เมื่อลำตัดมาเยือนเมืองช้าง


ลำตัด "หวังเต๊ะ"

           วันหยุดที่ผ่านมา ดิฉันและกลุ่มเพื่อนลูก ๆ (รวม 8 ชีวิต)  มีโอกาสได้ไปชมการแสดงการกุศลเพื่อหาทุนช่วยเด็กพิการ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ จ.สุรินทร์  ในงานจัดให้มีการแสดงเด่น 2 รายการ คือ ลำตัด "หวังเต๊ะ" และ หุ่นละครเล็ก "โจหลุยส์"  

           เมื่อพิธีกรแนะนำการแสดงชุดแรกคือ ลำตัด  "หวังเต๊ะ"  พร้อมอธิบายสรรพคุณหัวหน้าคณะ  หวังเต๊ะ หรือ คุณหวังดี นิมา หรือ พ่อหวัง เดิมเป็นคนปทุมธานี มีผลการแสดงลำตัดมานานกว่า 40 ปี จนได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ  เมื่อกลอง รำมะนา ตีรัว ก็สร้างความตื่นตา ฮือฮา ให้กับผู้ชมที่แน่นห้องประชุม เด็ก ๆ ต่างชะเง้อตาชม พลางถามว่า "แม่ ลำตัดเป็นยังไง"  ดิฉันต้องอธิบายไป ตาดูไป  มาคิดได้ว่า เราพลาดเองที่ไม่จัดการความรู้ก่อนทำ (BAR) ก่อนพาลูกมาดู (ได้เรียนรู้อีกแล้ว)

            สำหรับลีลาการแสดงของคณะลำตัด "หวังเต๊ะ"   ครั้งนี้เป็นการนำเสนอลักษณะของเพลงพื้นบ้านภาคกลาง แถบสุพรรณบุรี สิงห์บุรี เช่น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงอีแซว ฯลฯ สอดแทรกความรู้ให้ผู้ชมฟังเป็นระยะ   คุณหวังเต๊ะ หรือ พ่อหวัง ปีนี้อายุมาโข ประมาณ 85 ปี ท่าทางเดินเหินไม่ค่อยคล่อง แต่ลีลาลูกรับ ลูกส่ง ไม่มีตกเลย  เรียกเสียงฮาได้เป็นระยะ  คนทางแถบอีสานไม่ค่อยคุ้นเคยกับการแสดงแบบนี้มากนัก  แต่ศิลปพื้นบ้านที่ สนุกสนาน ครื้นเครง สอดแทรกวิถีชีวิตคนถิ่น ได้สะท้อนแง่งามของภูมิปัญญา ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันได้ไม่ยาก  

              การแสดงลำตัด จบลงด้วยความประทับใจ ต่อด้วยหุ่นละครเล็ก "โจหลุยส์"   แล้วจะกลับมาเล่าต่อคะ

ลำตัด
ลีลาพ่อหวังและคณะ 
 ลำตัด
หมายเลขบันทึก: 114357เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2007 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ท่าทางน่าสนุกนะครับ หลังจากดูกันตรึมมานานแล้ว เปลี่ยนมาดูลำตัดซะบ้าง.......

P
เมื่อเด็กๆชอบดูลำตัด มาจนทุกวันนี้ ลีลาพื้นบ้าน สนุกดีค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท