เวทีอบรมเชิงปฏิบัติการ (เก็บตกมาฝาก)


ช่วงบ่ายเป็นการหารือเกี่ยวกับการถอนบทเรียนของแต่ละโครงการ   
ซึ่งกระบวนการในการถอนก็ให้ตอบคำถามของแต่ละว่าโครงการดังนี้  
  1. สามารถบ่งชี้ธงของตนเองได้ (เป้าหมาย)  
    
  2. ทุนเดิมมีอะไรบ้าง  
    
  3. เราจะทำต่อไปอย่างไร (กิจกรรม)  
    
ซึ่งงานวิจัยและพัฒนา เปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน   
ด้านหนึ่งวิจัยเป็นความสามารถในการตีความ อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน  
 มีหลักฐาน อ้างอิงได้ อีกด้านหนึ่งพัฒนา และการตีความแต่ละจุดเราก็ต้องบอกได้ว่า  
แต่ละจุดมันเคลื่อนได้เพราะอะไร ทำไมมันเคลื่อนได้ ยกตัวอย่างเช่น   
เราตั้งใจจะไปเก็บดอกกุหลาบปลายทางข้างหน้า แต่เมื่อเราเดินไประหว่างทาง 
เราอาจจะเจอกับดอกไม้ชนิดอื่นเราก็อาจจะเก็บไปด้วย 
ถ้าเราจะทำกระบวนการถอดความรู้จากงานที่เราทำไป  
เราจะต้องมีสมาชิกครบ คือ คุณลิขิต คุณอำนวย คุณกิจ  
เราสามารถนั่งคุยกันได้ว่าธง 6 เดือน ผลงานคืออะไร 
 แล้วผลงานจะไปโยงความยากจนอย่างไร เราต้องมีธงใหญ่ที่ชัดเจน  
ส่วนธงย่อย แต่ละกิจกรรม เดินไปได้กี่เปอร์เซ็น 
ธง 1 กิจกรรมที่ 1 ความชัดเจนของกิจกรรมทำแล้ว ผลเกิดขึ้นแค่ไหน เช่น 
จัดเวทีสร้างความเข้าใจให้กับสมาชิก อาจจะทำแต่ไม่เข้าใจ ที่เขาเข้าใจเพราะอะไร  
เป็นเพราะเราใช่หรือไม่ เพราะวิธีการสื่อสารไม่ชัดเจน วิทยากรกระบวนการไม่เก่ง เป็นต้น
เราต้องหาสาเหตุให้เจอ ธงที่ 2 เช่นเขาเก็บข้อมูล ในช่วง 6 เดือน เก็บข้อมูลอะไร 
จำนวนแค่ไหน  ผ่าน 6 เดือนเราได้ข้อมูลแค่ไหน ตามเป้าหมายที่เราต้องไว้หรือไม่ 
 ผลที่เกิดเป็นเพราะอะไรต้องอธิบายได้ ในกระบวนการที่เราถอนตรงนั้น
จะบอกจุดอ่อนจุดแข็งของเรา  ต้องปรับปรุงตรงจุดไหน 
การถอดบทเรียนสามารถบอกว่าเราได้ความรู้อะไร  สามารถปรับจุดอ่อนจุดแข็งได้ 
ทำให้มีการประเมินตัวเองตลอดเวลา เราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากกระบวนการที่ผ่านมา 
วิธีคิดในการเก็บข้อมูลจะมีอยู่หลากหลาย  เราก็จะได้บทเรียนว่า ถ้าเราจะเก็บข้อมูลครั้งต่อไป
สิ่งใดที่ควรทำสิ่งใดไม่ควรทำ  การเรียนรู้คืออะไรดีก็ทำให้ดีขึ้นอะไรไม่ดีต้องแก้ต้องเปลี่ยน
 ในกระบวนการสังเคราะห์ ต้องการจัดระบบความคิดดังนี้  
  1. จัดตามเวลา  
    
  2. จัดตามความเป็นเหตุเป็นผล  
    
  3. จัดตามประเภท  
    
  4. จัดในเชิงเปรียบเทียบ เช่น จากใหญ่ไปหาเล็ก หรือจากเล็กไปหาใหญ่  
    
เมื่อเราได้จัดระบบความคิด ทำให้เราเรียงความคิดและสามารถเขียนและพูดได้   
เราไม่สามารถเขียนออกมาได้ เพราะเราคิดไม่เป็นระบบ เราใช้ภาษากับชาวบ้าน คือ   
ภาษาอุปมาอุปมัย ซึ่งชาวบ้านเขามีความคิดที่กระจัดกระจาย มีปัญหาเรื่องการจัดระบบข้อมูล   
ชั่งโมงบินน้อยการทำตัวนี้ให้คล่องแคล่วมันน้อยด้วย อยู่ที่โอกาสการทำบ่อย ๆ   
การคิดเก่งพูดเก่งจะเป็นโอกาสดีมาก ๆๆ  
หมายเลขบันทึก: 11332เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2006 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท