ข้อคิดเรื่องAARจากรายงานการประชุมเครือข่ายกะหรอ 4 ม.ค.49


การจัดการความรู้คือการพัฒนาคน เป็นการเพิ่มทุนปัญญาเพื่อไปพัฒนาเครือข่าย/กลุ่ม/ตัวเองให้เข้มแข็งขึ้น

การทำAARคือการทบทวนหลังปฏิบัติการ(ทำกิจกรรมจัดการความรู้)

พี่ทรงพลแนะนำว่า

1)ให้ทบทวนว่าในแต่ละกิจกรรมมีการใช้ความรู้หรือไม่ นั่นแหละคือการจัดการความรู้

2)การจัดการความรู้ที่ดีคือ การปฏิบัติ(ทำกิจกรรม)ที่เนียนอยู่ในงานประจำที่ทำอยู่ (ไม่ใช่ทำแยกออกมาต่างหาก)

จากหลักการดังกล่าวพบว่า

การประชุมเครือข่ายถือว่าเป็นกิจกรรมประจำ(ปกติ)ของเครือข่าย

การสอดแทรกการจัดการความรู้เข้าไปก็คือ 1)ในการประชุมนั้นมีการใช้ความรู้มาช่วยหรือเปล่า 2)เป็นความรู้อะไรบ้าง

การทำAARคือ การเรียนรู้หลังปฏิบัติการ ดังนั้น ก่อนปฏิบัติการ(เรียนรู้ก่อนทำ)สิ่งที่ต้องทราบคือ 1)การประชุมเครือข่ายมีวัตถุประสงค์อย่างไร? 2)การประชุมในวันที่  4 ม.ค.ที่ผ่านมามีเป้าหมายเฉพาะอย่างไรบ้าง? เมื่อรู้วัตถุประสงค์และเป้าหมายเฉพาะแล้วก็ต้องมีการเตรียมตัวโดยทีมคุณอำนวย โดยมีนักเรียนคุณกิจคือ กรรมการ   เครือข่ายทุกคน (คุณอำนวยอาจมาจากกรรมการเครือข่ายบางคนที่มีความสามารถ นักวิจัยและหน่วยงานสนับสนุนที่มีความสามารถซึ่งก็เป็นนักเรียนในบทบาทของคุณอำนวยเช่นกัน) ทีมคุณอำนวยต้อง เตรียมกระบวนการ บทบาทวิทยากรกระบวนการ คนบันทึก วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ ห้องประชุม ลำดับขั้นตอนการประชุม ฯลฯ

เมื่อเตรียมเสร็จแล้ว (การออกแบบกระบวนการประชุมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ซึ่งทีมคุณอำนวยต้องรู้เป้าหมายของคุณกิจและมีเป้าหมายของตนเอง) ทั้งหมดคือ การเรียนรู้ก่อนทำกิจกรรม

เมื่อถึงวันประชุมก็ดำเนินการตามกระบวนการที่วางไว้โดยทีมคุณอำนวยเป็นผู้นำกระบวนการ (อันนี้เป็นการเรียนรู้ระหว่างทำกิจกรรม)

เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ ก็ทำAARคือการเรียนรู้หลังจากทำไปแล้ว 

นักเรียนคุณกิจจะสรุปบทเรียนตนเองว่ากิจกรรมที่ตนเองเข้าร่วมบรรลุเป้าหมายส่วนตนหรือไม่อย่างไร? ซึ่งแต่ละคนมีทั้งที่เหมือนกันและไม่เหมือนกันตามบทบาทหน้าที่และมุมมองความรู้ที่ตนเข้าใจ

นักเรียนคุณอำนวยก็สรุปบทเรียนกระบวนการที่ตนออกแบบมาว่าทำให้คุณกิจบรรลุเป้าหมายหรือไม่อย่างไร?(ควรสรุปหลังจากนั้นทันทีภายในทีมคุณอำนวย-AARคุณอำนวย)

การทำAARก็จะมีประโยชน์มากเพราะทำให้การทำกิจกรรมแต่ละครั้งมีการเรียนรู้ทั้ง3ขั้นตอน (ก่อนทำ ระหว่างทำและหลังทำ)เป็นการยกระดับการเรียนรู้เพื่อเขยิบเข้าใกล้เป้าหมายไปเรื่อยๆทั้งเป้าหมายเล็กๆตามรายทางและเป้าหมายใหญ่ตอนสิ้นสุดโครงการ

การทำAARจึงต้องมีการเตรียมการมากตั้งแต่เนิ่นๆ ที่สำคัญคือ

1)ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรู้วัตถุประสงค์และเป้าหมายในการทำกิจกรรม

2)ผู้เข้าร่วมมีบทบาทในเครือข่าย/กลุ่ม และรู้ว่ากิจกรรมดังกล่าว     จัดขึ้นเพื่อพัฒนาความสามารถของตนในบทบาทที่ตนรับผิดชอบ และหากประเมินได้ว่าตนเองต้องการพัฒนาความสามารถในเรื่องใด  ก็จะเป็นการดีมาก

การพัฒนาเครือข่าย/กลุ่มให้คนทำงานมีองค์ประกอบสำคัญ3ประการเพื่อสร้างองค์กรเรียนรู้เป็นเรื่องสำคัญ คือ 1)ภาวะผู้นำ2)การทำงานเป็นทีม3)การคิดเชิงระบบ

กรณีเครือข่ายกะหรอที่รัตน์เล่ามา การประชุมช่วยให้ 1)ทราบข้อมูล   การเงิน สร้างความโปร่งใส เอื้อให้การทำงานเป็นทีมดีขึ้นคือไม่กินแหนงแคลงใจกัน 2)ฝึกการเป็นประธาน เลขา ฯลฯ ซึ่งเป็นประโยชน์มาก

การทำกิจกรรมควรฝึกฝน(สร้างการเรียนรู้)ทั้งบทบาทในฐานะเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานและกระบวนการทำงานร่วมกัน เช่น ประธาน บัญชี เลขา ฝ่ายเงินกู้ ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ และในฐานะกรรมการหรือผู้นำในเรื่องสำคัญ3เรื่องข้างต้นคือภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีมและการคิดเชิงระบบ โดยเชื่อมโยงกับเป้าหมายเฉพาะในการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้งเสมอ เพราะกิจกรรมแต่ละครั้งอาจมีเป้าหมายในการฝึกฝนหลายๆเรื่องพร้อมๆกันก็ต้องมีความชัดเจน เพื่อให้เมื่อจบการประชุมสามารถประเมิน(AAR)ได้ว่าเราก้าวหน้าขึ้นมากน้อยเพียงใดในเรื่องใดบ้าง

การจัดการความรู้คือการพัฒนาคน เป็นการเพิ่มทุนปัญญาเพื่อไปพัฒนาเครือข่าย/กลุ่ม/ตัวเองให้เข้มแข็งขึ้น

ถ้ามีกิจกรรมอะไร ลองเขียนเล่ากระบวนการก่อนทำกิจกรรม ระหว่างทำกิจกรรมและหลังทำกิจกรรม สู่กันฟังนะครับ

เนื้อหาที่เขียนเล่ามา  ก็คือการจัดการความรู้แล้วละครับ

หมายเลขบันทึก: 11471เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2006 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท