หัวแดงเด็กหลังห้อง
นาย นายศักดิ์ชัย นายศักดิ์ชัย จิระสัญญาณสกุล

ห้างใหญ่เปิด 3 ปี บี้โชห่วยตาย 140,000


หัวแดง หนึ่งในกลุ่มเด็กหลังห้อง
แนวทางการแก้ไขปัญหา ค้าปลีกรายย่อยไทย (โชวห่วย)
        การรุกคืบเข้ามาของยักษ์ใหญ่ค้าปลีก บรรษัทข้ามชาติ หลังจากการก่อตั้ง องค์การค้าโลก (WTO = World Trade Organization) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิก ที่ร่วมลงนามความร่วมมือ จึงต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ของ WTO ที่ต้องการให้ประเทศสมาชิก เปิดเสรีทางการค้า การเปิดเสรีทางการค้าของไทย ย่อมไม่แตกต่างไปจากการเปิดเสรีทางการเงินที่ผ่านมา ก็คือ การขาดวิสัยทัศน์ของผู้นำประเทศ ที่ไม่ได้ศึกษาถึงความพร้อมและผลกระทบด้านบวกด้านลบ จึงทำให้การเปิดเสรีทางการเงินโดยไม่มีมาตรการควบคุม และส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำอย่างรุนแรง การเปิดเสรีทางการค้าก็เช่นเดียวกัน รัฐบาลไม่มีมาตรการใดๆ ที่จะปกป้อง ผลกระทบที่มีต่อวัฒนธรรม พ่อค้า-วานิช ที่คงคู่สังคมไทยมานับพันปี โครงสร้างทางการตลาด ผู้ค้าปลีกรายย่อยไทย (โชวห่วย) กำลังได้รับผลกระทบ จากการรุกคืบอย่างรุนแรง เมื่อทุนจำนวนมหาศาล โดยยักษ์ใหญ่ค้าปลีกของบรรษัทข้ามชาติ ถูกทุ่มเข้ามาในตลาดประเทศไทย ภายใต้เงื่อนไขการเปิด “เสรีทางการค้า“ ของรัฐบาลไทย
           ปี 2542 เมื่อดิสเคาต์สโตร์ของต่างชาติ อย่างแมคโคร ประกาศจะขยายสาขาใหญ่-ย่อย กระจายไปในปริมนฑลทั่วประเทศ อีก 50 สาขา ปี 2543 เทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี ซูเปอร์ เซ็นเตอร์ ตามด้วย แมคโคร ขยายเวลาจากเดิม 10.00-22.00 น. เป็น 0.8.00-24.00 น. เทสโก้ โลตัส เปิดสาขาที่ 30 การเปิดยุทธศาสตร์แต่ละครั้ง การเปิดยุทธวิธีแต่ละครา ของยักษ์ใหญ่ค้าปลีกข้ามชาติ ได้สร้างความเดือดร้อนต่อพ่อค้า–วานิชไทย ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ถึงขั้นหยุดกิจการ หรือล้มละลายในอนาคตอย่างแน่นอน และนำไปสู่การต่อต้านของบรรดาผู้ประกอบการส่วนกลางและภูธร
         การเปิดสาขาของยักษ์ใหญ่ค้าปลีกบรรษัทข้ามชาติในต่างจังหวัด ได้ส่งผลกระทบเดือดร้อนอย่างรุนแรงต่อธุรกิจโชวห่วย และผู้ประกอบการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าเครื่องเสียง, เครื่องไฟฟ้า, เครื่องเขียน, เขียงจำหน่ายสุกร, ฟาร์มปศุสัตว์ ฯลฯ ในตัวจังหวัดที่ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกบรรษัทข้ามชาติไปเปิดสาขาและจังหวัดใกล้เคียง เมื่อผู้บริโภคหันไปซื้อสินค้าจากดิสเคาน์สโตร์ ที่มี ราคาถูกกว่าและสะดวกสบายกว่า นอกจากนี้ ยังมีสินค้าครบถ้วนมากกว่า สินค้าบางชนิด ร้านค้าโชวห่วยยังต้องไปซื้อจากแมคโคร เพราะสั่งซื้อตรงจากบริษัทต้นทุนยังสูงกว่า เช่น ผักสด เนื้อหมู ไก่ วัว ข้าวสาร น้ำปลา ซอส น้ำมันพืช ฯลฯ...
         ขณะที่พ่อค้า-วานิชร้านค้าโชวห่วย กำลังขวัญผวากับการรุกคืบของยักษ์ใหญ่ธุรกิจค้าปลีกข้ามชาติ และรอคอยความหวังจากรัฐบาล ที่จะออกมาปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนไทย หรือจะปกป้องผลประโยชน์ของต่างชาติ นโยบายดังกล่าวของรัฐบาลยังไม่ชัดเจน
       .ร.บ.ฯ ที่ห้การเคลื่อนไหวเริ่มด้วย วันที่ 24 สิงหาคม 2543 เมื่อกลุ่มธุรกิจผู้ผลิตสินค้าอุปโภค-บริโภค นำโดยนายกนก อภิรดี กรรมการผู้จัดการโอสถสภา เป็นแกนนำได้ออกมาเคลื่อนไหว ทำหนังสือเปิดผนึกถึงรัฐบาล เรียกร้องให้ออกมาตรการกำกับและตรวจสอบ ผลกระทบจากการแข่งขันที่รุนแรง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม รัฐบาลประชาธิปัตย์ โดย นายศุภชัย พาณิชภักดิ์ รมว.กระทรวงพาณิชย์ (ว่าที่ผู้อำนวยการ องค์การค้าโลก = WTO ) และนายไพฑูรย์ แก้วทอง รมช.กระทรวงพาณิชย์ กลับออกมาตอบโต้แนวความคิดดังกล่าว ปกป้องผลประโยชน์ของต่างชาติว่า ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกตลาด รัฐบาลเดินมาถูกทางแล้ว เพราะทำให้สินค้ามีราคาถูกลง และผู้บริโภคส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์ และไม่เห็นด้วยกับ มาตรการให้ยกเลิกการแข่งขันทางด้านราคา
         12 กันยายน 2543 สมาคมพ่อค้าไทย ออกมาเคลื่อนไหวจัดสัมมนา "ค้าปลีกรายใหญ่ VS ค้าปลีกรายย่อยจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร"
        ตุลาคม 2543 หอการค้าทั่วประเทศออกมาเคลื่อนไหว ล่ารายชื่อ 50,000 คน เพื่ออาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ บีบให้รัฐบาลออกกฎหมายควบคุมค้าปลีกต่างชาติ
        มกราคม 2544 พรรคไทยรักไทยได้เป็นแกนนำรัฐบาล และได้ประกาศแนวคิดเกี่ยวกับการร่างกฎหมายค้าปลีก โดยกำหนดให้ออกกฎหมายมาดูแลเฉพาะค้าปลีก ในส่วนของเซกเมนต์ดิสเคาน์สโตร์ หรือไฮเปอร์มาร์เก็ต เนื่องจากมองว่า เป็นตัวการสำคัญที่ทำลายระบบค้าปลีกท้องถิ่น จากแนวคิดดังกล่าว ได้สร้างความหวังให้แก่พ่อค้า-วานิชไทยขึ้นมาทันที
     2 กุมภาพันธ์ 2544 หอการค้าไทยออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไข พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจคนต่างด้าว ในส่วนของบัญชี 3 ท้าย พามต่างชาติประกอบธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง แต่ยกเว้นกรณีถ้ามีทุนจดทะเบียนมากกว่า 100 ล้านบาท ให้เปลี่ยนไปต้องขออนุญาตทุกกรณี
        เมษายน 44 รัฐบาลพรรคไทยรักไทย โดย ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กลับออกมาแสดงวิสัยทัศน์ กลับลำว่า “ธุรกิจค้าปลีกข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยนั้น จะมีผลดีต่อประเทศในระยะยาว“ ดร.สุวรรณ ยังได้กล่าวกับ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจว่า “แนวคิดเดิมที่จะคุมเข้มค้าปลีกต่างชาติขนาดใหญ่ที่มีอยู่ อาทิ เวลาเปิด-ปิด กำหนดโซนนิ่งการ ตัดราคาสินค้า รวมถึงการนำแนวกฎหมายค้าปลีกจากประเทศอื่นมาประยุกต์ใช้ อาจต้องมีการปรับใหม่ เนื่องจากประเทศไทยยังต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการเปิดเสรี ในฐานะสมาชิกองค์การค้าโลก (WTO) ขณะที่ประเทศยังจำเป็นต้องพึ่งพาเงินลงทุนจากต่างชาติ“
      เมื่อตราบใดที่วิสัยทัศน์ ของผู้บริหารประเทศทั้งอดีตและปัจจุบัน ยังมองไม่เห็นเงาหัวของผู้ค้าปลีกรายย่อยไทย (โชวห่วย) ที่กำลังได้รับความเดือดร้อนจากการรุกรานของต่างชาติ ความหวังของพวกเขาจะอาไปฝากไว้ที่ใคร หรือ รอให้วันสุดท้าย วันที่วัฒนธรรมพ่อค้า-วานิช ไทยสูญสิ้นเผ่าพันธุ์เสียก่อน เช่นเดียวกับการล่มสลายของสถาบันการเงินที่เป็นของคนไทย และวัฒนธรรมกสิกรรมไร่-นา ที่ล่มสลายไปก่อนหน้าแล้ว (และไม่ได้รับการแก้ไข) จากสาเหตุเงื่อนไขเดียวกัน ก็คือ จากการเปิดเสรีทางการเงิน, ทางการค้า, ทางการเกษตรฯ โดยขาดวิสัยทัศน์ เมื่อประชาชนไทยได้รับความเดือดร้อน อันเนื่องมาจากองค์การค้าโลก(WTO) ผู้นำไทยมักกล่าวอ้างเสมอว่า “เนื่องจากประเทศไทยยังต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการเปิดเสรี ในฐานะสมาชิกองค์การค้าโลก (WTO)“ หรือแปลว่า เมื่อเป็นสมาชิก WTO แล้ว ท่านก็ปล่อยให้ฝรั่งต่างชาติ บุกเข้ามากระทำย่ำยีประชาชนไทย ได้อย่างเสรีและไม่มีขอบเขตจำกัด เช่นนี้แล้ว ท่านจะยังภาคภูมิใจอยู่หรือกับภาระกิจอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ประชาชนไทยได้มอบความไว้วางใจแก่ท่านให้บริหารประเทศ ท่านกำลังทำงานเพื่อรับใช้ประชาชนไทย หรือบรรษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ ท่านให้โอกาสยักษ์ใหญ่ค้าปลีกต่างชาติในแทบทุกด้าน แม้กระทั่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาลไทย โดย “ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ 8 ปี“
         รัฐบาลไทย คำก็อ้าง องค์การค้าโลก (WTO) สองคำก็อ้างต้องปฏิบัติตาม WTO ลองไปดูประเทศที่เป็นระดับแกนนำ องค์การค้าโลก (WTO) ดูซิว่า เวลาเขาเจรจากับเรา เขาก็มักจะอ้าง Free Trade ลองไปดูบ้านเขาซิว่า เขาดูแลปกป้องประชาชนของเขา ให้รอดพ้นต่อผลกระทบอันเนื่องมาจาก WTO กันอย่างไร?
        สหรัฐอเมริกา กฎหมายสิ่งทอ [Textile and Apparel Global Compositeness Act] เริ่มใช้ 1 มกราคม 2539 เป็นกฏหมายควบคุมเกี่ยวกับประเทศแหล่งผลิตหรือประเทศต้นกำเนิด กฏหมายคุ้มครองสัตว์และพืช CITES [Convention on Intimation trade in Endangered Species Wild Fauna And Flora] หรือที่รู้จักกันใน Washington Convention ลงนามปี 2516 กฎหมายให้อำนาจอเมริกาพิพากษาคู่ค้าไม่เป็นธรรม ในปี พ.ศ. 2531 รัฐสภาอเมริกาก็ผ่านกฎหมายการค้าชื่อ Omnibus Trade and Compositeness Act of 1988 [OTCA] มาตรการที่อเมริกาที่นำมาใช้บ่อย ได้แก่มาตร 301, Special 301, Super 301
           ในยุโรป อียู ได้ทำหนังสือปกขาวขึ้นมาเล่มหนึ่ง ที่มีเนื้อหาสาระเพื่อกีดกันทางการค้า เพื่อปกป้องคุ้มครองเกษตรกรของเขา ซึ่งขัดต่อเงื่อนไขขององค์การค้าโลกอย่างชัดเจน พวกเขาก็ทำ นอกจากนั้น แนวคิดเรื่องการค้าเสรีภายในแต่ละประเทศในกลุ่มยุโรป ก็คือ “การเปิดเสรีให้ทุกคนค้าขายได้เท่าเทียมกัน“
           ที่ฝรั่งเศส ห้างคาร์ฟูร์ถูกรัฐบาลฝรั่งเศส สั่งห้ามขยายสาขาในฝรั่งเศสนานแล้ว ด้วยเหตุผล “ทำให้ธุรกิจค้าปลีกรายย่อยในฝรั่งเศส ต้องถึงกับเดือดร้อนล้มละลาย“ นอกจากนั้น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้ค้าปลีกรายย่อยในฝรั่งเศส ปี 2543 รัฐบาลฝรั่งเศส ยังได้ออกกฎหมายมาเล่นงานยักษ์ใหญ่ค้าปลีก ที่ใช้กลยุทธ์ลดแหลกแจกแถม จนทำให้ผู้ค้าปลีกรายย่อยต้องเดือดร้อน สาระของกฎหมายฉบับนี้เพื่อ "ห้ามไม่ให้ผู้ค้าปลีก ขายสินค้าในราคาที่ตํ่ากว่าราคาที่ซื้อจากผู้ผลิต”
        อิตาลี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ผลักดันกฎหมาย “ห้ามรัฐบาลออกใบอนุญาตให้เปิด ซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ 3 ปี” เพราะที่ผ่านมา ทำให้ร้านค้าปลีกย่อยต้องปิดกิจการไปถึง 140,000 แห่ง ภายใน 3 ปี
       ญี่ปุ่น รัฐบาลกลางเขาให้อำนาจผู้บริหารท้องถิ่นเป็นคนพิจารณา กำหนดตั้งแต่พื้นที่ ทำเลที่จะเปิด ต้องอยู่ไกลออกไปจากชุมชน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ค้าปลีกรายย่อยได้ทำมาหากินบ้าง เวลาเปิดทำการ ตลอดจนห้ามเปิดดำเนินกิจการทุกวันโดยไม่มีวันหยุดอีกด้วย
       จากตัวอย่างข้างต้น ถามว่าประเทศเหล่านั้น เป็นสมาชิกผู้ลงนามความร่วมมือกับองค์การค้าโลก (WTO) มิใช่หรือ ทำไมพวกเขาจึงออกมาปกป้องผลประโยชน์ ของประเทศชาติและประชาชนเขาได้ อธิบายเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจาก “เป็นรัฐบาลที่ยืนอยู่บนพื้นฐาน ของการรับใช้ผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนของเขา อย่างสุดจิตสุดใจ“ รัฐบาลไทยเลิกอ้างเลิกหลอกลวงประชาชนเสียที่เถิด ว่า “รัฐบาลไทยจะต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขขององค์การค้าโลก“ ผู้เขียนขอย้ำอีกครั้งว่า อุดมการณ์ของ องค์การค้าโลก (WTO) คือให้ประเทศสมาชิกเปิดการค้าเสรี และดำเนินการไปตามเงื่อนไขการค้าที่เป็นธรรม ดังนั้น ความหวังของผู้ค้าปลีกรายย่อยไทย พวกเขาเพียงฝากความหวังไว้กับท่านนายกรัฐมนตรี ที่จะมีวิสัยทัศน์ เห็นถึงความล่มสลายของโครงสร้างทางการตลาด, โครงสร้างทางการผลิต SME ไทย, และก้าวออกมาปกป้องผลประโยชน์ของคนไทยอย่างจริงใจ บนจุดยืนที่เป็นผลประโยชน์ของชาติ ของประชาชน ก่อนที่จะถูกผูกขาดตัดตอนโดยยักษ์ใหญ่ค้าปลีกบรรษัทข้ามชาติ
แนวทางในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของผู้ค้าปลีกรายย่อยไทย (โชวห่วย)
1. ค้าเสรีได้ภายใต้กฎหมาย ควบคุมทุนจดทะเบียนต้องไม่เกินกว่า 1.000 ล้านบาท
2. กฏหมายว่าด้วยการปรับราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด
3. ควบคุมสาขา ต้องมีไม่เกินกว่า 10 สาขา
4. ร่างกฎหมาย ว่าด้วยการประกอบธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่
5. ควบคุมพื้นที่ ทำเล สถานที่ประกอบการ
6. ควบคุมกำหนดวัน เวลา เปิด-ปิด
7. ตรากฎหมายเฉพาะ นำข้อบังคับญี่ปุ่นและอินโดนีเซียเป็นต้นแบบ
8. พ.ร.บ.ธุรกิจต่างด้าวฯ จะต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ของคนไทย
9. ยึดแนวทางศึกษา กรณีสหรัฐอเมริกาที่เป็นสมาชิกระดับแกนนำ WTO แต่กลับมีกฎหมายกีดกันทางการค้ามากมาย รวมทั้งอาชีพสงวนของสหรัฐอเมริกาด้วยเช่นกัน
10. กำหนดการประกอบธุรกิจค้าปลีก ต้องขอใบอนุญาต หรือจดแจ้ง
11. การกำหนดหลักเกณฑ์ให้ธุรกิจค้าปลีกข้ามชาติปฏิบัติตาม หากจะมีการเข้ามาลงทุน
12. การห้ามผู้ประกอบการค้าปลีกขายสินค้าราคาต่ำกว่าทุน
13. การ ให้แจ้งแผนโครงการต่อเจ้าหน้าที่ และประกาศให้สาธารณะชนให้ความเห็นก่อนดำเนินการ
14. ยังมีเงื่อนไขอีกมากมาย ที่สามารถออกกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ เพื่อปกป้องผู้ค้าปลีกไทย อย่างมีเหตุมีผล ซึ่งผู้มีอำนาจ เกี่ยวข้องจะต้องเร่งศึกษาหาทางออก ให้กับผู้ค้าปลีกรายย่อยไทย
          ตามที่รัฐบาลมักจะอ้างเสมอว่า รัฐบาลจำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนของ WTO ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว "เราสามารถออกกฎหมายเพื่อใช้ดูแลธุรกิจค้าปลีกได้ เนื่องจากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ได้แจ้งว่า ขณะนี้ประเทศไทยมิได้มีข้อตกลงผูกพันใดๆ เกี่ยวกับการเปิดตลาดค้าปลีกกับ WTO“ หากรัฐบาลไม่เร่งที่จะออกมาตรการกฎหมายมารองรับ ควบคุม การทุ่มทุนเข้ามาของยักษ์ใหญ่ค้าปลีกบรรษัทข้ามชาติ เพื่อปกป้องผู้ค้าปลีกรายย่อยของไทย (โชวห่วย) อธิบายเป็นอย่างอื่นใดไม่ได้นอกจาก “การรับใช้ต่างชาติ มองไม่เห็นเงาหัวของประชาชน“ รัฐบาลมักกล่าวอ้างเสมอว่า การปล่อยให้กลุ่มยักษ์ใหญ่ค้าปลีกบรรษัทข้ามชาติ ทุ่มทุนจำนวนมหาศาลเข้ามามากๆ ได้อย่างเสรี แล้วจะทำให้ราคาสินค้าถูกลง ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์นั้น เป็นความเห็นส่วนตัวที่ขาดวิสัยทัศน์ เพราะวันหนึ่งที่ผู้ค้าปลีกรายย่อยไทย (โชวห่วย) ล้มหายตายจากไปหมดแล้ว ก็จะเหลือเพียงกลุ่มยักษ์ใหญ่ค้าปลีกบรรษัทข้ามชาติ วันนั้นเมื่อพวกเขาจับมือกัน จะทำได้ดีและง่าย เพราะมีเพียงไม่กี่ราย การแสวงหาผลกำไรสูงสุดก็จะตามมา แล้วผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์อย่างไร
          ท่านนายกรัฐมนตรี ผู้ค้าปลีกรายย่อยไทย (โชวห่วย) กำลังรอความหวังจากท่าน และหวังว่าท่านจะนำพาประเทศ-ประชาชนไทย ก้าวสู่ “โกเบิลไลเซชั่น“ อย่างสร้างสรรค์ แก่ประเทศและประชาชน มิใช่นำ “โกเบิลไลเซชั่น“ มาสู่ชาติและประชาชน
ให้ถึงแก่การ “โกงบรรลัยเซสิ้น“ แผ่นดินไทย
          เขตการค้าเสรีคือ การทำความตกลงที่จะลดภาษี และลดมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างกัน อาจจะเป็นสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร รวมไปถึง ในเรื่องการค้าภาคบริการด้วย สิ่งที่ผมอยากจะวิเคราะห์ในเบื้องต้น คือวิเคราะห์ในแง่ผลดี-ผลเสีย ของเขตการค้าเสรี
1. ผลดี
1.1 ตามหลักเศรษฐศาสตร์ ถ้ามีการค้าเสรีระหว่างกันจะก่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพ และหลักการในเรื่องของ comparative advantage การได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ การแบ่งงาน การผลิตสินค้า รวมถึงในเรื่องของ Economy of Scale การประหยัดโดยขนาด เมื่อผลิตจำนวนมากจะทำให้ต้นทุนถูกลง หลักการต่าง ๆ เหล่านี้ จะเกิดประโยชน์จากการจัดทำเขตการค้าเสรี
1.2 ถ้ามีการเปิดการค้าเสรี การส่งออกจะง่ายขึ้น จะสะดวกมากขึ้น ตลาดจะเปิดกว้างขึ้น การส่งออกจะเพิ่มมากขึ้น การค้าระหว่างกันก็จะเพิ่มมากขึ้น
1.3 จะเป็นผลพลอยได้มาจากการจัดทำเขตการค้าเสรีคือ จะกระตุ้นให้เป็นตลาดที่ใหญ่ขึ้น ก็จะส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และเมื่อมีประเทศใดประเทศหนึ่งจัดทำเขตการค้าเสรีแล้ว จำเป็นที่จะต้องลดภาษีลงมา หมายความว่าอุตสาหกรรมนั้นๆ ที่ก่อนหน้านั้นรัฐบาลอาจจะต้องปกป้อง จะต้องพยายามปรับตัวเพื่อที่จะให้มีความสามารถที่จะต่อสู้แข่งขันได้ อันนี้จะเป็นผลดีทางอ้อม คือ ทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ ของเขตการค้าเสรีนั้นมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น
1.4 เมื่อมีการจัดทำเขตการค้าเสรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นการจัดทำเขตการค้าเสรีในลักษณะพหุภาคี คือเป็นกลุ่มอย่างเช่น กลุ่ม อาเซียน หรือกลุ่มของสหภาพยุโรป มีผลที่ทำให้กลุ่มนั้นๆ มีอำนาจการต่อรอง อำนาจการเจรจาระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
1.5 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปรากฏว่า องค์การค้าโลก WTO ประสบปัญหา สะดุดอยู่หลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความล้มเหลวของการเจรจาที่ Seattle เพราะฉะนั้น ก็เป็นแรงกดดันให้ประเทศต่างๆ หันไปหาทางเลือกอื่นหรือช่องทางอื่น ในการกระตุ้นการค้าระหว่างกัน หลายๆ ประเทศหันมาหาทางเลือกในการจัดทำเขตการค้าเสรี ทั้งทวิภาคีและในระดับภูมิภาค เพราะถ้ารอ WTO หรือจะหวังพึ่ง WTO ที่จะมาเป็นกลไกในการเปิดตลาดการค้าเสรี คงจะต้องอีกนาน คงจะรอไม่ได้แน่
1.6 การที่ประเทศใดจัดทำเขตการค้าเสรีกับอีกประเทศหนึ่งนั้น มีนัยทางด้านการเมืองระหว่างประเทศด้วย คือ จะเป็นการเข้าไปใกล้ชิดกับอีกประเทศหนึ่ง ในขณะที่ เท่ากับว่า เป็นการถ่วงดุลอำนาจกับอีกประเทศหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น จีนในขณะนี้ กำลังเข้ามาใกล้ชิดกับอาเซียนมากขึ้น อันนี้มีนัยทางการเมืองคือ จีนจะมีบทบาท มีอิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจ ทางด้านการเมือง และถ้าอเมริกาต้องการจะถ่วงดุลอำนาจจีน ก็ต้องเข้ามาทำเขตการค้าเสรีกับประเทศในภูมิภาคนี้ด้วย อะไรทำนองนี้ อันนี้ก็เป็นเหตุผลทางการเมืองที่แทรกอยู่ในเรื่องของการจัดทำเขตการค้าเสรี ซึ่งเราจะต้องพิจารณาด้วย
2. ผลเสีย
ตอนนี้เรามาดูในแง่ของผลเสีย ผลเสียมีอยู่หลายประการเหมือนกัน ซึ่งประเทศไทยในเวลาจะทำการเขตการค้าเสรีกับใคร เราจะต้องดูให้รอบด้านทั้งผลดี-ผลเสีย
2.1 สำหรับผลเสียประการแรก จะกระทบต่ออุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เราเรียกว่า อุตสาหกรรมทารก (infant industries) คืออุตสาหกรรมที่ยังต้องการให้รัฐบาลปกป้องอยู่ เป็นอุตสาหกรรมที่เพิ่งเกิดใหม่ ไม่มีความสามารถในการที่จะไปแข่งขันในเวทีโลกอย่างเพียงพอ เพราะฉะนั้น ถ้าเปิดเสรี อุตสาหกรรมเหล่านี้จะถูกกระทบจากสินค้าราคาถูกจากอีกประเทศหนึ่ง
2.2 ผลเสียประการที่สอง คือว่าถ้าเราจัดทำเขตการค้าเสรีกับประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้าง มีการส่งออกสินค้าเหมือนกัน จะกลายเป็นมาแข่งกัน และสินค้าของประเทศนั้นจะเข้ามาตีตลาดสินค้าในประเทศเรา เพราะฉะนั้น ต้องดูกันให้ดีในเรื่องของโครงสร้างการผลิต แข่งกันหรือไม่ หรือว่าเกื้อหนุนกัน
2.3 การจัดทำเขตการค้าเสรีแบบทวิภาคี หรือแบบภูมิภาค จะเป็นการทำลายระบบการค้าโลก เป็นการทำลาย WTO เป็นการทำลายระบบพหุภาคีนิยม ซึ่งจริงๆ แล้วตามหลักของนักเศรษฐศาสตร์ ระบบที่ดีที่สุดคือ WTO คือว่า ถ้าจะมีเขตการค้าเสรีนั้น ก็ควรจะเป็นเขตการค้าเสรีของทั้งโลกรวมกัน ถ้ามีการจัดทำเขตการค้าเสรีแบบ FTA ตามหลักของนักเศรษฐศาสตร์ก็ถือว่าเป็น second best option แต่ the best option คือ WTO
2.4 การจัดทำเขตการค้าเสรีคู่หนึ่ง จะไปกระตุ้นให้ประเทศอื่นต้องแข่งที่จะจัดทำเขตการค้าเสรีเพิ่มขึ้นมาด้วย เพราะฉะนั้น FTA จะทำให้เกิด FTA มากขึ้นๆ จะนำไปสู่ความขัดแย้งทางการค้ามากขึ้น เพราะว่า การจัดทำเขตการค้าเสรี อย่างเช่นประเทศ A กับ ประเทศ B สองประเทศจะได้ประโยชน์ แต่ทว่าประเทศนอกกลุ่ม ประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเขตการค้าเสรีนั้นจะถูกกีดกัน เรียกว่าเป็นการกีดกันทางการค้า
2.5 ในการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างกัน ส่วนใหญ่แล้วประเทศที่ใหญ่จะได้เปรียบ ประเทศเล็กจะเสียเปรียบเพราะว่าจะไม่มีอำนาจในการต่อรอง อันนี้เราคงต้องระมัดระวังในการที่จะไปเจรจากับสหรัฐฯก็ดี กับญี่ปุ่นก็ดี
2.6 ที่เกี่ยวข้องกันก็คือ การไปจัดทำเขตการค้าเสรีนั้น อาจจะทำให้ประเทศเราไปสู่สภาวะการพึ่งพาประเทศที่เราไปจัดทำเขตการค้าเสรีด้วย ที่เราเรียกในภาษาอังกฤษว่า over dependency เกิดการพึ่งพิงทางเศรษฐกิจซึ่งอาจจะมากเกินไป
2.7 ผลเสียประการสุดท้ายที่ผมอยากจะกล่าว โดยเฉพาะในแง่ของไทย คือว่า รัฐบาล โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ ยังขาดนักเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดทำเขตการค้าเสรี เพราะฉะนั้น ในสภาวะเช่นนี้ที่เราขาดนักเจรจา อาจจะทำให้เราตกเป็นรอง นอกจากนั้น ผมอยากจะพูดเลยไปด้วยว่า เราขาดนักกฎหมายที่จะเข้าไปมีบทบาท ไปมีส่วนร่วมในการเจรจา เพราะว่าข้อตกลงเขตการค้าเสรีในลักษณะหนึ่งก็เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ข้อความต่างๆในนั้นมีผลผูกมัดกันอย่างไร อันนี้นักกฎหมายจะต้องเข้ามาช่วย ซึ่งผมคิดว่าเรายังขาด สิ่งที่เราขาดอันสุดท้ายก็คือ นักเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ การมองผลดี-ผลเสียของการทำเขตการค้าเสรี ไม่ใช่มองแต่เฉพาะผลดี-ผลเสียทางด้านเศรษฐกิจหรือมุมมองทางด้านเศรษฐศาสตร์เท่านั้น เราน่าจะมองจากมุมมองทางด้านรัฐศาสตร์ทางด้านการเมืองระหว่างประเทศด้วย ซึ่งตรงนี้เรายังขาดอยู่เช่นกัน
3. ไทยกับเขตการค้าเสรี
            ตามที่รัฐบาลทักษิณประกาศออกมา ก็ให้ความสำคัญกับการจัดทำเขตการค้าเสรีทวิภาคีกับ 6 ประเทศ คือ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ จีน และออสเตรเลีย และนอกเหนือจาก 6 ประเทศแล้วก็มีการเสนอการจัดทำเขตการค้าเสรีแบบเป็นกลุ่มอีก อย่างเช่นกลุ่มของ อาเซียน อาฟต้า อาเซียนกับจีน หรือระหว่างประเทศในแถบเอเชียใต้ด้วยกันที่เราเรียกว่า กลุ่มBIMST-EC ก่อนที่ผมจะลงไปในรายละเอียด ผมอยากจะให้ตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าเราดูจากประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของเราที่เราค้าขายมากที่สุด ซึ่งอันดับหนึ่งคือญี่ปุ่น อันดับสองคือสหรัฐฯ สองประเทศนี้เราพยายามจะทำเขตการค้าเสรี เรามีการยื่นข้อเสนอแต่ว่าโดยสรุปแล้วคงจะยาก คงจะยืดเยื้อและคงจะใช้เวลานานพอสมควร เพราะฉะนั้น จะกลายเป็นว่าประเทศที่เราจะได้เนื้อได้หนังจริงๆจากการทำเขตการค้าเสรี เพราะว่าเราค้าขายกับเขามาก กลับจะมีความยากลำบากมากในการเจรจาทำเขตการค้าเสรี ในทางกลับกัน ประเทศที่เราค้าขายกับเขาไม่เท่าไร อย่างเช่น ออสเตรเลียซึ่งคิดเป็นสัดส่วนแล้วแค่ 2% เท่านั้นเอง ของการค้าโดยรวมของไทยซึ่งน้อยมาก แต่เพราะว่าความที่ค้าขายกันน้อยนี่เอง จึงกระทบกันน้อยจึงค่อนข้างจะไปกันได้ง่าย จึงกลายเป็นว่า เขตการค้าเสรีระหว่างไทยและออสเตรเลียขณะนี้กำลังจะมีความเป็นไปได้มากที่สุด
           สำหรับประเทศอยู่ตรงกลางๆ ก็มีปัญหาเหมือนกัน เช่นจีน ในปัจจุบันยังถือว่าไม่มากนักในแง่ของระดับการค้าไทยกับจีน แต่ว่าจีนเองยังมีท่าทีที่ไม่ค่อยอยากทำเขตการค้าเสรีในระดับทวิภาคีกับไทย จะมุ่งไปที่อาเซียนเป็นหลักก่อน ที่หายไปอันหนึ่งคือ สหภาพยุโรป ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญทางด้านการค้าต่อไทย แต่ว่าเรายังไม่มีการพูดถึงการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโร ซึ่งสหภาพยุโรปตอนนี้ก็มุ่งไปที่ภูมิภาค ละตินอเมริกาและกำลังจัดทำเขตการค้าเสรีกับเม็กซิโกอยู่
หมายเลขบันทึก: 114930เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2007 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)
อยากเห็นผู้ค้ารายย่อยปรับตัวบ้าง. จ้างลูกหลานคนอื่นบ้าง. พูดดีๆบ้าง ฯลฯ  แบบนี้อาจจะมีพลังที่จะช่วยกันทำอะไรได้.

ตราบใดที่ผู้มีอำนาจ นักการเมือง มีนายทุนจากต่างประเทศหรือจากผู้มีผลประโยชน์จากบรรษัทข้ามชาติเป็นผู้สนับสนุน ปัญหาเหล่านี้ก็ยากที่จะได้รับความจริงใจในการแก้ไขปัญหา 

  คุณบ่าววีร์..แน่ใจนะครับว่าคุณเคยเดินเข้าไปอุดหนุนร้านของผู้ค้ารายย่อย.....ถ้าคุณมีความเห็นดังกล่าว......

P ตราบใดที่ผู้ค้ารายย่อยไม่ปรับตัว ปรับภาพลักษณ์ใหม่ในสายตาชาวบ้าน ก็ยากครับ. 
 
ถ้าผมไม่เคยอุดหนุนแล้วจะเอาอะไรมาพูดครับ? ดูจากละครหลังข่าว? เคยคิดเหมือนกันว่าช่วยผู้ค้ารายย่อยดีกว่า แต่เขาไปซื้อแล้วหลายรายก็ทำให้รู้สึกว่า... เอาเป็นว่าอยากให้ลองปรับตัวดูด้วยแล้วกัน. 
 
จะซื้อของราคาต่างกันนิดหน่อยผมก็ไม่ได้เครียดมากดอกครับ. แต่เข้าร้านไหนแล้วจิตตกก็ไม่อยากเข้า.

จริงใจ..ให้เกียรติ..ต้องมีทั้งผู้ให้ ผู้รับ ผมเชื่อว่าผู้ค้ารายย่อยเค้าปฏิบัติเป็นประจำอยู่แล้ว ยกเว้นกับลูกค้าบางคนเท่านั้นหละครับ

ร้านดีๆคงมีอยู่จริง.  แต่ประสบการณ์ร้ายๆก็มีจริงเหมือนกัน. ถ้าผมเป็นแค่บางคนที่ถูกปฎิบัติด้วยแย่ๆ ก็ต้องอยากให้มีหลายๆรายให้เลือกไว้ก่อน.
สักวันหนึ่ง *ถ้า* ผมเจอร้านไหนพูดจาดีๆ ปฎิบัติกับผมดีบ้าง ฝุ่นไม่เยอะ จ้างคนอื่นที่ไม่ใช่ลูกหลายตัวเองบ้าง ผมคิดว่าก็คงมีแรงอยากช่วยกันปกป้องร้านเหล่านั้นไว้ครับ. 
ขอบคุณครับ  คุณบ่าววีร์ ที่มาแวะเยี่ยมชมผลงานของ กลุ่มเด็กหลังห้อง พร้อมทั้งให้ข้อคิด คำแนะนำแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงใจ ไม่ใช่ผ่านมา แล้วก็ผ่านไป  ถ้าหากว่ามีโอกาสผ่านไปทางอำเภอกระนวน เชิญแวะเยี่ยมชมที่ร้านกระผมด้วยนะครับ  ฝุ่นอาจจะมีนิดหน่อยแต่ความจริงใจเต็มร้อยครับ 
P ฝุ่นเรื่องเล็กครับ :-).

ผ่านมาอ่านข้อความ

ผ่านมาให้กำลังใจ

ผ่านมาทักทาย สมาชิกมหาลัยชีวิตด้วยกัน

ขออนุญาต นำบล็อกคุณเข้าแพลนเน็ต

จะมาให้กำลังใจใหม่ นะค่ะ

ความจริงใจ  มีให้กัน  มันดีกว่า

ที่จะมา  กล่าวว่า  มาหาเขา

ต่างคนต่าง  ความรู้สึก  ในใจเรา

ในใจเขา  จะเอาเรา  หรือเปล่า ช่างเขาเทอญ

รักกัน  ดีกว่า  มีความคิดเห็นอย่างไร  ก็พูดกันไปอย่างนั้น  แต่ขอรับรองนะครับ  ร้านค้าปลีก  ร้านค้าย่อย ส่วนมาก  คงไม่เป็นดั่งเช่นท่านมีความรู้สึกก็แล้วกันนะครับ  ท่านบ่าววีร์   เพราะผมก็เป็นผู้ค้าเหมือนกัน  คำพูดที่ได้มา ก็ได้มาจากบทความหลายๆที่...ก็พอที่จะลงไป  ถ้ามีสิ่งใดที่ ผิดพลาด  กระผม ขอยอมรับในคำแนะนำจากท่านผู้รู้ที่รู้มากกว่า.. ทุกอย่างครับ  

            พอดีเพิ่งผ่านมาก็เลยได้อ่านห้วข้อ ห้างใหญ่เปิด 3 ปี บี้โชห่วยตาย 140,000  ทีแรกกระผมก็นึกว่าเจ้าของร้านโชห่วยตายตั้ง 140,000 คน พออ่านไปอ่านมาก็เลยถึง บางนา-ตราต ไอ้ที่ตายแสนสี่นั้นมันที่ประเทศอิตาลีใน้นแล้วก็เป็นร้ายค้าเล็ก ๆ ทั่วไปก็เหมือนร้านค้าปลีกที่เมืองไทยนี้แหละ

            ขนาดอิตาลีที่ว่าประชาธิปไตยเข้มแข็งและกฎหมายคุ้มครองประชาชนของเขาค่อนข้างสูงยังโดนไปขนาดนั้นแล้วนับประสาอะไรกับคนไทยที่น่าสงสารอย่างพวกเราหละครับ     

            กระผมได้อ่านข้อความ บ่าววี บ่าวแอะ บ่าวห้วแดง แล้วก็รู้สึกยินดีด้วยครับที่กระดานบันทึกนี้ยังมีประชาธิปไตยให้แสดงความคิดเห็นกันได้อยู่นะ กระผมว่าถกกันไปเถอะครับ แต่ช่วยหาที่ลงและที่จะสรุปด้วยนะครับจะเป็นการดี

          ก็ในเมื่อต่างคน ต่างที่อยู่ ต่างที่รู้ ต่างที่อยู่อาศัย มันก็ต้องต่างด้านความคิดเป็นธรรมดาใช่มั้ยครับ   พวกเราทุกคนต่างก็มีความรู้และอุดมการณ์กันพอสมควรและก็กำลังศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น กันอยู่แล้วพวกเราลองมาแชร์ไอเดียกันและเสนอแนะในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับร้านโชห่วยกันว่าพวกเราจะเปิดประเด็นห้วแดง.. เอ้ย..ห้วเรื่องว่าอย่างไรเช่น จัดทำเป็นเรื่องขบวนการจัดการแผนแม่บทชุมชน ในห้วข้อเกี่ยวกับร้านค้าปลีกต่าง ๆ ในเมืองไทย ว่าจะปรับปรุงและพัฒนากันในทิศทางใดบ้าง จะลองดูกันมั้ยหละครับ ท่านบ่าวทั้งหลายและทุกท่านที่อยากจะเข้ามาแสดงความเห็นได้เลยนะครับ 

 

 

 

         

รักกันไว้เถิด...เราเกิดร่วมแดนไทย...จะเกิดชาติใหนๆ...ก็ไทยด้วยกัน...ถ้าคนไทยตายไป....คนชาติใหนจะไปเผา.....มีแต่คนชาติเรา....ที่จะเผาเรา..ชาวไทยด้วยกัน....อิสลามก็ไทยอิสลามไปฝังเหมือนกัน

มีสิ่งใดแนะนำ...สร้างสรรค์เพื่อชาติ..บ้านเมือง...ขอให้ทุกท่าน...ช่วยกันสร้างสรรค์นะครับ...กระดานเพื่อความคิดเห็น...อย่าให้เป็นเช่นนั้นเลย.....เป็นพี่..เป็นน้องกัน...สมานฉันท์ดั่งคำท่านว่า....ผมขอยุติบล็อคนี้ไว้  ณ ที่นี้นะครับ....กระผมจะไม่ขอแสดงความคิดเห็นอีกต่อไป...เพราะเราเป็นคนไทยด้วยกันครับท่าน

ไม่น่าเชื่อว่า....วิชาวิถีโลก ที่นักศึกษามหาลัยชีวิตอย่างพวกเราจะสามารถนำมาใช้ในชีวิตจริงเร็วขนาดนี้....2 สิงหาคม 50 นี้ พบกันที่ หอประชุมที่ว่าการอำเภอกระนวน ครับ
ภาครัฐน่าจะมีมาตรการช่วยเหลือหรือดูแลร้านค้าย่อยซึ่งเป็นคนไทยในพื้นที่....คนไทยน่าจะรักคนไทยด้วยกัน......ส่งเสริมดูแลกัน.......ขณะนี้ก็โดนระดับบิ๊กรุกไปทุกจังหวัดแล้ว.......และตอนนี้ก็กำลังรุกมาระดับอำเภอ........ดูง่ายๆ เมื่อก่อนไอศกรีมของท่านเสี่ยบัวทอง...(ไอศกรีมสายฝน)  .หลัง รร.ชุมชนกระนวน  เป็นเอเย่นต์เดียวส่งส่งไอศกรีมออกจำหน่ายไปยังหมู่บ้านต่างๆ....ตำบลต่างๆ.....ในเขตอำเภอกระนวน  และ  อำเภอข้างเคียง....แต่ปัจจุบันนี้โดน  บิ๊กไอศกรีม  เช่น   .................   ฯลฯ  บุกตีตลาดของท่านเสี่ยบัวทองฯ...กระจุย...จน....เละ....และ   ณ   ปัจจุบันนี้...ท่านเสี่ยบัวทองฯ....ต้องหันไปเลี้ยงหมูทางออกไปบ้านห้วยเชือก...เพื่อยังชีพต่อไป....นี่คือตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ  แต่นิสัยคนไทยเรานี่ก็แปลก...ของๆ เรา  ในพื้นที่เราไม่ค่อยซื้อ...ไม่ค่อยสนับสนุนกัน.....นิยมของต่างประเทศ.....สามียังนิยมของต่างประเทศเล้ย...........

เรียนกันมาพวกท่านได้อะไร เรียนกันไปได้อะไรกันคืน

เรียนกันมากล้นทนกันได้ยินทนกันได้ฟังคำว่ายั่งยืน

เห็นล้มทั้งยืนพังครืนไม่ข้ามปีเพราะมีพวก.......นี้มา

ต้องรวมคนกล้าไม่ใช่ไปท้าเขาแต่พวกเราจะหยุดมัน..?....ว่ายังไงคับพี่น้อง...

...ภาษาไทยวันละสองคำ..

   .-  บรรษัทข้ามชาติ...?

   .-   บรรลัยข้ามปี......?

บ่ายเมื่อวานนี้มีโอกาสดีเลยเข้าไปแอบฟังท่านประธานหัวแดงปราศัยเรื่องบรรษัทข้ามชาติที่หอประชุมอำเภอกระนวน รวมทั้งแนวทางการแก้ไขและการดิ้นรนเพื่อการอยู่รอดของร้านค้าในท้องถิ่นแต่ก็ยังไม่ทราบว่าจะมีความเป็นไปได้แค่ไหน...สู้ต่อไปท่านหัวแดง....กลุ่มอนุรักษ์นิยมจะเป็นกำลังใจให้
ภูมิปัญญาของคนไทยมีการสืบทอดแม้แต่การประกอบอาชีพการดำเนินชีวิตจะเห็นได้ว่ามีการกล่าวถึงรุ่นที่สามหมายถึงการประกอบอาชีพมาถึงรุ่นลูกรุ่นหลานที่จะรักษาอาชีพของรุ่นคุณปู่คุณย่าต่อไป แต่สิ่งเหล่านี้จะหมดยุคอีกต่อไปถ้าหากปล่อยให้ต่างชาติที่มีทุนรอนมากกว่ามาชุปมือเปริบในลักษณะมือใครยาวซาวได้ซาวเอา การประกอบอาชีพของชาวบ้านนั้นมีลักษณะแบ่งปันผลประโยชน์ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างมีฐานลูกค้าเป็นของตัวเองผลกำไรที่ได้ต่างมีการปันส่วนตามกิจกรรมที่ทำมากบางน้อยบางแต่ต่างคนต่างพออยู่กันได้ คนไหนอยู่ไม่ได้ก็มีการปรับตัวไปทำอาชีพอย่าอื่นซึ่งเป็นวิถีชีวิตของแต่ละคนจนกว่าจะมีอาชีพที่ตัวเองคิดว่าเหมาะสมกับฐานะและการเป็นอยู่ของแต่ละครอบครัว การประกอบอาชีพนั้นมีมากหลายแต่ละครอบครัวก็จะมีการปรับตัวให้มีการดำเนินอยู่ได้ ไม่ว่ายากดีมีจนการดิ้นลนเพื่อให้ตนเองอยู่รอดจึงเป็นอุปนิสัยของคนไทยที่มีติดตัวมาโดยกำเนิด แต่ต่อไปการดิ้นลนเพื่อคงอยู่คงกลายเป็นการดิ้นลนเพื่อหนี้ตายเมื่อยักษ์ใหญ่มาถึง

สินค้าร้านไหนไม่สำคัญ  ห้างใหญ่ห้างเล็กไม่ใช่ปัญหา มันอยู่นี้ครับ...มันอยู่ที่ใจ  การเข้าร้านค้าไม่ใช่เพื่อซื้อสินค้าอย่างเดียว  แต่เราต้องมีปฏิสัมพันธ์ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย  ผมเคยเข้าร้านไหนผมก็เข้าร้านนั้น  มันมีความผูกพันมากกว่าผู้ให้บริการกับลูกค้า  ความผูกพันที่ก่อเกิดกันมานานหลายปี  ใช่จะเสื่อมสลายเพราะสิ่งที่มาใหม่  ห้างใหญ่ห้างโตใช่จะดีเสมอไป ผมเข้าห้างทีไร..ปวดหัวทุกที่อากาศมันไม่ถ่ายเทครับ  ไม่มีความเป็นธรรมชาติ  การทักทายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายก็แค่เพียงคำว่า  สวัสดีค่ะ  รับอะไรเพิ่มมั่ยคะ  เป็นประโยคเดิมๆที่เขาท่องจนขึ้นใจ  ผมชอบเวลาซื้อสินค้าได้พูดคุยเรื่องราวต่างๆกับผู้ขาย  มันมีความรู้สึกอบอุ่น    เหมือนพี่เหมือนน้อง  มีรอยยิ้มให้กัน  เดียวนี้ผมก็ชอบไปห้างนะ  (ห้างหนูนะครับ)  ผมอยู่ข้างพี่เสมอนะ  ขอเป็นกำลังใจ

ขอเป็นหน่วยสนับสนุข้างคุณหัวแดง และร้านค้าทุกๆร้านค้าในตลาดอำเภอกระนวน และก็หัวชนฝาที่จะต่อต้านไม่ให้มีโอกาสมาเปิดที่อำเภอกระนวน  ก่อนอื่นก็รู้อยู่ว่า มาดีสำหรับคนที่จะซื้อได้ของถูก  มีของให้เลือกมากมาย  มาที่เดียวได้หมด  สะดวกสบาย แต่จะขอบอก  ห้างนี้ไม่ใช่ของคนกระนวน  เป็นที่อื่นมาเปิด แล้วขายโกยเงินออกนอกอำเภอกระนวน การค้าการหมุนเวียนเงินของพ่อค้าแม่ค้า คงต้องหยุดชะงัก เพราะมันไปหมุนอยู่ที่เดียว  ฉะนั้นร้านค้าในกระนวนทั้งหลาย มันเป็นความผูกพัน ที่ดิฉันไม่อยากจะให้ท่านมาประสบชะตากรรมแบบนี้  ของถึงจะถูกจะแพง จำไว้ว่า   ลูกค้าเขาจะชอบซื้อกับพ่อค้าที่มีอัธยาศณัยดี  อลุ้มอล่วย  และให้เกียนรติผู้มาซื้อ  เขาอาจจะต่อราคานิดหน่อย  ก็ต้องทำใจ  ให้จำไว้ว่า  ให้ได้นิดหน่อย  แต่ให้ได้จากคนนี้ตลอดไป  รักษาเขาไว้ ถ้าเราทำดีแล้ว  เขาต้องผูกพันกับเรา  ไม่ยอมให้เราตกอับแน่นอน  การค้าของพี่ ทุกวันนี้  พี่ก็ถือคติว่า แม้ได้นอย แต่ให้ได้นานๆ   

  • ผมมาทีหลังมาเยี่ยมบันทึกที่น่าสนใจนี้
  • ร้านค้าในเขตเทศบาลหนองโก หรือที่ไหน ก็น่าเห็นใจในวิกฤตินี้  ผู้ค้ารายย่อยในตลาดชุมชนดั้งเดิม (เมื่อเทียบกับผู้ที่จะมาตั้งใหม่/ครบวงจร) จะอยู่ได้อย่างไร  ในภาวะการดังน้ำไหลบ่าท่วมเช่นนี้
  • ส่วนในความเป็นตัวตนของร้านค้าย่อย  ก็คงมีส่วนตามที่มีท่านที่ได้ตั้งข้อสังเกตุมาบ้าง
  • แต่เชื่อเถอะครับ  ด้วยองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างของร้านค้าตลาดเดิม เช่น อัธยาศัย น้ำใจ ความอดทน ศึกษาและพัฒนาทั้งคุณภาพและจิตใจตนและลูกค้าตลอดเวลา  ผมเชื่อว่าประชาชน ลูกค้าเดิม ๆ ไม่ทิ้งร้านแฟนเดิม แน่นอน
  • ยกตัวอย่างครับเช่น ถ้าเป็นเสื้อผ้านักเรียน ที่ซำสูงคนก็ยังเชื่อในร้านแม่ใหญ่...  ถ้าที่หนองโกกระนวน  ก็เห็นคนยังนิยมเข้าไปแถบตลาดศูนย์การค้า ถ้าเป็นวัสดุการศึกษา ผมก็ยังเห็นคนทั้งประชาชนและราชการนิยมร้านดั้งเดิมทั้งที่ ขอนแก่น  และหนองโก นะครับ เห็นกันอยู่..
  • เรื่องอัธยาศัยและคุณภาพนี่สำคัญ  รวมทั้งการผนึกกำลังกันพัฒนาลู่ทางการตลาดใหม่ แปลก ๆ  เช่น ตลาดโบราณสามชุก  ตลาดบ้านเก่าท่านเจ้าคุณ (พระธรรมปิฎก) สุพรรณบุรี ที่ผมและคณะครู กศน.ซำสูง ได้ผ่านไปดู....

          ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเยี่ยมยามกันนะครับ ท่านหัวแดง

บทความนี้ผมเขียนลง นสพ.ผู้จัดการ ระหว่างปี ๒๕๔๔

หากท่านใดสนใจอ่านเพิ่มบทความที่เกี่ยวข้อง

ติดตามได้ที่:

www.visitsurin.com

ด้วยไมตรีจิต

ปรีชา วรเศรษฐสิน

บทความนี้ผมเขียนลง นสพ.ผู้จัดการ ระหว่างปี ๒๕๔๔

หากท่านใดสนใจอ่านเพิ่มบทความที่เกี่ยวข้อง

ติดตามได้ที่:

www.visitsurin.com

ด้วยไมตรีจิต

ปรีชา วรเศรษฐสิน

................................................

ขออภัย..แก้ไข

****บทความนี้ผมเขียนลง นสพ.ผู้จัดการ ....

แก้เป็น

****บทความนี้ผมเขียนลง เว็บ www.meechaithailand.com....

ด้วยไมตรีจิต

ปรีชา วรเศรษฐสิน

เรียนคุณปรีชา วรเศรษสิน

ขอขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงยิ่ง ที่ได้เป็นผู้ให้ความรู้ในเรื่องของห้างยักษ์เอาไว้ ซึ่งในกลุ่มการเรียนรู้ของพวกกระผม ได้นำเอาข้อความของท่านไปเผยแพร่เพื่อการต้อสู้กับการขยายตัวของห้างยักษ์ต่างๆ ที่กำลังขยายตัวอยู้ในขณะนี้ โดยไม่ทราบว่าเป็นบทความของท่าน เนื่องจากมีเพื่อนคนหนึ่งเขาได่ส่งข้อความเข้ามาให้ ถ้าผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ โอกาสนี้นะครับ

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงยิ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท