Wi-Fi คืออะไร


Wi-Fi
Wi-Fi

เทคโนโลยี GPRS ที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เข็นออกมาให้บริการแก่ผู้ใช้ โทรศัพท์มือถือ อาจจะเป็นที่รู้จัก พูดถึง และใช้งานกันมากกว่า แต่ Wi-Fi เทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่ายภายในไร้สายที่เปิดโลกแห่งเสรีภ าพให้กับนักท่องอินเทอร์เน็ต ไม่ให้จำกัดอยู่ภายใต้กรอบการทำงานและการเรียนรู้ กำลังเป็นเทคโนโลยีคลำหาเส้นทาง "แจ้งเกิด" อยู่ แม้ในวันนี้ ราคายังเป็นอุปสรรคและจุดให้บริการ ยังไม่เบ่งบานเท่าที่ควรก็ตาม

เสรีภาพเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัย
        เทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายที่ผู้ใช้จำเป็นต้องมีโน้ ตบุ๊ค หรือพอคเก็ตพีซีที่มีการ์ดไร้สายไว-ไฟ ติดตั้งอยู่ในอุปกรณ์ อาจดูเป็นความฟุ่มเฟือย และโก้หรูที่น่าหมั่นไส้สำหรับนักต่อต้านเทคโนโลยี แต่นักศึกษาเกษตรศาสตร์กลับไม่รู้สึกเช่นนั้น เพราะเทคโนโลยีนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเข าเรียบร้อยแล้ว และยังช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าถึงคลังความรู้จากเครือข่ายภายใน ของมหาวิทยาลัย และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา "ช่วงนี้ใช้บ่อยครับ เพราะกำลังทำโปรเจ็ค ดีกว่าต้องไปต่อคิวใช้คอมพิวเตอร์ในห้องแล็บเยอะ เร็วกว่าต่อเน็ตปกติที่บ้านด้วย ปกติผมดาวน์โหลดไฟล์ใหญ่ๆ ที่บ้านใช้เวลา 2 วัน แต่ที่นี่ประมาณ 10 นาทีก็เสร็จ สะดวกดีเราไม่ต้องเสียบสายอะไร หิ้วโน้ตบุ๊คไปวางตรงไหนก็เล่นเน็ตได้เลย" ชัยยศ ไชยสรณะ หนุ่มน้อยวัย 19 ปี ว่าที่วิศวกรเครื่องกลจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกเล่าข้อดีของเทคโนโลยีไว-ไฟที่เขาใช้อยู่ภายในรั้วมหาวิทยาล ัยให้ฟัง
        ไม่น่าแปลกใจที่ชัยยศจะพอใจกับความเร็วที่ได้ เพราะเมื่อเทียบกับการต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโมเด็มที่บ้านแล้ว สูงสุดไม่น่าจะเกิน 56 กิโลบิตต่อวินาที ขณะที่เครือข่ายไร้สายภายในรั้วนนทรีตามสเปคบอกว่า สูงสุดที่ 11 เมกะบิตต่อวินาที หากอยากเห็นภาพความเร็วที่แตกต่าง ให้ลองเอา 1024 คูณ 11 เข้าไป ก็จะได้ตัวเลขความเร็วแบบกิโลบิตที่เห็นแล้ว...อาจต้องอึ้งกันเ ลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้ การพกพาโน้ตบุ๊คมาใช้งานในมหาวิทยาลัย จึงกลายเป็นเรื่องธรรมดาของนิสิตที่นี่ไปโดยปริยาย จิรเดช จิราธินันท์ นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาเครื่องกล คณะเดียวกัน บอกว่าอินเทอร์เน็ตเป็นอีกโลกหนึ่งที่เขาต้องเข้าไปแวะเวียนอยู ่เป็นประจำ "อยู่บ้านผมก็เล่นอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว พอมาเรียนก็จะพกโน้ตบุ๊คติดกระเป๋ามาด้วย กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้วครับกับคนที่นี่ ถามว่าดีไหม...ดีครับ มันทำให้พวกผมมีอิสระอย่างเต็มที่ สามารถเสิร์ชหาข้อมูลทำรายงานได้ ดาวน์โหลดเพลง ท่องเว็ป คุยกับเพื่อนออนไลน์ได้ตลอด"
        การผลักดันให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาแบบไร้พันธนาก ารจากสายเคเบิล เป็นส่วนหนึ่งในมาตรการเชิงรุกที่ผู้บริหารต้องการสร้างให้มหาว ิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลายเป็นมหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อียูนิเวอร์ซิตี้ ดร.อนันต์ ผลเพิ่ม ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักบริการคอมพิวเตอร์ ม.เกษตรศาสตร์ บอกว่า การจะเป็น "อียูนิเวอร์ซิตี้" ได้นั้น บุคลากรและนิสิตทุกคน จะต้องประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเองแล ะตัวสถาบันให้ได้มากที่สุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มเปิดให้บริการเครือข่ายไร้สายภายใต้ชื่อ "KUWIN" (Kasetsart University Wireless Network) ด้วยมาตรฐานไว-ไฟ (802.11b) ตั้งแต่ปี 2544 ปัจจุบันบริการครอบคลุมพื้นที่กว่า 5 แสนตารางเมตรด้วยแอคเซสพอยต์ หรือจุดเชื่อมต่อกว่า 100 จุด

Wi-Fi คืออะไร
        พูดถึง ไว-ไฟ บางคนอาจนึกสงสัยว่ามันคืออะไรกันแน่ จริงๆ แล้วไว-ไฟ (wi-fi) ย่อมาจาก Wireless Fidelity เป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN) ด้วยการใช้คลื่นวิทยุเป็นตัวรับส่งสัญญาณแทนสายเคเบิล และ 802.11b ถือเป็นมาตรฐานไว-ไฟตัวแรก ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 11 เมกะบิตต่อวินาทีโดยใช้ช่วงความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ครอบคลุมพื้นที่ทำการในระยะ 50-100 เมตร และด้วยเหตุที่ไว-ไฟเป็นเทคโนโลยีแบบ แชร์มีเดีย ทำให้ยิ่งมีจำนวนผู้ใช้ในวงมากเท่าใด ความเร็วของสัญญาณก็ยิ่งลดลงไปเรื่อยๆ ดังนั้นความเร็วขนาด 11 เมกะบิตที่ว่า พอใช้งานเข้าจริงๆ หลายคนอาจไม่สามารถสัมผัสได้ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับระยะห่างของตัวผู้ใช้กับจุดแอคเซสพอยต์ เองด้วย โดยผู้ใช้ที่อยู่ไกลจากระยะทำการมาก ความเร็วของสัญญาณที่ผู้ใช้คนนั้นจะได้รับก็จะลดทอนลงไปเรื่อยๆ จาก 5-8 เมกะบิต ก็อาจเหลือเพียง 1 เมกะบิตต่อวินาทีก็เป็นได้ เสาและกำแพงก็เป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่อาจลดทอนความแรงของสัญญาณลง ได้ จริงๆ แล้วแอคเซสพอยต์ 1 จุด น่าจะรองรับผู้ใช้ได้ที่ประมาณ 50 คน หากคนใช้มากขึ้นสปีดจะลดลง แนวทางการแก้ไขก็คือติดตั้งแอคเซสพอยต์เพิ่มเพื่อแชร์โหลด ดร.อนันต์ แนะทางออก
        นอกจาก 802.11b แล้ว ยังมีมาตรฐานในลักษณะเดียวกันนี้อีกหลายตัว อาทิ 802.11a และ 802.11g แต่ในบ้านเราอาจไม่สามารถใช้งาน 802.11a ที่มีความเร็วสูงถึง 54 เมกะบิตต่อวินาทีได้ เนื่องจากส่งสัญญาณในย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลข ส่วน 802.11g ไม่มีปัญหาอะไร เพราะใช้ย่านความถี่เดียวกับ 802.11b แต่ต่างกันตรงที่เร็วกว่ากันถึง 5 เท่า ความสำเร็จในการใช้ไว-ไฟใน ม.เกษตรศาสตร์ สะท้อนให้เห็นอำนาจอีกด้านของตัวเทคโนโลยีที่สามารถปฏิวัติวิถี ชีวิตของคนที่นั่นได้อย่างไม่น่าเชื่อ "ตอนนี้ใครมีโน้ตบุ๊คแต่ไม่มีเน็ตเวิร์คการ์ด ก็สามารถไปขอยืมที่ห้องสมุดได้เลย เหมือนยืมหนังสือทั่วไป เวลาจะใช้ก็ง่ายมาก แค่เข้าไปที่ล็อกอินเวบไซต์ใส่ยูสเซอร์เนม และพาสเวิร์ดที่เป็นแอคเคาน์ของนนทรีปกติ แค่ 3 วินาที พอลงทะเบียนปุ๊บก็ใช้งานได้เลย" ดร.อนันต์ อธิบายขั้นตอนการเข้าใช้งานเครือข่ายไร้สายอย่างง่ายๆ จิรเดชเล่าถึงความเคลื่อนไหวใน ม.เกษตรฯ ให้ฟังว่า ปัจจุบันใครคิดจะซื้อโน้ตบุ๊คสักเครื่อง จะต้องดูก่อนว่ามีไวร์เลสการ์ดมาให้ด้วยหรือเปล่า เพราะนั่นถือเป็นใบเบิกทางสำคัญที่จะพาเราเข้าสู่โลกออนไลน์ได้ อย่างไร้ขีดจำกัด แล้วนิสิตที่ไม่มีเงินจะซื้อล่ะ จะหาว่ากันเชยหรือเปล่า... ไม่ยากเลยพี่ แค่ไปหาซื้อโน้ตบุ๊คถูกๆ มา ไม่จำเป็นต้องเอารุ่นที่มีไวร์เลสการ์ดในตัวหรอก พอจะใช้ไวร์เลสก็เอาสายแลนมาเชื่อมโน้ตบุ๊ครุ่นเก่ากับโน้ตบุ๊ค ที่มีไวร์เลสการ์ด มันก็จะทำหน้าที่เป็นตัวแม่จ่ายแลนไปให้เครื่องที่ไม่มีการ์ดไว ร์เลส เท่านี้ก็เล่นเน็ตได้แล้ว สองหนุ่ม ม.เกษตรฯ ช่วยกันตอบ กลายเป็นว่าตอนนี้เดินไปที่ไหนก็จะเห็นนิสิตเกษตรฯ จับกลุ่มนั่งอยู่หน้าจอโน้ตบุ๊คกันเป็นทิวแถว...ให้บรรยากาศเหม ือนกับมหาวิทยาลัยในต่างแดนก็ไม่ปาน
        นอกจาก ม.เกษตรฯ แล้ว ยังมีสถาบันการศึกษาอีกหลายแห่งที่เริ่มติดตั้งแอคเซสพอยต์กันบ ้างแล้ว อย่างมหาวิทยาลัยชินวัตรก็ยืนยันว่าภายในปีนี้นักศึกษาจะสามารถ ใช้งานไว-ไฟได้อย่างแน่นอน "ตอนนี้ติดตั้งแอคเซสพอยต์เพียง 4-5 จุด ให้ผู้บริหารได้ใช้งานกันก่อน แต่ภายในปีนี้คาดว่าขั้นต้นจะติดตั้งเพิ่มอีก 30 จุด ในส่วนของอาคารที่มีนักศึกษาเดินไปมา และอาคารเรียนต่างๆ" อนุรักษ์ เชิดสุริยา ผู้จัดการฝ่ายคอมพิวเตอร์ ม.ชินวัตร กล่าว เขาเชื่อว่า เทคโนโลยีนี้ จะทำให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลได้สะดวกขึ้น ไม่จำกัดว่าต้องอยู่กับที่เหมือนการศึกษารูปแบบเก่า "ประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีตัวนี้ คือความยืดหยุ่น ไม่ต้องลากสายแลนให้เกะกะ อย่างในห้องประชุมตอนนี้ผู้บริหารแต่ละคนสามารถหิ้วโน้ตบุ๊คมาไ ด้เอง ไม่ต้องกลัวว่าคอมพิวเตอร์จะไม่พอใช้เหมือนก่อน เพราะแอคเซสพอยต์จุดเดียวรองรับผู้ใช้ 30 คนได้สบายๆ" ได้ยินอย่างนี้แล้ว หลายคนคงอยากติดตั้งไวร์เลสแลนใช้งานในองค์กรบ้าง ดร.อนันต์ แนะนำว่า ก่อนตัดสินใจควรพิจารณาในรอบด้าน เพราะหากเรามีเครื่อง 5 เครื่องไม่ได้เคลื่อนย้ายไปไหนเลย ลงแลนปกติน่าจะคุ้มกว่า เนื่องจากเงินลงทุนต่ำแต่ให้ความเร็วสูงถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที ในกรณีที่เริ่มมีการใช้งานแบบเคลื่อนที่มากขึ้น อย่างในงานแสดงสินค้า รูปแบบของแลนไร้สาย ก็น่าจะเหมาะสม เพราะไม่ต้องเสียเวลาลากสายและรื้อสายทิ้งเมื่อเสร็จงาน
        สำหรับค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง โดยปกติแอคเซสพอยต์ 1 จุด รวมอุปกรณ์ และสายแล้วมีต้นทุนราว 3-4 หมื่นบาท ขณะที่เครือข่ายแลนจะคิดค่าลากสายไปยังเครื่องลูกข่ายแต่ละเครื ่องเป็นหลัก เช่น หากมีลูกข่าย 10 เครื่อง ก็จะต้องลากสาย 10 เส้น แต่ถ้าเป็นแลนไร้สาย ติดตั้งแอคเซสพอยต์จุดเดียวก็ครอบคลุมทั้ง 10 เครื่อง เพียงแต่ว่าตัวอุปกรณ์ไวร์เลสการ์ดจะแพงกว่าตัวการ์ดที่เป็นอีเ ธอร์เน็ตกว่า 2 เท่าตัว นอกจากนี้ควรเลือกลงทุนกับ 802.11b น่าจะเหมาะที่สุด ไม่ควรก้าวกระโดดไป 802.11g ทันที เพราะราคาอุปกรณ์ยังแพงกว่ากันมาก และระบบ 802.11b สามารถใช้งานไปได้อีกราว 2 ปี หากภายหลังคิดจะเปลี่ยนไปใช้ 802.11g เพื่อสัมผัสความเร็วที่สูงขึ้นจาก 11 เมกะบิต เป็น 54 เมกะบิต ก็ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะการอัพเกรดจากบีไปจีนั้นทำได้ 2 กรณี คือแทนที่ของเดิมทั้งหมด กับเปลี่ยนมาใช้แบบ 802.11b/g ที่รองรับการใช้งานทั้ง 2 มาตรฐาน ช่วยให้ผู้ใช้เก่า (บี) และใหม่ (จี) สามารถใช้งานได้เหมือนกัน "อาจไม่ถึงกับว่าต้องเอาไวร์เลสแลนเข้ามาแทนที่ เพราะทั้งสองระบบต่างก็เป็นตัวเสริมซึ่งกันและกัน เช่น จุดไหนที่เดินสายลำบากก็เอาไวร์เลสไปแทน สามารถเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานได้ แต่ถ้าดูจากสปีด ณ ตอนนี้ 802.11b เทียบแลนไลน์ไม่ได้เลย" ดร.หนุ่มจากรั้วนนทรี กล่าว

เติมสีสันด้วย ฮอทสปอต
        ใช่ว่าวิถีชีวิตดิจิทัลแบบไร้สายจะจำกัดวงเฉพาะแค่ในมหาวิทยาลั ย หรือสถานที่ทำงานเท่านั้น ตอนนี้บรรดาผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) ต่างเดินหน้าติดตั้ง "ฮอทสปอต" (hotspot) หรือบริเวณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในพื้นที่ชุมชน อย่างแหล่งชอปปิง โรงแรมชั้นนำ สนามบิน หรือแม้แต่ภายในร้านอาหาร และร้านกาแฟกันยกใหญ่ นัยว่าเพื่อเอาใจพลเมืองชาวเน็ตโดยเฉพาะ คาดว่าภายในปีนี้ น่าจะมีฮอทสปอตเกิดขึ้นนับร้อยแห่งทั่วไทย นุช นักธุรกิจสาววัย 30 ต้นๆ เป็นผู้หนึ่งที่ได้ทดลองใช้ เอ็ม-เว็บ ฮอทสปอต ที่เปิดบริการฟรีสำหรับลูกค้าสตาร์บัคส์ เธอบอกว่า ปกติชอบเล่นอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว เพราะทำธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ทำให้ต้องเข้าไปหาข้อมูลเพื่ออัพเดทตัวเองตลอดเวลา ดีนะคะ เพราะไม่ต้องกังวลว่ามานั่งกินกาแฟที่นี่แล้วจะพลาดการติดต่อ อย่างเพื่อนอยากเอากรุ๊ปทัวร์จากเกาหลีมาลง ส่งอีเมลมาบอก เราก็สามารถนั่งเช็คและคอนเฟิร์มกันที่นี่ได้เลย สะดวกดี แต่หากต้องเสียเงินขึ้นมาล่ะ เธอยังจะใช้บริการอีกหรือเปล่า… "เห็นเพื่อนบอกว่าบางที่คิดแพงมาก ชั่วโมงหนึ่งเป็นร้อย แต่กับตัวเองไม่น่าจะมีปัญหา เพราะถ้าเทียบตัวเงินที่เสียไปกับความสะดวกที่ได้กลับมา ถือว่าคุ้มค่ะ" นุชยิ้มกว้างก่อนจะขอตัวกลับไปเช็คอีเมลต่อ
        อนันต์ แก้วร่วมวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเอส ล็อกซ์อินโฟ จำกัด ผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายภายใต้ชื่อบริการ "Shin Hotspot" มองว่า ไว-ไฟไม่ใช่แฟชั่น แต่เป็นแนวโน้มของเทคโนโลยีที่ต้องเกิด แฟชั่นมา 6 เดือนหรือ 1 ปีก็หายไป แต่ตัวเทคโนโลยีนี้ ถ้าคุณดูอุปกรณ์ที่ใช้ไวร์เลสแอพพลิเคชั่นที่เกิดขึ้น คุณจะรู้ว่าไม่ใช่มาแล้วไป เพราะมันจะบิลท์เข้าไปในโน้ตบุ๊ค ในปาล์มเลย การตัดออปชั่นไวร์เลสแลนการ์ดออกไปเพื่อให้อุปกรณ์ราคาถูกลง วันนี้เขากำลังพูดถึงเม็ดเงินอาจจะประมาณ 2,000 บาท อีก 6 เดือนข้างหน้าจะเหลือประมาณ 1,000 บาท อีก 6 เดือนข้างหน้าคุณถอดไม่ได้แล้ว มันมากับเครื่อง ผมเชื่อว่าในอีก 1 ปี ไม่รู้ว่าตัวนี้จะถอดอย่างไร มันบังคับเลย อุปกรณ์พวกนี้ไม่ใช่ของถูก มีเงินซื้อใช้ยังไม่พอ ต้องมีความรู้ที่จะใช้มันเป็นอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ จึงไม่แปลกที่รองกรรมการผู้จัดการซีเอส ล็อกซ์อินโฟ จะบอกว่าลูกค้าเป้าหมายของเขาเป็นกลุ่มนักธุรกิจและคนมีสตางค์
        แน่นอนอยู่แล้วที่กลุ่มนักธุรกิจต้องเกิดก่อน ส่วนกลุ่มผู้ใช้ที่จะเพิ่มเข้าก็จะมีกลุ่มไฮโซ กลุ่มจ๊าบๆ ที่มีตังค์ และตามเทคโนโลยี ที่เราวางคอนเซ็ปท์ไว้ก็จะมีพวกแฟชั่นโชว์ที่จะตามมา พูดง่ายๆ ก็คือ เราต้องการนำเทคโนโลยีที่มีเข้ามาเติมสีสันให้กับคนในเมืองมากข ึ้น ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคทั่วไปนั้น อนันต์ไม่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ในเวลาอันใกล้นี้ ผมไม่เคยเห็นอะไรที่มันเปลี่ยนแปลงเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีในเมืองไทย ผมไม่คาดหวังว่ามันจะหวือหวา มันค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า คงไม่มีคนเดินถือโน้ตบุ๊คกันเยอะแยะ แต่พวกนักธุรกิจหรือคนทำงานในบริษัทนี่แหละจะเป็นคนใช้ สำหรับวิธีเชื่อมสู่โลกออนไลน์ผ่านฮอทสปอตนั้น เพียงแค่นำอุปกรณ์พกพาที่มีไวร์เลส แอคเซส การ์ด มาตรฐานไว-ไฟ (802.11b) เข้าไปในพื้นที่ที่เปิดให้บริการ โปรแกรมก็จะตรวจจับสัญญาณเหมือนหาคลื่นวิทยุเอฟเอ็ม เมื่อพบว่ามีเครือข่ายอยู่ ก็จะแสดงรายชื่อเครือข่ายที่เปิดให้บริการ ณ จุดนั้น ลูกค้าก็ต้องเลือกล่ะว่าจะใช้เครือข่ายจากค่ายไหน เมื่อเลือกได้แล้ว ก็ใส่ยูสเซอร์เนม และพาสเวิร์ด จากนั้นก็ท่องเน็ตได้ตามสะดวก
        ส่วนรูปแบบการชำระเงิน มีด้วยกัน 2 ลักษณะ ได้แก่ พรีเพด สามารถหาซื้อการ์ดได้จากจุดให้บริการ หรืออาจใช้ไอดีหรือพาสเวิร์ดเดียวกับบริการอินเทอร์เน็ตปกติที่ เราใช้อยู่ก็ได้ และโพสต์เพด เป็นการชำระค่าใช้บริการผ่านบัตรเครดิตออนไลน์ หรือส่งเอสเอ็มเอสมาขอใช้บริการ โดยค่าบริการจะถูกจัดเก็บรวมกับใบเสร็จรับเงินของผู้ให้บริการม ือถือ อัตราค่าบริการของผู้ให้บริการแต่ละรายก็แตกต่างกันออกไป แต่บอกได้เลยว่าสูงกว่าการต่อเน็ตปกติไม่น้อยทีเดียว
คำสำคัญ (Tags): #wi-fi
หมายเลขบันทึก: 111060เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2007 00:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท