3A&ITV เพื่อการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา


การขับเคลื่อน

สังคมยุคนี้เป็นสังคมเครือข่าย(Social Networking) เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง ผู้คนในองค์ย่อมต้องปรับตัว ปรับฐานความรู้(Knowledge Base) และปรับกระบวนทัศน์(Paradigm Shift) ในการจัดการศึกษาตลอดเวลา ในแวดวงการศึกษาผู้เขียน ได้สังเคราะห์และเชื่อมโยงองค์ประกอบย่อยๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงเป็น3A&ITV  เพื่อการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นการนำเสนอแลกเปลี่ยนแนวคิดเพื่อการปรับใช้วิธีหรือกลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 6 ประการดังนี้
    1.Articulation  การทําให?ชัดเจนแน?วแน? ในด้านการกำหนดผลสัมฤทธิ์(Result)  เป้าหมาย(Goal) ภารกิจ(Mission)  คุณภาพ(Quality) มาตรฐาน(Standard)  และตัวชี้วัด (KPI) ทําให?ชัดเจนแน?วแน?ทุกระดับทุกภาคส่วน ตั้งแต่ระดับรัฐธรรมนูญถึง หลักสูตร แผนการจัดการเรียนในห้องเรียนและแผนการจัดการเรียนรู้รายบุคคล  ทำให้บุคลากรทุกฝ่ายเกิดความตระหนัก (Awareness) มีการประกาศเจตจํานงค?ให?ชัด (Aspiration) ผู?นํามีการขับเคลื่อนอย?างชัดเจน (Action-Oriented Leadership)
    2.Activation การขับเคลื่อน ในด้านการปรับปรุงกระบวนงาน(Process) ระบบบริหาร (Administration) ตลอดจนการสร?างแรงจูงใจ (Appreciation & Apprehension) ให้แก่องค์กรและบุคลากรทุกคน
    3.Amplification การขยายผล ในด้านการสร?างความเข?าใจ การแลกเปลี่ยนเรียนรู?และการมีส?วนร?วม (Acknowledgement and Active Involvement) การประเมินผลและรับรองคุณภาพมาตรฐาน (Accreditation)
     4. Important  ความสำคัญ สิ่งที่ต้องพัฒนานั้นมีความสำคัญและมีความหมายต่อผู้เรียนต่อวิถีชีวิตของผู้เรียน (What is important for me to learn so I can be more effective? ) ต่อการพัฒนาองค์กรและสังคมประเทศชาติ จึงจะเป็นการการพัฒนาที่ยั่งยืน
5.Teaching&Learning Style   เทคนิคการสอนและวิธีเรียนของผู้เรียน ควรจัดการเรียนรู้จากความสำเร็จและปัญหา  รู้วิธีการปรับปรุงเทคนิคการสอน และให้สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน (Learner Allocation) และวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน(Learning Style)
    6.Values คุณค่า สิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ต้องระลึกอยู่เสมอว่า มีคุณค่าต่อต่อผู้เรียน ต่อองค์กรและสังคมประเทศชาติหรือไม่  กิจกรรมใดๆ หากดำเนินการเพื่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาหากประเมินหรือคาดการณ์ล่วงหน้า
ได้ว่าไม่มีคุณค่า ควรยุติการดำเนินงานควรปรับกระบวนงานใหม่ให้สอดคล้องกับภารกิจและสมรรถนะขององค์กร และคุณค่าที่เปลี่ยนแปลง ควรปรับพัฒนาให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กรในการทำงานให้ยั่งยืน
     สิ่งผู้เขียนนำเสนอครั้งนี้เป็นมุมมองหนึ่งเท่านั้นในการเปลี่ยนแปลง และมีข้อคิดสุดท้ายที่อยากจักฝากไว้ จากผู้รู้ที่กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนามักควบคู่กับการทำลายเสมอ”
ทำอย่างไรการเปลี่ยนแปลงทุกครั้งทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม จะไม่มีการทำลายซึ่งกันและกัน หากจะมีขอให้องค์กรและบุคคลที่ถูกเปลี่ยนแปลงบอบช้ำน้อยที่สุด เป็นสังคมในลักษณะ ชนะทั้งคู่ (WIN:WIN) ได้หรือไม่

คำสำคัญ (Tags): #การขับเคลื่อน
หมายเลขบันทึก: 110478เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2007 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ไม่เห็นเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเปลี่ยนแปลงตัวของผู้บริหารเอง น่าจะมีการมองจากภายในระเบิดออกมาภายนอกด้วยนะครับ

ขอบคุณท่านKitisak ความเป็นจริงในมิติของการขับเคลื่อนทั้งปวงที่มีพลังต้องระเบิดจากภายในเสมอไม่ว่าจักเป็นมวสารหรือมนุษย์ต้องที่ใจครับความเห็นของท่านผมเห็นดว้ยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท