การอบรมผู้ประเมินคุณภาพภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


การอบรมผู้ประเมินคุณภาพภายในเป็นการสร้างทายาทกระบวนการ PDCA ความยั่งยืนของระบบประกันคุณภาพ

       การอบรมผู้ประเมินคุณภาพภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

       (ตอนที่ 1)
               เมื่อวันที่  29  มิถุนายน  2550  สำนักงานประกันคุณภาพจัดอบรมผู้ประเมินคุณภาพภายในให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัย ซึ่งเราว่างเว้นไปหลายปี ปีนี้ต้องจัดเพราะมีการปรับเปลี่ยนมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ไปจากเดิมมาก เป้าหมายที่เราตั้งไว้คือต้องการผู้เข้ารับ
การอบรม 300 คน โดยกลุ่มเป้าหมายมีตั้งแต่ผู้บริหารระดับคณบดี ผู้อำนวยการกอง จนถึงบุคลากรทั่วไปที่สนใจ  เพื่อทบทวนกระบวนการประเมินสำหรับผู้ที่เคยเป็นกรรมการประเมินแล้วและสร้างนัก
ประเมินรุ่นใหม่ (เป็นการสร้างทายาท) เพื่อความยั่งยืนของระบบประกันคุณภาพ        

              ก่อนจัดอบรมสิ่งที่เป็นกังวลคือกลัวจะไม่มีผู้สนใจเข้ารับการอบรมตามเป้าหมายที่วางไว้
ดังนั้นกลยุทธิ์ที่เราใช้ คือ ออกหนังสือเชิญถึงตัวผู้เคยเป็นกรรมการประเมินคุณภาพในปีที่ผ่านมา
ของเราทุกคน เพราะบุคลากรเหล่านี้เป็นผู้มีส่วนร่วมทำให้กระบวนการ PDCA ครบวงจร ซึ่งได้ผลเกินคาด เพราะผู้ได้รับจดหมายเชิญจะรู้สึกดีที่เราให้ความสำคัญ ทำให้เราได้ผู้เข้าร่วมอบรมครบ300 คนตามแผน

              สำหรับสถานที่จัด หยกมณี (กันยปริณ) ได้พยายามติดต่อคณะต่าง ๆ ว่ามีห้องประชุมขนาดจุ 300 ที่นั่งและสามารถเคลื่อนย้ายโต๊ะเก้าอี้เพื่อทำกิจกรรมกลุ่มย่อยที่ไหนว่างบ้างผลคือไม่ว่างเลย
ทำให้เราต้องไปจัดที่โรงแรมลีการ์เดนส์พลาซ่า มองอีกมุมหนึ่งถ้าคิดในเชิงบวกก็เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจหาดใหญ่ซึ่งซบเซาเต็มที

               ทีมงานของเราทั้ง หยก พลอย นก อุ้ย อิม และนา (นักศึกษาฝึกงาน) ทำงานกันอย่างแข็งขันจนทุกอย่างสำเร็จลงด้วยดี
          

หมายเลขบันทึก: 112716เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2007 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เข้ามาเยี่ยมชมกิจกรรม "การสร้างทายาท" ผู้ประเมินคุณภาพ ครับ

เนื่องจาก ตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพภายใน เป็นไปตลอดเวลา ตามการเปลี่ยน ดังนั้นผู้ประเมินต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับ

  • คำอธิบาย
  • วิธีการรายงาน
  • การคำนวน

เพื่อความเข้าใจให้ตรงกัน ระหว่างผู้ประเมิน และ ผู้รับการประเมิน

ไม่เช่นนั้นจะคุยกันไม่รู้เรื่อง กลายเป็นเรื่องปานปลายครับ

เพราะบางครั้งเท่าที่ผมทราบเป็นเรื่องของการตัดสินโดย "ดุลยพินิจ" โดยเฉพาะตัวบ่งชี้ที่เป็นลักษณะ อัตตนัย

ด้วยความเคารพครับ

กัมปนาท มมส.

นวลจิรา ภัทรรังรอง

สวัสดีค่ะ คุณJACK

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ที่กรรมการประเมินต้องเข้าใจสิ่งที่จะไปประเมินตรงกัน แต่ปัจจุบันนับว่าการประเมินน่าจะง่ายขึ้น เพราะหลายๆตัวบ่งชี้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ ที่มีตัวเลขและเกณฑ์ชัดเจน ส่วนตัวบ่งชี้เชิงคุณภาพก็ต้องแสดงหลักฐานเอกสารที่สนับสนุนผลการดำเนินงานของตัวบ่งชี้นั้นๆ ซึ่งคณะกรรมการสามารถตัดสินบนฐานข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งมีความเป็นปรนัยมากขึ้นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท