ความสามารถของเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในการรักษาโรค


ความรู้หากนำไปใช้ในสิ่งที่สร้างสรรค์ ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ สังคมจะเจริญถ้าคนมีคุณธรรมและจริยธรรม งานบางอย่างก่อได้ทั้งประโยชน์และโทษ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสร้างสรรค์งานไปในทิศทางใด

            เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดเป็นเซลล์ต้นกำเนิดชนิด adult stem cell ที่มีความสามารถในการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนและเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดทุกชนิดในร่างกาย รวมทั้งเซลล์ชนิดอื่นๆได้บางชนิด ซึ่งน้อยกว่า embryonic stem cell ตามที่เคยได้แนะนำคุณสมบัติไปแล้ว  

            เซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆทำหน้าที่หลักเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเป็น โดยจะป้องกันเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆจากการบุกรุกของสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรค เซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์เม็ดเลือดต่างๆในร่างกาย เรียกว่า "เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด" (Hematopoietic stem cells) สามารถสร้างเม็ดเลือดขึ้นมาใหม่เพื่อรักษาระดับปริมาณเม็ดเลือดให้คงที่ในร่างกาย (ปกติเม็ดเลือดแต่ละชนิดจะมีช่วงระยะเวลาทำงานในร่างกายช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อหมดอายุจะถูกทำลายไป เช่น เม็ดเลือดแดงช่วงระยะเวลา 120 วันอยู่ในร่างกาย เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วจะถูกทำลายที่ม้าม ตับและไขกระดูก) เซลล์ต้นกำเนิดมีความสามารถจำลองตัวเองขึ้นมาใหม่ (self-renewal), เพิ่มจำนวน (proliferation), เปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์จำเพาะเจาะจง (differentiation)

            นอกจากจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดได้แล้ว เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดยังสามารถจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ชนิดอื่นได้ เรียกว่ามี Plasticity เช่น เซลล์สมอง เซลล์กล้ามเนื้อ และ เซลล์ตับ ความสามารถเหล่านี้ยังอยู่ในการทดลอง ซึ่งเป็นความหวังในการรักษาโรคผิดปกติทางตับและสมอง เช่น โรคตับอักเสบ โรคสมองฝ่อ ที่เมื่อนำเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดไปปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยและกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดนั้น โดยหวังว่าเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ที่ต้องการและประกอบกันเป็นเนื้อเยื่อไปซ่อมแซมอวัยวะที่มีความผิดปกตินั้น จากนั้นชดเชยหน้าที่ที่ผิดปกติไปให้สมบูรณ์ขึ้นมา 

 

 

เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดพบได้ที่ไหน ?

          นักวิทยาศาสตร์สามารถแยกเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดได้จาก ไขกระดูก,  กระแสเลือด, เลือดจากรกสายสะดือ, และการเพาะเลี้ยงจากเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน (embryonic germ cells) และ embryonic germ cells

           แหล่งที่พบเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่สำคัญของคนเราหลังจากคลอดออกมาแล้ว จะพบที่ ไขกระดูก เป็นหลัก โดยไขกระดูกจะเป็นแหล่งใหญ่สำหรับสร้างเม็ดเลือด 

 

ประโยชน์ของเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในการรักษาโรค

           เทคนิคที่ใช้ในปัจจุบันเพื่อรักษาโรคคือปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone marrow transplantation) เพื่อให้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดเข้าไปสร้างเม็ดเลือดขึ้นมาทดแทน จะพบว่า transplantation ใช้รักษาโรคต่างๆได้เช่น

1. มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) ชนิดต่างๆ และ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)

2. ความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือดที่มีมาแต่กำเนิด ที่ไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดได้หรือสร้างได้แต่มีความผิดปกติทำให้เม็ดเลือดไม่สามารถทำหน้าที่ได้ปกติ เช่น aplastic anemia, beta-thalassemia, sickle cell anemia

3. การปลูกถ่ายไขกระดูกในผู้ป่วยที่ทำการรักษาโดยวิธีเคมีบำบัดจากการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งเมื่อได้รับเคมีบำบัดในระยะแรก เซลล์ต่างๆจะถูกทำลาย รวมทั้งเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดทำให้ไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดออกมาได้ปกติ ทำให้ร่างกายติดเชื้อโรคต่างๆได้ง่าย และอาจทำให้ตายได้ในที่สุด ฉะนั้นการปลูกถ่ายไขกระดูกจะทำให้ผู้ป่วยลดภาวะเสี่ยงจากการติดเชื้อได้4. การรักษาเนื้องอกชนิดต่างๆที่ยังไม่สามารถรักษาได้ โดยใช้การปลูกถ่ายไขกระดูกเข้าไปแล้วให้เซลล์ของผู้ให้ไปทำลายเนื้องอกของผู้รับ โดยเฉพาะพวก solid tumors         

            การปลูกถ่ายไขกระดูกต้องมีการทดสอบ HLA typing เพื่อดูความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อเพื่อไม่ให้เกิดการต่อต้านหรือสลัดเนื้อเยื่อ (graft-versus-host disease: GVHD) ถ้าหากหาผู้ให้ที่ HLA ตรงกันไม่ได้ก็ต้องหาที่เข้ากันได้มากที่สุด เพื่อลดอัตราการเกิด GVHD           

            ในปัจจุบันมีการเก็บเลือดจากรก ทำเป็น cord blood bank เพื่อเป็นแหล่งของ hematopoietic stem cells ไว้ใช้เมื่อผู้บริจาคเกิดมะเร็งขึ้นมาภายหลัง ประโยชน์ของ cord blood bank ดีกว่า เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่ได้จากไขกระดูก เพราะความที่เป็นตัวอ่อนของเซลล์เม็ดเลือด พัฒนาการยังอ่อนกว่าเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่เก็บได้จากผู้ใหญ่ คุณสมบัติการเพิ่มจำนวน (self-renewal and proliferation) รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลง (differentiation) ไปเป็นเซลล์เต็มวัยของเม็ดเลือดต่างๆดีกว่า  นอกจากนี้แอนติเจน (HLA) ที่แสดงออกบนผิวเซลล์ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้อัตราการต่อต้านเม็ดเลือดของผู้รับต่ำกว่า โอกาสที่จะปลูกถ่ายไปยังผู้รับอื่นๆที่มี HLA ไม่ตรงกัน (unmatching) จึงสูงกว่า ทำให้การปลูกถ่ายเม็ดเลือดประสบความสำเร็จสูงกว่าการใช้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดจากไขกระดูกในผู้ใหญ่

           ดังนั้น cord blood bank จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพของการปลูกถ่ายไขกระดูกเพื่อรักษาโรคต่างๆที่กล่าวไป และโรคอื่นๆที่ผิดปกติทางการสร้างเม็ดเลือด หรือเม็ดเลือดมีหน้าที่ที่ผิดปกติไม่สามารถทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ แต่ ณ ปัจจุบันนี้ ค่าการเก็บรักษา cord blood bank ยังมีราคาสูง ซึ่งต้องการงานวิจัยเพื่อการพัฒนาการเก็บรักษาเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดให้มีต้นทุนต่ำและการเพาะเลี้ยงเพิ่มจำนวนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาโรคต่อไปในอนาคต

หมายเลขบันทึก: 110955เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2007 17:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ตามมาอ่านครับน้องรัก
  • อันนี้อ่านง่ายและเข้าใจมากกว่าบันทึกก่อน
  • ลองลงรูปภาพนะ
  • จะตามมาดูรูปภาพอีก
  • ขอบคุณครับ
พี่ชายชีพจรลงเท้าอีกแล้ว แต่ยังมีเวลาเข้ามาอ่านบล็อก ขอบคุณคะ
  •  ได้ความรู้เพิ่มขึ้น
  • เป็นประโยชน์มากเลยครับ
  • ตามมาทักทาย
  • ดูว่ายังเป็นอย่างไรบ้าง
  • อยากดูรูปเกี่ยวกับเรื่องที่เขียน
  • ตอนนี้อยู่กรุงเทพฯครับผม
  • ดูแลสุขภาพด้วย

นักเรียนโข่ง มาเรียนรู้ด้วยคนครับ

สวัสดีคุณกมลนารีค่ะ

  • บันทึกของคุณมีเนื้อหาดีค่ะ เข้าใจง่าย
  • ขอบคุณที่นำความรู้ มา ลปรร. ค่ะ
  • และจะติดตามอ่านต่อนะคะ

ขอบคุณคะพี่บางทรายและคุณตู่

จะหาเวลามาอัพบล๊อกบ่อยๆคะ

  • ขอบใจมากครับ
  • พี่บางทรายมาด้วย
  • ทุกท่านมีความสุขดี
  • ไปดูรูปที่ในบันทึกพี่นะครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท