วิพากษ์ UKM


UKMควรเป็นเวทีกระตุกเพื่อสร้างการเรียนรู้ในกระบวนทัศน์แบบเครือข่าย ยืดหยุ่น ลื่นไหล มองกระบวนการ ระบบความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับผลลัพท์ที่ไม่มีพรมแดน มิใช่ธรรมเนียมตามสุภาษิตขี่ช้างจับตั๊กแตนหรือตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

เมื่อวาน(9ก.ค.)น้องเมย์จากหน่วยพัฒนาองค์กร มวล.นัดหารือเตรียมประชุมUKM11ที่ม.มหาสารคามวันที่23-24ส.ค.2550

มีผู้เข้าร่วมหารือ5คนคือรองอธิการฯดร.กีร์รัตน์ สงวนไทร ผอ.ศบว.ดร.วันสุรีย์ พรหมภัทร บรรจงวิทย์ เมย์และผม

ผมอ่านเอกสารแนบของดร.วิบูลย์จากมน.และอ.วิจารณ์จากสคส.แล้วผมจึงเสนอให้ใช้UKM11มาเสริมการจัดระบบงานบริการวิชาการกับชุมชนที่มวล.ดำเนินการอยู่แล้ว แต่อาจจะไม่เป็นระบบนัก
โดยผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันเสนอว่ามีใครบ้างที่ทำงานบริการวิชาการกับชุมชน(คุณกิจตัวจริง) ซึ่งก็อยู่ในแวดวงคนที่ผม(ในฐานะเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ)คุ้นเคยทั้งนั้น ซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก

ข้อมูลนี้บอกอะไร
1)ความเข้าใจในประเด็นงานบริการวิชาการกับชุมชนของผู้ร่วมประชุมเป็นอย่างไร?
2)จำนวนอาจารย์ที่ให้บริการวิชาการกับชุมชนที่เป็นคุณกิจตัวจริงในมวล.มีเท่าไร?

ผมเห็นว่าควรใช้โอกาสนี้ทำนโยบายของมวล.ให้ชัดเจนและพัฒนาระบบจัดการที่เกี่ยวข้องกับกลไกการจัดการของมวล.ให้สอดประสานกัน เพื่อให้เกิดมรรคผลในมหาวิทยาลัยและเป็นประโยชน์ต่อการเชื่อมโยงเป็นชมรมในเรื่องนี้ของเครือข่ายUKM (ที่เป็นเพียงเวทีพบปะราย3เดือนแบบงานเชงเม้งที่ถี่เกินไป)
ความเห็นของผมมักจะเกินหน้าที่ที่เป็นอยู่ แต่ผมก็หวังลึกๆว่า คนที่มีหน้าที่โดยตรงในเชิงระบบจะทำหน้าที่คุณกิจของตัว เป็นชั้นๆไป

ผมยึดหลักของอ.พุทธทาส3คำว่า หน้าที่ ถูกต้อง พอใจ

ผมขอให้เมย์ประสานคุณกิจตัวจริงในเรื่องนี้มาหารือกันเพื่อสร้าง   เครือข่ายภายใน (ถ้าเป็นรายชื่อเท่าที่มี เราก็ทำงานร่วมกันอยู่แล้ว)

ประสบการณ์บอกผมว่า ชมรมที่อ.วิจารณ์และคณะคาดหวังคงทำได้แบบโรงเรียนคุณอำนวยมืองคอน คือ เป็นความสนใจส่วนตัว
(หน่วยงานไม่เกี่ยว)

ซึ่งถ้ามองพ้นโครงสร้างแบบแข็งออกไป เราก็ทำหน้าที่นั้นอยู่แล้ว       คือการสนับสนุนและเข้าร่วมโรงเรียนคุณอำนวยเมืองคอนนั่นแหละเป็นตัวอย่างหนึ่ง

ผมเห็นว่าปัญหาอยู่ที่การมอง หรือการมองที่เป็นปัญหา

ระหว่างกระบวนทัศน์แบบมีโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ในขอบเขตชัดเจนกับกระบวนทัศน์แบบเครือข่าย ยืดหยุ่น ลื่นไหล มองกระบวนการ ระบบความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับผลลัพท์ที่ไม่มีพรมแดน

ทำให้เรื่องราวที่มีคุณค่าหลายเรื่องไม่อยู่ในความสนใจ หรือมอง      ไม่เห็นคุณค่าของคนในเรื่องราวที่มีคุณค่า

UKM ควรเป็นเวทีกระตุกเพื่อสร้างการเรียนรู้ในเรื่องนี้    มิใช่ธรรมเนียมตามสุภาษิตขี่ช้างจับตั๊กแตนหรือตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

คำสำคัญ (Tags): #ukm11#มวล.
หมายเลขบันทึก: 110268เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2007 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณสำหรับมุมมอง ข้อเสนอแนะของพี่ภีม ที่ช่วยให้เปิดมุมมอง และเห็นในมุมมองที่กว้างขึ้น และรู้สึกชื่นชมพี่ภีมและต้องขอขอบคุณพี่ภีมมากคะ

  • เห็นด้วยอย่างยิ่งคะว่าก่อนที่เราจะร่วมเสวนาเครือข่ายจัดการความรู้ UKM11 ที่กำหนดหัวข้อการแลกเปลี่ยนเป็นการเชื่อมโยงวิชาการกับชุมชน  เราน่าจะมีเครือข่ายของเรา (ทั้งภายในและภายนอก)
  • ซึ่งน้องเมก็ได้นัดหมายหน่วยงาน สำนักวิชาพูดคุย ปรึกษาหารือถึงการสร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับชุมชนแล้ว กำหนดวันอังคารที่ 17 สิงหาคม 2550 เวลา 13.30-15.30 น. ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 2 สถาบันวิจัยและพัฒนา และอยู่ระหว่างการประสานผู้เข้าร่วมประชุมคะ
  • โดยเส้นทางปลายสุดก็น้องเมหวังก็อยากเห็นการเชื่อมโยงงานบริการวิชาการเชิงระบบเช่นกัน และยินดีที่จะช่วยเต็มที่คะ
  • สำหรับการนัดปรึกษาหรือในวันที่ 17 สิงหาคมนี้ พี่ภีมมีแนวทางอย่างไรบ้างคะ และจะให้น้องเมช่วยสนับสนุนอย่างไรบ้างคะ
  • การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงบริการวิชาการกับชุมชน เป็นอย่างไร ทำไมการบริการวิชาการกับชุมชนจึงต้องมีเครือข่าย (ถามตนเองคะ)
  • อยากลองตอบแลกเปลี่ยนกับพี่ภีมนะคะ
  • เหตุที่การบริการวิชาการกับชุมชนและสังคม ต้องมีการประสานความร่วมมือ ความเชื่ยวชาญหลายสาขาวิชาชีพ การมีเครือข่ายทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยจะทำให้เราสามารถตอบสนองปัญหา ความต้องการของชุมชนได้ใช่หรือไม่คะ
  • ขอบคุณคะ

สวัสดีเม

พี่ไม่รู้ว่าผู้บริหารเข้าใจ/คิดอย่างไรในเรื่องนี้
พี่ไม่รู้ว่าแกนนำของเครือข่ายUKMเข้าใจ/คิดอย่างไรในเรื่องนี้
พี่รู้ว่าสมศ.มีเกณฑ์ชี้วัดงานบริการวิชาการเป็นกรอบในการประเมินมหาวิทยาลัยซึ่งมวล.อยู่ในกลุ่มที่ให้น้ำหนักในเรื่องนี้
พี่ติดตามปรัชญาวิสัยทัศน์เป้าหมายของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ช่วยเป็นวิทยากรกระบวนการทำเรื่องนี้สมัยที่   อ.วิจารณ์รักษาการอธิการบดี
พี่ติดตามความเป็นไปของสังคม/ชุมชนทั้งระดับนโยบาย กฏหมาย กลไกนำสู่ภาคปฏิบัติ การขับเคลื่อนของภาคประชาชน ประชาสังคมตามหน้าที่    ที่เข้ามาทำงานในมวล.คือเป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปในฝ่ายประชาสังคม

พี่ทำหน้าที่ประสาน สนับสนุน ชักชวน และลงไปทำเองเพื่อตอบสนองภารกิจของมหาวิทยาลัยและความต้องการของสังคม/ชุมชนอย่างเต็มที่ในบทบาทหน้าที่ที่มาจากการประมวลสังเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมว่ามหาวิทยาลัยและเราควรทำอะไรเพื่อประโยชน์กับชุมชน/สังคม
พี่เคยเปรียบเทียบให้ฟังว่า ผมเป็นพยาบาล(เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป)มีหน้าที่คัดกรองคนไข้โดยการสอบประวัติและตรวจอาการเบื้องต้นแต่ผมมีความรู้ด้านการแพทย์เฉพาะทางคือเรื่องชุมชนและประชาสังคมทำไมผมจะตรวจรักษาคนไข้หลังจากที่ตรวจอาการเบื้องต้นแล้วไม่ได้
ยิ่งตอนนี้เรื่องKMมาแรง KMก็คือการยอมรับความรู้ฝังลึกจากประสบการณ์ว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อน(อาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ)กว่าความรู้ในตำรา และเป็นที่รู้กันว่าคนที่เรียนจบป.ตรีนั้น มีพื้นฐานในการเรียนรู้ด้วยตัวเองจนถึงขั้นสูงสุดของพรมแดนความรู้ในเรื่องใดๆได้ แล้วจะมาเกี่ยงเรื่องวรรณะอยู่ทำไม

ถือโอกาสใช้เวทีUKMบ่นเรื่องนี้เพราะรำคาญกับตานกทั้งหลาย ที่ไม่มีความสามารถหรือไม่จัดการอย่างจริงจังในขอบเขตที่ตนเองมีอำนาจ(แต่ก็อยากมีอำนาจโดยไม่รู้ว่าตัวเองไม่มีความสามารถ)

บ่นกับเมเท่านั้นนะ
ถ้าบ่นกับอ.พินิจก็ต้องบอกว่าฝันไป

เย็นนี้ไปเล่นปิงปองมั้ยครับ

 

ขอบคุณพี่ภีม
เสียดายจังเข้ามาอ่านภายหลังจากให้กำลังใจพี่ๆ น้องๆ เล่นปิงปอง (ไม่ได้เล่นเพราะเล่นไม่ค่อยเก่งคะ แต่ชอบดู)
ขอบคุณพี่ภีมที่ขยายภาพงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยทำให้น้องเมเข้าใจในบริบทมากขึ้น
และรู้สึกชื่นชมพี่ภีมที่เข้าใจในบทบาทของงานที่พี่ภีมได้รับผิดชอบ เรียนรู้และทบทวนตนเองอยู่เสมอ
เมื่อกลับทบทวนตนเองว่าตนเองในฐานอยู่หน่วยพัฒนาองค์กรมีหน้าที่อะไร...ก็ยังมึนอยู่เลยคะ (น่าเป็นห่วงไหมคะ)
อะไรจะดีกว่ากันคะ ระหว่าง...ใครควรบอกเรา หรือเราควรบอกตัวเอง
ยินดีและดีใจมากที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับพี่ภีม
พรุ่งนี้พบกันนะคะ
น้องเม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท