การทำงานของไวรัสในปัจจุบัน


การทำงานของไวรัสในปัจจุบัน
ในปัจจุบันปัญหาคอมพิวเตอร์ปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ต้องเผชิญอยู่ทุกๆวัน คงหนีไม่พ้นไวรัสคอมพิวเตอร์ ในอดีตไวรัสที่ประสบความสำเร็จในการสร้างความเสียหาย ส่วนใหญ่จะต้องอาศัยช่องโหว่สำคัญที่อยู่ในระบบปฎิบัติการ แต่ในปัจจุบันทางผู้ผลิตซอฟแวร์ต่างๆ ก็ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในโค้ดซอฟแวร์ของพวกเขามากขึ้น โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการที่เรารู้จักกันดีก็คือ Windows ของบริษัท Microsoft ที่ได้หาทางป้องกันปัญหาต่างๆที่ไวรัสอาจนำเอาไปใช้ในการแพร่กระจาย แต่อย่างไรก็ตามไวรัสยังคงสามารถแพร่ระบาดในวิธีอื่นๆ อีกถึงแม้ความรวดเร็วจะไม่มีมากเหมือนแต่ก่อน โดยอาศัยช่องทางที่สำคัญอีกทางที่กำลังจะกล่าวถึงก็คืออุปกรณ์ดิสแบบถอดได้ (Removable Disk) หรือที่เราเรียกว่าแอนดี้ไดร์วนั่นเอง จริงๆแล้วช่องทางนี้ไม่ได้ใหม่อะไร หากย้อนกลับไปในอดีตไวรัสก็เคยแพร่กระจายผ่านทางแผ่นดิสมาแล้ว แต่ในปัจจุบันอุปกรณ์ที่เข้ามาแทนที่แผ่นดิสก็คงเป็นแฮนดี้ไดร์วอย่างไม่ต้องสงสัย จากคุณสมบัติที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้กลายเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ ไวรัสก็เริ่มพัฒนาตามลงมาอาศัยอยู่ในอุปกรณ์พวกนี้ด้วย เพราะพาหะตัวนี้ดูเหมือนจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ หนทางในการจัดการป้องกันไวรัสที่มากับอุปกรณ์พวกนี้จากซอฟแวร์แอนตี้ไวรัสปัจจุบัน ยังมีน้อยมาก ส่วนใหญ่ถ้าซอฟแวร์พวกนี้จะลบไฟล์ไวรัสได้จำเป็นจะต้องมีการพิสูจน์และวิเคราะห์จากทางผู้ผลิตและอัพเดต ฐานข้อมูลไวรัสผ่านทางอินเตอร์เน็ตก่อน ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะรับประกันได้ว่าจะไม่มีการลบผิดตัวอย่างแน่นอน ซึ่งหากเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นก็คงสร้างความไม่ไว้วางใจจากผู้ใช้และคงส่งผลต่อความนิยมของซอฟแวร์แอนตี้ไวรัสนั้นๆ ด้วย
จากปัญหาที่เคยประสบมา เราทำได้แต่รอให้ไวรัสพวกนี้ติดเข้าเครื่องแล้วก็ร้องขอความช่วยเหลือจากซอฟแวร์ป้องกันไวรัส ดูเหมือนเรากำลังเล่นซ่อนหากันอยู่ ทันทีที่ไวรัสถูกค้นพบ ซอฟแวร์แอนตี้ไวรัสส่วนใหญ่ก็จะอัพเดตตัวเองผ่านทางอินเตอร์เน็ตแล้วก็กำจัดไวรัสได้ แต่อีกมุมหนึ่งของเมืองคนเขียนไวรัสก็นั่งเขียนไวรัสตัวใหม่แล้วก็ลองรันในเครื่องของเขาที่ได้ติดตั้ง ซอฟแวร์แอนตี้ไวรัสจากทุกๆบริษัทดังๆเพื่อหาวิธีที่จะให้ไวรัสของเขาไม่ถูกตรวจพบ แน่นอนเขาทำสำเร็จแน่เพราะวิธีที่จะทำให้ไม่ถูกตรวจพบมีมากมายนับไม่ถ้วนที่เดียว บางครั้งแค่แก้ไขโค้ดเพียงบรรทัดเดียว ซอฟแวร์แอนตี้ไวรัสที่เคยเป็นศัตรูกับกลายเป็นมิตรอย่างหน้าตาเฉย
ผู้ที่เดือนร้อนของหนีไม่พ้นผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกๆคน ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว เครื่องสาธารณะอย่างคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัย คอมพิวเตอร์ในร้านอินเตอร์เน็ต ไม่เพียงเท่านั้น คอมพิวเตอร์เหล่านี่กลายเป็นเครื่องผีดิบที่เป็นแหล่งสำรองทัพของพวกไวรัส เพราะคอมพิวเตอร์เหล่านี้ มีคนมากหน้าหลายตามาใช้งานไม่เว้นแต่ละวัน และเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีแฮนดี้ไดร์ว ติดตัวกันทุกคน และอดไม่ได้ที่จะมีการเชื่อมต่อมันกับคอมพิวเตอร์เหล่านี้ เมื่อไปใช้คอมพิวเตอร์ที่ทำงาน บ้าน มหาวิทยาลัย หรือที่อื่นๆ มันก็จะแพร่กระจายไปที่นั่นด้วย และก็คงแก้ไขปัญหากันไม่สิ้นสุด ยกตัวอย่างเช่น หมู้บ้าน A ติดไวรัส คนจากหมู่บ้าน B มาใช้งานแค่คนเดียวและครั้งเดียวกลับไปที่หมู่บ้าน B เป็นช่วงที่หมู่บ้าน A ลงทุนกำจัดไวรัสจนหมดไปจากหมู่บ้าน เชื่อเถอะว่าสักวันไม่คนใน หมู่บ้าน A ก็ B ต้องนำไวรัสกลับมาในหมู่บ้าน A อย่างเดิม ผมเคยคิดเล่นๆไว้ว่าถ้าเราจะกำจัดไวรัสจริง คงต้องตัดการเชื่อมต่อทั้งคนและเครือข่ายหรือไม่ก็ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมๆกันทั้งโลก ซึ่งมันไม่มีทางทำได้ ฉะนั้นการแก้ไขที่ปลายเหตุของไม่ใช่ประเด็น เราควรป้องกันเสียดีกว่า เมื่อเรารู้อยู่แล้วไม่อาจหยุดยั้งการกระทำของคนเขียนไวรัสได้ เราก็ป้องกัน หากเราจะกำจัดมันให้ได้ทุกตัวคงเป็นเรื่องยากมากๆ สิ่งที่ทำได้ซึ่งมันก็เพียงพอแล้วสำหรับคนใช้คอมพิวเตอร์ ก็คือศึกษามันและป้องกันก็เพียงพอ
ทั้งหมดนี้คือที่มาของโปรเจคเล็กๆ ที่เขียนโปรแกรมขึ้นโดยไม่ได้มีความยุ่งยากและซับซ้อนอะไร จุดประสงค์จริงๆของโปรแกรมนี้เพื่อตัดการเชื่อมต่อไวรัสที่มากับแฮนดี้ไดร์วก่อนที่จะเข้าสู่คอมพิวเตอร์ หลักการง่ายๆที่ผมยึดก็คือ "เราไม่มีสิทธิลบไฟล์ใดๆของผู้อื่น ตราบใดที่เรายังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่าไฟล์นั้นไม่ปลอดภัยต่อเครื่องของเขา เราทำได้เพียงยกเลิกคำสั่งที่เสี่ยงลงเท่านั้น" หลักการง่ายๆแค่นี้แต่สามารถป้องกันเครื่องจากไวรัสอย่างได้ผล กล่าวคือ ไม่ว่าอุปกรณ์ที่มาเชื่อมต่อนั้นจะมีไวรัสอะไรก็ตามโปรแกรมจะไม่สนใจทั้งสิ้น เพราะมันจะไม่มีโอกาสได้รันหรือทำคำสั่งอะไรบนเครื่องของเรา อย่างเด็ดขาด หากผู้ใช้ไม่ได้ร้องขอเป็นกรณีพิเศษ ไฟล์ไวรัสที่อยู่ในแฮนดี้ไดร์วจะไม่ถูกลบแต่จะไม่ทำงาน ด้วยวิธีนี้ถึงแม้ไวรัสจะถูกเขียนขึ้นมาใหม่กี่ครั้งกี่หนก็ไม่สามารถติดเชื้อเครื่องของเราได้ เพราะบันไดขั้นแรกของการ ทำงานของมันถูกตัดขาด ถึงแม้ว่าขั้นที่สอง สามของไวรัสจะเต็มไปด้วยความสามารถในการสร้างความเสียหาย ระบบการแพร่กระจายที่รวดเร็วไร้ข้อผิดพลาด เท่ากับว่าทั้งหมดสูญเปล่า
ไฟล์ไวรัสคือไฟล์ที่สามารถรันได้ซึ่งมีอยู่หลายนามสกุล เช่น
*.exe *.com *.scr *.pif *.bat *.vbs *.js *.cmd
ซึ่งเราสามารถตรวจสอบในเบื้องต้น หากพบไฟล์นามสกุลพวกนี้ โดยไม่ทราบแหล่งที่มา ขนาดไฟล์ไม่ใหญ่(เพราะหากเป็นไวรัส ขนาดไฟล์ตัวเองที่ใหญ่นั้นอาจทำให้การเคลื่อนที่ไฟล์ไม่สะดวก) ก็ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าเป็นไวรัส
หมายเลขบันทึก: 114501เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2007 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 13:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท