2.การปรับพฤติกรรม (Behavior Modification) Update 31 Aug 07 (เก๋)


ถึงแม้ว่าจะต้องการปรับพฤติกรรมของคนกลุ่มหนึ่งให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน บางครั้งก็อาจจะต้องใช้วิธิการที่แตกต่างกันออกไป เพราะแต่ละคนมีความคิด ความต้องการ และวิธีการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนกัน

เวลาที่เราทำงาน ไม่ว่าจะทำงานบริษัทหรือว่าทำงานกลุ่ม ปัญหาที่เราพบนอกจากจะเกิดจากเนื้องานเองแล้ว ส่วนหนึ่งของปัญหาก็เกิดจากเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ลูกน้อง หรือคนที่เราต้องติดต่อ นั่นเป็นลักษณะของการทำงานร่วมกับคนจำนวนมาก แต่ละคนก็มีนิสัยและภูมิหลังที่แตกต่างกันไป พอต้องมาอยู่ร่วมกัน ทำงานด้วยกัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเกิดปัญหาขึ้น จึงเป็นที่น่าสนใจว่าเราจะมีวิธีการจัดการปัญหาเหล่านี้อย่างไร เพื่อให้ทุกคนทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น หรือเกิดปัญหาน้อยที่สุด

การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม หรือการปรับพฤติกรรม ควรเริ่มจากการศึกษาเงื่อนไขของการเสริมแรง (Reinforcement Contingency) ของ Skinner บอกว่าพฤติกรรมว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ

1.        สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน (Antecedent) – สิ่งเร้า หรือตัวกระตุ้น

2.        พฤติกรรม (Behavior)

3.        ผลที่ได้รับ (Consequence) – การตอบสนองต่อพฤติกรรมที่ทำไป มี 2 ลักษณะ คือ

a.        พฤติกรรมพึงประสงค์ (C+)

b.        พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ (C-)

ซึ่งเขาเรียกย่อ ๆ ว่า A-B-C ซึ่งทั้ง 3 จะดำเนินต่อเนื่องกันไปตามลำดับ

ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนกำลังเรียนหนังสือ เมื่อครูถาม (A) เรามีพฤติกรรมคือยกมือเพื่อตอบคำถามของครู (B) ผลที่ได้รับคือคำชม หรือคะแนนพิเศษ (C+) เมื่อทำแบบนี้นานเข้า พฤติกรรมนั้นก็จะกลายเป็นนิสัย

การปรับพฤติกรรมให้เป็นไปในแนวทางที่ต้องการ แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ

1.        การเพิ่มหรือคงพฤติกรรมเดิมที่เหมาะสมเอาไว้

2.        การเสริมสร้างพฤติกรรมใหม่

3.        การลดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา 

การปรับพฤติกรรม (Behavior Modification) ของ B.F. Skinner เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการให้รางวัลหรือการลงโทษเป็นเครื่องมือหรือที่เรียกว่าสิ่งเสริมแรงทั้งในทางบวกและทางลบ โดยนำทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning) มาปรับใช้ในการเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นไปในทางที่ต้องการ โดยวิธีการปรับพฤติกรรมมี 2 เงื่อนไข คือ

1. เงื่อนไขการเสริมแรง (Reinforcement Contingency) คือ สิ่งที่ให้หลังจากเกิดพฤติกรรม ทำให้บุคคลชอบที่จะได้รับสิ่งนั้น ซึ่งจะทำให้เกิดพฤติกรรมเช่นนั้นต่อไป แบ่งออกเป็น

-          แรงเสริมทางบวก คือการทำให้เขาพอใจ เช่นตอบคำถามในห้องเรียนแล้วได้คะแนนพิเศษ

-          แรงเสริมทางลบ คือการทำให้เขานั้นไม่พอใจ เพื่อให้บุคคลทำให้สิ่งที่ต้องการ เช่น การบ่น การดุด่า ซึ่งเป็นสิ่งที่บุคคลไม่ชอบ แต่ถ้าเขาทำพฤติกรรมที่ต้องการก็จะหยุดการให้การเสริมแรง

2. เงื่อนไขการลงโทษ (Punishment) คือ สิ่งที่ให้หลังจากเกิดพฤติกรรม ทำให้บุคคลไม่ชอบที่จะได้รับสิ่งนั้น ทำให้พฤติกรรมหยุดชงักลง แบ่งออกเป็น

-          การลงโทษทางบวก คือการให้สิ่งที่เขาไม่ชอบ เช่น การตี แนวโน้มของการทำผิดจะลดลง

-          การลงโทษทางลบ คือ การไม่ให้สิ่งที่เขาชอบ เช่น ถ้าทำการบ้าน แม่จะให้เล่นเกมการให้

การเสริมแรงนี้ก็ต้องมีหลักเกณฑ์ในการให้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด แบ่งเป็น 2 แบบ คือ

1. การให้การเสริมแรงอย่างสม่ำเสมอ ทุกครั้งที่ทำพฤติกรรมจะได้รับการเสริมแรง ทำให้เกิดการเรียนรู้เร็วมาก คือ ทำให้พฤติกรรมเพิ่มขี้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว แต่พฤติกรรมอาจไม่คงทน

2. การให้การเสริมแรงแบบครั้งคราว ไม่ได้ให้การเสริมแรงทุกครั้งที่ทำพฤติกรรม เกิดการเรียนรู้ช้ากว่าการให้การเสริมแรงอย่างสม่ำเสมอ แต่ว่าพฤติกรรมที่เกิดจะมีความคงทนมากกว่า แบ่งเป็น 4 ลักษณะ

-  ให้รางวัลตามช่วงเวลาที่กำหนด (Fixed Internal Reinforcement Schedule – FI) คือกำหนดช่วงเวลาในการให้รางวัลแน่นอน ดังนั้นความกระตือรือร้นในการทำพฤติกรรมจะมีมากหลังจากได้รับ

-  ให้รางวัลในช่วงเวลาที่ต่างกัน (Variable Internal Reinforcement Schedule – VI) คือเวลาในการให้รางวัลไม่แน่นอน และแต่ละคนก็ได้ไม่พร้อมกัน ไม่ควรใช้กับการให้เงิน แต่ควรให้การชมเชย หรือการให้รางวัลพิเศษมากกว่า

-  ให้รางวัลตามที่กำหนด (Fixed Ratio Reinforcement Schedule – FR) คือให้รางวัลเมื่อทำให้ตามที่กำหนด พฤติกรรมที่ได้จะมีความถี่สูงกว่าแบบ FR แต่เหมาะการการทำงานที่สามารถวัดเป็นจำนวนชิ้น

-  ไม่กำหนดการให้รางวัล (Variable Ratio Reinforcement Schedule – VR) คือให้รางวัลตามความสามารถและไม่ได้กำหนดว่าต้องทำเท่าไหร่ถึงจะได้รางวัล

เราไม่ควรให้รางวัลทุกคนเท่ากัน คนที่ทำมาก ควรได้มาก และคนที่ทำน้อย ควรให้น้อย เพื่อเป็นการจูงใจให้พนักงานทำงาน และการให้การลงโทษ ก็ไม่ควรทำต่อหน้าคนอื่น เพราะอาจเป็นการลด Self-Esteem ได้

ดยที่ความเชื่อพื้นฐานของทฤษฎีการเสริมแรง สามารถแบ่งได้ ดังนี้

1.        สิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวกำหนดความเชื่อ ทัศนคติ พฤติกรรม ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุม

2.        ต้องเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์อย่างแท้จริง โดยการสังเกตพฤติกรรม ไม่ใช่จากการถามเพราะอาจทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

ซึ่งหากพฤติกรรมที่ต้องการปรับเปลี่ยนต่างกัน วิธีการก็จะต่างกันด้วย และถึงแม้ว่าจะต้องการปรับพฤติกรรมของคนกลุ่มหนึ่งให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน บางครั้งก็อาจจะต้องใช้วิธิการที่แตกต่างกันออกไป เพราะแต่ละคนมีความคิดและความต้องการที่ไม่เหมือนกัน

การนำการปรับพฤติกรรม (Behavior Modification) มาใช้ในองค์กรนั้น ก็มีข้อพึงระวัง คือ

1.        ทุกคนมีความคิดของตนเอง ต้องระวังในการนำการปรับพฤติกรรมมาใช้ เพราะอาจจะเป็นการบังคับกันมากเกินไปหรืออาจจะกลายเป็นยึดความคิดของตนเป็นหลักแล้วพยายามที่จะปรับพฤติกรรมของคนอื่นให้เป็นไปในทิศทางที่เราต้องการ

2.        สิ่งเร้าที่เรานำมาใช้ อาจจะไม่ได้ผล 100% เนื่องจากอาจจะมีสิ่งเร้าบางอย่างเป็นตัวกำหนดให้สิ่งเร้าไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ หรือสิ่งเร้าที่ให้อาจจะไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะชักจูงให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ดังนั้น เราจึงต้องมาผลมาวิเคราะห์และคัดเลือกสิ่งเร้าที่เหมาะสมต่อไป               

คำถาม แล้วเราจะใช้เครื่องมือหรือสิ่งเสริมแรงอะไรในการปรับพฤติกรรมให้พนักงานมีทักษะด้านความเป็นผู้นำ               

พอดีได้มีโอกาสได้คุยกับ General Manager ของบริษัทหนึ่ง ท่านได้เล่าให้ฟังว่าที่บริษัทจะต้องย้ายฐานการผลิตไปที่เวียดนาม ซึ่งท่านไม่สามารถย้ายไปปฏิบัติงานที่นั่นได้ จึงได้คัดเลือกพนักงานเพื่อไปทำงานที่ฐานการผลิตใหม่ แต่ก็ยังไม่มีใครที่มีทักษะความเป็นผู้นำมากพอ ซึ่งท่านคนเดียวคงจะไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง ลูกน้องที่ได้รับเลือก แต่คนเหล่านี้ก็ยังทักษะความเป็นผู้นำ ความคิด การตัดสินใจก็ยังมีไม่มากพอ ตอนที่ทำงานอยู่ด้วยกันที่นี่ พนักงานที่ได้รับเลือกเป็นคนที่มีความสามารถในการทำงานดี แต่งานบางอย่างที่เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ท่านก็ยังคงต้องตัดสินใจเอง เพราะว่าลูกน้องไม่กล้าตัดสินใจ ท่านจึงต้องหาทางแก้ปัญหาโดยการปรับพฤติกรรมของลูกน้องให้มีทักษะความเป็นผู้นำให้มากขึ้น เพื่อเป็นการปรับพฤติกรรมสำหรับบทบาทหน้าที่ใหม่ให้พนักงานสามารถทำงานได้ 

               ท่านก็ได้วิเคราะห์ถึงลักษณะของลูกน้องแต่ละคน ก็พบว่าทุกคนมีปัญหาคล้ายกันคือยังไม่กล้าตัดสินใจ อาจจะเกิดจากความไม่มั่นใจในผีมือของตนเอง หรือว่าไม่เคยทำอะไรแบบนี้มาก่อน แต่ท่านกลับเชื่อว่าคนเหล่านี้มีความสามารถในการคิด ตัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆ แทนท่านได้ ท่านจึงเลือกคนเหล่านี้เพื่อให้ดูแลฐานการผลิตใหม่ ซึ่งปรับพฤติกรรมของลูกน้องที่ท่านเลือกใช้มีวิธีการดังต่อไปนี้               

Mentoring and Coaching – เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ว่าการทำงาน (On the Job Training) ศึกษาวิธีการคิด การตัดสินใจว่าถ้าพบปัญหาลักษณะนี้จะมีวิธีการคิด ตัดสินใจ และมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร ควรดำเนินการอย่างไร ไม่ว่าท่านจะไปไหนก็จะให้ลูกน้องที่ต้องรับผิดชอบด้านนั้นๆ ไปด้วย ทำงานด้วยกันอย่างใกล้ชิด ทุกครั้งเวลาที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาอะไร ท่านจะถามคนที่รับผิดชอบก่อนว่าคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ และมองว่าควรจะจัดการกับเรื่องนี้อย่างไรท่านค่อยๆ สอนวิธีการคิด การแก้ปัญหาให้โดยการพูดคุยและให้คำแนะนำ ทำงานด้วยกันสักระยะหนึ่ง จนท่านรู้สึกว่าน่าจะตัดสินใจได้เองแล้ว ก็เริ่มกระบวนการต่อไป               

Empowerment – การให้อำนาจการตัดสินใจ โดยเริ่มจากให้ตัดสินใจเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก่อน และค่อยๆ เพิ่มความรับผิดชอบขึ้น และสังเกตวิธีการคิดวิเคราะห์ การหาทางแก้ปัญหาว่าเป็นอย่างไร ถูกต้องแล้วหรือไม่ แต่ยังคง Mentoring and Coaching อยู่ด้วย ถ้างานที่มอบหมายให้ประสบความสำเร็จก็จะชมและให้รางวัล (incentive) ตามความเหมาะสมทุกครั้ง                 เมื่อให้สิ่งเร้าลักษณะนี้สักระยะหนึ่ง ลูกน้องจะสามารถปรับตัว และบริหารงานได้ดีขึ้น กล้าคิดตัดสินใจ และมีวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง และเป็นไปตามที่หัวหน้าต้องการ ดังนั้น พอถึงเวลาที่พนักงานที่ได้รับเลือกจะต้องย้ายไปปฏิบัติงานที่เวียตนาม พนักงานเหล่านี้ก็สามารถที่จะวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี และเป็นไปอย่างที่ GM ต้องการ                   การปรับพฤติกรรมให้มีทักษะความเป็นผู้นำโดยการใช้การเสริมแรงอาจจะทำได้ทั้งทางบวกและทางลบ หรือเลือกใช้เครื่องมือที่มากกว่านี้จึงจะทำให้การปรับพฤติกรรมเป็นไปได้อย่างรวดเร็วขึ้น แต่การเลือกเครื่องมือนั้นควรพิจารณาถึงองค์ประกอบหลายๆ อย่างด้วยเช่นกัน ไม่อย่างงั้นผลที่ออกมาก็อาจจะไม่เป็นอย่างที่คิดก็ได้ แต่ผลที่ออกมาก็ถือว่าคุ้มกับการลงทุนครั้งนี้จริงๆ

ภัณทิกา (เก๋)

รหัสนิสิต 507 82980 38

คำสำคัญ (Tags): #behavior modification
หมายเลขบันทึก: 114960เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2007 08:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)
แอบมาให้กำลังใจ แล้วจะรีบไปทำของตัวเองแล้ว
เขียนได้เข้าใจง่ายดีค่ะ อยากจะให้เพิ่มเติมตรงย่อหน้าสุดท้ายที่เห็นว่าค่อนข้างสำคํญ เนื่องจากเป็นส่วนการวิเคราะห์และปรับหลักการ ถ้าเขียนให้มาก และชัดเจนกว่านี้ก็จะดี เช่น ความสัมพันธ์ของ empowerment และ internal incentive กับการขยายความส่วน "การเลือกเครื่องมือนั้นควรพิจารณาถึงองค์ประกอบหลายๆอย่าง"ว่ามีอะไรบ้าง ส่งผลอย่างไร

citrus say ค่ะ

ตัวอย่างที่ยกมาดีค่ะ  ถ้าเพิ่มรายละเอียดในบันทึกอีกสักนิดก็ดีนะคะ เช่น

  • เกริ่นนำทำไมสนใจศึกษาเรื่องนี้  แล้วการปรับพฤติกรรมสำคัญอย่างไร เรานำมาใช้ในกระบวนการพัฒนาคนอย่างไร กรณีนี้จะนำมาใช้ในประเด็นใด
  • ตัวอย่างที่นำมา ถ้าทำ model เปรียบเทียบให้เห็นว่า อะไรคือ A ,B, C ก็จะทำให้เห็นเป็นภาพที่ชัดขึ้นค่ะ เพราะเราเกริ่นนำมาด้วย Model ของ Skinner แล้วอะไรคือตัวเสริมแรงคะ

ขอเป็นกำลังใจให้ สู้ สู้ ค่ะ

พนักงานเกือบทุกคนที่เรารับเข้ามาทำงานนั้นอาจไม่มีความสามารถที่ ทางองค์กรต้องการ 100%

 

ชอบเรื่องการเพิ่มอำนาจตัดสินใจ เพราะทุกวันนี้พนักงานระดับปฏิบัติการนั้น ไม่ค่อยมีความมั่นใจ หรือความกล้าตัดสินใจกันเลย ต้องคอยคุยปรึกษากัน หรือไม่ก็อาจจะตอบว่าต้องปรึกษาหัวหน้าซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานช้าลง ซึ่งตัวผมเองนั้นก็เป็นคนที่กล้าตัดสินใจอยู่แล้ว ก็เลยแอบเซ็งๆ คนกลัวการแสดงการตัดสินใจนิดหน่อย แต่ก็เข้าใจว่าถ้าทำอะไรผิดไปก็อาจมีผลกระทบต่องานได้

 

และให้อยากให้เพิ่มเติม ตัวอย่างเหตุการณ์ที่จะลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของลูกน้อง หน่อยนะ เก๋จ๋า

 

อยากรู้บ้าง

ตอบต้อง

จริงจ้า เพราะว่าพนักงานแต่ละคนมีความสามารถ แต่บางทีอาจจะยังไม่เพียงพอ หรือไม่ก็ยังไม่เหมาะกับองค์กร ดังนั้นจึงต้องมีการเรียนรู้ และปรับตัวให้เข้ากับองค์กรนะจ้ะ

แต่ยังไงก้ต้องอาศัยความร่วมมือ ทั้งจากบริษัทและพนักงาน การปรับตัวและการพัฒนาจึงจะประสบความสำเสร็จค่ะ

 ขอบคุณนะคะ ที่เข้ามาให้ความเห็นดีๆ

^_^

ขอบคุณที่ให้อ่านเรื่องดีๆค่ะ ตัวอย่างที่นำเสนอมาน่าสนใจดีนะคะ อ่านแล้วลื่น เข้าใจง่ายดี ไม่ทราบว่ามีตัวอย่างเรื่องอื่นๆนอกจาก Mentoring and Coaching กับ Empowerment อีกไหมคะ แล้วยังไงจะติดตามรายงานฉบับสมบูรณ์นะคะ :-)

สามารถแสดงความเชื่อมโยงระหว่างหลักจิตวิทยาและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างกลมกลืนค่ะ ทำให้ทราบว่า ทฤษฎีของ skinner สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้  ไม่ใช่สามารถทำได้เพียงแต่ในห้องทดลองเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การนำ behavior modification ไปใช้นอกห้องทดลอง น่าจะมีตัวแปรแทรกซ้อน (extraneous variable) เกิดขึ้นหลายตัวนะคะ ไม่ทราบว่ามีตัวแปรหรือปัจจัยใดที่มีผลต่อการปรับพฤติกรรมบ้างคะ

การปรับพฤติกรรมจะเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด คิดว่าแรงจูงใจหรือสิ่งจูงใจก็มีส่วนสำคัญในการช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยน จึงเป็นสิ่งที่คิดว่าน่าจะเกิดควบคู่กันไปใน 2 สิ่งนี้ แต่สำหรับกรณ๊ที่สิ่งจูงใจใช้ไม่ได้ผลเราจะดำเนินการต่อยังไงคะ มีวิธีไหนบ้างที่น่าสนใจ

:-) ณัฐดา (นัท)....

 

ชัยยุทธ (ปิค) กลีบบัว

ขอบคุณครับที่ให้ได้อ่านตัวอย่างดีๆเกียวกับเรื่องการปรับพฤติกรรมครับ ให้ตัวอย่างชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการปรับพฤติกรรมดีมากเลยครับ แต่ไม่ทราบว่ามีวิธีการอื่นพอยกตัวอย่างอีกมั๊ยครับ  และวิธีการปรับพฤติกรรมทั้ง 3 ลักษณะ (  การเพิ่มหรือคงพฤติกรรมเดิมที่เหมาะสมเอาไว้, การเสริมสร้างพฤติกรรมใหม่, การลดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา) ไม่ทราบว่าพอยกตัวอย่างให้ดูหน่อยได้มั๊ยครับ และตัวกระตุ้นกับตัวชี้แนะมาต่างกันยังไงครับพี่ช่วยอธิบายหรือยกตัวอย่างให้เห็นภาพหน่อยนะครับ

ขอบคุณมานะครับ

อ่านง่ายดีค่ะ  ตัวอย่างก็ทำให้นึกภาพตามได้  อยากทราบว่าพอจะมีวิธีการปรับพฤติกรรมแบบอื่นๆอีกมั้ยคะ  จะลำบากมั้ยคะถ้าจะยกlink มาก็ได้  หรือเอามาเป็นวิธีแบบทฤษฎีก็ได้ค่ะ  แต่ถ้ามีตัวอย่างด้วยก็ดีนะคะ ^v^   แล้วในการปรับพฤติกรรมนี่มีข้อควรระวังมั้ยคะ  หรือว่าวิธีทางไหนเหมาะสมกับคนแบบไหน  เพราะการปรับนี้ก็เหมือนทำให้เค้าเปลี่ยนแปลงตัวเอง  ออกแนวจะเปลี่ยนกระทั่งความคิดและทัศนคติด้วยซ้ำจะมีในกรณีที่ผู้ถูกปรับเกิดพฤติกรรมต่อต้านมั้ยคะ   ขอบคุณสำหรับความรู้ที่นำมาแชร์ค่ะ

นันทน์ 

อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องการปรับพฤติกรรมค่ะ  ส่วน GM ที่น้องเก๋พูดถึง เป็นผู้บริหารที่ใช้หลักทางจิตวิทยามาพัฒนาคนได้เก่งจริงๆ ค่ะ   แต่ไม่ทราบว่าเป็นแนวคิดของท่านเพียงคนเดียว หรือเป็นโปรแกรมการพัฒนาคนของ HRD ในองค์การนี้คะ

พี่แป๋ม

 

อ่านและทำความเข้าใจได้ง่ายดีครับ สามารถมองเห็นภาพความเป็นจริงได้ ว่าจริงๆ แล้วทฤษฎีจิตวิทยาสามารถนำมาใช้ในการปรับพฤติกรรมคนได้อย่างมากมาย หลายวิธี ซึ่งถ้าเป็นไปได้น่าจะลองอธิบายในเรื่องของการเสริมแรงพฤติกรรมทั้งแบบ Positive และ Negative Reinforcement ดูนะครับจะทำให้ขยายขอบเขตของการปรับพฤติกรรมได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังรวมถึงทฤษฎีอื่นๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการปรับพฤติกรรมได้อีก เช่น การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Pavlov) หรือทฤษฎี Social Cognitive Theory (Bandura) ก็ยังสามารถนำมาปรับใช้กับองค์การได้เป็นอย่างดีอีกด้วยครับ ^^"

ปล. อย่างไรก็ดี เท่านี้ก็โอแล้วครับ  

เนื้อหาเข้าใจง่ายดีค่ะ และที่สำคัญสิ่งที่เก๋ยกตัวอย่างมาเป็นวิธีการที่นายเราใช้สอนเวลาทำงาน (ฝึกการตัดสินใจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการเป็นผู้นำ) เราเลยนำมาปรับใช้กับน้องๆที่ดูแลอยู่ เวลาเค้าเจอปัญหาในการทำงานแล้วมาปรึกษาขอคำตอบ เราก็จะไม่ตอบเค้าในทันทีแต่จะฝึกให้เค้าคิดก่อนว่า เค้ามองกรณีปัญหานี้ว่ามีสาเหตุจากอะไร แล้วแนวทางการแก้ปัญหาควรจะเป็นวิธีไหน พอเค้าตอบของเค้าแล้ว เราก็จะช่วยเสริมว่าสิ่งที่เค้าตอบมามันเหมือนกับที่เราคิดไหม แล้วถ้าไม่เหมือนเนี่ย วิธีของเค้ากับเรามันมีข้อเด่นข้อด้อยต่างกันตรงไหน แล้วให้เค้าเป็นคนตัดสินใจสุดท้ายว่าเค้าควรเลือกใช้วิธีไหนค่ะ

อ่านแล้วทำความเข้าใจได้ง่ายดีมากเลยครับ พร้อมทั้งตัวอย่าง ซึ่งผมก็เห็นด้วย ถ้าหัวหน้าสามารถปรับพฤติกรรมลูกน้องให้เป็นไปอย่างที่ต้องการได้ ก็จะเป็นการแบ่งเบาภาระของหัวหน้าไปได้มาก รวมถึงการให้อำนาจในการตัดสินใจ ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับลูกน้องเป็นอย่างมาก และเป็นการวางตัวตายตัวแทนไว้สำหรับตำแหน่งนั้นๆไว้ด้วย ซึ่งส่งผลต่อองค์กรในระยะยาว น่าสนใจมากครับสำหรับหัวข้อนี้

เก๋

ขอตัวอย่าง ABC อีกได้มั๊ยค่ะ  จะได้ทราบแรงเสริมทางบวก และทางลบ เพิ่มเติม

พี่บุป

อธิบายตัวอย่างการปรับพฤติกรรมเป็นขั้นตอนตามลำดับได้เข้าใจง่ายดีค่ะ การปรับพฤติกรรมเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเวลา เข้าใจว่า GM ท่านนี้ต้องทุ่มเทและมีความอดทนพอสมควรในการพัฒนาทักษะของพนักงาน แต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็คุ้มค่าและเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นองค์การ หัวหน้า หรือตัวของพนักงานเองที่กล้าคิด กล้าตัดสินใจมากขึ้น บริหารจัดการได้ดีขึ้น มีทักษะในการแก้ปัญหาเพิ่มขึ้น และยังส่งผลให้เขามี Self-Esteem เพิ่มขึ้นอีกด้วย   

ไม่ทราบว่าพี่เก๋พอจะมีตัวอย่างของการเสริมแรงทางลบกรณีนี้มั้ยคะ ยังนึกภาพไม่ออกว่าจะเป็นอะไรได้บ้างอ่ะค่ะ  ^_^  

 

เยี่ยมมากเลยเรื่องนี้ อ่านแล้วได้ความรู้มาก แต่ก็มีความรู้สึกว่า การปรับพฤติกรรม เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก และต้องมีการเลือกใช้เทคนิควิธีให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยที่ผู้บริหารและหัวหน้างานเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการปรับพฤติกรรมของพนักงาน

 

หวัดดีเพื่อนรัก(หักเหลี่ยมโหด)

เขียนดีว่ะ อืมมการปรับพฤติกรรมเนี่ยถ้าเป็นอย่างที่เก๋ได้ยกตัวอย่างมาเราว่า มันเป็นของที่ต้องใช้เวลานะว่ามั้ย กรณีนี้ถ้าเพิ่งรู้ตัวว่าจะต้องไปปฏิบัติงานที่ต่างประเทศแล้วเพิ่งหาคนไปแทน รีบสอนงานทุกอย่างเท่าที่จะทำได้มันอาจจะไม่ส่งผลดีต่อการฝึกอบรมของพนักงานนะโดยส่วนตัวพี่คิดว่า การปรับพฤติกรรม ของลูกน้องมันน่าจะเกิดจากที่เรามองเขาว่า ทุกคนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีขึ้นได้ และจะต้องทำต่อเนื่องเป็นการปรับที่มีการให้เกีรติลูกน้องในการตัดสินใจ เพราะเมื่อเรามีความเชื่อมั่นในกันและกัน ว่าเราเดป็นทีมเดียวกันแล้ว ไม่ว่าจะสอนงานอย่างไร วิธีใดก็จะเป็นเรื่องง่ายที่จะทำให้การพัฒนาบุคคลมีผลตอบรับที่ดีขึ้นได้ อีกอย่างนะการปรับพฤติกรรมนี่น่าจะทำทั้งแรงบวกและลบใช่มั้ย แบบว่าถ้าลบอย่างเดียวหรือบวกอย่างเดียวจะสามารถหรือเปล่า  อยากให้ยกกรณีที่ใช้ทั้งบวกและลบในเหตุการณ์เดียวกันในการแก้ไขพฤติกรรมของพนักงาน เพื่อเป็นความรู้ให้เพื่อนนะ จะรอ555

เป็นหัวข้อที่กำลังศึกษาและจะต้องนำไปสัมมนาในวันที่ 7-9 ก.ย.นี้พอดีสำหรับปี 2 เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับทุก ๆ คนนะ อาจารย์สมโภชน์ของเราท่านสอนวิชานี้พอดี ได้ความรู้เยอะค่ะ ท่านชี้แนะว่าหากคนเรามีการปรับพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น เราควรมีรางวัลหรือให้การเสริมแรง ในขณะเดียวกันหากสิ่งใดที่ให้ไปแล้ว และจะต้องลดสิ่ง ๆ นั้นลง เรียกได้ว่าเป็นการลงโทษค่ะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ แต่ให้พิจารณาหาแนวทางอื่นแทน และหากว่าแนวทางที่หาได้ไม่สามารถตอบสนองความพอใจได้ครบถ้วนเหมือนวิธีเดิม ๆ ท่านแนะว่าก็ไม่ควรนำมาใช้ ให้หาวิธีการให้เกิดการยอมรับกันเป็นส่วนใหญ่ก่อนค่ะ มีข้อมูลมากกว่านี้รบกวนส่งให้หน่อยนะคะ เผื่อจะได้เอาไปทำ Case ในวันที่สัมมนาค่ะ

บุษบงค์ (ยิน : ปี 2)

[email protected]

โบว์ พัชวรินทร์ ภัทรนาวิก

รู้สึกว่าหัวข้อBehavior Modification  เป็นหัวข้อที่ใหญ่มากๆเลยนะคะ และน่าจะทำยากด้วย เพราะเนื่องจากต้องอาศัยการทำหลายๆ Course เข้าด้วยกัน

โบว์อยาก Case Study ที่ทำBehavior Modification แต่ว่าประสบปัญหาด้วยน่ะค่ะ เพราะว่าเราน่าจะนำ Case ที่ว่าเนี่ยมาวิเคราะห์ว่าทำไมถึงไม่ประสบความสำเร็จ มีจุดด้วยตรงไหน มันอาจจะทำให้เราเห็นจุดข้อควรระวัง หรือสิ่งที่ควรใส่ใจในการทำ Behavior Modification ได้มากขึ้นด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ :)

คิดว่าหัวข้อนี้ ทำให้การเรียน IO ต่างจาก HR เพราะเข้าใจเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ได้อย่างลึกซึ้งมากกว่า และมีประโยชน์ในการทำงาน HR แน่ๆ ตัวอย่างที่เก๋อธิบายมา น่าสนใจและให้รายละเอียดดีจ้ะ แต่อยากทราบเพิ่มเติมเหมือนกันว่าในการเลือกเครื่องมือเพื่อปรับพฤติกรรม เค้าจะมีหลักเกณฑ์ยังไงบ้าง ว่ากรณีแบบนี้ ต้องใช้วิธีไหน อาจจะไม่ใช่สูตรสำเร็จ แต่ประมาณว่าเป็นแนวทางพอจะมีมั๊ยคะ

พี่เกด

ขอบคุณทุกความเห็นค้าบ

 จิงๆ แล้วเรื่องของพฤติกรรมเป็นการแสดงออกตามความเชื่อ (จากที่เรียนกันมาอ่ะนะ อิอิ) เพราะง้าน การปรับพฤติกรรมจึงเป้นการปรับความเชื่อ ความรุ้สึก ให้เป้นไปในแนวทางที่ต้องการ

 ความเชื่อ เป้นเรื่องเฉพาะบุคคล ต้องใช้เวลาในการปรับแน่ๆ แต่ทั้งนี้ก้ขึ้นกับเครื่องมือที่เลือกใช้ด้วยนะ ถ้าเครื่องมือที่ใช้ เหมาะกับ Subject ก้จะทำให้ใช้เวลาน้อยลงได้จ้า

 ถ้าไงจะค้นคว้าเพิ่มให้นะ ว่ามีเกณฑ์มั้ย แต่เท่าที่เก๋รุ้สึก เราคงจะกำหนดหลักเกณฑ์ไม่ได้หรอก เพราะเป้นเรื่องนามธรรม มันไม่มีไรชัดเจนหรอก จิงมั้ยจ้ะ

 

เปรียบง่ายๆ อย่างเวลาจะจีบใครสักคน ทำให้เค้าหันมาชอบเรา ยังต้องใช้เวลาเลยใช่มะ แต่เวลาการจีบแต่ละคนก้จะไม่เท่ากัน ขึ้นกับว่าวิธีการที่เราใช้จีบเค้าเราทำยังไง เค้าชอบสิ่งที่เราทำให้รึป่าว ถ้าใช้ก้แปลว่าเราเลือกใช้เครื่องมือได้ถูกแล้ว ระยะเวลาในการจีบก้จะสั้นลง

เทียบแบบนี้เข้าใจง่ายดีมั้ยเอ่ย

 

ขอบคุณที่โลกนี้มีความรัก รักทุกคนคร้าบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท