รัฐธรรมนูญปี2550


รัฐธรรมนูญ

คุยกันพาเพลิน

                สวัสดีครับท่านผู้อ่าน Sunday - weekly ได้ห่างหายไปนานเลยนะครับ เพราะงานการเรียนที่ยุ่งมาก ๆ ณ เวลานี้เลยทำให้เวลาในการเขียนบทความดี ๆ ไม่ค่อยมี และสำหรับอาทิตย์นี้ประมาณวันพฤหัสบดีผมจะได้มีโอกาสเดินทางไปอบรมเกี่ยวกับการผลิตภาพยนต์สั้น ที่ชะอำ การอบรมและเนื้อหาที่ได้จากการอบรมเป็นอย่างไรจะได้เอาว่าเล่าให้ท่านผู้อ่านได้ฟังกัน


ล้มหรือไม่ล้ม ไม่สำคัญเท่า รู้หรือไม่รู้

            หากพูดถึงรัฐธรรมนูญของประเทศไทย คงทำให้ท่านผู้อ่านหลายท่านมีทัศนคติที่แตกต่างกัน ความแตกต่างของ  ทัศนคตินั้นอาจเกิดขึ้นด้วยเงื่อนไขต่างๆ ที่สังคมในแต่ละช่วงระยะเวลากำหนดขึ้น ในช่วงระยะเวลาหนึ่งสังคมไทยอาจเผญิช อยู่กับการปกครองภายใต้ทหาร หรือ บางช่วงเวลาก็อยู่ภายใต้การปกครองของบรรดาข้าราชการ  ฉะนั้นแล้วคงมิแปลกที่จะทำให้ทัศนคติของแต่ละคนในสังคมจะต่างกันไปในเรื่องของรัฐธรรมนูญ 

               รัฐธรรมกับความแตกต่างของเงื่อนไขทางสังคม ได้ทำให้รัฐธรรมนูญในแต่ละช่วงสมัยแตกต่างกันไป บางรัฐธรรมนูญถูกร่างขึ้นในสภาวะทางสังคม เศรษฐกิจ ที่มีความพร้อม รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ได้รับความยินยอมจากคนในสังคม หรือรัฐธรรมนูญบางฉบับก็ถูกร่างขึ้นในสภาวะการณ์ที่สังคมกำลังมีความแตกแยก ก็อาจทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้ได้ไม่กี่ปีก็ถูกเปลี่ยนหรือทำลายลงได้

                หากเงื่อนไขทางสังคมมีผลต่อรัฐธรรมนูญแล้ว รัฐธรรมนูญที่กำลังร่างขึ้นในเวลานี้ก็ย่อมสัมพันธ์อยู่กับเงื่อนไขต่าง ๆ ทางสังคมมากมาย หากจะมองได้ว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ได้ถูกร่างขึ้นในสภาวะการณ์ที่สังคมมีแต่ความแตกแยกทางความคิด สถานะการณ์ทางด้านความมั่นคงที่อ่อนแอ หรือ ร่างขึ้นในสภาวะการณ์ทางการเมืองที่มีการช่วงชิงกันระหว่างกลุ่มอำนาจเก่าและใหม่ ก็ไม่ผิด

                ด้วยเงื่อนไขต่างๆทางสังคมได้บีบให้สังคมกำลังเดินไปสู่จุด 2 จุดที่มีความแตกต่างทางความคิด คือ กลุ่มหนึ่งต้องการให้ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ผ่านประชามติและทำให้ประเทศเดินไปสู่การเลือกตั้งภายใต้กฎกติกาอันใหม่ แต่อีกกลุ่มหนึ่งไม่ต้องการให้ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่ผ่านประชามติ โดยในกลุ่มนี้สามารถวิเคราะห์และแบ่งแยกย่อยออกเป็นอีก 2 กลุ่ม กลุ่มที่ต้องการให้ร่างรัฐะรรมนูญปี2550 ไม่ผ่านประชามติเพราะได้คิดแล้วว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้ให้สิทธิเสรีแก่ประชาชนอย่างแท้จริง ส่วนอีกกลุ่มไม่ต้องการให้ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ผ่านประชามติเพราะเป็นการเล่นเกมส์ทางการเมือง

                  เมื่อสังคมได้เดินมาสู่จุดแห่งความแตกต่างทางความคิด สังคมเริ่มสร้าง 2 ทางเลือกขึ้นมา คือ จะล้มหรือไม่ล้ม  การที่สังคมเดินมาถึงจุดตรงนี้เป็นเรื่องราวที่น่าคิดมาก เพราะหากคนในสังคมรับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 แล้ว ประเทศก็จะเกิดกฎกติกาทางสังคมอันใหม่ขึ้น และนำไปสู่การจัดสรรการใช้อำนาจของภาครัฐกับภาคประชาชนใหม่ แต่หากรัฐธรรมนูญปี 2550ไม่ผ่านประชามติ สังคมก็ต้องหากฎกติกาอันใหม่ขึ้นมา แต่ด้วยเงื่อนไขทางอำนาจแล้วทหารได้เป็นผู้กุมอำนาจการตัดสินใจไว้แล้วว่าจะเลือกนำเอารัฐธรรมนูญฉบับไหนมาใช้

               ฉะนั้นหากสังคมเกิดความแตกต่างเช่นนี้แล้ว การจะหาจุดแนวร่วมที่ดีที่สุดและสามารถทำให้ประเทศเดินไปสู่อนาคตได้คือ การที่ภาครัฐหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ต้องเผยแพร่เนื้อหาสาระของรัฐะรรมนูญปี 2550 ให้คนในสังคมรับรู้ข้อมูลให้มากที่สุดว่า ในฐานะพลเมืองทางสังคมเขามีสิทธิอะไร ขาจะได้ อะไรจากรัฐ  เขาจะกระทำอะไรได้ ภายใต้กฎกติกาทางสังคมอันใหม่นี้ การที่คนในสังคมได้รับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 อย่างเพียงพอจะทำให้คนในสังคมสามารถตัดสินใจได้ว่าจะเลือกอย่างไร

               เมื่อคนในสังคมรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องการเผญิชหน้าทางความคิดที่แตกต่างกัน ซึ่งได้เกิดขึ้นในสังคม ณ เวลานี้จะทำให้สามารถหาจุดร่วมทางความคิดได้ว่าควรที่จะให้ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ผ่านประชามติหรือไม่  และการรับร่างรัฐธรรรมนูญปี 2550 บนพื้นฐานข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเพียงพอจะเป็นการรับร่างรัฐธรรมนูญที่มีข้อครหาน้อยที่สุด หากแต่การที่ภาครัฐมิได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 อย่างเพียงพอแล้วก็อาจทำให้คนในสังคมที่ไม่อาจรับรู้ข้อมูลได้ ตกเป็นเครื่องมือของการเล่นเกมส์ทางการเมืองก็เป็นไปได้

             ดังนั้นเมื่อคนในสังคมรู้ข้อมูลที่พอสมควรแล้วสังคมจะเป็นผู้เลือกเองว่าจะรับหรือไม่รับ จะล้มหรือไม่ล้ม หากคนในสังคมล้มร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 จะเป็นการล้มบนพื้นฐานที่คนในสังคมได้วิเคราะห์เห็นแล้วว่าร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่ดีจริงๆ มิใช่ล้มตามเกส์มทางการเมือง หากรับก็จะเป็นการรับร่างรัฐธรรมนูญบนพื้นฐานของความคิดที่เห็นว่าร่างรัฐธรรมปี 2550 นั้นดีจริง ๆ ดังนั้นการที่เกิดกลุ่มจ้องล้มรัฐธรรมหรือกลุ่มที่รณรงค์ให้รับร่างรัฐธรรมนูญในสังคม ณ เวลานี้จึ งไม่สำคัญเท่ากับการที่คนในสังคมรู้หรือไม่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มากน้อยแค่ไหน

19 สิงหาคม 2550 อย่าลืมออกไปใช้สิทธิ ลงประชามติ ในร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 นะครับ

สัปดาห์นี้คงพอแค่ก่อนไว้พบกันสัปดาห์หน้า

คำสำคัญ (Tags): #รัฐธรรมนูญ
หมายเลขบันทึก: 112553เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2007 17:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท