอย่างไร้มนุษยธรรม แต่ก็ยังไม่ใช่เรื่องที่ผู้ดำเนินธุรกิจจะให้ความสำคัญมากนัก ทว่าเมื่อนายโคฟี่ อันนัน อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เรียกร้องให้องค์กรธุรกิจแสดงความเป็นพลเมืองดีของโลก โดยการเสนอบัญญัติ The UN Global Compact อันเป็นแนวทางในการรับผิดชอบต่อสังคม ผู้ประกอบการจึงให้ความสนใจ และดำเนินกลยุทธ์ทาง CSR เพิ่มมากขึ้น               

ทั้งนี้การจัดทำ CSR นั้นมีสองแง่มุมหลัก ๆ คือ การทำเพื่อสร้างฐานตราสินค้าให้ติดตลาดในระยะยาว กล่าวคือ เมื่อผู้บริโภค และสังคมมองว่าองค์การที่ทำ CSR เป็นองค์การที่ดี เขาก็จะรู้สึกดีกับสินค้า องค์การนั้นก็จะสามารถรักษาระดับหรือเพิ่มส่วนแบ่งตลาดมากยิ่งขึ้นได้ ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์องค์การและผลิตภัณฑ์หรือสินค้าหรือบริการขององค์การ และเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดวิธีหนึ่ง สำหรับอีกแง่มุมของผู้ทำ CSR นั้นคือ การตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยหวังตอบแทนกลับสู้สังคมอย่างแท้จริง จุดประสงค์การทำ CSR จึงแตกต่างกันไปตามแต่วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์การนั้น ๆ                

สำหรับขอบเขตของ CSR นั้นไม่ชัดเจนตายตัว ขึ้นอยู่กับองค์การที่จัดทำ อย่างไรก็ดีขอบเขตหรือองค์ประกอบของ CSR มีความเกี่ยวข้องกับงานด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่น เรื่องแรงงาน เรื่องสิทธิมนุษยชน เรื่องการพัฒนาองค์การ เรื่องการศึกษาและภาวะผู้นำ ฯลฯ ขอบเขตต่าง ๆ เหล่านี้ของ CSR สามารถส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้เป็นอย่างดี               

อนึ่ง CSR มีส่วนช่วยให้บุคลากรในองค์การมีศรัทธาต่อองค์การ ช่วยสร้างให้เกิดความจงรักภักดีและทุ่มเทตั้งใจทำงานและพัฒนางานเพื่อองค์การ ด้วยรู้สึกว่าองค์การได้ทำประโยชน์ให้ตนและสังคม นอกจากนั้นหากทำ CSR อย่างมีกลยุทธ์ยังสามารถช่วยให้เกิดการเรียนรู้ของพนักงานในองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและหลากหลายด้าน ทำให้พนักงานเกิดการเรียนรู้ระยะยาวและตลอดเวลา เช่น การจัดการโครงการพัฒนาชุมชน บุคลากรผู้เข้าร่วมโครงการจะได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของตน ได้พัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะต้องร่วมมือกับผู้อื่นให้โครงการสำเร็จลุล่วง นอกจากนั้นยังได้ฝึกทักษะความเป็นผู้นำและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะการออกไปทำโครงการเพื่อนสังคมนอกสถานที่จะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นให้แก้ไขตลอดเวลา เพราะไม่ได้อยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมขององค์การเพียงอย่างเดียว แต่ต้องแวดล้อมไปด้วยคนอื่น ๆ และบริบทต่าง ๆ ที่ไม่อาจควบคุมได้เช่นกัน  คล้ายกับการให้พนักงานไปฝึกอบรมนอกสถานที่ แต่ในที่นี้เขาจะได้นำความรู้ความสามารถออกมาใช้ในสถานการณ์จริง ไม่ใช่เพียงสถานการณ์จำลองที่ทางองค์การกำหนดให้ จะเห็นว่า CSR ก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงปฏิบัติอย่างดีเยี่ยมต่อการพัฒนาตัวบุคคลซึ่งสามารถนำมาใช้ในการทำงานหรือพัฒนาองค์การต่อไปได้               

ทั้งนี้ทั้งนั้นมีหลายหน่วยงานหลายองค์การที่เล็งเห็นความสำคัญของ CSR ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการวางกลยุทธ์ CSR ให้เอื้อประโยชน์ต่องานดังกล่าว ซึ่งทำให้องค์การสามารถดำเนินธุรกิจมาได้อย่างยั่งยืน ตรงตามหลักการพัฒนาอย่างยืน หรือ Sustainable Development ผู้จัดทำจึงนำกรณีตัวอย่างขององค์การที่ประสบความสำเร็จในการใช้ CSR เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับเป็นกรณีศึกษาไว้ในหัวข้อต่อไป 

กรณีตัวอย่างที่องค์กรสามารถนำกลยุทธ์ CSR มาใช้กับ HRD ได้อย่างสัมฤทธิ์ผล 

Ø     7-Eleven สู่การสร้างคุณค่าองค์กรโดย ปัญญาภิวัฒน์โครงการปัญญาภิวัฒน์เป็นโครงการที่ให้การสนับสนุนด้านการศึกษากับเด็กที่ด้อยโอกาส มีจุดเริ่มต้นจากการบริจาคทุนการศึกษาเล็ก ๆ น้อย ตลอดจนถึงการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมที่ปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน เช่นโครงการ รักการอ่าน  “เซเว่นบุ๊คอวอร์ด จนกระทั่งทางบริษัทได้มีการเปิดโรงเรียนปัญญาภิวัฒน์เทคโนธุรกิจขึ้นมาเป็นโรงเรียนอาชีวะแนวใหม่ใช้หลักสูตรการเรียนการสอนผ่านการเรียนด้วยประสบการณ์ ที่มุ่งพัฒนาบุคคลการเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกโดยใช้องค์ความรู้ที่สั่งสมมา และเปิดศูนย์การศึกษาทั่วประเทศที่สอนผ่านระบบการเรียนทางไกลผ่านระบบวีดีโอ สิ่งที่โรงเรียนปัญญาภิวัฒน์ มีให้คือ เรียนฟรี มีงานทำ100% มีรายได้ระหว่างเรียน เฉพาะทุนการศึกษาต่อที่มีให้อยู่นับ 100ล้านบาทและมีโครงการจะเปิดสอนในระดับปริญญาตรีและโทในอนาคต การทำโครงการนี้สู่ชุมชน มีแนวการคิดจากผู้บริหารว่า ถ้าคนไทยมีการศึกษาดีขึ้น จะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า เข้มแข็งก็จะทำให้ประชาชนไทยเข้มแข็งไปด้วย เมื่อเขามีรายได้กลับมาก็จะซื้อสินค้าที่ เซเว่นเป็นการตอบแทนเราทีหลังแต่เราต้องช่วยสังคมก่อนจากแนวคิดของ 7-Elevenมีผลอย่างมากในการพัฒนาคนในองค์กร คือจากการที่บริษัทมีโรงเรียนของตนเอง ย่อมจะทำให้สามารถใส่ความเป็นวัฒนธรรมองค์กรได้เต็มที่และถือเป็นการปลูกฝังส่วนที่เป็นตัวของบริษัทเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุกสิ่งจะย้อนกลับมาที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร เมื่อมีนักเรียนที่เรียนจบแล้ว ทำงานได้เข้ามาทำงานที่บริษัทจะสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ที่สั่งสมมาจากโรงเรียนเข้ามาและเกิดการแลกเปลี่ยนพฤติกรรมกับบุคลากรเดิมที่อยู่ในองค์กร ซึ่งอาจมีความไม่เข้าใจในวัฒนธรรมองคืกรแบบชัดเจนก็จะได้ทราบจากนักเรียนที่ได้รับหล่อหลอม มาเป็นอย่างดีมีความจงรักภักดีกับองค์กร ส่วนรุ่นพี่ที่อยู่มาก่อนก็แลกเปลี่ยนประสบการณ์กลับไปนำไปสู่การค่อยๆกลืนเป็นวัฒนธรรมเดียวกันแต่เป็นการปรับพฤติกรรมที่มีความหมายนัยสำคัญสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบบูรณาการ

แนวความคิด CSR สู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์               

ปัจจุบันความพร้อมของปัจจัยเรื่องคน หรือทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรเป็นสิ่งซึ่งบริษัทกำลังใช้เพื่อก้าวนำหน้าคู่แข่งทั้งด้าน ปริมาณและคุณภาพ โดยการนำเอา CSR มาใช้กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใช้หลักสำคัญในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมผ่านความคิดอ่าน การมองโลกที่แตกต่างกันของกลุ่มคน เมื่อออกไปทำอะไรให้กับสังคมสิ่งที่ตอบแทนบริษัทกลับมามิใช่เป็นแค่ความศรัทธากับองค์กรหรือผลตอบแทนนรูปเงินเท่านั้น แต่ยังมีการได้รับความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมต่าง ๆ ผลที่ได้เป็นการมองลึกองค์กรของเราและมองไปที่สังคมที่เราได้ให้ความรับผิดชอบไป เปรียบเทียบ เรียนรู้ที่จะใช้มาเป็นการพัฒนาตนเอง เพื่อพิจารณาสู่การปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นการพัฒนาจิตใจพนักงานในการเข้าร่วมกิจกรรมของสังคม จะได้พัฒนาทางด้านอารมณ์ให้สูงขึ้น เมื่อเกิดความยอมรับจากภายนอกจะเกิดความมั่นใจในการทำงานมากขึ้น               

การทำโครงการ CSR แต่ละโครงการควรมีการประเมินผลและมาปรับใช้ในการริเริ่มโครงการใหม่ ๆ ต่อไป พิจารณาจุดดี-จุดด้อยและที่สำคัญการทำโครงการนี้ควรจะต้องเกิดจากความสมัครใจที่จะตอบแทนสิ่งดี ๆ กลับสู่สังคม มีการหมุนเวียนการเข้าร่วมกิจกรรมไปแต่ละคนเพื่อเกิดความแตกต่างและเรียนรู้ให้มากที่สุด ผลสำเร็จอยู่ที่ได้พัฒนาไปมากแค่ไหน ได้อะไรจากสังคมที่เป็นข้อคิด หาใช่ผลทางการตลาดเป็นสำคัญ

 เบญญาลักษณ์ ศรลัมพ์ & ภิรดี เหรียญทองDraft 1 # July 27, 2007 

คำสำคัญ (Tags): #csr#hrd
หมายเลขบันทึก: 115154เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2007 20:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)

citrus say:

รบกวนท่านผู้จัดทำบันทึก ช่วยปรับหน้าตา จัดเรียงย่อหน้าใหม่ อาจจะลองพิมพ์ใน word ก็ได้ค่ะ อะไรที่จะอธิบายเป็นกระบวนการ ใช้ภาพวาดมีไหม หรือจะลองวาดใน powerpoint แล้วค่อย save เป็น picture นำมาใส่ไว้ในบันทึก  หรืออาจจะทำเป็น bullet ให้อ่านง่ายขึ้นค่ะ

จะรอให้ความเห็นเรื่องเนื้อหา เมื่อเรียบร้อยแล้ว ก็แล้วกันนะคะ ขอบคุณค่ะที่สรรหาเรื่องดีๆ มาให้อ่านกัน

น่าสนใจมากเลย เรื่องนี้ไม่เคยรู้เรื่องมาก่อน

รีบๆ มาอัพนะจ้ะ อยากรู้เรื่องต่อไปแล้วจ้า

แอบแก้ เนื่อหาให้อ่านง่ายขึ้นแล้วนะน้องเบน เเล้วไปแก้เพิ่มเองนะจ้า 

 

 มาเรื่องเนื้อหาบ้าง

มัน โดนใจ จังเลยครับพี่น้อง

 

ตอนนี้องค์กรของผมก็มีการปลุกระดมพนักงานในแนวๆ CSR นี้อยู่พอดีเลย เนื่องจากว่าใจพนักงานแต่ละคนแทบจะไม่เหลือความหวังกับองค์กรอีกแล้ว ทั้งในเรื่องการงาน และการเงิน ได้เเต่ทำงานไปวันๆ เหมือนผมละมั้ง เรามองไม่เห็นอนาคตที่คลุมเครือข้างหน้าเลย

 

 ฉะนั้นหลังจากมีผู้บริหารชุดใหม่เข้ามาบริหารองค์กรเเล้ว ก็ได้มีนโยบายปลุกขวัญกำลังใจพนักงานให้ตื่นตัวในการทำงาน เพราะตอนนี้

 

"เรากำลังทำงานเพื่อชาติ"

มันฝังดูดีว่าเรากำลังทำเพื่อชาติเหมือนทหาร 3 จังหวัดภาคใต้ แต่เราไม่มีเงินพิเศษ ไม่มีโบนัสประจำปี แถมเงินเดือนก็ไม่ขึ้นมาสองปีแล้ว ฟังดูแล้วมันก็ไม่ได้เพิ่มกำลังใจแม้เเต่หน่อย แต่ก็ยังเป็นงานเพื่อสังคมละนะ ฮือๆ

 

สรุปว่าผมก็คิดว่าการทำให้คนในองค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดีต่อทั้งคนภายในองค์กร และภายนอกองค์กร ทำให้มีส่วนช่วยให้พนักงานภูมิใจและผลักดันการพัฒนาตนเองอยู่ด้วยเหมือนกัน

 

นะ พี่อาฟ น้องเบน

เบญญาลักษณ์ ศรลัมพ์
ขอบคุณมากๆ ค่ะสำหรับการช่วยจัดหน้าและความคิดเห็น เป็นประโยชน์มากๆเลยค่ะ ไว้ถ้ามีอะไรน่าสนใจจะเอามาเพิ่มเติมอีกนะคะ

อ่านจาก blog นี้แล้ว ทำให้ทราบว่า บริษัทของตัวเองได้นำแนวคิดเกี่ยวกับ CSR มาใช้อยู่เหมือนกันนะ อิอิ แต่ไม่ได้เป็นโครงการใหญ่แบบของ 7-11 หรอก เช่น กิจกรรมค่ายอาสา การบริจาคคอมพิวเตอร์มือสองให้กับโรงเรียนในชนบท การเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กกำพร้า เป็น CSR เหมือนกันใช่ป่ะ ???

เป็นเรื่องที่น่าสนใจ และโดนใจมากๆเลยค่ะ :-) เพราะทุกวันนี้ในหลายๆธุรกิจหรือองค์การ ต่างก็จะมุ่งแต่ผลกำไรของตนเอง โดยที่อาจจะไม่คำนึงถึงพนักงานหรือทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ ชุมชน หรือสังคมเท่าไรนัก การที่องค์การใด สนใจหรือให้ความสำคัญกับ CSR ถือได้ว่าเป็นองค์การที่น่าอยู่องค์การหนึ่งเลยนะคะ...มีเรื่องรบกวนถามเพิ่มเติมนิดนึงอ่ะค่ะ ไม่ทราบว่า Cultural Diversity Training , Sexual Harassment Training ประมาณนี้ ถือเป็นการทำ CSR ไหมคะ รวมทั้งพวกระบบ ISO 14001,18001 หรือระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม , อาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรืออนุกรมระบบการบริหารจัดการคุณภาพชีวิตการทำงาน (MS-QWL) พวกนี้ ถือเป็น CSR ด้วยไหมคะ เพราะเคยคลุกคลีกับพวกระบบนี้มาบ้าง แต่ไม่แน่ใจว่าจะเข้าข่ายการทำ CSR หรือเปล่า......หรือว่ามีตัวอย่างหรือ case อะไรที่น่าสนใจแบบนี้อีก ก็เพิ่มเติมเต็มที่นะคะ เพราะว่าน่าสนใจมาก ติดตามอ่านอยู่ค่ะ สู้ๆๆ :-)

ชัยยุทธ (ปิค) กลีบบัว

อ่านแล้วทำให้รู้สึกว่าสังคมนี้น่าจะมีบริษัทที่ทำ CSR เยอะๆ ไม่ว่าจะทำด้วยเหตุให้สินค้าติดตลาดในระยะยาว หรือจะทำด้วยใจจริงๆ ก็ตาม มันก็ทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้นและคนที่เกี่ยวข้องก็รู้สึกดีไปด้วย  ซึ่ง CSR นี้น่าจะเข้ากับยุคสมัยนี้เอามากๆเพราะโครงการการที่ทำขึ้นเพื่อตอบแทนสังคมนั้นจะช่วยส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม ให้กับพนักงาน ซึ่งเข้ากับเรื่อง "คุณธรรมนำใจไทย" ที่รัฐบาลกำลังรณรงค์กันอยู่ในปัจจุบัน และถ้ามีองค์กรหลายๆองค์กรมีการทำ CSR ขึ้นเยอะๆก็จะทำให้สังคมเรามีการช่วยเหลือกันมากขึ้น ไม่มุ่งเน้นหาแต่ประโยชน์ส่วนตัว รู้จักการเป็นผู้ให้ และยังช่วยปลูกฝังสิ่งดีๆให้กับคนในชาติทั้งในคนรุ่นปัจจุบันและอนาคตของชาติ..........(เลือดรักชาติเริ่มขึ้น).....โครงการดีๆอย่างงี้น่าทำเยอะๆจิงๆตัวองค์กรก็ได้ประโยชน์  พนักงานที่ทำก็ได้ประโยชน์ สังคมก็ได้ประโยชน์ แต่สุดท้ายมันก็ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารแต่ละองค์กรหรือคนใหญ่ๆโตๆอีกแหละว่าจะตระหนักเรื่องนี้ซะแค่ไหน...........(อาจต้องปรับพฤติกรรมหรือหาอะไรมาจูงใจให้ตระหนักถึงก็ดีนะ...หรือไม่ก็ต้องเอาผลประโยชน์มาล่อกันเพื่อแลกกับการทำให้สังคมT_T)

 

 

ขอบคุณครับ

เคยอยู่ในองค์กรที่เค้ามีการจัด CSR กัน ตอนนั้นสนุกสนานกันน่าดูเลยครับ ออกแนวคล้ายๆ เหมือนค่ายอาสา ตอนอยู่ป.ตรีเลย แล้วพวกที่ไปร่วมกลุ่มงานนี้ล้วนแต่เป็นกลุ่มที่น่ารัก นิสัยดี แล้วก็รักองค์กรกันทุกๆ คนจริงๆ ด้วยครับ แต่ก็.. ไม่มั่นใจเหมือนกันนะครับว่า.. การจัด CSR แล้วคนรักองค์กรมากขึ้น หรือว่าคนรักองค์กรอยู่แล้วเลยทำให้อยากจัดตั้งกลุ่ม CSR ขึ้นมา (เพราะว่าก็จะมีคนบางกลุ่มที่ ไม่สนใจโลกว่าใครเค้าจะทำอย่างไร ชั้นก็จะทำงานของชั้นต่อไปอยู่ดี) เอาประสบการณ์มาแชร์กันเฉยๆ อ่ะครับ ไม่ได้ตั้งคำถามอะไรที่ make sense เลยเนอะ ^^"

ชอบแนวคิดนี้จัง CSR ดูเป็นคนดีเพื่อสังคม 

เคยได้ยินชื่อโรงเรียนอาชีวะที่เป็นของ 7-Eleven เหมือนกันค่ะ เพิ่งมาทราบว่าเป็นกลยุทธ์หนึ่งของ CSR นี่เอง 

ส่วนที่บอกว่า การทำโครงการ CSR แต่ละโครงการควรมีการประเมินผล พอมีตัวอย่างเพิ่มเติมมั้ยคะว่า ตามที่มีการประเมินผล มีโครงการไหนที่ประสบความสำเร็จมากๆ และโครงการไหนที่ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จบ้างค่ะ

เอ่อ...ชอบประเด็นของหนุ่มนะ  ตกลงอะไรเกิดก่อนกัน ^ ^

Aff+Ben

น่าสนใจกลยุทธในการปลูกฝัง CSR เข้าไปในจิตสำนึกของพนักงาน มีข้อมูลเพิ่มมั๊ยค่ะ

พี่บุป

การทำ CSR นี่เป็นวิธีที่น่าสนใจมากเลยนะคะ เพราะได้ทั้งในส่วนของการโปรโมทสินค้า และบริษัท และยังเป็นการช่วยเหลือสังคมอีกด้วย ดีค่ะ :-)

มีค่ะพี่บุป กรุณาอดใจรอสักครู่(ใหญ่ๆ)นะคะ  ขอเวลาเรียบเรียงค่ะ

(ตอนนี้กำลังปวดหัวกับ HRM อยู่ด้วยแหล่ะ)

อ่อ  ลืมบอกไปค่ะว่า

ถ้าสนใจเรื่องCRS เพิ่มเติม สามารถหาอ่านได้ทุกสัปดาห์ในหนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายสัปดาห์ค่ะ จะมีupdate ตลอดเลยค่ะ ทำให้ได้ความรู้ที่ทันสมัยเรื่อยๆค่ะ

 

ตอบภู่ค่ะว่า "ใช่ค่ะ กิจกรรมเหล่านั้นเป็นCSR เหมือนกัน โดยเฉพาะกิจกรรมค่ายอาสานั้น มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มากๆค่ะ เพราะนอกจากจะช่วยเหลือสังคมแล้ว ยังทำให้พนักงานได้เรียนรู้การทำงานร่วมกัน เรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน มีวินัย ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีมได้ดีวิธีหนึ่งเลยค่ะ ทำให้เมื่อกลับไปทำงานพนักงานมีมุมมองเกี่ยวกับการทำงานที่ดีขึ้น หลังจากเผชิญความยากลำบากและการระดมสมองแก้ปัญหามาด้วยกัน ทำให้เกิดความเข้าใจกันในระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกันเอง และระหว่างลูกน้องกับเจ้านาย ด้วยค่ะ ไว้จะนำเอากรณีตัวอย่างมาเพิ่มเติมให้อ่านค่ะ ... ถ้าภู่สนใจจะแลกเปลี่ยนกิจกรรมที่ทำในบริษัทภู่ให้เพือ่นๆได้ทราบกัน ก็ยินดีมากเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ"

ตอบปอมนะคะ

"คือ CSR นั้นจะเน้นว่าเราได้ตอบแทนอะไรให้สังคมบ้างคือมีส่วนช่วยรับผิดชอบอะไรต่อสังคมบ้าง กิจกรรมที่คุณปอมยกมานั้นดูๆแล้วมีบางอันน่าจะเข้าข่ายนะคะ แต่ไม่แน่ใจ100% ต้องขอไปหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนนะคะแล้วจะกลับมาตอบ ขอบคุณมากค่ะ ที่ให้ความสนใจ และช่วยเพิ่มเติมข้อสงสัยเพื่อค้นหาคำตอบอันนำมาซึ่งความรู้ต่อไปค่ะ"

นอกจากกรณีเซเว่นฯแล้ว เท่าที่อาฟลองอ่านข้อมูลและศึกษาดูนั้น สตาร์บัคก็เป็นอีกที่หนึ่งที่มีการทำCSR มาอย่างยาวนานและขันแข็ง จนกลายเป็นร้านกาแฟระดับโลกไปแล้ว  เพราะเขาไม่ได้สนใจแต่จะขายกาแฟอย่างเดียว เขายังอุ้มชูชาวไร่กาแฟในทุกท้องถิ่นที่สตาร์บัคไปเปิดสาขา ซึ่งชาวไร่กาแฟเหล่านี้นี่เองที่เป็นทรัพยากรมนุษย์สุดประเสริฐขององค์การ สตาร์บัคไม่เอารัดเอาเปรียบคนในพื้นที่ ให้ราคาที่เป็นธรรม เป็นส่วนหนึ่งที่ไม่ว่าสตาร์บัคจะไปเปิดที่ไหนก็ขายได้ นั่นคือสำนึกดีขององค์การอย่างหนึ่ง

ถ้าหากสนใจเพิ่มเติมสามารถเข้าไปได้ที่ www.starbucks.com/aboutus/farmstories.asp คร้าบผม

ปิยา เดชาภิวุฒิ ^^ Chippo

ที่ร.พ.เราก็มี โครงการผ่าตัดหัวใจเด็กผู้ยากไร้ โดยจะร่วมกับมูลนิธิของร.พ.รัฐ คัดเลือกเด็กที่เป็นโรคหัวใจ มาผ่าตัดที่บำรุงราษฎร์ฟรี ซึ่งโครงการนี้ เป็นหนึ่งในโครงการช่วยเหลือสังคม ของร.พ. ไม่ได้จะตักตวงเอาจากสังคมอย่างเดียว (เนื่องจากร.พ.เราขึ้นชื่อเรื่องราคาแพง^^)

ซึ่งความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่า อาจจะมีส่วนที่โปรโมตร.พ.ไปในตัว แต่ถึงยังไง คนที่ได้ประโยชน์สูงสุดก็คือสังคม คือเด็กๆที่ได้รับการรักษาและดูแล(ที่ดีเยี่ยมจากพยาบาลอย่างเรา^^)  

เชื่อได้เลยว่าพนักงานบำรุงราฎร์ทุกคนภูมิใจในองค์กรแน่นอน เพราะเป็นการตอบแทนสังคมอย่างจริงใจ และเห็นผลชัดเจน

 

เบญญาลักษณ์ ศรลัมพ์ (เบญ)

อื่ม เห็นด้วยกับปิคนะ ที่บอกว่า CSR เป็นกระแสที่มาแรงแซงโค้งเข้ากับยุคสมัย อย่างตอนนี้ที่ดังๆ เลยนะก็มี Chevron ไง เห็นปะ ที่ออกมาขอเชิญบริจาคเพื่อโครงการซื้อดาวเทียมเพื่อการศึกษา ถึงแม้โดยส่วนตัวแล้วจะมีข้อกังขาอยู่ว่า แล้วเมื่อเด็กมีดาวเทียมแล้ว โรงเรียนจะเอาตังค์ที่ไหนจ่ายค่าไฟที่ต้องใช้เพื่อให้เด็กดูทีวีผ่านดาวเทียม แล้วพอมีแล้วใครจะไปประเมินผลว่าได้นำไปปฏิบัติจริงๆ เราว่าตรงจุดนี้สำคัญเหมือนกันนะ คือ ไม่ใช่ สักแต่ว่าจะทำๆ แล้วแต่ไม่ได้รู้เลยว่าได้ผลจริงๆแค่ไหน บางทีอาจจะสูญเปล่าไปเลย ใครจะรู้ 

อะ ทีนี้ สิ่งที่ Chevron ได้จาก CSR แน่ๆ เลยนะ ครั้งนี้ เราคิดว่า คือ คนรู้จักแบรนด์นี้ไปทั่วแล้ว เขาสร้างแบรนด์ให้ติดหูคนได้เร็วขึ้น และก็ยังได้ความชื่นชมยินดีจากประชาชนด้วย  แต่ถ้าจะให้เราคิดจริงๆอะนะ  ลองมองดูดีๆสิ  บริษัทนี้เป็นตัวตั้งตัวตีจัดทำก็จริง แต่เงินทุกบาททุกสตางค์เป็นของใคร....  ประชาชน ครับผม !! เห็นมะ ลงทุนน้อย ผลตอบแทนมาก แถมได้สร้างประโยชน์กับชุมชน

อะ ทีนี้กลับมาเชื่อมโยงเข้ากับ HRD นะ  เราว่าถ้าบ.จะได้ประโยชน์มาก หากเพิ่มการสำรวจ+การประเมินผลไปด้วย คือ ให้คนในองค์การได้เรียนรู้การทำวิจัยจากกิจกรรมดังกล่าว  คืออาจจะให้คนในองค์ได้มาลงดูพื้นที่โรงเรียนต่าง ๆ คอยตรวจผลความคืบหน้าของโครงการเรื่อย ๆ ไม่ใช่ว่าหายไปเลย  จะทำให้คนในองค์การได้เห็นชีวิตอีกแง่มุมหนึ่ง  เช่น บางคนอาจได้การศึกษาดีมาตลอด พอมาได้มาสำรวจและประเมินผลดูน้องๆ ก็จะมีความรู้สึกว่าตัวเองเรียนมาเยอะน่าจะได้ทำประโยชน์อะไรมากๆ ให้คุ้มค่า บางคนเขาอยากเรียน กว่าเขาจะได้เรียนก็ยากลำบาก ฯลฯ แล้วการประเมินผลเหล่านี้ก็จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์การในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง คือ ไม่ทำให้องค์การดูเป็นการทำบุญเอาหน้า ทำเพื่อสังคมอย่างฉาบฉวย แต่เป็นการทำด้วยใจ คือใส่ใจจริงๆ  ใส่ใจทั้งตอนก่อนเริ่ม และหลังเริ่ม 

อะไรประมาณเนี้ย

ตอบคุณหนุ่มค่ะ

ขอบคุณนะคะ ทำให้ได้เห็นอีกมุมมองหนึ่งค่ะ

ทำให้ได้กลับมานั่งคิดอีกต่อหนึ่ง

คิดว่าคนที่ไม่สนใจโลกก็คงมีอยู่ทุกองค์การนะคะ

ไม่ว่าCSRของคุณจะเกิดขึ้นหรือหลังจากความจงรักในองค์การ  แต่ผลก็ยังมีแนวโน้มออกมาว่า หลังการทำCSR พนักงานส่วนมากจะจงรักและเหนียวแน่นต่อองค์การใช่ไหมคะ? นั่นหละค่ะ (ผลลัพธ์=)จุดมุ่งหมายของมัน... :)

 

ตอบพี่แป๋มค่ะ 

ไว้จะลองพยายามหาตัวอย่างขององค์การที่มีการประเมินผลCSR ที่เห็นชัดๆมาละกันค่ะ ขอบคุณมากนะคะสำหรับคำแนะนำ

ขอบคุณมากค่ะพี่ชิพ ที่แนะนำให้เราได้เห็นโครงการCSRเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งโครงการ

ขอเชื่อมโยงโครงการของพี่ชิพเข้ากับHRDนะคะ

คือหนูคิดว่า โครงการนี้ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ทางด้านการแพทย์ของหมอและพยาบาลเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นการฝึกให้หมอและพยาบาลและพนักงานที่เกี่ยวข้องมีความเสียสละ ไม่ได้ทำงานเพื่อเงินตอบแทนเท่านั้น เป็นการฝึกการบริการไปด้วย เพราะเป็นการปลูกฝังว่าพนักงานต้องให้บริการได้ทุกระดับชั้น ไม่เกี่ยงงาน เป็นต้น ค่ะ 

        การทำ CSR  เป็นแนวความคิดที่ดีนะคะ  เป็นประโยชน์ต่อทั้งองค์กรเอง  และสังคม 

        แต่การทำแบบนี้จะนับได้เป็นการสร้างภาพเล็กๆรึป่าว  ทำจริงค่ะ  แต่ในบางองค์กร  ถ้าโหมลงทุนที่โฆษณา  ประกาศให้ชาวบ้านได้รับรู้มากกว่า  คนก็จะรู้สึกว่าที่นี่ทำเยอะจัง 

         เคยได้ยินมานะคะ  จะลองเปรียบเที่ยบดูระหว่างโครงการปลูกป่าของการไฟฟ้า  กับของ ปตท.  ในการลงทุนที่เท่าๆกัน  แต่การไฟฟ้าลงไปกับการปลูกป่า  ได้ป่าจริงๆมากกว่าปตท.  ส่วน ปตท.เน้นไปโฆษณามากว่า  ทำให้ Threshold ของประชาชน  ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารมาจากสื่อต่างๆ  รับรู้ว่า ปตท. ปลูกป่ามากกว่าการไฟฟ้า   ^v^

นันทน์

เบญญาลักษณ์ ศรลัมพ์

โอ้ว ขอบคุณนันทน์มากจ้ะ สำหรับข้อมูลนี้ ทำให้ได้รับรู้อีกแง่มุมหนึ่ง

ส่วนเนื้อหาในบล็อกนี้ ก็อยากจะให้พยายามเชื่อมโยง CSR เข้ากับ HRD และtraining ด้วยจ้ะ 

จริงอยู่ที่ CSR ทำให้คนภายนอกได้รับรู้จิตสำนึกของบริษัทแต่ในอีกแง่มุมหนึ่งก็เป็นการฝึกคน ปลูกจิตสำนึกที่ดีให้กับคนในบริษัทเช่นกัน  ถ้าคนในบริษัทมีจิตสำนึกดีต่อองค์การ ต่อสังคม เขาก็จะสร้างสรรค์แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์  อีกทั้งยังเป็นการได้ฝึกทักษะของคนในที่ทำงานให้ทำกิจกรรมร่วมกัน ได้เรียนรู้กันในหลายๆแง่มุมมากขึ้น

อย่างกิจกรรมปลูกป่าที่นันทน์ยกขึ้นมาก็เหมือนกันจ้ะ 

เมื่อบริษัทให้คนได้ไปร่วมปลูกป่ากับประชาชนภายนอกองค์การ พนักงานก็จะรู้สึกว่าตัวเองได้ทำประโยชน์ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยต้องออกแรงกายในการนำต้นไม้ไปปลูก แต่ระหว่างกระบวนการนั้น พนักงานก็ได้เรียนรู้ ว่ากว่าป่าจะโตขึ้นมาได้นั้นมันยากเย็นสักเพียงไหน  เมื่อหันกลับมามองดูตัวเองเขาก็จะใช้ทรัพยากรในบ้าน ในบริษัท และในสังคมอย่างคุ้มค่ามากขึ้น  นอกจากนั้นการปลูกป่าร่วมกันก็เป็นการทำงานร่วมกัน คนที่ไปร่วมปลูกป่าก็จะเรียนรู้ในการช่วยเหลือกัน บางทีคนในองค์การที่ไม่รู้จักกันมากนักก็ได้รู้จักกัน เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์การ  รู้จักเห็นใจกัน แบ่งปันน้ำใจต่อกันในระหว่างปลูกป่า  บนพื้นฐานที่ว่าเมื่อเราทำสิ่งที่ดีจิตใจและสิ่งที่เราจะมอบให้กับคนรอบข้างก็ย่อมเป็นสิ่งที่ดีและสวยงามเช่นกัน  เป็นต้น

เป็นการตอบแทนที่บางทีเรามองไม่เห็นเป็นตัวเงิน แต่รับรองว่ามันยั่งยืนแน่นอน ถ้าเราทำให้คนได้รู้จักเรียนรู้จากสิ่งที่เขาลงมือกระทำเอง

เป็นการพัฒนาคนอันจะนำไปสู่การพัฒนาองค์การที่ยั่งยืนและได้ผลตอบแทนที่ดีกลับสู่สังคมเช่นกัน

เรียกว่ายิ่งปืนนัดเดียวได้นกหลายตัวเลยล่ะค่า

เนื้อหาน่าสนใจ และมีตัวอย่างที่เป็นความรู้รอบตัวดีจ้ะ อาฟ กะ น้องเบญ

คิดว่าเรื่อง การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ มีประโยชน์ แบบ win win ค่ะ เพราะองค์กรเองก็ได้ประโยชน์ และ คนนอกองค์กรก็ได้ด้วย สำหรับองค์กร  เป็นภาพลักษณ์ที่ดี   ช่วยสร้างจิตสำนึกที่ดีให้คนในองค์กรในการทำประโยชน์เพื่อคนอื่น  เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน และนอกจากนี้บริษัทยังสามารถนำงบประมาณส่วนนี้ไปหักภาษีได้ด้วยนะ

แต่ก็อย่างที่หลายๆคนแลกเปลี่ยนกัน ว่าจะเป็นแค่การสร้างภาพหรือเปล่า จะมีประโยชน์กับผู้รับจริงมั๊ย อันนี้ก็เห็นด้วยนะคะว่าเป็นสิ่งที่แฝงอยู่ แต่ก็เชื่อว่าถ้าองค์กรมีความจริงใจและ ทำกิจกรรมต่างๆอย่างเข้าใจจริงๆ ก็จะทำให้ได้รับผลดีที่เราคาดไม่ถึง และมีคนที่ได้รับโอกาสจากตรงนี้ แล้วชีวิตดีขึ้น

.. ขอแชร์ตัวอย่างด้วยคนค่ะ...ที่บริษัทได้ทำ เดิมเป็นกิจกรรมเช่น การส่งเสริมการศึกษากับพนักงานสายอาชีพ ทุนการศึกษาให้ลูกๆของพนักงาน บริจาคผ้าห่มและสิ่งของให้พื้นที่ขาดแคลน  เกดก็ได้มีส่วนร่วมกับที่บริษัทเมื่อต้นปี ไปบริจาคหนังสือ และอุปกรณ์การเรียนให้เด็กๆ มี่สังขละบุรี จ. กาญฯ

และล่าสุดปีนี้ กำลังตั้งเป็นมูลนิธิไทยซัมมิท เพื่อดูแลเรื่อง CSR โดยเฉพาะ และทำเป็นระบบมากขึ้น ซึ่งถ้าพูดถึงตัวอย่างที่พวกเราอาจจะเคยได้ยิน อย่างมูลนิธิฟอร์ด หรือ มูลนิธิโตโยต้า ก็เป็นต้นแบบให้กับกลุ่มบริษัทในสายยานยนต์ที่ค่อนข้างพัฒนาในเรื่องนี้กันอย่างต่อเนื่อง

 

... รอ รอ รอ เจ้าของบล็อก มา up ข้อมูลนะจ๊ะ...

เกด

CSR เป็นความรู้ใหม่สำหรับผมเลยครับ เพราะรู้แต่ว่ากิจกรรมต่างๆที่มีการทำเพื่อสังคมนั้นส่วนใหญ่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กร ซึ่งไม่เคยรู้ว่ามีหลักการเป็นอย่างไร ส่วนที่อยากจะร่วมแสดงความคิดเห็นก็คือ โครงการของ 7-Eleven โครงการปัญญาภิวัฒน์ นั้นเท่าที่ผมทราบมา ให้เด็กมาเรียนหนังสือก็จริง แต่ก็ให้เด็กทำงานไปด้วย ซึ่งงานก็หนักพอสมควร และมีการให้ค่าแรงเด็กด้วยแต่ก็ค่อนข้างน้อย ซึ่งส่งผลให้ได้รับ feed back ที่ไม่ค่อยดีจากเด็กที่เข้าร่วมโครงการ ในส่วนนี้ผมคิดว่าการจัดกิจกรรมเหล่านี้ถ้าเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องระยะยาว การที่มีการบริหารจัดการที่ยังไม่พร้อม หรือเป็นสิ่งใหม่สำหรับองค์กรซึ่งยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ก็ไม่ควรจะรีบนำออกมาสู่สังคม เพราะแทนที่จะได้รับเสียงยกย่องกลับกลายเป็นผลเสียเอาได้ง่ายๆ แต่สำหรับองค์กรใดที่การมีแนวคิดที่จะตอบแทนสังคมไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม หรือจะมีความคิดเชิงธุรกิจแอบแฝงอยู่ในกิจกรรมนั้นๆ ก็ยังดีกว่าองค์กรที่คิดจะหากำไรเพียงอย่างเดียวโดยไม่ให้ความสนใจในการช่วยเหลือสังคมเลย..

บอย
ชอบมากเลยพี่อาฟ น้องเบญ  เพราะเป็นอุดมการณ์ของบริษัทเลย ขนาดเป็นบริษัทเล็ก ไม่ได้ทำการประชาสัมพันธ์อะไรกับเค้าหรอกนะ บางทีก็ยังมีเสียงให้ได้ยินว่าทำเพื่อสร้างภาพหรือเปล่า (พนักงานของบริษัทนี่แหละ เพิ่งเข้ามาใหม่ ๆ ) แต่ก็ไม่ท้อนะ และก็จะทำย่างต่อเนื่อง เพราะเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน อีกทั้ง CSR นี้ก็ได้เชื่อมกับแผนธุรกิจของบริษัทอยู่แล้ว  

CSR (บรรษัทภิบาล) ที่ว่านี้ จะใกล้เคียงกับคำว่าจริยธรรมและจรรยาบรรณในองค์กร ไหมคะ เพราะในองค์กรเริ่มมีการนำคำคำนี้มาใช้ โดยพยายามปลูกฝังให้พนักงานเกิดความศรัทธา ความคิดคำนึงที่ถูกต้อง รวมทั้งได้มีการประกวดพนักงานดีเด่นด้านนี้ เพื่อเป็นกำลังใจและขณะเดียวกันก็ต้องการเผยแพร่ให้คนอื่น ๆ ได้เริ่มปลูกฝังในจิตใจ เป็นสิ่งที่ดีนะคะหากว่ายุคนี้จะเริ่มมีสิ่งดี ๆ เหล่านี้มาบ้าง

บุษบงค์ (ยิน : ปี 2)

  • ชอบเรื่องนี้มากๆๆค่ะ เพราะคิดว่า องค์กรทุกองค์กรควรคืนกำไรให้กับสังคม องค์กรไหนที่มีโครงการนี้ย่อมมีภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาประชาชน เป็นองค์กรที่น่าเอาเยี่ยงอย่าง(โอ้โห!)แต่ถ้ามองในแง่ร้ายนิดนึงอาจมองได้ว่าเป็นการทำmarketingอีกทางหนึ่งก็ได้ มีlinkบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการมองCSRในแง่ร้ายมาฝากค่ะ ลองอ่านดูนะคะ จะเห็นมุมมองที่แตกต่าง คงมีองค์กรที่ทำCSRที่หวังผลทางด้านภาพลักษณ์ขององค์กรมากกว่าที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมจริงๆhttp://www.ftawatch.org/news/view.php?id=11770
  • แต่สำหรับการนำCSR มาใช้กับ HRDข้อดีที่ได้แน่ๆคือช่วยให้พนักงานเกิดความรู้สึกศรัทธาและมีความจงรักภักดีต่อองค์กรค่ะ
  • ตัวอย่างอีกองค์กรที่ทำCSRได้น่าสนใจและโด่งดังไปทั่วบ้านทั่วเมือง คือ เชฟรอน ที่ในรายการเจาะใจคะ (อันนี้ไม่ค่อยเกี่ยวกับHRDเลย แต่น่าสนใจค่ะ)http://www.siamhrm.com/?name=management&file=readnews&max=286

 

 

โบว์ พัชวรินทร์ ภัทรนาวิก

เรื่อง บรรษัทภิบาล เนี่ยบริษัทโบว์(AIS)ก็มีนะคะหลายอย่างเลย เช่น โครงการสานรัก โครงการถึงน้ำใจ น่ะค่ะ แต่โบว์ก็ไม่เคยรู้เลยว่ามันจะเกี่ยวกันกับ HRD อย่างไรจนกระทั่งอ่านบทความนี้ของเบญและพี่อาฟค่ะ

สรุปแล้ว CSR นี่เป็นการทำ HRD ระยะยาวใช่รึเปล่าคะ เราสามารถสรุปออกมาเป็นแบบนั้นได้เลยมั๊ย เพราะเนื่องจากเท่าที่อ่านมานี่แต่ละโครงการต้องใช้เวลานาและต่อเนื่องมากเลยน่ะค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบนะคะ :)

 ปล1.เก่งมากจ๊ะเบญ ทำได้ขนาดนี้ สุดยอดเลย

 ปล2.พี่อาฟก็เก่งค่ะ(เดี๋ยวงอน อิอิ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท