ใครว่าโลกกลม?


ประเทศกำลังพัฒนาก็มีโอกาสที่จะฉกฉวยประโยชน์ จากโลกาภิวัตน์ได้มาก แต่จะต้องเริ่มต้นจากการ “ย้อนสำรวจตัวเอง (introspection)” ก่อน

The World Is Flatฟ้าว่าโลกกลมไหมครับ? เคยมีคนเถียงกันมาตั้งแต่สม้ยกรีก (ก่อนที่ฟ้าจะเกิดหลายปีมาก) มีนักปราชญ์ที่เสนอความคิดถึงขั้นที่ว่า โลกนี้กลมและหมุนรอบตัวเองด้วย ต่อมา Copernicus เป็นคนที่พิสูจน์เรื่องนี้อย่างเป็นวิชาการจริง ๆ จัง ๆ แต่เป็นที่รู้กันว่า หลังจากนั้น  โคลัมบัสเป็นคนแรก ที่เดินเรือรอบโลกและพิสูจน์ว่าโลกกลมจริง

Thomas Friedman ผู้สื่อข่าวของ The New York Times ที่ได้รับรางวัล Pulitzer Prize มาแล้วสามครั้ง มองเห็นต่างจากโคลัมบัสโดยกล่าวว่า “The World Is Flat (ใครว่าโลกกลม)” หนังสือของ Friedman ชี้ว่าภาวะผู้นำทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสหรัฐ กำลังอยู่ในวิกฤตอย่างเงียบ ๆ เพราะถูกท้าทายจากผู้เล่นรายใหม่ ๆ ที่เริ่มปรับเล่นเกมแข่งขันชิงความได้เปรียบในระยะยาว ธุรกิจกำลังเปลี่ยนวิธีคิดอย่างถอนรากถอนโคน งานอาชีพระดับกลาง ๆ (new middle jobs) จะเพิ่มมากขึ้น ตามธุรกิจที่แพร่กระจายไปทั่วโลกโดยเฉพาะเอเชีย เช่น งานประสานงาน บริหารจัดการ วิจัย ออกแบบ และการตลาด

โดยสรุป The World Is Flat ฉายให้เห็นภาพธุรกิจและอุตสาหกรรมของโลก ที่ถูกผูกโยงเข้ามาหากันอย่างซับซ้อน และมีความใกล้ชิดกันมากภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่ง ศ. นิธิ เอียวศรีวงศ์ วิพากษ์ว่าโลกไม่ได้กลมหรือแบน แต่เป็นรูปปิระมิดสามเหลี่ยมที่มีผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจอยู่บนยอด ขณะที่คนส่วนใหญ่ในโลกพลัดลงมาอยู่ที่ฐานและถูกใช้ประโยชน์เพื่อสนองผู้ที่อยู่บนยอดปิระมิด

อย่างไรก็ตามในบริบทนี้ Friedman ได้กล่าวไว้ว่า ประเทศกำลังพัฒนาก็มีโอกาสที่จะฉกฉวยประโยชน์ จากโลกาภิวัตน์ได้มาก แต่จะต้องเริ่มต้นจากการ “ย้อนสำรวจตัวเอง (introspection)” ก่อน นั่นคือทบทวนให้ชัดเจนอย่างซื่อสัตย์ต่อตนเองเสียก่อน ว่าขณะนี้ประเทศของตนอยู่ ณ ตำแหน่งใด กำลังวิ่งนำไปข้างหน้าหรือถูกทิ้งให้อยู่เบื้องหลัง และที่สำคัญคือ ได้ปรับตัวและมองหาวิธีใช้ประโยชน์มากแค่ไหน จากฐานของโอกาสและเครื่องมือใหม่ ๆ ในการขยายความร่วมมือและการแข่งขัน (new platforms for collaboration and competition) พร้อมกับให้ตัวอย่างไว้มากมาย แต่ก็ไม่ลืมที่จะย้ำว่า ปัจจัยสำคัญที่เป็นได้ทั้งตัวเร่งหรืออุปสรรคต่อการปรับตัวของประเทศใด ๆ ก็คือ “มรดกทางวัฒนธรรม” ยิ่งประเทศใดสามารถสร้างค่านิยม ในการทำงานหนัก ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน มุ่งมั่นยืนหยัด และมีใจเปิดกว้างพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ก็ย่อมมีโอกาสสำเร็จมากกว่า

ฟ้าคงเห็นแล้วนะครับว่า ไม่ว่าเราจะรู้ว่าโลกกลม แบน หรือเป็นสามเหลี่ยม ก็ยังไม่สำคัญเท่ากับการ "รู้จักตัวเอง" และ "รู้ว่าตัวเองอยู่ตรงไหน" ครับ

หมายเลขบันทึก: 114555เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2007 19:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไม่ว่าเราจะรู้ว่าโลกกลม แบน หรือเป็นสามเหลี่ยม ก็ยังไม่สำคัญเท่ากับการ "รู้จักตัวเอง" และ "รู้ว่าตัวเองอยู่ตรงไหน"

 

  • ชอบมุมคิดมากครับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท