วิธีการจัดบริหารการจัดการความรู้ในโรงพยาบาล


โดย ดร.ตวงอัฐ ชัยกิจโกสีย์

โดย ดร.ตวงอัฐ ชัยกิจโกสีย์ : วิธีการจัดบริหารจัดการความรู้ในโรงพยาบาล ต้องมีการจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ +ความรู้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ และเพิ่มจำนวนบุคลากรในคณะฯให้สามารถดำเนินการในบทบาทของ Facilitator ได้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ เริ่มต้นด้วยบรรยากาศของความเป็นกันเอง ที่ทำให้ทุกคนผ่อนคลายด้วยกิจกรรมทิ้งความกังวล ในช่วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคการเป็น Facilitator นั้นโดยผู้ร่วมประชุมในครั้งนี้ ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องของคุณสมบัติของ Facilitator การดำเนินการของFacilitator ในการจัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคที่เผชิญ และเทคนิคในการแก้ปัญหาเหล่านั้น โดยความรู้ที่สกัดได้นั้น ทางทีม Historian จะนำเสนอผ่านความรู้ผ่านสื่ออีกทีหนึ่ง เนื่องจาก บุคคลากรในโรงพยาบาล ต้องเจอกับประสบการณ์และสถานะการที่ต่างไปจากบุคคลากรอาชีพอื่นๆ ซึ่งในเหตุการณ์เดียวกัน แต่พยาบาลบางคน อาจมีวิธีแก้ไขสถานะการณ์ที่ต่างกัน และนำมาซึ่งผลที่ได้ ต่างหรือเหมือนกัน และผลลัพธ์ในแต่ละวิธีอาจดีกว่ากัน แต่ถ้า พยาบาลบางคนไม่เคยพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้กัน ก็ อาจนำมาซึ่งการพลาดโอกาสในการรักษาพยาบาลที่ดี และถูกต้องได้ การจัดกาความรู้ที่มีแต่บันทึก หรือ เอกสารเพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอ หรือ ทันต่อเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้นได้ในแต่ละวัน การจัดการความรู้เป็นการสร้างและใช้ความรู้ทางการพยาบาลหรือการปฏิบัติการพยาบาล ณ จุดปฏิบัติงานโดยผู้ทำงาน การจัดการความรู้เป็นกรอบแนวคิดภายใต้กระบวนการเรียนรู้ขององค์กร หรือในอีกมุมหนึ่ง การจัดการความรู้เป็นกระบวนการประยุกต์ เผยแพร่ความรู้ สู่องค์กร รวมทั้งความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ทางการพยาบาล เพื่อให้ได้วิธีการทำงานแบบใหม่ๆ ได้มาตรฐานการทำงานแบบใหม่หรือ Best Practices และจะไม่สามารถลงสู่ผู้ปฏิบัติได้ถ้าบุคลากรในทีมไม่ลงมือปฏิบัติ การจัดการความรู้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กร เนื่องจากงานที่ปฏิบัติเมื่อวานนี้ วันพรุ่งนี้อาจจะไม่เป็นอย่างที่ปฏิบัติอยู่ ทำให้ประสิทธิภาพของกระบวนการบริการทางการพยาบาลมีการเปลี่ยนแปลง ไม่หยุดนิ่ง จึงมีความจำเป็นที่องค์กรจะต้องประเมินประสิทธิภาพในการบริการทางการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ ได้ทบทวนตัวชี้วัดคุณภาพทางการพยาบาลในปี 2549 พบว่ายังมีอุบัติการณ์ที่ยังอยู่ในระดับสูงอยู่ได้แก่ การให้ยาผิดพลาด การหกล้มตกเตียง การติดเชื้อ บันทึกทางการพยาบาลที่ยังไม่สมบูรณ์ เป็นต้น ดังนั้นการจัดเวทีสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเล่าสู่กันฟังในสิ่งที่ได้ปฏิบัติดีดีและประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหา จะเป็นการดึงพลังปัญญา ภูมิความรู้ ประสบการณ์จากการปฏิบัติของทีมผู้ร่วมสนทนาไปสู่วิธีการทำงานหรือแนวปฏิบัติใหม่ที่ดีและมีประสิทธิภาพได้

หมายเลขบันทึก: 113785เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2007 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
น่าสนใจดีครับ อยากให้เล่ามากกว่านี้ครับ เผื่อจะได้เก็บความรู้และบรรยากาศของงานครั้งนี้ด้วย.. ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท