KM หรือ MK


KM
 

KM หรือ MK

 KM หรือว่า MK* คำถามและคำตอบหยอกล้อระหว่างการสนทนาในวงผู้ค้นคว้าหาความรู้ ผู้คนจากหลายหน่วยงานเฝ้าจัดกิจกรรมค้นหาความรู้เพื่อนำมาบริหารจัดการความรู้ให้สามารถแบ่งปันจากเพื่อนร่วมงานสู่เพื่อนร่วมงาน คำกล่าวสุดหรู Knowledge Management ที่นักวิชาการสร้างสรรค์แนวความคิด บอกถึงที่มา ที่ไป และแนวทางจัดการให้ความรู้ที่มีในผู้คนเพื่อนำมาแบ่งปัน สร้างแนวทาง นำสิ่งเก่า ๆ ที่อยู่ในตัวให้มาเป็นสิ่งใหม่กับอีกคนเพื่อนำมารวบรวม จัดกลุ่มให้เกิดความชัดเจนถึงแนวทางที่ดี ที่สุด หรือทางลัดสู่ดวงดาวดวงเล็ก ๆ แต่ละดวง            
การจัดกิจกรรม KM ทำเพื่อให้เกิดอะไรแก่องค์กร   หรือผู้เข้าร่วมกิจกรรม  ที่สำคัญก็ คือ การจัด KM ขึ้นเพื่อให้หน่วยงาน องค์กร   นำความรู้    หรือการเรียนรู้     การปรับเปลี่ยน วัฒนธรรมภายใน  ด้วยการสร้างและใช้ความรู้ที่มีอยู่ภายในนำมาใช้ในการปฏิบัติงาน     ด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน   การแลกเปลี่ยน ภายในองค์กรที่จัดกิจกรรม KM  การเรียนรู้จะได้มากจาดบุคลากรภายในหน่วยงาน หรือพนักงานที่สังกัดองค์กรนั้น ๆ หรือถ้าองค์กรนั้นเป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ บุคลากร   ก็หมายถึง    ข้าราชการ พนักงาน  ลูกจ้าง   ผู้บริหาร   ครู  ซึ่งผู้คนทั้งหลายเหล่านี้ทุกคนมีภาวะที่มีการเรียนรู้จากงานของตนเอง และกิจกรรม KM จะช่วยสร้างหรือเป็นแรงผลักให้บุคคลนั้น แบ่งปันความรู้ให้แก่ผู้อื่น     ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนร่วมงาน หรือผู้ใช้บริการ  เป็นการเชื่อมโยงให้องค์กรเริ่มจัด และมี    กลไกที่จะจัดการกับความรู้ของผู้คนในองค์กรให้ดึงสมรรถนะของตนเองออกมา เพื่อทำองค์กรของตนเองเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ในที่สุด

                           การจัดการความรู้  (KM  Process) สามารถแยกออกเป็นส่วน ๆ ให้เกิดความเข้าใจว่ารูปร่างของ  KM มีหน้าตา ลักษณะอย่างไร เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ควรใช้แนวทางใดในการจัดการความรู้ สิ่งแรกของการจัดการความรู้ การสร้างทัศนะที่ดีในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของตนเอง ให้ผู้คนเกิดความรู้สึกอยากบอก ถ่ายทอดสิ่งที่ตนรู้ให้ผู้อื่นทั้งผู้ที่มีความรู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่ไม่มีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรารู้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การเปิดใจแบ่งปันอย่างจริงใจ (open mine) ในมุมมองกลับกันผู้ที่รับจะรู้สึกได้และผู้คนในองค์กรจะแบ่งประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานกับตัวเราเอง เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างเพื่อนร่วมงาน ซึ่งถ้ากิจกรรม KM เข้มแข้งจะเกิดการขยายขอบเขตไปยังบุคคลทั้งภายในและภายนอก  หน่วยงานของตน  ลำดับถัดมาก็คือ  เป็นผลลัพธ์หรือที่ให้คำตอบจากการปฏิบัติในข้อแรก องค์กรจะเกิดการปรับเปลี่ยนที่สามารถเห็นได้ ผู้คนในองค์กรแบ่งปันสิ่งที่รู้ร่วมกัน จัดทำแนวทางการจัดการความรู้ลงในกระบวนการของการดำเนินงานให้มีความชัดเจนเป็นไปในทางเดียวกัน ดังนั้น แนวคิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิดของผู้คนไปในทางที่ดี หรือความรู้สึกนึกคิดในเชิงบวก (Positive Thinking) เป็นปัจจัยที่สำคัญ ดังคำกล่าวที่ว่า  “สมองประสานใจ”  ที่จะสามารถสร้างความมั่นใจ และเชื่อมั่นว่าจะการจัดการความรู้จากกลุ่มคนที่แบ่งปันสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม KM ในองค์กรสามารถประสานใจได้อย่างแนบแน่นยิ่งขึ้นถ้าผู้นำองค์กรเห็นความสำคัญ และสนับสนุนการจัดการความรู้ขององค์อย่างต่อเนื่อง           


วิจารณ์   พานิช.  (2545).  องค์กรแห่งการเรียนรู้ และการจัดการความรู้.  วารสารเวชปฏิบัติและการใช้ยา.  กทม.ประพนธ์  พาสุดยืด.  (2547).  การจัดการความรู้และการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Management      & Learning  Organization).  สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)  กทม.นำทิพย์   วิภาวิน.  (2547).  การจัดการความรู้กับคลังความรู้.    เอสอาร์พรินติ้ง  แมสโปรดักส์.   กทม.ยืน  ภู่วรรณ.  (2548).  การจัดการความรู้และการเรียนรู้ขององค์กร.    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  กทม. http://gotoknow.org/

 
คำสำคัญ (Tags): #km#mk#ความรู้
หมายเลขบันทึก: 114339เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2007 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านแล้วแสดงความคิดด้วยซิค่ะ จะได้พยายามต่อไป

แล้วจะเป็น KM หรือ MK ดีคะ อ่านพี่อัจเขียนแล้ว ได้รู้จักมากขึ้นแหละ ว่าเบื้องหลังความสุขุม คือ ผลึกความคิดที่กระจ่างใส....ใช่ไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท