การเขียนอภิปรายผลงานวิจัย งานวิทยานิพนธ์


การเขียนอภิปรายผลงานวิจัย งานวิทยานิพนธ์

     มีนิสิตและเพื่อนที่เรียนโท มักจะถามผม บ่อย ๆ เสมอ ว่า การเขียนอภิปรายผล เขียนอย่างไร  มีจำนวนกี่หน้า จึงจะพอเหมาะสม แล้วเขียนต้องมีอ้างอิงด้วยไหม ไม่มีไม่ได้เหรอ เขียนยากไหม เขียนไปให้อาจารย์อ่าน ตรวจสอบ ต้องแก้ไขทุกที จะแก้ไขอย่างไร? คำถามเหล่านี้ จะหมดไป แน่นอน  ซึ่งแท้จริงไม่ยากครับ เพราะ

การอภิปรายผลการวิจัยเป็นการประเมินหรือขยายความของผลการวิจัย  เพื่อยืนยันว่าผลการวิจัยที่ได้น่าเชื่อถือ   ถูกต้อง เป็นจริง  โดยชี้ให้เห็นว่า  ผลการวิจัยสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย ตรงตามข้อเท็จจริงที่พบ  ตรงตามแนวคิด ทฤษฏีและผลการวิจัยคนอื่นหรือไม่ อย่างไร  ผลการวิจัยนั้นเป็นไปตามแนวความคิด  ทฤษฏีอะไรบ้าง  รวมทั้งมีความขัดแย้งหรือไม่ ถ้ามีความขัดแย้งจะต้องอธิบายเหตุผลและหาข้อมูลสนับสนุน ชี้แจงความเป็นไปได้ของผลการวิจัยนั้น    การเขียนส่วนนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ นิสิต  นักศึกษาได้แสดงภูมิปัญญาเชิงวิพากษ์ ในฐานะที่เป็นผู้ทำวิทยานิพนธ์ และการเขียนอภิปรายผลมีหลักการ ดังนี้

                1.   การอภิปรายผลการวิจัย ควรแสดงให้เห็นว่าผลการวิจัย สอดคล้องหรือขัดแย้งกับแหล่งอ้างอิงต่อไปนี้

                    1.1  หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

                    1.2  งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                   1.3  ปัญหาหรือข้อสังเกตที่ผู้วิจัยพบระหว่างการเก็บรวบรวมข้อมูล         

             2.  การยกงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาเขียนอธิบายกับอภิปรายผลนั้น ต้องเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับผลวิจัยเท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวข้องไม่ควรนำมาเขียนอธิบายใส่ เพราะจะทำให้เกิดความขัดแย้งหรือสับสนในการอภิปรายผล          

            3.  การอธิบายเหตุผลเพื่อสนับสนุนหรือขัดแย้งกับผลการวิจัย ต้องเป็นเหตุเป็นผลที่น่าเชื่อถือกับลักษณะผลที่เกิดดังกล่าว รวมทั้งต้องอยู่บนพื้นฐาน หลักการ ทฤษฎีและกระบวนการวิจัยหรือการทำวิทยานิพนธ์อย่างชัดเจน เช่น ขอบเขตของการวิจัย การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีดำเนินการทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นต้น       

            4.  การอ้างอิงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหรือไม่สอดคล้องกับผลการวิจัยนั้น  นิสิตนักศึกษาสามารถอ้างเป็นรายคนหรืออ้างพร้อมหลายคนก็ได้  แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลการวิจัยกับผลของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่ามีความเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด  ตัวอย่างเช่น            

             จากวิทยานิพนธ์เรื่อง แนวโน้มการดำเนินงานงานห้องสมุดประชาชนอำเภอในทศวรรษหน้าศึกษาโดยใช้เทคนิคเดลฟายของ อุบล โคตา (2545)          

            กรณีที่ 1  อ้างอิงรายคน             

                 1.4 ด้านบทบาทหน้าที่ของห้องสมุดประชาชน พบว่าบรรณารักษ์จะมีวุฒิปริญญาตรีทางบรรณารักษ์ ..........สอดคล้องกับงานวิจัยของอัญชลีกร  กุลสุวรรณ(2533 : 112) ที่พบว่า ............          

            กรณีที่ 2  อ้างพร้อมกันหลายคน               

                 1.5  ด้านงบประมาณ  ห้องสมุดประชาชนอำเภอจะได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น .........และในทศวรรษหน้าห้องสมุดประชาชนอำเภอจะได้รับงบประมาณจากรัฐบาลน้อยลง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ จุมพจน์ วนิชกุล.  2527 : 68 ; สมชาย มะลิลา.  2523 : บทคัดย่อ ; สุรางค์  นันทกาวงศ์.  2537 :  บทคัดย่อ ที่พบว่า ... ....ห้องสมุดได้รับงบประมาณน้อย....      

         5.  การนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้กับอภิปรายผล  นิสิต นักศึกษา ควรพึงระวังว่า งานวิจัยแต่ละเรื่องนั้นมีการสรุปที่ไม่เหมือนกันและในเรื่องเดียวมีผลการวิจัยหลายข้อ  การกล่าวอ้างควรดึงเฉพาะบางส่วนที่เกี่ยวข้องเท่านั้นมาใช้กับงานวิทยานิพนธ์ของตน ซึ่งการยกมาอภิปรายผลต้องประกอบด้วย ชื่อผู้วิจัย : เลขหน้าที่อ้างอิง..ผลการวิจัยที่สอดคล้องกับผลการวิจัยของเราเท่านั้น  ตัวอย่างการอภิปรายผล เช่น           ..... ประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่าย  รายวิชา พันธะเคมี  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ  80.44/82.40  สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้  80/80  สอดคล้องกับงานวิจัยของวุฒิชัย  โพธิ์ศรี   (2547  : 134- 143)  ที่พบว่า บทเรียนบนเครือข่ายที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ  83.60/84.67  ..                        งานวิจัยที่สอดคล้องกับผลการวิจัยของนิสิต นักศึกษา เป็นของ วุฒิชัย  โพธิ์ศรี   (2547  : 134- 143)   ได้ทำการวิจัยผลการเรียนรู้ด้วยบทเรียนบนเครือข่าย  เรื่อง  การใช้แหล่งการเรียนรู้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ของนิสิตที่มีรูปแบบการเรียนรู้และความวิตกกังวลต่างกัน ผลการวิจัยพบว่า  1)บทเรียนบนเครือข่ายที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ  83.60/84.67 และมีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ  0.5589 2) นิสิตที่มีรูปแบบการเรียนรู้และความวิตกกังวลต่างกันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน 3) นิสิตที่มีรูปแบบการเรียนรู้และความวิตกกังวลต่างกันมีผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ  .05  และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนรู้กับความวิตกกังวลต่อการมีทักษะปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 .....                 

                จากตัวอย่าง พบว่า จะยกเฉพาะผลของการวิจัยที่เกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับผลการวิจัยเท่านั้นมาเขียนในอภิปรายผล  ไม่จำเป็นต้องยกมาทั้งหมด              

     6.  ขณะเขียน ควรนึกเสมอว่ากำลังตอบคำถามงานวิจัย  ว่ามีความหมายว่าอย่างไร ผลการวิจัยบอกเราว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามเป็นอย่างไร มีความสัมพันธ์จริงหรือไม่ และเป็นจริงสำหรับตัวแปรตามบางตัวหรือตัวเดียว                  

       7.   การอภิปรายผลเป็นการเขียนอธิบายผลการวิจัยว่ามีความสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับสมมติฐาน เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ผลการวิจัยยืนยันหรือปฏิเสธทฤษฎี ผลการวิจัยที่ได้  ในอนาคตควรออกแบบอย่างไร              

        8. นิสิต นักศึกษาควรคิดเชิงวิพากษ์ กล่าวคือ ผู้วิจัยได้ให้ความหมายหรือตีความผลการงานวิจัยครั้งนี้อย่างไร และแสดงความคล่องแคล่วทางปัญญาในการคิดโต้คำวิจารณ์ นิสิต นักศึกษาต้องชี้แจงตรรกะอย่างชัดเจน อย่าสรุปว่าการนำเสนอผลการวิจัยมีความชัดเจนแล้ว แต่ต้องแสดงความคิดของข้อสรุป                  

        9.  อย่าใช้ภาษาที่ส่อไปในเชิงสาเหตุและผลในการอภิปรายผลการวิจัย นิสิต นักศึกษาควรเลือกใช้ภาษาให้ถูกต้อง ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่เป็นในเชิงบ่งบอกสาเหตุ เช่น มีผลต่อมีอิทธิพลต่อ ก่อให้เกิด  เป็นต้น 

         10.   การอภิปรายผลนั้น อย่านำผลการวิจัยมากล่าวซ้ำเพียงอย่างเดียวเท่านั้นควรมีการตีความสังเคราะห์ วิเคราะห์ และวิพากษ์สิ่งที่ศึกษาพบด้วย                  

          11.  ระมัดระวังการใช้ภาษาที่สื่อได้ว่าผู้วิจัยเป็นผู้รายงานเอง

ตังอย่างแบบจำลองการอภิปรายผล           

        จากผลการวิจัยมีประเด็นที่น่าสนใจนำมาอภิปรายผล ดังนี้              

         แบบที่ 1 ให้นำการอธิบายเหตุผล หลังสรุปผลการวิจัย

              1.   กรณีสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้..(สรุปผลการวิจัยข้อ ...)...............สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้   ทั้งนี้เพราะ/อาจเป็นเพราะ ...(อธิบายเหตุผลที่น่าเชื่อถือ ลักษณะที่เกิดผลดังกล่าว มีการอ้างอิงทฤษฏี กล่าวถึงความสำคัญของผลการวิจัยและความจำเป็นสำหรับการวิจัยเพิ่มเติม)... สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ .....(ยกงานวิจัยที่สอดคล้องกับผลการวิจัยเท่านั้นมาเขียนจากบทที่ 2 หัวข้องานวิจัยที่เกี่ยวข้อง)..                 

             2.  กรณีไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้                       ..(สรุปผลการวิจัยข้อ ...)...............ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้   ทั้งนี้เพราะ/อาจเป็นเพราะ ...(อธิบายเหตุผลที่น่าเชื่อถือ ลักษณะที่เกิดผลดังกล่าว มีการอ้างอิงทฤษฏี กล่าวถึงความสำคัญของผลการวิจัยและความจำเป็นสำหรับการวิจัยเพิ่มเติม)... สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ .....(ยกงานวิจัยที่สอดคล้องกับผลการวิจัยมาเขียนจากบทที่ 2 หัวข้องานวิจัยที่เกี่ยวข้อง)..              

         แบบที่ 2 ให้นำการอธิบายความสอดคล้องกับผลการวิจัย หลังสรุปผลการวิจัย

          1.   กรณีสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้..(สรุปผลการวิจัยข้อ ...)...............สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้..   สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ .....(ยกงานวิจัยที่สอดคล้องกับผลการวิจัยหรือศึกษาเท่านั้นมาเขียนจากบทที่ 2 หัวข้องานวิจัยที่เกี่ยวข้อง)..ทั้งนี้เพราะ/อาจเป็นเพราะ ...(อธิบายเหตุผลที่น่าเชื่อถือ ลักษณะที่เกิดผลดังกล่าว มีการอ้างอิงทฤษฏี กล่าวถึงความสำคัญของผลการวิจัยและความจำเป็นสำหรับการวิจัยเพิ่มเติม)...                   

            2.  กรณีไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้..(สรุปผลการวิจัยข้อ ...)...............ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้..   สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ .....(ยกงานวิจัยที่สอดคล้องกับผลการวิจัยหรือศึกษาเท่านั้นมาเขียนจากบทที่ 2 หัวข้องานวิจัยที่เกี่ยวข้อง)..ทั้งนี้เพราะ/อาจเป็นเพราะ ...(อธิบายเหตุผลที่น่าเชื่อถือ ลักษณะที่เกิดผลดังกล่าว มีการอ้างอิงทฤษฏี กล่าวถึงความสำคัญของผลการวิจัยและความจำเป็นสำหรับการวิจัยเพิ่มเติม)...  

                เห็นไหมครับการเขียนอภิปรายผล  ไม่ยากเลย  ง่ายนิดเดียว  เพียงเราเข้าใจสรุปผลของการวิจัย ถ้าเรานึกง่ายๆ จะพบว่า บทที่ 2  จะมีความสำคัญก็ตอนที่เรามาเขียนอภิปราผลนั่นเอง

ทองสง่า ผ่องแผ้ว 23/07/2550

หมายเลขบันทึก: 113758เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2007 12:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ขอบคุณมากค่ะ เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ

หาในเนทปุ๊บก็เจอปั๊บเลยค่ะ

ขอบคุณมากครับ ผมได้ประโยชน์จากคำอธิบายตรงนี้มากเลยครับ

เป็นแนวทางที่ดีเยี่ยมเลย ขอบคุณนะคะ

ตอนนี้ทำวิจัยค่ะ เครียดมากหาไม่ได้อันเดียวเนี้ย ทฤษฎีงานวิจัยที่พบ เกี่ยวกับด้านงบประมาณของการบริหารสถานศึกษาเอกชนอะค่ะพอจะมีทฤษฎีของใครให้บ้างค่ะ ค้นหาในเน็ตก็ไม่พบเลย เช่น แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึษา เขตพื้นที่การศึกษา โดยภาพรวม พบว่ากรนำเงินนอกระบบมาบริหารโรงเรียนอย่างประหยัด ค้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด โดยสอดคล้องกับทฤษฎีของ...............................ตรงนี่แหละค่ะ หาไม่ได้เลย ขอคนเก่ง ๆ ช่วยหาให้หน่อยจะเป็นประคุณมากค่ะ เอาบรรณานุกรมด้วยนะค่ะ ภายในวันนี้ค่ะ แต่ขอปีใหม่ ๆ ด้วย อิอิ..(สมาชิกใหม่ค่ะ)

ขอบคุณมากๆเลยค่ะ

เพราะหนูทำวิจัยบทที่ 5 นี่

ต้องแก้ใหม่อ่ะค่ะ อาจานให้หาทฤษฏีที่เกี่ยวข้องให้หลากหลาย

แล้วก็เขียนอธิบายให้มากๆอ่ะค่ะ ตอนนี้ก็พอจับทางได้เลยค่ะ ขอบคุณค่ะ ^^

ขอบคุณมากๆครับ

ผมกำลังสับสนเลยว่าต่างกันยังไง

สมเกียรติ ชูศรทอง

ผมไม่เข้าใจ "ข้อ 11 ระมัดระวังการใช้ภาษาที่สื่อได้ว่าผู้วิจัยเป็นผู้รายงานเอง" อาจารย์ช่วยขยายความ และยกตัวอย่างหน่อยครับ /ขอบคุณครับ

อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีค่ะ....ขอบคุณนะค่ะ

เป็นกำลังใจให้ในการทำงานนะค่ะ....จากคนทำงานเช่นกันค่ะ

ขอคุณมากเลยค่ะขอมูลดีมากๆๆเลยค่ะตรงตามประเด็นที่ต้องการเลย

ขอคุณมากๆๆน่ะค่ะ

ขอบคุณมากเลยค่ะ เป็นประโยชน์จริงๆ

ขอคุณมากค่ะดิฉันคิดไม่ออกว่าจะเขียนอย่างไร ค้นเจอจึงได้รู้ขอบคุณอีกครั้งนะคะ

ขอคุณมากๆค่ะ เป็นประโยชน์จริงๆ

ว่าที่ร้อยตรีหญิงพนิดา ยอดเดชา

อาจารย์คะของหนูทำวิจัยเรื่องปัจจัยความเสี่ยงทางการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ปรากฎว่าผลไม่สอดคล้องกับการวิจัยหนูควรอภิปลายผลอย่างไรคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท