“ปราบเซียนโดยโป๊ยเซียน”


ในการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ ผู้สอนประสบปัญหามากและบ่อยๆที่สุดคือ นักเรียนหาปัญหาที่จะทำโครงงานไม่ได้ หรือหาปัญหาได้แต่ทำไม่สำเร็จ หรือมักจะลอกเลียนโครงงานมาทำโดยไม่มีการดัดแปลงเป็นของตัวเอง ผู้สอนพยายามคิดว่าจะทำอย่างไรนักเรียนจึงจะหาปัญหาได้ง่าย เหมาะสมกับตัวนักเรียนและทำโครงงานแบบสนุกประสบผลสำเร็จ            มีนักเรียนกลุ่มหนึ่งเรียนไม่เก่ง เพื่อนลงมือทำโครงงานไปแล้วแต่กลุ่มนี้หาปัญหาในการทำโครงงานไม่ได้ หรือที่หามาได้แล้วก็ยากเกินไป ผมจึงเรียกมาคุยกันแบบกันเองหลังเลิกเรียน ถามว่าทำไมถึงหาปัญหาไม่ได้ เขาตอบว่า ไม่รู้ครับเพราะอะไรเขาก็ทำไปหมดแล้ว และที่คิดจะทำมันก็ยากเกินไปครับ  ผมเลยถามว่าที่บ้านพ่อแม่ทำอาชีพอะไร เธออยู่บ้านช่วยพ่อแม่ทำอะไรบ้าง หรือเวลาว่าเธอชอบทำอะไร  มีนักเรียนคนหนึ่งตอบว่าที่บ้านพ่อชอบปลูกต้นโป๊ยเซียน ผมก็ช่วยพ่อปักชำกิ่งโป๊ยเซียน  ผมบอกว่าเอาเรื่องโป๊ยเซียนนี่แหละทำโครงงาน.. ถามต่อว่า..เธอรู้มั๊ยว่า..โป๊ยเซียนชนิดไหนปักชำแล้วงอกได้ดี..แล้วเธอรู้มั๊ยว่า..ต้องปักชำลึกขนาดไหน...ต้องตัดกิ่งยาวเท่าใด....ขนาดกิ่งเล็กใหญ่แค่ไหนจึงจะดี..เขาตอบว่าไม่แน่ใจไม่เคยวัดไม่เคยสังเกต...แล้วเธออยากรู้มั๊ยหละ..อยากรู้ครับ..ผมเลยตอบว่านี้แหละคือ..ที่มาของปัญหาของโครงงาน...เธออยากรู้อะไรก็หาคำตอบนั้นด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น  -อยากรู้ว่าโป๊ยเซียนชนิดไหนงอกได้ดี ก็เอาโป๊ยเซียนหลาย ๆชนิดมาปักชำและเปรียบเทียบสิครับ -อยากรู้ว่าขนาดกิ่งเล็กใหญ่แค่ไหนงอกได้ดี..ก็วัดขนาดแล้วมาปักชำเปรียบเทียบกันลองดูนะ - อยากรู้ปักชำลึกตื้นแค่ไหนงอกได้ดี...ก็วัดความลึกที่ปักลงไป และนำมาผลมาเปรียบเทียบกัน..    แค่นี้แหละคือ..ปัญหาของโครงงาน..

            นักเรียนกลุ่มนี้ได้ปัญหาของโครงงานคือ..เลือกศึกษาขนาดของกิ่งโป็ยเซียนที่เหมาะสมกับการปักชำ  แล้วยังแนะนำเพื่อนทำโครงงานโป๊ยเซียนได้อีก 2-3โครงงาน ตามคำถามที่ครูแนะนำไป

 

ครูชิราวุธ  บุญศักดิ์
หมายเลขบันทึก: 111961เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2007 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถ้าเป็นดิฉัน..จะบอกว่าพลาดนิดเดียวตรงที่ครูบอกว่า..ผมบอกว่าเอาเรื่องโป๊ยเซียนนี่แหละทำโครงงาน..เพราะเป็นการตัดสินของครูคะ..น่าจะเริ่มด้วยคำถามนักเรียนง่ายๆก่อน เช่น.โป้ยเซียนชนิดใหนที่สวยและพ่อชอบ..ปลูกมากที่สุด..ปลูกอย่างไร..ไปเรื่อยๆ..จนได้คำถามที่นักเรียนสนใจอยากรู้จริงๆ.ต้องการคำตอบจริงๆ..ไม่ใช่เพื่อมีโครงงานทำส่งครูคะ..แล้วนักเรียนจะทำโครงงานสำเร็จ.เพราะเป็นความต้องการของเขาเอง..ไม่ใช่ของครู

จากรายงานวิจัยใน blog พบว่านักเรียนหาชื่อเรื่องโครงงานไม่ได้เป็นความต้องการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด..แต่น่าแปลกใจที่ตัวช่วยอันดับหนึ่งของนักเรียนโรงเรียนนั้นกลับเป็นเพื่อน..ถ้านักเรียนโรงเรียนนั้นได้เรียนกับครูคนนี้..ผลการวิจัยอาจเปลี่ยนไป..มีครูสอนวิทยาศาสตร์ที่ให้ความสนใจ เอาใจใส่นักเรียนอย่างนี้.มากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ..เด็กไทย..อนาคตไกลแน่นอน..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท