การประชาสัมพันธ์องค์กรในยุคอินเตอร์เน็ต


การประชาสัมพันธ์องค์กรในยุคอินเตอร์เน็ต

การนำสื่ออินเทอร์เน็ตมาใช้ในการประชาสัมพันธ์นั้น นับว่ามีความจำเป็นและมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยม มากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมีฐานจากผู้ใช้ที่เป็นนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนพนักงานบริษัทเป็นจำนวนมาก ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำ และเพิ่มจำนวน มากขึ้นเรื่อย ๆ การใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นคว้าหาข้อมูลก็มีเว็บไซท์ที่ให้บริการในลักษณะ Search engine ที่ชาญฉลาดอย่าง www.google.com ทำให้การเข้าถึงข่าวสารได้อย่างกว้างขวางมีคุณภาพ และมีความรวดเร็ว เพื่อเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์อีกประเภทหนึ่ง ที่กำลังมีบทบาทสำคัญยิ่ง ต่องานประชาสัมพันธ์ ดังนั้นนักประชาสัมพันธ์ยุคใหม่ไม่ควรที่จะละเลยรูปแบบ การสื่อสาร ผ่านอินเทอร์เน็ต เพราะเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชนมากยิ่งขึ้น หากหน่วยงานเราไม่มีเว็บไซท์ในการให้ข้อมูลข่าวสารด้วยแล้ว โอกาสที่จะเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรและการเดินทางไปให้ถึงฝั่งฝันในการบริหาร    จัดการศึกษา อาจต้องพ่ายแพ้กับคู่แข่งขันที่สำคัญที่สุด  นั่นก็คือ  เป้าหมายที่ตั้งไว้นั่นเอง            ในส่วนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1   เข้าใจและรับทราบถึงความจำเป็นและความสำคัญของการประชาสัมพันธ์เป็นอย่างดี  โดยเฉพาะในยุคที่การสื่อสารไร้พรมแดน  ผู้คนต่างหิวกระหายการรับรู้ข่าวสารในทุกช่องทาง  ซึ่งปัจจุบันนี้ช่องทางที่สะดวก รวดเร็ว และประหยัด ครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล  และไม่มีใครปฏิเสธได้ นั่นคือการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตนั่นเอง ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต1. ถ่ายภาพจัดหาภาพกิจกรรมแต่ละเรื่องที่ต้องการนำเสนอ โดยการถ่ายภาพด้วย กล้องดิจิตอล  ซึ่งในการถ่ายภาพแต่ละครั้งหากต้องการความสวยงามและสื่อความหมายได้ลงตัว หลักที่ควรคำนึงถึงคือ เรื่องของ การจัดองค์ประกอบภาพ (Composition)  เพื่อให้ได้ภาพที่ตรงตามความต้องการ มีคุณค่า มีความงามทางด้านศิลปะ นอกจาก จะทำความเข้าใจในเรื่องของการใช้กล้องถ่ายภาพ และเครื่องมือที่มีคุณภาพแล้ว การจัดองค์ประกอบภาพ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะทำให้ภาพมีคุณค่าขึ้น ซึ่งมีหลักพื้นฐานอยู่ 10 ลักษณะ  คือ

  • รูปทรง  เป็นการจัดองค์ประกอบภาพที่ให้ความรู้สึก สง่างาม มั่นคง เหมาะสำหรับการถ่ายภาพ ทางสถาปัตยกรรม การถ่ายภาพวัตถุ หรือถ่ายภาพสิ่งต่างๆ เน้นให้เห็นความกว้าง ความสูง ความลึก โดยให้เห็นทั้งด้านหน้าและด้านข้าง และความลึก หรือที่เรียกว่าให้เห็น Perspective หรือภาพ 3 มิติ

  • รูปร่างลักษณะ มีการจัดองค์ประกอบภาพตรงข้ามกับรูปทรง คือเน้นให้เห็นเป็นภาพ 2 มิติ คือ ความกว้างกับความยาว ไม่ให้เห็นรายละเอียดของภาพ หรือที่เรียกว่าภาพเงาดำ ภาพลักษณะนี้ เป็นภาพที่ดูแปลกตา  ลึกลับ ให้อารมณ์และสร้างจินตนาการในการดูภาพได้ดี นิยมถ่ายในลักษณะย้อนแสง         
            
  • ความสมดุลย์ที่เท่ากัน  เป็นการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพ   ดูนิ่ง สง่างาม น่าศรัทธา คล้ายกับแบบเน้นด้วยรูปทรง แต่จะแสดงออกถึงความสมดุลย์ นิ่ง ปลอดภัย ภาพลักษณะนี้อาจจะดูธรรมดา ไม่สะดุดตาเท่าใดนัก แต่ก็มีเสน่ห์และความงามในตัว

  • ความสมดุลย์ที่ไม่เท่ากัน  การจัดภาพแบบนี้ จะให้ความรู้สึกที่สมดุลย์เช่นเดียวกับแบบที่แล้ว แต่จะต่างกันอยู่ที่ วัตถุทั้งสองข้าง   มีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกัน แต่จะสมดุลย์ได้ด้วยปัจจัยต่าง ๆ กัน เช่น สี  รูปทรง ท่าทาง   ฉากหน้า  ฉากหลัง ฯลฯ ภาพดูน่าสนใจกว่าแบบสมดุลย์ที่เท่ากัน  แต่ความรู้สึกที่มั่นคงจะ น้อยกว่า แต่แปลกตาดี
  • ฉากหน้า  ส่วนใหญ่จะใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ หรือภาพอื่น ๆ ใช้ฉากหน้าเป็นตัวช่วยให้เกิดระยะ ใกล้ กลาง ไกล หรือมีมิติขึ้น ทำให้ภาพน่าสนใจอาจใช้กิ่งไม้ วัตถุ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับกล้องเพื่อช่วยเน้นให้จุดสนใจที่ต้องการเน้น มีความเด่นยิ่งขึ้น และไม่ให้ภาพ มีช่องว่างเกินไป
  • ฉากหลัง  พื้นหลังของภาพก็มีความสำคัญ หากเลือกที่น่าสนใจ กลมกลืน หรือช่วยใหสิ่งที่ต้องการ เน้นเด่นขึ้นมา ควรเลือกฉากหลังที่กลมกลืน ไม่ทำให้จุดเด่นของภาพด้อยลง หรือมารบกวนทำให้ภาพนั้นขาดความงามไป

  • กฏสามส่วน  เป็นการจัดภาพที่นิยมมากที่สุด ภาพดูมีชีวิตชีวา     ไม่จืดชืด การจัดภาพโดยใช้เส้นตรง 4 เส้นตัดกันในแนวตั้งและแนวนอน จะเกิดจุดตัด 4 จุด หรือแบ่งเป็น 3 ส่วน  ทั้งแนวตั้งและแนวนอน  การวางจุดสนใจของภาพจะเลือกวางใกล้ ๆ หรือ ตรงจุด 4 จุดนี้ จุดใดจุดหนึ่ง โดยหันหน้าของวัตถุไปในทิศทางที่มีพื้นที่ว่างมากกว่า ทำให้ภาพดูเด่น ไม่อึดอัด ไม่แน่น หรือหลวมจนเกินไป

  • เส้นนำสายตา  เป็นการจัดภาพที่ใช้เส้นที่เกิดจากวัตถุ หรือสิ่ง อื่น ๆ ที่มีรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกัน เรียงตัวกันเป็นทิศทางไปสู่จุดสนใจ ช่วยให้วัตถุที่ต้องการเน้นมีความ เด่นชัด และน่าสนใจยิ่งขึ้น

  • เน้นด้วยกรอบภาพ  แม้ว่าภาพถ่ายจะสามารถนำมาประดับ ตกแต่งด้วยกรอบภาพอยู่แล้ว แต่การจัดให้ฉากหน้าหรือส่วนประกอบอื่นล้อมกรอบจุดเด่น เพื่อลดพื้นที่ว่าง หรือทำให้สายตาพุ่งสู่จุดสนใจนั้น ทำให้ภาพกระชับ น่าสนใจ

  • เน้นรูปแบบซ้ำซ้อน   หรือแบบ Pattren เป็นการจัดภาพที่มีรูปร่าง ลักษณะ ที่คล้าย ๆ กันวางเป็นกลุ่มทำให้ภาพดูสนุก สดชื่น และมีเสน่ห์แปลกตา
(ประวิทย์ - มานิดา  สิมมาทัน  : การจัดองค์ประกอบภาพ : http://www.studio310.com/wbi/photo/photo-4.htm ) 2. ตกแต่งภาพเพื่อให้ได้ภาพที่มีขนาดเหมาะสมในการนำเสนอบนเว็ปไซต์ ก่อนที่จะ   อัพโหลดภาพขึ้นไปไว้บนอินเทอร์เน็ตจึงต้องมีการตกแต่งภาพ          ลดขนาดภาพ เพื่อความเร็วในการโหลดภาพ โดยใช้โปรแกรม photo shop  ซึ่งสามารถทำได้ทั้งภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว  วิธีการ1. เปิดโปรแกรม  photo shop  7.0 2. คลิกไฟล์  เลือกภาพจากโฟลเดอร์ที่เก็บภาพ3. แต่งภาพ  จัดวางภาพ  ลดขนาดภาพ4. ส่งภาพไปยังโปรม  adobe premier  เพื่อใช้คำสั่งสร้างเอ็ฟเฟ็คให้กับภาพ  เพื่อสร้างภาพเคลื่อนไหว  เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับภาพ 5. Save  เป็นไฟล์  animation6. สร้างไฟล์และโฟลเดอร์เก็บภาพที่ตกแต่งแล้ว3. เตรียมข้อมูลหรือเขียนข่าวข่าว  คือ  การรายงานข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนความคิดเห็นของบุคคลสำคัญ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ ซึ่งประชาชนให้ความสำคัญและสนใจ รวมทั้งมีผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก  ในการเขียนข่าวแต่ละครั้งต้องคำนึงถึงหลัก 5 W 1 H ประกอบด้วย1. Who คือหน่วยงานไม่ใช่แปลว่าใคร จะมี 2 สถานภาพ Who ที่เป็นบุคคลกับหน่วยงาน ประธานใครเปิด หน่วยงาน คือสำนักงาน โรงเรียน แต่บุคคลนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์กับหน่วยงาน 2. What คือกิจกรรมที่ทำ เราจัดอบรมเรื่อง ......................... และใครเป็นประธานเปิดการอบรมครั้งนี้

3. When
คือระยะเวลาที่จัด หรือห้วงเวลาจะสัมพันธ์ กับWhat

4. Where
คือสถานที่ที่จัด   จัดที่ไหน มีรายละเอียดอย่างไร มีความสอดคล้องอย่างไร

5. Why
คือ เหตุผลความจำเป็นในการจัด เป็นประโยชน์อย่างไร มีความสอดคล้องอย่างไร

6. How
คือ รายละเอียดที่จะจัดทั้งหมดสิ่งสำคัญที่จะขาดเสียไม่ได้คือต้องคำนึงถึงโครงสร้างของข่าว ด้วย นั่นก็คือ1.การพาดหัวข่าว (Headlines)หมายถึงส่วนที่อยู่บนสุดของข่าว  เป็นการเอาประเด็นข่าวมาพาดหัว  เป็นบทสรุปอย่างสั้นที่สุดของข่าว  ทำให้ผู้รับสารทราบเนื้อความโดยรวมของข่าวโดย     ไม่จำเป็นต้องรับข่าวนั้นทั้งหมดเพื่อดึงดูดความสนใจ  หากผู้รับสารสนใจก็จะตามรายละเอียดของข่าวเอง  เป้าหมายในการพาดหัวข่าว 1. ดึงดูดความสนใจจากผู้อ่าน  ผู้ชม  ผู้ฟัง 2. ประหยัดเวลาแก่ผู้อ่าน 3. ลำดับความสำคัญของข่าว  2.ความนำข่าว (Leads)ความนำของข่าวก็คือย่อหน้าแรกของข่าวนั่นเอง  โดยนำประเด็นสำคัญที่สุดของข่าวมาเขียน  โดยปกติจะเป็นเรื่องเดียวกันกับหัวข่าว ความนำที่ดีจะต้องตอบคำถาม  5 W's + H  ให้ได้  ทั้งนี้       ไม่จำเป็นต้องตอบให้ครบทุกคำถาม  จะมีเฉพาะประเด็นที่สำคัญเท่านั้นมานำเสนอ  ส่วนประเด็นรอง ๆ  ลงไปจะนำเสนอตามลำดับขั้นตอน  เพื่อความสะดวกในการอ่านหรือทำความเข้าใจเท่านั้น ความนำโดยทั่วไปมี  1  ย่อหน้าแต่อาจมากกว่านี้ได้  หากยาวมาก อาจแบ่งเป็น  1  ย่อหน้าต่อ  1  ประเด็น   ประเภทของความนำ โดยทั่วไปมี  2  ประเภท  คือ 1. ความนำแบบสรุปความ  (Sumary  Lead) 2. ความนำแบบก้าวหน้า  (Advance  Lead)3.ส่วนเชื่อมความนำกับเนื้อเรื่อง (Neck)ส่วนเชื่อม  เป็นเพียงองค์ประกอบเดียวใน  4  ส่วนของข่าวที่  ไม่มีลักษณะแน่นอนตายตัว  Neck  อาจเป็นกลุ่มคำ  อาจเป็นประโยค  หรืออาจเป็นย่อหน้าก็ได้  มีหน้าที่ในการเชื่อมโยงความนำกับเนื้อหา อาจจะอยู่หลังย่อหน้าความนำ / หลังประเด็นข่าว   หนึ่ง ๆ  เมื่อจะขึ้นประเด็นใหม่ก็ได้ และจะไม่มีความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ล่าสุด  แต่จะเป็นการอธิบายความเป็นมา  บอกแหล่งของข้อมูล  อธิบายบรรยากาศ    ของข่าว  จะเป็นลักษณะของการบรรยายที่หยุดนิ่ง  ไม่เคลื่อนไหว  แต่จะให้ข้อมูลรายละเอียดเป็นพื้นเพื่อจะนำไปสู่การอ่านเนื้อหาต่อไป 4. เนื้อเรื่อง (Detail / body)คือส่วนที่เป็นรายละเอียดของข้อเท็จจริงทั้งหมดที่นำเสนอต้องตอบคำถาม  5 W’s + H  ให้ครบถ้วน ขั้นตอนการเขียน 1. ให้สรุปประเด็นสำคัญของข่าวเป็นข้อ ๆ  ตามข้อมูลที่หาได้ 2. พิจารณาความสำคัญของแต่ละประเด็น 3. เรียงลำดับประเด็น - เรียงลำดับตามเวลา 

- เรียงลำดับตามสถานที่ 
- เรียงลำดับตามความสำคัญของประเด็นหรือข้อเท็จจริง - เรียงลำดับตามความสำคัญของบุคคลที่เกี่ยวข้อง 4. เลือกรูปแบบการนำเสนอ - ปิรามิดหัวกลับ - ปิดรามิดหัวตั้ง - แบบผสม 5. เรียบเรียงเนื้อหาตามลำดับที่จัดไว้  โดยใช้คำเชื่อม / คำขยายโยงให้ข้อมูลต่าง ๆ  เหล่านี้เป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน 6. ทบทวนและแก้ไข (หลักในการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์  กรมประชาสัมพันธ์ 2547)4. ดำเนินการนำเสนอภาพและข่าวขึ้นบนเว็ปไซต์วิธีการ1. เปิดเว็ปไซต์  www.lopburi1.net  2. คลิก      add news     ใส่ password และ    username    เพื่อเข้าสู่ระบบการอัพโหลดภาพและข้อความ3. คลิก  browse  เลือกไฟล์และโฟลเดอร์ภาพที่เตรียมไว้4. พิมพ์ข้อความข่าวสารในช่องข้อความ 5. คลิก เพิ่มข่าว6. ทดสอบ โดยการเปิดเว็ปไซต์ www.lopburi1.net 5. ผู้ร่วมดำเนินการ      ไม่มี6. ส่วนของงานที่ผู้เสนอเป็นผู้ปฎิบัติ    ปฏิบัติด้วยตนเองทุกขั้นตอน 100%7. ผลสำเร็จของงานเชิงปริมาณ      7.1) เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปยังโรงเรียนในสังกัดได้ครบ 100 %     7.2) เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปยังบุคลากรในสังกัด สพท.ลบ1  ครบ  100 %    7.3) เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทั้งสิ้น  จำนวน     1150       ครั้ง    7.4) เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารได้ครบ ครอบคลุมทุกช่องทาง เชิงคุณภาพ      7.5) ลดปริมาณการใช้ทรัพยากร     7.6) ทำให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารเกิดความรู้สึกที่ดีต่อหน่วยงาน         7.7) ได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายประชาสัมพันธ์ หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ รวมทั้งประชาชนมากขึ้น         7.8) เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารได้ครอบคลุมสื่อทุกชนิด          7.9) ผู้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงานเข้าใจการประชาสัมพันธ์ทุกครั้ง8. การนำไปใช้ประโยขน์8.1) นำไปใช้เพื่อการเผยแพร่สู่สาธารณชน                                         
8.2) นำไปใช้ประกอบการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ
8.3) นำไปใช้เพื่อประกอบการจัดทำงบประมาณประจำปี                 
8.4) นำไปใช้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดกับหน่วยงาน     
8.5) นำไปใช้เพื่อสร้างความเข้าใจแก่สาธารณชน
9. ปัญหาและอุปสรรค1. การมีบุคลากรน้อย  ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน2. ขอบเขตของการปฏิบัติงานกว้างไกล มิใช่จำกัดอยู่แต่เพียงในสำนักงานเท่านั้น  หากแต่ยังคาบเกี่ยวถึงโรงเรียน  และหน่วยงานอื่น  ซึ่งต้องใช้งบประมาณและระยะเวลาในการเดินทาง  ยิ่งทำให้เวลาในการปฏิบัติงานน้อยลง3. ความทันสมัยของอุปกรณ์ในการทำงาน เช่น  กล้องถ่ายภาพที่เก่า  ถ่ายภาพแล้วไม่คมชัด   เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สเปคเครื่องต่ำ  ความจุน้อย  ทำให้เก็บภาพได้น้อย  เครื่องรวนและเสียบ่อย ทำให้การทำงานไม่คล่องตัว4. การทำงานกับระบบอินเทอร์เน็ตที่ต้องผูกโยงกับข้อจำกัดของเรื่องความลื่นไหลของระบบ  หากระบบล่มหรือล่าช้า ยิ่งเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน5. โอกาสในการเข้ารับการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรมีน้อย เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณและจำนวนบุคลากรที่น้อย 6. การสร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์  ไม่ได้ผลเท่าที่ควร เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณ และมีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาในการทำงานวิธีการแก้ปัญหา1. สละเวลาส่วนตัว เพื่อมอบให้กับการทำงานมากขึ้น2. ใช้งบประมาณส่วนตัว  เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน3. ใช้วัสดุอุปกรณ์ส่วนตัวที่พอหาได้  มีได้  เช่นกล้องถ่ายรูป  คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีใช

หมายเลขบันทึก: 113026เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2007 13:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท