การให้คำปรึกษาตามทฤษฎีอัตถิภาวะนิยม


แม้ตัวจะถูกขัง แต่ใจยังมีเสรีภาพ
การให้คำปรึกษาตามทฤษฎีอัตถิภาวะนิยม
อาสาฬห์  พรหมรักษ์
                ในบางครั้งท่านเคยมีความรู้สึกไหมว่า ตนเองเป็นคนไม่มีคุณค่า ทำอะไรก็ไม่ประสบความสำเร็จ ชีวิตอยู่ไปก็ไร้ความหมาย ไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ไปเพื่อใคร หรืออยู่ไปทำไม ความรู้สึกเช่นนี้ อาจจะเกิดกับตัวท่านเอง หรือบุคคลใกล้ชิดของท่านก็ได้ หากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นกับท่าน ท่านจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร
                Frankl  จิตแพทย์  ชาวออสเตรเลีย ซึ่งเป็นนักจิตวิทยากลุ่มอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) เขาเป็นผู้ทางด้านประสาทวิทยาและจิตเวช ในช่วงหนึ่งของชีวิตเขาถูกจับคุมขังในค่ายกักกันของนาซี บิดา มารดา  ภรรยา  และน้องชาย ถูกฆ่าตายหมด ในระหว่างถูกกักกันอยู่ในค่ายนาซี เขาได้รับความทุกข์ทรมาน และเผชิญกับความเศร้าโศกจากการสูญเสียบุคคลต่างๆ อันเป็นที่รัก  ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เขาต่อสู้ ยายามใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย โดยไม่จำนนต่อสภาพแวดล้อม แม้ตัวจะถูกขังแต่ใจยังมีเสรีภาพ  อย่างเต็มที่ที่จะคิดและผลิตงานที่สร้างสรรค์สังคม เขาได้เขียนตำราไว้มากมาย ซึ่งมีตำราเล่มหนึ่งเขาได้เขียนเขาได้เขียนเผยแพร่ชีวิตที่ลำเค็ญของเขาใหชาวโลกทราบ Frankl ได้บรรยายว่า มนุษย์สามารถพบความหมายในชีวิตได้หลายทาง มนุษย์หาได้สูญเสียทุกสิ่งทุกอยาง เขาเพียงแต่ไม่รู้ว่ากำลังมีชีวิตไปเพื่ออะไร จึงจำเป็นต้องพัฒนาความหมายแห่งชีวิตของเขา ในด้านความอดทนและการทนทุกข์ทรมาน ความหมายแห่งชีวิตในด้านการทำงาน  และความหมายแห่งชีวิตในด้านความรัก
                ทฤษฎีอัตถิภาวะนิยม ให้ความนับถือกับศักดิ์ศรความเป็นมนุษย์มาก เมื่อผู้รับคำปรึกษามาปรึกษาเพื่อขอให้ตัดสินใจ ผู้ให้คำปรึกษาจะไม่ยอมตัดสินใจให้แต่พยายามกระตุ้นให้ผู้รับคำปรึกษาพยายามตัดสินใจเลือกทางออกด้วยตนเอง โดยผู้ให้คำปรึกษาจะเป็นผู้เสนอแนะแนวทางหลายๆทาง ให้ผู้รับคำปรึกษาได้มีโอกาสเลือก โดยถือหลักว่า ไม่มีใครจะช่วยท่านได้ดีเหมือนกับท่านช่วยตัวท่านเอง
                ทฤษฎีนี้ไม่ยอมรับเรื่องพรหมลิขิต เพราะมนุษย์เกอดมามีทางเลือกสามารถเลือกความหมายของชีวิตได้อย่างอิสระมีเสรีภาพ ของตนเองทั้งในด้านการให้ (Give)  การรับ (Take)  และการเลือก (Choice)
                การให้ (Give) เราสามารถให้อะไรที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และสังคม เช่น การประหยัด  หรือการบริจาคโลหิตเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
                การรับ (take) เราจะรับอะไรเข้ามาได้บ้าง ซี่งมีทั้งความสุขและความทุกข์เป็นสิ่งที่เราสามารถรับเข้ามาในชีวิตได้
                การเลือก (Choice) เราจะเลือกคิด เลือกรับ เลือกทำอย่างไร เพื่อเป็นประโยชน์แก่ชีวิต การเลือกเป็นเรื่องของผู้ที่เกิดความขัดแย้งในภายในจิตใจ ซึ่งการที่จะเลือกกระทำหรือไม่เลือกกระทำถือเป็นการเลือกทั้งสิ้น
                การให้  การรับ และการเลือกเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถตัดสินใจเลือกกระทำได้อย่างอิสรเสรีภาพ แต่เมื่อมนุษย์ได้ตัดสินใจเลือกและกระทำลงไปแล้ว มนุษย์ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น
                กรณีตัวอย่าง
                นฤมล เป็นสุภาพสตรี อายุ 27 ปี ทำงานในแผนกการเงินของบริษัทแห่งหนึ่ง เธอเกิดความขัดแย้งในจิตใจ เพราะมีผู้ชายมาสนใจเธอ 2 คน คนหนึ่ง ชื่อ พงษ์ศักดิ์ มีอาชีพรับราชการเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เธอรู้สึกว่าผู้ชายคนนี้รักเธอมาก ตามใจเธอทุกอย่าง เป็นคนใจเย็น แต่จะไม่ค่อยกระตือรือร้นถึงความก้าวหน้าในชีวิต จนแทบจะเป็นคนเฉื่อยชา ยิ่งเวลาดื่มสุราจะไม่ยอมคิดถึงเรื่องการงานใดๆทั้งสิ้น เธอมีความรู้สึกว่าถ้าแต่งงานกับบุคคลนี้แล้วชีวิตข้างหน้าคงเย็นชา จืดชืด เธอคงทนไม่ได้ ฃีวิตสมรสคงไม่มีความสุข ส่วนชายอีกคนหนึ่ง ชื่อ เสกสรรค์ เป็นทหาร สัญญาบัตร เป็นคนร่าเริง  คุยสนุก ภายหลังได้คบกัน เธอรู้สึกสนุกมีชีวิตชีวา ร่างเริงแจ่มใส  แต่ดูท่าทางชายคนนี้เป็นคนเจ้าชู้ เธอเกรงว่าหลังจากแต่งงานแล้วเขาจะไปเจ้าชู้กับคนอื่นอีก ชีวิตสมรสก็คงไม่ราบรื่น
                ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าเธอไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะแต่งงานกับผู้ชายขี้เหล้าหรือเจ้าชู้ดี
                ประเด็นปัญหานี้ผู้ให้คำปรึกษาได้ชี้ให้เธอเห็นว่า การที่เธอตัดสินใจไม่ได้ว่าจะแต่งงานกับผู้ชายคนไหนดีเพราะเธอเกรงว่าจะหาความสุขให้กับชีวิตไม่ได้หลังการแต่งงานไปแล้ว ผู้ให้คำปรึกษาอธิบายให้ผู้รับคำปรึกษาฟังว่าเธอมีอิสรเสรีภาพที่จะตัดสินใจเลือก โดยพิจารณาว่าเพื่อนชายทั้งสองคนใครให้ความสุขแก่เธอได้มากกว่ากัน ชายแต่ละคนมีบุคลิกภาพอะไรที่เธอชอบ หรือเธอไม่ชอบ และเธอสามารถรับอะไรเข้ามาให้เป็นความสุขของตนเองได้บ้าง เมื่อเธอพิจารณาแล้วเธอก็ตัดสินใจไม่เลือกผู้ชายทั้งสองคน เพราะเป็นความสึขของเธอมากกว่าที่จะทนอยู่กับคนที่ขี้เหล้า หรือเจ้าชู้
                แล้วถ้าเป็นท่าน ท่านๆจะเลือกใคร
บรรณานุกรม
พงษ์พันธ์  พงษ์โสภา. ทฤษฎีและเทคนิคการให้คำปรึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2  บริษัทธนธัชการพิมพ์ จำกัด :  กรุงเทพมหานคร ,2543.
หมายเลขบันทึก: 111537เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2007 19:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

          แวะมาเยี่ยมเป็นกำลังใจ  พยายามต่อไปนะครับ  เพื่อพลังแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          Link รวมบล็อกเรื่องธรรมาภิบาลของกลุ่มงานใน สป. นอกเหนือจากที่สถาบันฯ สร้างให้ครับ

http://gotoknow.org/blog/rattaket/112527

ผมได้สร้าง แพลนเน็ต เพื่อรวบรวมบันทึกธรรมาภิบาลของทุกสำนัก/กลุ่มงาน มาไว้ในที่เดียวกัน  เมื่อเปิดเข้าไป จะเห็นทุกบันทึกรวมอยู่ด้วยกัน สามารถเลือกอ่านและแสดงความคิดเห็นได้เลย  โดยบันทึกล่าสุดไม่ว่าจะเป็นของสำนัก/กลุ่มงานใดก็ตาม  จะอยู่ด้านบนสุด และใล่ลงไปด้านล่าง ตามวัน/เวลา (ฉนั้น ต้องการให้ปรากฎบันทึกของท่านอยู่ด้านบนเสมอ ต้องขยันบันทึกครับ)

เข้าไปดูได้ตาม Link นี้เลยนะครับ

http://gotoknow.org/planet/rattaket2

  • อยากได้เกี่ยวกับการให้คำปรึกษาเชิงพุทธ
  • หรือเกี่ยวกับพุทธศาตร์ +การให้คำปรึกษา
  • ที่เป็นวิทยานิพนธ์ หัวข้อวิทยานิพนธ์
  • เพราะสนใจเรื่องนี้มากค่ะ
  • ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

มีสาระดี ๆ มาฝากเสมอนะคะ พยายามต่อไปนะคะ สู้ ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท