บทที่ 3 Knowledge Generation


เพจนี้เป็นการแปลและสรุปเนื้อหามาจากในหนังสือ Knowledge Management ครับ

การมีสติ และเจตนาในการให้กำเนิดความรู้ลักษณะเฉพาะของกิจกรรม และการริเริ่มที่แน่นอน ย่อมทำให้เพิ่มความรู้ด้านที่เกี่ยวข้องกันมากขึ้น   เราพบว่าความสำเร็จส่วนใหญ่ของการริเริ่มไม่ได้มาจากกระบวนการด้านการกำเนิดความรู้ของตัวมันเอง แต่กลับมาจากสถานการณ์ภายนอกของการทำงานรวมไปถึงทำเลสถานที่ และโครงร่างของทีมด้วย
การกำเนิดความรู้ 5 อย่าง คือ การเข้าถือสิทธิ์, การอุทิศความคิด, การรวมตัว, การปรับใช้ และความรู้ด้านการทำงานเป็นเครือข่าย

การได้มา
องค์ความรู้ที่ได้มาโดยองค์กรหนึ่งซึ่งได้พัฒนาภายในเป็นอย่างดี  ความรู้ที่ได้ไม่จำเป็นต้องสร้างขึ้นใหม่เสมอไป  บริษัทที่ให้ความสนใจกับองค์ความรู้จำเป็นต้องจัดสรรความรู้ที่เป็นประโยชน์ไว้เมื่อไหร่หรือที่ไหนก็ตามที่สามารถนำไปใช้ได้  ไม่จำเป็นต้องสร้างไอเดียใหม่เพื่อวัตถุประสงค์ของตัวเอง  หนทางที่เร็วที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการได้มาซึ่งความรู้นั้นคือการซื้อองค์ความรู้มา อย่างไรก็ตามบริษัทก็ยังได้ความรู้มากขึ้นจากบริษัทเฉพาะอื่นๆ  บ่อยครั้งที่พวกเขาปรารถนาที่จะจ่ายมากกว่ามูลค่าตลาดของบริษัทที่ซื้อมา  เพราะคุณค่าที่เขาคาดหวังว่าจะได้รับจากการเพิ่มพูนความรู้ใหม่ให้คลังความรู้ของพวกเขา 
การวัดมูลค่าของความรู้นั้น ส่งผลถึงความเข้าใจในองค์ความรู้ที่ถือว่าเป็นสินทรัพย์ขององค์กรได้น้อยที่สุดแต่สามารถบ่งบอกถึงจำนวนและปริมาณของความรู้ได้ ซึ่งกล่าวกันง่ายๆ ก็คือ ไม่มีวิธีที่เป็นมาตรฐานในการวิเคราะห์มูลค่าของบริษัทได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์  การตลาดสำหรับความรู้ในองค์กรอาจจะมีมากและมีประสิทธิภาพมากอยู่แล้ว แต่ปริมาณความรู้ที่ได้มาก็สามารถทำให้ความรู้ในองค์กรที่มีอยู่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
องค์กรที่ร่ำรวยความรู้ จะเป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็ง   การเชื่อมโยงความรู้ขององค์กร และคนในองค์กร  สิ่งแวดล้อมในองค์กร  ความรับผิดชอบที่ชัดเจนขององค์กร และการแตกย่อยกระบวนการทำงานภายในองค์กร และผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ มีเทคนิคใหม่ในบางครั้งมาพูดคุยให้ความรู้กับคนงาน
 
ค่าเช่าความรู้
ความรู้จากภายนอกสามารถเช่าซื้อหรือเช่าได้  การเช่าความรู้  ความหมายที่แท้จริง คือ การซื้อความรู้จากผู้เชี่ยวชาญสำหรับโครงการต่าง ๆ โดยอาศัยชื่อเสียงของผู้เชี่ยวชาญ  บริษัทจ่ายจ้างที่ปรึกษาเพื่อแลกกับความรู้เพื่อนำไปใช้ในเรื่องนั้น ๆ  การเช่าความรู้เปรียบเสมือนการถ่ายทอดความรู้ระดับหนึ่งแม้ว่าจะเป็นแหล่งความรู้ที่เกิดขึ้นชั่วคราว และความรู้ที่จ้างอาจจะยังอยู่กับกิจการนั้น ๆ 
การเช่าความรู้จากที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญถือเป็นการเริ่มต้นของตลาดการบริการของความรู้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกค้า  บริษัทผู้ว่าจ้างอาจจะมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันในการใช้ความรู้เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ  นักลงทุนเป็นจำนวนมากมีความสนใจที่จะใช้ความรู้ในการช่วยทำงานของเขาเพื่อสร้างโอกาสที่ดีจากองค์ความรู้ที่ได้  ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงอาจจะทำให้ลูกค้าผู้ว่าจ้างมีความแปลกประหลาดใจในการถ่ายทอดความรู้ ถ้าหากพวกเขาจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านความรู้เป็นรายวัน/รายสัปดาห์  ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้พร้อมที่จะช่วยเหลือลูกค้าในการถดูดซับความรู้อย่างชำนาญเพื่อให้สมกับค่าจ้างที่ลูกค้าได้จ่ายไป

การทุ่มทรัพยากรในการพัฒนาความรู้
การพัฒนาความรู้ที่องค์กรสร้าง หรือพัฒนาหน่วยงานขึ้นมาโดยเฉพาะ ประเด็นที่สำคัญของการพัฒนาความรู้ คือ องค์กรต้องมั่นใจว่ามีกลไกในการถ่ายทอด และแบ่งปันความรู้จากหน่วยงานที่รับผิดชอบในการพัฒนารู้ไปสู่ส่วนอื่นๆ ขององค์กร
 
การรวมตัวกัน
ฝ่ายพัฒนา และวิจัยใกล้ที่จะสำเร็จในการลดความกดดันและความน่ารำคาญ ที่สามารถจะมารวมกันที่ฝ่ายวิจัยการผลิต องค์ความรู้ได้กำเนิดผ่านการรวมวัตถุประสงค์นำมาสู่ความหลากหลาย และเวลาเดียวกันนั้นความขัดแย้งกัน องค์ความรู้นั้นได้นำผู้คนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมาทำงานบนปัญหาหรือโครงงาน โดยขับดันพวกเขาโดยใช้คำตอบเดียวกัน
การบริหารจัดการจำเป็นสำหรับการสร้างความมั่นใจในการร่วมมือกันของหลายๆ แบบที่แตกต่างกัน และความคิดที่เป็นบวก ไม่ใช่แค่การเผชิญหน้าเท่านั้น
นี่คือทฤษฏี 5 แนวทางการบริหารจัดการองค์ความรู้ ซึ่งสามารถช่วยสร้างงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.ความตระหนักรู้ของคุณค่าของการใฝ่หาองค์ความรู้
2.กุญแจสำคัญที่แสดงความรู้ของคนทำงาน
3.เน้นที่ความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถเป็นไปได้จากหลายปัจจัย และแรงขับเคลื่อนของไอเดีย มองเห็นความต่างไปในทางบวก มากกว่าเป็นความขัดแย้ง และหลีกเลี่ยงคำตอบง่ายๆ สำหรับคำถามที่ยุ่งเหยิง
4.สร้างความต้องการสำหรับความรู้ทั่วไปที่ต้องชัดเจน เพื่อที่จะสนับสนุน และนำไปสู่เป้าหมายหลัก
5.แนะนำกฎเกณฑ์ และหลักของความสำเร็จ ซึ่งเป็นผลสะท้อนมาจากมูลค่าจริงขององค์ความรู้มากกว่าความสำเร็จ แทนงบดุลทางบัญชีทั่วๆ ไป

การปรับตัว
เหตุผลมากมายที่องค์กรประสบปัญหาในการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งทั้งหมดมาจากอดีตที่ผ่านมา ความสามารถของบริษัทที่จะทำบางสิ่งโดยสามารถเห็น และเข้าใจในสิ่งนั้น  และสามารถพัฒนาได้ในเวลาต่อมา
คุณลักษณะของบริษัทต่อการปรับตัวขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยที่สำคัญ  คือ  การมีทรัพยากรภายในที่มีอยู่จริงและสามารถถูกใช้ประโยชน์ในทางใหม่ๆ และการถูกเปิดไปสู่การเปลี่ยนแปลงและยอมรับการเปลี่ยนแปลง  ขณะที่ข้อสรุปของปัจจัยนี้อยู่ภายหลังของขอบเขตของหนังสือนี้  ทั้งสองสิ่งนั้นมีองค์ความรู้ด้านการจัดการพิเศษ  หมายความว่า  การปรับตัวของทรัพยากรที่สำคัญที่สุด  คือ  ลูกจ้างผู้ซึ่งสามารถนำองค์ความรู้ใหม่ๆ  และทักษะอย่างง่ายๆ  บริษัทควรหาลูกจ้างที่เป็นต้นแบบของกฎเกณฑ์และทักษะหลายๆอย่างที่ต่างไป  หลังจากพวกเขาถูกจ้าง  ลูกจ้างก็ควรได้รับการให้กำลังใจต่อการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ  การจัดการพวกเขาตามทักษะของพวกเขาเป็นสิ่งจำเป็น
 
เครือข่าย
องค์ความรู้จะมีทั่วไปในองค์กร  โดยจะแสดงข้อมูลให้เห็นว่าในแต่ละส่วนของเครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ (Informal Network) จะทำให้เกิดองค์ความรู้ได้อย่างไร  ขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่ามีโอกาสมากน้อยเพียงไรที่จะเรียนรู้องค์ความรู้ในแต่ละรายละเอียด  ซึ่งในการทำงานจะมีการใช้องค์ความรู้อย่างทันทีเพื่อกระตุ้นความคิดเกี่ยวกับการจัดการให้เป็นกระบวนการที่ไม่เป็นทางการ  แต่ได้ผลมากกว่าและมีประสิทธิภาพในอนาคต

ปัจจัยพื้นฐาน
เราจำเป็นต้องมีเวลาและพื้นที่เพียงพอในการที่จะใช้สร้างสรรค์และได้มาซึ่งองค์ความรู้  ปัจจัยที่ 3 ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงกันคือ การยอมรับจากผู้จัดการว่าองค์ความรู้นั้นเกิดขึ้นแล้วเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญสำหรับความสำเร็จของธุรกิจ  และมีกระบวนการเป็นธรรมชาติ
องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นยากที่จะวัดขนาดได้ และหากมีการทำลายก็จะเป็นจุดจบขององค์กร มีการพิสูจน์ได้ว่าองค์ความรู้เป็นสินทรัพย์ที่ดีที่สุดขององค์กร  ดังนั้นธุรกิจใดไม่มีการทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ  ก็ไม่น่าที่จะสามารถดำเนินกิจการให้คงอยู่ต่อไปได้
    

หมายเลขบันทึก: 112307เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2007 18:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การมีสติ และเจตนาในการให้กำเนิดความรู้ลักษณะเฉพาะของกิจกรรม และการริเริ่มที่แน่นอน ย่อมทำให้เพิ่มความรู้ด้านที่เกี่ยวข้องกันมากขึ้น  

สวัสดีค่ะ

เรื่องของสติ ความคิดสร้างสรรค์ การตั้งใจมั่นในการทำงาน ต้องอาศัย  จิตว่าง และปัญญา  ค่ะ ต้องฝึกค่ะ

สวัสดีครับ

 ใช่ครับ การมีจิตว่างก็เท่ากับมีสมาธิ  การมีสมาธิ ก็จะทำให้เกิดปัญญาครับ ^ ^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท