สังคมไทยเป็นสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้หรือไม่


เศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Economy) ตามความหมายในเชิงกว้าง คือ ระบบเศรษฐกิจที่มีการสร้างสรรค์ จัดหา ดัดแปลง เผยแพร่ความรู้และนำความรู้มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม

สังคมไทยเป็นสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้แล้ว โดยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกล่าวไว้ว่า

เศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Economy) ตามความหมายในเชิงกว้าง คือ ระบบเศรษฐกิจที่มีการสร้างสรรค์ จัดหา ดัดแปลง เผยแพร่ความรู้และนำความรู้มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมีปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการเป็นองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

(1) ระบบนวัตกรรมและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี (Innovation System and Technological Adoption)
หมายถึง การมีระบบนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพในทุกระดับของประเทศทั้งในระดับกิจการผลิต ศูนย์วิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัย กลุ่มคนที่มีความรู้ รวมทั้งองค์กรที่ปรึกษาจากภาครัฐและเอกชน ที่มีความสามารถในการจัดหา
เผยแพร่ แลกเปลี่ยนและรับเอาความรู้มาปรับใช้อย่างเหมาะสมกับความต้องการในท้องถิ่น
ตลอดจนสามารถนำความรู้นั้นๆ มาใช้ปรับปรุง ต่อยอดเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นใหม่

(2) ประชากรที่มีการศึกษาและแรงงานที่มีความรู้/มีฝีมือ (Educated,Creative,and Skilled Labor
Force) จะเป็นตัวกลางในการสร้าง (Knowledge Creation) การใช้ (Knowledge Utillzation)
และการกระจายความรู้ (Knowledge Diffusion) สู่ระบบเศรษฐกิจและสังคม
ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระดับคุณภาพจะต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยที่เน้นการค้นคว้า ทดลอง เพื่อสร้างความเข้าใจและทักษะในเชิงปฏิบัติ
ร่วมกับการฝึกอบรมที่มีคุณภาพและมาตรฐานระดับสูง
ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตของปัจเจกบุคคล
เนื่องจากความรู้/ความสามารถของบุคคลอาจถดถอยหรือหมดสิ้นไปหากขาดการพัฒนา
อย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาความรู้ไว้ และต่อยอดแล้วนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

(3) เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม (Information and Communication Technologies)
โลกปัจจุบันพึ่งพาเทคโนโลยีหลัก 3 สาขา ได้แก่ เทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยีและวัสดุศาสตร์
ซึ่งเมื่อถูกนำมาผนวกเข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมแล้ว
จะเกิดพลังที่กระตุ้นให้มีการแพร่กระจายและให้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ยังทำให้ประชาชนและธุรกิจสามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศจากทั่วทุกมุมโลกได้
และนำข้อมูลนั้นมาสังเคราะห์
กลั่นกรองให้เป็นความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอย่างมีประสิท
ธิภาพและเหมาะสม

(4) สภาพแวดล้อมและสถาบันทางเศรษฐกิจ (Economic and Institutional Regime) ได้แก่ กฎ
ระเบียบข้อบังคับ ความเชื่อ ค่านิยมของสังคมที่เปิดกว้างยอมรับแนวความคิดใหม่ๆ
ที่เป็นตัวกระตุ้นให้คนในสังคมกล้าคิดค้นวิธีปฏิบัติ และความรู้ ความคิดใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์
รวมถึงนโยบายของรัฐที่ส่งเสริมให้ภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันในการสร้าง และแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน

การพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานความรู้โดยเน้นพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน 4 ด้านไปพร้อมๆ กัน
และ/หรือพัฒนาตามความพร้อมของแต่ละปัจจัยนั้น
จำเป็นต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารจัดการและการประสานปัจจัยพื้นฐานทั้ง 4 ประการ
ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องและพึ่งพาซึ่งกันและกัน
โดยใช้นโยบายและมาตรการที่เหมาะสมในบริบทของการพัฒนาของประเทศไทย ทั้งนี้
หากสามารถบริหารจัดการ/ประสานปัจจัยพื้นฐานทั้ง 4 ได้อย่างลงตัวแล้ว
จะส่งผลให้เกิดการส่งเสริม/สนับสนุนซึ่งกันและกัน
รวมทั้งทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ที่มีพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศได้อย่างมี
ประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายได้


ที่มา: สำนักพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ สศช.

 ดังนั้นการที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจฐานความได้มากขึ้นนั้น จะต้องมีการให้ึความสำคัญกับทรัพย์สินทางปัญญา การละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ และ CD เพลง ภาพยนตร์ จะต้องลดลง และประเทศไทยจะต้องสร้างรายได้ที่เกิดจากการใช้ความรู้มากกว่าการใช้แรงงานเป็นสำคัญอาทิเช่น การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างรายได้ การสร้างสรรค์งานที่ใช้ความรู้ เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 111478เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2007 12:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท