ความเป็นมาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (จบ)


ความประสงค์ในการบันทึกเรื่องนี้ก็เพราะว่าอยากให้ผู้ที่สนใจในเรื่องนี้ได้รู้ถึงรากเหง้าซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการที่จะทำให้เจริญงอกงามผลิดอกออกผลได้อย่างสมบูรณ์ วัฒนธรรมในการเรียนการสอนของไทยมักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับที่มาที่ไป ชอบเรียนรู้จากการต่อยอด ทำให้การเรียนรู้ไม่ลึกซึ้ง การดำเนินชีวิตก็เป็นไปอย่างฉาบฉวย ความรู้ฝังลึก(Tacit Knowledge) ที่มีติดตัวอยู่ในแต่ละบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลเล็กบุคคลน้อย มักจะถูกมองข้าม ถูกมองว่าด้อยค่า ความรู้เหล่านั้นก็จะตายตามตัวไป

จากการที่พระองค์ได้ทรงเน้นเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาประเทศโดยผ่านทางพระราชดำรัส พระบรมราโชวาท ตลอดจนทรงปฏิบัติให้เห็นเป็นตัวอย่างในโครงการส่วนพระองค์ต่าง ๆ แล้ว ที่สุดก็ได้เกิดมีการเห็นความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2542 ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงผลสรุปของการสัมมนาคือมีความเข้าใจตรงกันว่าแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ขัดแย้งกับแนวคิดเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก และสามารถใช้ได้กับทุกภาคการพัฒนา ตลอดจนสอดคล้องกับเอกลักษณ์ของสังคมไทย อย่างไรก็ตามยังคงต้องมีการปรับปรุงเพิ่มเติมขยายความโดยคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญ อาทิ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดี ความรู้ ความสมดุล และความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผล

          ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2545-2549) ได้มีการระดมความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศเพื่อการกำหนดกรอบวิสัยทัศน์และทิศทางของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 ปรากฏว่าได้มีวิสัยทัศน์ร่วมกันให้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทางในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและมีวัตถุประสงค์หลักคือ การปรับโครงสร้างการพัฒนาประเทศให้เข้าสู่ดุลยภาพ โดยเปลี่ยนกระบวนการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นการพัฒนาในเชิงปริมาณมาสู่การพัฒนาในเชิงคุณภาพควบคู่ไปกับการสร้างความเป็นธรรมในสังคม และความสามารถก้าวทันโลกที่จะอำนวยประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมียุทธศาสตร์ในการพัฒนา 3 กลุ่มหลักได้แก่

         1. การปฎิรูประบบบริหารจัดการให้เกิดธรรมาภิบาล ในทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อขจัดการทุจริตการประพฤติมิชอบ

        2. การสร้างฐานรากของสังคมให้เข้มแข็งและรู้เท่าทันโลกโดยมุ่งพัฒนาคนครอบครัว   ชุมชนและสังคม เป็นแกนหลัก โดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพคน และกระบวนการเรียนรู้ ความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมและระบบคุ้มครองทางสังคมในรูปแบบต่างๆ 

        3. การปรับตัวทางเศรษฐกิจให้เท่าทันโลกและเศรษฐกิจยุคใหม่หรือเศรษฐกิจยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้สามารถแข่งขันและร่วมมือได้บนพื้นฐานการพึ่งตนเอง นี่ก็คือความเป็นมาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก่อนที่จะกลายมาเป็นกระแสยอดฮิตติดอันดับของสังคมไทยในปัจจุบัน

       ความประสงค์ในการบันทึกเรื่องนี้ก็เพราะว่าอยากให้ผู้ที่สนใจในเรื่องนี้ได้รู้ถึงรากเหง้าซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการที่จะทำให้เจริญงอกงามผลิดอกออกผลได้อย่างสมบูรณ์ วัฒนธรรมในการเรียนการสอนของไทยมักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับที่มาที่ไป ชอบเรียนรู้จากการต่อยอด ทำให้การเรียนรู้ไม่ลึกซึ้ง การดำเนินชีวิตก็เป็นไปอย่างฉาบฉวย ความรู้ฝังลึก(Tacit Knowledge) ที่มีติดตัวอยู่ในแต่ละบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลเล็กบุคคลน้อย มักจะถูกมองข้าม ถูกมองว่าด้อยค่า ความรู้เหล่านั้นก็จะตายตามตัวไป พอมีกระแสขึ้นมาก็แห่แหนกันไปขุด ไปหา เช่น เรื่องของการแพทย์แผนไทย ซึ่งกาลครั้งหนึ่งถูกผู้นำมองว่าโบราณ คร่ำครึ ขัดขวางในการที่จะพัฒนาประเทศให้ศิวิไลซ์ (Civilizations) สมควรให้ถูกขจัดไปจากสังคมไทย เดี๋ยวนี้เป็นอย่างไรบ้างทั่วโลกตื่นตัวการรักษาแบบไม่พึ่งพาเคมี การรักษาแบบการแพทย์ทางเลือก (Alternative Medicines) ได้รับความนิยมจากผู้มีเงินตรา ทำให้คนไทยตื่นตัวไปขุดไปหาแล้วจะได้อะไรในเมื่อศพพูดไม่ได้ น่าเสียดายในสมัยนั้นไม่มี สคส. ไม่เช่นนั้นคงจะหาร่องรอยได้ง่ายกว่านี้ เกษตรอินทรีย์ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สามารถทำให้ไทยได้เป็นแชมป์โลกอย่างยั่งยืนโดยไม่ต้องลงแข่งโอลิมปิคให้เสียงบประมาณ หากความรู้ทีฝังลึกอยู่ในโคตรเหง้าเหล่าบรรพบุรุษของไทยโลกได้ถูกคุ้ยแคะแกะเกาออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ถ้าหาก สคส. เกิดเร็วกว่านี้ โรงเรียนชาวนาตั้งขึ้นเร็วกว่านี้ เชื่อได้ว่าสยามประเทศจะเป็นตักศิลาในเรื่องของการกสิกรรมธรรมชาติและเกษตรอินทรีย์ ที่ทั่วโลกต้องมาเรียนรู้

           บันทึกเรื่องที่มาที่ไปของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ดี ๆ แต่เหตุอันใดมาจบลงด้วยเรื่อง KM หรือเป็นเพราะว่า KM นั้นที่แท้เป็นสิ่งฝังลึกอยู่ในทุกเรื่อง วาน PC ของสคส.ช่วยตอบหน่อยได้ไหมครับ 

หมายเลขบันทึก: 111922เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2007 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2012 13:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ตัวหนังสือเล็กไปหรือป่าว

งงว๊ะ ย่อให้เข้าใจหน่อยดิ๊

ตัวเล็กเป็นบ้าเลยว่ะ

ตัวหนังสือเล็กไป แต่ได้สาระ

นายมนต์ตรี ขัดศิริ

ได้ความรู้มากๆๆคับ

เป็นพระราชดำรัสตั้งแต่ปีพศ2517เกี่ยวกับแบบจำลองระบบปฏิบัติงานโดยยึดหลักทางสายกลางประกอบด้วย 2 เงื่อนไข 3 ห่วงความสำพันธ์ แต่คนไทยมาสนใจเมื่อเศรษฐกิจล่มสลายเมื่อปีพศ2540และสังเคราะห์เขียนเป็นแผนพัฒนาเมื่อปีพศ2542 เรียกว่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เป็นพระราชดำรัสตั้งแต่ปีพศ2517เกี่ยวกับแบบจำลองระบบปฏิบัติงานโดยยึดหลักทางสายกลางประกอบด้วย สอง เงื่อนไข สาม ห่วงความสำพันธ์ แต่คนไทยมาสนใจเมื่อเศรษฐกิจล่มสลายเมื่อปีพศ2540และสังเคราะห์เขียนเป็นแผนพัฒนาเมื่อปีพศ2542 เรียกว่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เข้ามาหาจะเอาไปทามการบ้าน(ร.ร ราชวินิตบางเขนม.1/10)


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท