การจัดการความรู้เท่าที่ฉันเข้าใจ


ในฐานะที่เป็นครูที่จัดการความรู้อยู่อย่างสม่ำเสมอ คลุกคลีกับความรู้นานานัปการ แต่จะมีครูสักกี่คนที่รู้ว่า ความรู้ที่ตนมีอยู่นั้น นั่นคือ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวตนของตัวเอง ซึ่งเป็นการง่ายที่จะอธิบายให้ครูทุกคนรู้ว่า สิ่งที่เราเหล่าบรรดาครูจะทำได้ดีกว่าอาชีพอื่นๆ นั่นก็คือ การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ และเหล่าบรรดาครูจะทำได้ดีมากกว่าอาชีพอื่นๆ นั่นก็คือ การสอนนักเรียนให้รู้จักและปฏิบัติตามกระบวนการจัดการความรู้ได้ นั่นเอง
การจัดการความรู้ไม่ได้มีบทบาทอยู่ในหมู่นักวิชาการ  ครู  หมอ  หรือคนในวัยทำงานเท่านั้น  อาจจะกล่าวได้ว่า  การจัดการความรู้นี้มีอยู่ทุกหนทุกแห่งก็ว่าได้   ขอแต่เพียง    ที่นั้น  รู้จักกระบวนการจัดที่จะจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบนั้น  ต้องทำอย่างไร  ความรู้นั้นจึงจะเผยแพร่หรือจัดเก็บไว้ไม่ให้สูญสิ้นไปกับกาลเวลา            ในฐานะที่เป็นครูที่จัดการความรู้อยู่อย่างสม่ำเสมอ  คลุกคลีกับความรู้นานานัปการ  แต่จะมีครูสักกี่คนที่รู้ว่า   ความรู้ที่ตนมีอยู่นั้น   นั่นคือ  ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวตนของตัวเอง   ซึ่งเป็นการง่ายที่จะอธิบายให้ครูทุกคนรู้ว่า   สิ่งที่เราเหล่าบรรดาครูจะทำได้ดีกว่าอาชีพอื่นๆ  นั่นก็คือ  การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ   และเหล่าบรรดาครูจะทำได้ดีมากกว่าอาชีพอื่นๆ  นั่นก็คือ  การสอนนักเรียนให้รู้จักและปฏิบัติตามกระบวนการจัดการความรู้ได้  นั่นเอง            เหมือนอย่างที่ผู้เขียนได้นำกระบวนการจัดการความรู้ไปสู่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  สอนให้นักเรียนได้รู้จักและปฏิบัติได้ถูกต้องในเรื่องของการจัดการความรู้   โดยไม่ต้องอธิบายให้นักเรียนได้รู้ว่า  การจัดการความรู้คืออะไร   ปฏิบัติอย่างไร  มีวิธีดำเนินการได้อย่างไร  ผลเป็นอย่างไร  แต่กลับนำกระบวนการจัดการความรู้ไปลงสู่นักเรียนได้ปฏิบัติอย่างจริงจังกันเลย  ในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ในแต่ละวัน  นักเรียนจะมีชั้นเรียนของแต่ละวิชา จำนวน 5 ชั่วโมงต่อ 1 วัน  ซึ่งในแต่ละชั่วโมงนักเรียนก็สามารถจัดเก็บความรู้  หรือจัดการความรู้ได้หลายๆครั้งในแต่ละวันทีเดียว   ตัวอย่างเช่น  ในชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ห้องหนึ่ง  นักเรียนได้เรียนรู้เรื่อง  Me and My Family  จุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้  ได้แก่  นักเรียนสามารถบอกและเขียนชื่อการลำดับญาติในครอบครัวของตนเองได้  นักเรียนสามารถบอกจำนวนพี่น้องหรือสมาชิกในครอบครัวของตนเองได้   เมื่อนักเรียนทั้งห้องเรียนรู้และสามารถบอกชื่อจำนวนพี่น้องหรือสมาชิกในครอบครัวของตนเองได้แล้ว   ผู้เขียนได้นำกระบวนการจัดการความรู้มาปฏิบัติในขั้นตอนนี้เอง  คือจัดกลุ่มให้นักเรียนที่มีจำนวนพี่น้องหรือสมาชิกที่มีจำนวนเท่ากันไว้ด้วยกัน   เท่ากับได้เป็นพวกเดียวกัน  และนอกจากนั้น  นักเรียนยังแบ่งจำนวนหรือเพศของพี่น้องหรือสมาชิกในครอบครัวของตนเองได้   นี่เป็นการจัดการความรู้ของวิชาภาษาอังกฤษ  ในหน่วยเรื่อง  Me and My Family 

วิชาภาษาอังกฤษเท่านั้นหรือที่จัดการความรู้ได้    ไม่ใช่เลย   ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า  ความรู้มีอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง    เราไม่ได้จัดการความรู้เหล่านี้เลย  เท่ากับว่า  นักเรียนยังไม่รู้จักสรุปกับความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้เป็นหมวดหมู่นั่นเอง  ปล่อยให้รู้แล้วรู้เลย   ไม่มีความหมายอะไรขึ้นมาหลังจากที่ได้เรียน  หรือชั่วโมงเรียนได้ผ่านไปแล้ว  เมื่อถึงการเรียนในชั่วโมงและวิชาต่อไป  นักเรียนอาจจะเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องคำควบกล้ำ   เมื่อนักเรียนเรียนรู้จนจบเรื่องแล้ว   ครูอาจจะหาคำควบกล้ำมาจำนวนหนึ่ง  และให้นักเรียนจัดกลุ่มให้คำควบกล้ำเหล่านี้   การจัดกลุ่ม เช่น  คำควบกล้ำ  กร  กล  คล  คร  ฯลฯ   เท่ากับเป็นการจัดการความรู้ในวิชาภาษาไทยในเรื่องของ  คำควบกล้ำ  ก็ได้   หรือในชั่วโมงเรียนพลศึกษา  นักเรียนได้เรียนวิธีการออกกำลังกายแบบบริหารส่วนต่างๆของร่างกาย   อันได้แก่  การสะบัดขาทั้งสองข้างสลับกัน  นักเรียนเข้าใจแล้วว่า  การออกกำลังกายให้ครบทุกส่วนสัดของอวัยวะต่างๆของร่างกายนั้นเป็นเรื่องที่ดี   คราวนี้  นักเรียนก็ต้องจัดการความรู้ที่ได้ว่า  การออกกำลังกายในท่าใดที่เป็นการออกกำลังกายที่ให้ประโยชน์กับอวัยวะส่วนใด  การสะบัดขาทั้งสองข้างสลับกัน  ให้ประโยชน์ในการออกกำลังกายส่วนสัดใด  เป็นต้น            เมื่อสอนให้นักเรียนรู้จักการจัดการความรู้กันดีแล้ว   คราวนี้หันมาดูการจัดการความรู้ของครูผู้สอนกันบ้าง   ก่อนที่จะจัดการความรู้   ก็ต้องรู้กันก่อนว่า  ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 นั้น  ประกอบด้วยโครงสร้างสาระวิชาอะไรบ้าง   ในแต่ละสาระวิชาประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้เรื่องอะไร   แบ่งเป็นมาตรฐาน  หรือ  หน่วยการเรียนรู้ก็ได้  ก็แล้วแต่ภายในโรงเรียนแต่ละโรงนั้น  ยึดรูปแบบการสอนแบบใด  เช่น  แบบบูรณาการ  จะต้องจัดการความรู้ไปตามหน่วยของการเรียนรู้  หากไม่ได้จัดการสอนแบบบูรณาการ   จัดไปตามหลักสูตร  โครงสร้างของหลักสูตร    ก็ต้องมาศึกษากันว่า   จะจัดการความรู้ในสาระวิชาต่างๆก่อน  แล้วจึงมาจัดการความรู้กับสาระวิชาอื่นๆที่เทียบเคียงกันได้   เช่น  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษกับภาษาไทยนั้น  เน้นทักษะการเรียนรู้  ได้แก่  การฟัง  การพูด  การอ่าน  และการเขียน  จึงจะพบกับ  แก่นของความรู้  และดำเนินการไปยัง  ขุมของความรู้  ต่อไปได้   ส่วนกลุ่มสาระวิชาอื่นๆ  ก็ต้องมาดูสาระหลักสูตรของแต่ละสาระว่าจะสามารถเทียบเคียงกันไปได้หรือไม่   เช่น  คณิตศาสตร์กับวิทยาศาสตร์   หรือ  สังคมศึกษากับสุขศึกษาพลศึกษา  เป็นต้น   เมื่อโรงเรียนใดมีการจัดการความรู้ตั้งแต่ระดับนักเรียนในแต่ละกลุ่มสาระวิชา   ตลอดจนครูผู้สอนได้มีการจัดการความรู้ด้วยการเล่าเร้าพลังกันทุกๆสาระวิชาแล้ว   ก็จะเกิดแก่นของความรู้  และขุมของความรู้ตามมาอย่างมากมาย   

การจัดการความรู้ตามที่ฉันเข้าใจมีเพียงเท่านี้  หากผู้ที่มีความรู้เรื่องการจัดการความรู้อย่างถ่องแท้   ช่วยกรุณาอ่านความคิดของฉัน  และบอกฉันด้วยว่า   ฉันเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้  ถูกต้องแล้ว....หรือยัง

สิริพร  กุ่ยกระโทก
 
หมายเลขบันทึก: 111902เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2007 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท