บางมุมของวงการแพทย์และสาธารณสุขคราว “สึนามิ”


สิ่งดี ๆ ที่จะเรียกว่าเป็นจุดแข็งเหล่านี้ น่าจะเป็นทุนทางสังคมที่เรามีอยู่โดยพื้นฐานเพราะตัวเราเอง เมื่อยามวิกฤติเราหยิบมาใช้ในทันที ไฉนในยามที่ปกติเราจะไม่หยิบมาใช้จนเป็นปกติกัน น่าจะส่งเสริมตรงส่วนนี้ให้แพร่ขยายออกไปในวงกว้าง แล้วช่วย ๆ กันนำเสนอออกมา เพื่อเป็นการส่งเสริมคนดีให้อยู่ได้ในสังคม

     ได้อ่านข่าวของนางแบบชาวเชค Petra Nemcova และไซมอน แอตลี แฟนหนุ่มช่างภาพชาวอังกฤษวัย 33 ปี ที่มาประสบเคราะห์กรรมเพราะสึนามิ จากหนังสือพิมพ์โฟกัสภาคใต้ เรื่อง Petra Nemcova รักคนไทยเพราะ'สึนามิ' และจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ Online เรื่อง นางแบบเช็กเหยื่อสึนามิ ปลื้มคนไทยเป็นแรงบันดาลใจให้สู้ เธอได้รับการช่วยเหลือและรอดชีวิต ส่วนแฟนหนุ่มของเธอเสียชีวิต ผมสดุดใจและภูมิใจ ในความเป็นคนไทยทั้งวงการสื่อสารมวลชน วงการวงการแพทย์และสาธารณสุข และที่สำคัญคือความเป็นประเทศไทย จากข่าวนี้ และอยากเชิญชวนให้ได้อ่านข่าวทั้ง 2 ข่าวนั้นก่อน

     เมื่อเธอได้ถูกเครื่องบินนำตัวส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (รพ.มอ.) โดยที่ทางโรงพยาบาลได้เก็บเรื่องนี้เป็นความลับอย่างยิ่ง โดยเกรงว่าจะมีการนำเอาความเจ็บป่วยของเธอไปหากินได้ เพราะขณะนั้นปาปารัสซี่ จากทุกมุมโลกได้ออกติดตามหาตัวกันจ้าละหวั่นทีเดียว

     "โฟกัสภาคใต้" รับทราบความจริงเรื่องนี้จากแหล่งข่าว ขณะนางแบบคนดังยังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล มอ. แต่ตัดสินใจงดเว้นเสนอข่าวดังกล่าว ด้วยเห็นว่าเป็นเรื่องสิทธิผู้ป่วย และเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของบางกลุ่ม ที่คอยจับจ้องตามล่ากันอยู่

     โดยส่วนตัวผมขอชื่นชมทั้งโรงพยาบาล มอ. (สงขลานครินทร์) "โฟกัสภาคใต้" อาสาสมัคร และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่เก็บความลับของเธอ ซึ่งเป็นผู้ป่วย และอยู่ในสภาพบอบช้ำทางจิตใจ และร่างกายอย่างหนัก ซึ่งเวลาวิกฤติสุด ๆ ของชีวิตเธอเอง คงไม่พร้อมที่จะเป็นข่าวอย่างแน่นอน และยิ่งจะเป็นซ้ำเติมผู้ป่วย

     สิ่งดี ๆ ที่จะเรียกว่าเป็นจุดแข็งเหล่านี้ น่าจะเป็นทุนทางสังคมที่เรามีอยู่โดยพื้นฐานเพราะตัวเราเอง เมื่อยามวิกฤติเราหยิบมาใช้ในทันที ไฉนในยามที่ปกติเราจะไม่หยิบมาใช้จนเป็นปกติกัน น่าจะส่งเสริมตรงส่วนนี้ให้แพร่ขยายออกไปในวงกว้าง แล้วช่วย ๆ กันนำเสนอออกมา เพื่อเป็นการส่งเสริมคนดีให้อยู่ได้ในสังคม

     วันนี้เธอกลับมาทำเพื่อประเทศไทยและได้เล่าว่า "หมอมาคุยกับชั้นอยู่สองสามคำ ... ให้ชั้นคิดถึงแต่เรื่องดีๆ เรื่องที่สวยงาม และมันก็ได้ผล วันรุ่งขึ้นชั้นก็ไม่รู้สึกเจ็บปวดอีกเลย" เปตรา เล่า พร้อมระบุว่า เมืองไทยยังเป็นประเทศหนึ่งที่เธอชื่นชอบที่สุด
      
       เนมโควา เล่าว่า สิ่งที่เลวร้ายที่สุดเมื่อเธอเดินทางกลับเมืองไทยครั้งแรกหลังเกิดเหตุ ในเดือนพฤษภาคม คือ การได้เห็นเด็กกำพร้าที่สูญเสียพ่อแม่ เพราะคลื่นยักษ์ ล่าสุด กองทุน "Happy Hearts Fund " ของเธอระดมทุนได้แล้วมากกว่าหนึ่งล้านบาท และดำเนินการประสานงานกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการให้คำปรึกษาด้านจิตใจและอารมณ์แก่เหยื่อสึนามิในไทย รวมทั้งการสร้างโรงเรียนและหอพักที่เขาหลัก จังหวัดพังงา

หมายเลขบันทึก: 11198เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2006 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท