คิดแนวข้าง


จากบล็อกคิดนอกกรอบ (2)  ดร.รุจโรจน์  แก้วอุไร  เขียนถามว่า “เหมือนหรือต่างจาก คิดแนวข้าง  ของเอ็ดเวิร์ด  เดอ  โบโน  ไหมครับ?”  และทิ้งความเห็นไว้ว่า “แต่ผมว่าที่แน่ๆ ต่างจาก  ตอบแบบเอาข้างเข้าถูแน่นอนครับ

ผมกลัวเจ็บสีข้าง  เพราะเอาข้างเข้าถู  ก็เลยต้องสรุป “คิดแนวข้าง” ของ Edward De Bono ก่อนครับ  เอ็ดเวิร์ด  เดอ  โบโน  เขียนถึงการคิดสร้างสรรค์  ดังนี้
          -  การคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่จำเป็น  และมีคุณค่า  แต่การคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นยาก 

การคิดสร้างสรรค์  เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
          -  เป็นพรสวรรค์  เป็นแรงบันดาลใจ  หรือเป็นความบังเอิญ  เราทำอะไรกับมันไม่ได้ใช่ไหม ?  เราต้องรอให้มันเกิดขึ้นเองใช่ไหม ?

คำตอบ  คำถาม  ข้างต้น  เกิดขึ้นเพราะเราไม่เคยพัฒนารูปแบบของการคิดที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์

ทำไมการคิดสร้างสรรค์จึงยาก ?
          -  เพราะการคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดแบบที่ออกไปในแนวข้าง  และอาจเป็นการยากที่จะพัฒนา  เนื่องจากมันขัดกับการคิดเชิงตรรกะ (การคิดแนวตั้ง)

พบคำที่เกี่ยวข้องกับ การคิดสร้างสรรค์ 2 คำ  ครับ
การคิดแนวตั้ง  กับ การคิดแนวข้าง

การคิดแนวตั้ง  คิดอย่างไร ?
          1.  การคิดแนวตั้ง  จะเลือกสรร พยายามหาวิธีที่จะตัดสิน  พิสูจน์  และกำหนดประเด็นหรือความสัมพันธ์
          2.  การคิดแนวตั้ง  จะบอกว่า  นี่เป็นแนวทางในการพิจารณาสิ่งต่างๆ ที่ถูกต้อง และดีที่สุด
          3.  การคิดแนวตั้ง  คือทุกขั้นตอนจะต้องถูกต้อง  คงที่  แน่นอน
          4.  การคิดแนวตั้ง  เป็นการวิเคราะห์  พยายามที่จะสร้างความต่อเนื่อง  มีหลักฐาน  มีข้อสรุป
          5.  การคิดแนวตั้ง  เลือกว่าสิ่งใดควรพิจารณา  ตัวเลือกนี้จะขึ้นอยู่กับมุมมองเดิมอย่างเต็มที่
          6.  การคิดแนวตั้งเป็นกระบวนการแบบปิด  การคิดแนวตั้งอย่างน้อยจะได้คำตอบหนึ่งคำตอบ

การคิดแนวข้างคิดอย่างไร ?
          1.  การคิดแนวข้าง  มีจุดหมายการเปลี่ยนจากแนวความคิดหนึ่ง  ไปยังอีกแนวความคิดหนึ่ง
          2.  การคิดแนวข้าง  ถือเป็นการเปลี่ยน  เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
          3.  การคิดแนวข้าง  จะพยายามสร้างแนวทางในการพิจารณาสิ่งต่างๆ เพิ่มขึ้น  หรือเปลี่ยนแนวทางในการพิจารณา
          4.  การคิดแนวข้าง  ไม่ได้มองหาสิ่งที่ถูกต้อง  แต่มองหาสิ่งที่แตกต่าง
          5.  การคิดแนวข้าง  อาจนำความคิดที่ผิดของแนวตั้งมาใช้ก็ได้
          6.  การคิดแนวข้างเป็นกระบวนการแบบเปิด  ในการคิดแนวข้าง  ไม่แน่ใจจะได้คำตอบหรือไม่  แต่ที่แน่ๆ มีโอกาสจะได้คำตอบที่หลักแหลมจำนวนมาก

มีความแตกต่างระหว่างการคิดแนวตั้งกับความคิดแนวข้าง  ที่เป็นรายละเอียดอีกมาก

แต่ที่สรุปได้คือ  การคิดแนวข้าง ตรงข้ามกับการคิดแนวตั้ง

ทีนี้มาวิเคราะห์ว่า  คิดแนวข้างเหมือน หรือต่างจาก คิดนอกกรอบ

ในทัศนะผม  คล้ายกันครับ

คล้ายคือ  ไม่เหมือนทั้งหมดครับ

ก็เหมือนนักทฤษฎีทั้งหลายแหละครับ  ที่ต่างคนต่างคิด  ต่างหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดของตนเอง  แล้วก็กำหนดทฤษฎีของตัวเอง

คิดนอกกรอบ  ที่ผมเขียนเป็นข้อสรุปของผมที่ยังไม่มีทฤษฎีอ้างอิง  แต่เกิดจากการตีความ  ความเข้าใจ  การเทียบเคียง  การเปรียบเทียบ  ฯลฯ  ยังมีคำที่เอามาพูดขยายความได้อีกนะครับ  เช่น  คิดทะลุกรอบ  คิดพ้นกรอบ

ถ้าผมจะอธิบายว่า  คิดทะลุกรอบ  คิดพ้นกรอบ  เป็นการคิดแนวตั้ง  ที่บางครั้งหรือหลายครั้งนำไปสู่การคิดแนวข้าง  ก็เป็นความคิดของผมใช่ไหมครับ

ผมยังสงสัยต่ออีกด้วยว่าทำไม  เอ็ดเวิร์ด  เดอ  โบโน  เสนอ “คิดแนวตั้ง”  กับ  “คิดแนวข้าง” ?  ทำไมไม่เป็น “คิดแนวตั้ง”  กับ  “คิดแนวนอน” ?

จะคิดแนวไหน ?  คิดวิธีใด ?  ถ้าคิดได้และเกิดประโยชน์  ก็ดีทั้งนั้นใช่ไหมครับ ?

หมายเลขบันทึก: 111987เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2007 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

พอดีผมเข้าไปอ่านทั้งสองเรื่อง ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวพันกันหรือไม่ คือเรื่อง ใจต้อง “ว่าง” จึงจะเกิดความคิด “สร้างสรรค์” ของ ดร.ประพนธ์ เขียนไว้ จึงนำลิ้งมาฝากไว้ครับ

ผมชอบอ่านเรื่องเล่าของคณบดีมากครับ แต่ที่ผมอยากขอต่อ เพื่อเป็นบทเรียน คือ จากทฤษฎีแปลสู่การปฏิบัตินั้น ทำอย่างไร ผมอยากได้ประสบการณ์ตรงที่ไม่สามารถหาอ่านได้จากที่หนังสือหรือตำราเล่มไหน ไม่รู้ว่าผมขอมากเกินไปหรือเปล่า

 

ยกตัวอย่างการคิดแต่ละข้อด้วยก้อดีนะค่ะ

หน้าจะเขียนเป็ฯรูปมายเม็บมั้งนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท