โคลงสี่


ความรู้เรื่องการแต่งโคลง

โคลงสี่

โคลงสี่สุภาพ                                  โคลงสี่ดั้น                                              โคลงกระทู้โคลงสี่จัตวาทัณฑี                                                                                                         โคลงตรีพิธพรรณ 

ข้อควรคำนึงในการแต่งโคลง

1.  นิยมจบบทด้วยเสียงวรรณยุกต์สามัญ หรือ เสียงจัตวา                                             2.  ห้ามจบบทคำประพันธ์ทุกชนิดด้วยคำตาย หรือ คำที่มีรูปวรรณยุกต์                      3.  ห้ามใช้คำคำเดียวกันรับส่งสัมผัสกัน                                                         4.  คำที่ 7 บาทที่ 1 และคำที่ 5  บาทที่ 2 และ3 ห้ามใช้คำที่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ          ให้ใช้คำสุภาพ                                                                                                                      5.  คำที่ 5  7  9  ในบทเดียวกันห้ามใช้สัมผัสสระเสียงเดียวกัน                                    6.  ห้ามนำคำที่แต่งไม่จบเนื้อความ มาเป็นคำสร้อย

ลักษณะบังคับคำประพันธ์

                              ๐ ๐ ่้     ๐ ๐  (๐ ๐)                                                

                ๐ ๐ ๐ ๐     ่ ้

                                     ๐ ๐ ๐         (๐ ๐)

                                      ๐ ๐ ๐      ่ ้ ๐ ๐

               

คณะ

   - บทหนึ่งมี 30 หรือ 32 หรือ 34 คำ  แบ่งเป็น 4 บาท บาทละ 7 คำ บาทสุดท้าย         มี 9 คำ มีคำสร้อยได้ในท้ายบาทที่ 1 และบาทที่ 3

วรรณยุกต์

       บังคับรูปวรรณยุกต์เอก 7 แห่ง โท 4 แห่ง  ถ้าใช้คำตามบังคับไม่ได้ใช้เอกโทษ  หรือโทโทษ  หรือ คำตาย ที่ไม่ปรากฏรูปวรรณยุกต์แทน

   คำเอกบาทที่ 1 คำที่ 4  เป็นคำเอก  คำที่ 5 เป็นคำโท  และอาจสลับตำแหน่งกันได้บาทที่ 2  คำที่ 2 และคำที่ 6  เป็นคำเอก  คำที่ 7 เป็นคำโท                                         บาทที่ 3  คำที่ 3  และคำที่ 7  เป็นคำเอก                                                                        บาทที่ 4  คำที่ 2  และคำที่ 6  เป็นคำเอก   คำที่ 5 และ คำที่ 7  เป็นคำโท               วรรคสุดท้ายมี 4 คำ ต้องเขียนติดกันไปไม่เว้นวรรคระหว่างคำที่ 2 และ 3            สัมผัส

   มีสัมผัสบังคับคือ สัมผัสนอกซึ่งต้องเป็นสัมผัสสระ 3 แห่งคำสุดท้ายของบาทที่ 1  ส่งสัมผัสไปยังคำที่ 5  บาทที่ 2 และ 3คำสุดท้ายของบาทที่ 2  ส่งสัมผัสไปยังคำที่ 5  บาทที่ 4

     ถ้าแต่งหลายบทมีสัมผัสระหว่างบท คือ คำสุดท้ายของบทหน้าส่งสัมผัส             ไปยังคำที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 ของบาทที่ 1 ในบทต่อไป

  *ความแตกต่างของโคลงสี่สุภาพ   โคลงสี่จัตวาทัณฑี   โคลงตรีพิธพรรณ           และโคลงกระทู้ อยู่ที่การรับส่งสัมผัสระหว่างบาทที่  1 และบาทที่ 2  นอกนั้นสัมผัสบังคับเหมือนโคลงสี่สุภาพ

 

โคลงสี่จัตวาทัณฑี

                    ๐ ๐ ๐ ๐ ๐            ๐ ๐ (๐ ๐)         

                    ๐ ๐ ๐ = ๐                 ๐ ๐        

                              

                         เสร็จเสวยสวรรเยศอ้าง         ไอศูรย์  สรวงฤๅ

                         เย็นพระยศปูนเดือน              เด่นฟ้า

 โคลงตรีพิธพรรณ

                                 ๐ ๐ ๐ ๐ ๐              ๐ ๐ (๐ ๐)                                                  ๐ ๐ = ๐ ๐                    ๐ ๐       

โคลงกระทู้               

       มีบังคับเอกโทเช่นเดียวกับโคลงสี่สุภาพ แต่ต้องเขียนแยกคำกระทู้ และต้องอ่านคำกระทู้ก่อนยกเว้นโคลงกระทู้ซ้ำคำไม่ต้องเขียนแยกคำกระทู้นั้น  เช่น 

                    เพื่อนกัน สิ้นทรัพย์แล้ว       แหนงหนี                                         

                    หาง่าย     หลายหมื่นปี           มากด้วย                                          

                   เพื่อนตาย  ถ่ายแทนชี-          วาอาตม์  

                  หายาก ฝากผีไข้                       ยากแท้จักหา        

                                         

                    เว้น เล่าลิขิตสัง-                   เกตว่าง  เว้นนา   

                    เว้น ที่ถามอันยัง                  ไป่รู้    

                   เว้น วิจารณ์ว่างเว้น              สดับฟัง    

                   เว้น ดั่งกล่าวว่าผู้                    ปราชญ์ได้ฤๅมี
หมายเลขบันทึก: 114795เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2007 13:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท