BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

อาคตสถาน


อาคตสถาน

คำนี้อ่านว่า อาคะตะสะถาน ซึ่งเดิมทีคำนี้มีใช้อยู่เฉพาะหนังสือที่แปลมาจากคัมภีร์บาลีโดยตรงเท่านั้น ต่อมาผู้รู้ภาษาบาลีก็นิยมนำไปใช้ในหนังสืออื่นๆ และภายหลังบางท่านไปพบเห็น จึงนำมาใช้ต่ออีกครั้ง แต่ก็ยังไม่แพร่หลายนัก...

อาคตสถาน มาจากบาลีว่า อาคตัฎฐาน (อาคต + ฐาน ... ส่วน เป็นอักษรเชื่อมตามหลักสนธิ)... แต่เมื่อนำมาใช้เป็นคำไทยเป็น อาคตสถาน (อาคต + สถาน) ... นั่นคือ ใช้ สถาน แทนคำว่า ฐาน

ฐาน เป็นคำบาลี...  สถาน เป็นคำสันสกฤต... ( ในบาลี มักจะแปลงเป้น สถ ในสันสกฤต... ตามที่พอนึกได้ตอนนี้ก็เช่น ฐิต เป็นบาลี ... สถิต เป็นสันสกฤต) คำทั้งสอนนี้แปลเหมือนกัน คือ ที่ ที่ตั้ง ... แต่เมื่อแปลงสัญชาติเป็นคำไทย ฐาน หมายถึง ที่รองรับวัตถุเล็กๆ... ส่วน สถาน หมายถึง พื้นที่รองรับอาคารบ้านเรือน... ประมาณนี้

.............

อาคต แปลว่า มาแล้ว

สถาน (ฐาน) แปลว่า ที่

ดังนั้น อาคตสถาน จึงแปลว่า ที่อันมาแล้ว

เมื่อแปลอย่างนี้ ก็ยังไม่ค่อยได้ความชัดเจน เพราะคำว่า อาคต  (มาแล้ว) นั้น เป็นศัพท์คุณนามใช้ขยายคำนามอีกครั้ง ซึ่งในที่นี้ใช้ขยายคัมภีร์ซึ่งจะต้องอ้างถึง ดังนั้น อาคตสถาน จึงอาจแปลเต็มๆ ได้ว่า ที่แห่งพระบาลีอันมาแล้ว ที่แห่งพระไตรปิฏกอันมาแล้ว ที่แห่งคัมภีร์อันมาแล้ว.... ทำนองนี้

อาคตสถาน เมื่อแปลหักความหมายตามสำนวนไทยแท้ ก็คือ การอ้างอิงที่มา นั่นเอง เช่น

  • การเขียนวิทยานิพนธ์จะต้องมีอาคตสถานชัดเจน - การเขียนวิทยานิพนธ์จะต้องมีการอ้างอิงชัดเจน
  • หนังสือที่ไม่มีอาคตสถานไม่น่าเชื่อถือ - หนังสือที่ไม่มีอ้างอิงไม่น่าเชื่อถือ
  • คัมภีร์มงคลัตถทีปนีมีอาคตสถานหลากหลาย - คัมภีร์มงคลัตถทีปนีมีอ้างอิงหลากหลาย

เล่าไว้เล่นๆ เผื่อบางท่านชอบใจก็นำไปใช้ได้...

  

หมายเลขบันทึก: 112348เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2007 22:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • นมัสการพระอาจารย์ครับ
  • อาคตสถาน = reference นี่ถูกไหมครับ?
  • ขอบพระคุณพระอาจารย์สำหรับความรู้ภาษาบาลีครับ
P
อาคตสถาน - อ้างอิง - reference
เมื่อถือเอาโดยความก็คงจะเหมือนกัน...
เจริญพร
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท