ภาษีกับค่านายหน้า


เงินค่านายหน้าตัวแทนเป็นค่าตอบแทนจากการให้บริการที่กระทำขึ้นและเสร็จสมบูรณ์ในต่างประเทศ ดังนั้นเงินได้ดังกล่าวจึงไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยเมื่อส่งเงินค่านายหน้าให้แก่ผู้รับ จึงไม่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่า-เพิ่ม
 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไทยต้องมีรายจ่ายเป็นค่านายหน้าตัวแทนในการประกอบธุรกิจ เช่น ค่านายหน้าในการขายสินค้าหรือบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจหรือมีรายได้จากการเป็นนายหน้าตัวแทนให้แก่ผู้ประกอบการอื่นโดยเฉพาะหากเป็นการจ่ายค่าตัวแทน ค่านายหน้าหรือรายได้จากการเป็นตัวแทน นายหน้าที่จ่ายหรือรับให้แก่หรือจากผู้ประกอบการที่อยู่นอกประเทศไทย (Cross-bordertransation) จะมีภาระภาษีแตกต่างจากกรณีการจ่ายหรือรายได้จากค่าตัวแทนนายหน้าตัวแทนที่จ่ายหรือรับในประเทศทั้งในแง่ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้
 1.กรณีการจ่ายเงินได้เป็นค่านายหน้าให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่ในต่างประเทศ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไทยเมื่อจ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับที่เป็นนิติบุคคลในต่างประเทศเป็นค่าตอบแทนจากการเป็นนายหน้าตัวแทนในการขายสินค้าหรือให้บริการที่กระทำขึ้นในต่างประเทศ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไทยมีภาระภาษีตามประมวลรัษฎากร คือ
 -1.1 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เงินได้ค่านายหน้าถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) ดังนั้นเมื่อจ่ายค่านายหน้าตัวแทนให้แก่ผู้รับที่อยู่ต่างประเทศ ผู้จ่ายเงินได้ (บริษัทฯไทย) ต้องหักภาษีณ ที่จ่ายในอัตรา 15% ของเงินได้ตามมาตรา 70หากเป็นการจ่ายค่านายหน้าตัวแทนให้แก่ผู้รับที่เป็นบริษัทที่จดทะเบียน หรือมีถิ่นที่อยู่(resident) ในประเทศที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทยและต่างประเทศนั้น ไม่มีสถานประกอบการถาวร (permanent Esrablishment)ในประเทศไทย การจ่ายเงินได้ดังกล่าวได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย(ประเทศไทยมีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศต่างๆ 489ประเทศ)
 -1.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินค่านายหน้าตัวแทนเป็นค่าตอบแทนจากการให้บริการที่กระทำขึ้นและเสร็จสมบูรณ์ในต่างประเทศดังนั้นเงินได้ดังกล่าวจึงไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยเมื่อส่งเงินค่านายหน้าให้แก่ผู้รับจึงไม่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
 2.กรณีบริษัทฯ รับเงินได้เป็นค่านายหน้าตัวแทนจากต่างประเทศ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไทยที่ได้รับเงินจากการให้บริการเป็นนายหน้า ตัวแทนให้แก่บริษัทต่างประเทศมีภาระภาษีตามประมวลรัษฎากร คือ
 2.1 ภาษีเงินได้นิติบุคคล เงินได้ที่ได้รับจากการเป็นนายหน้า ตัวแทนในประเทศไทย ให้แก่บริษัทต่างประเทศต้องนำไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลรวมกับเงินที่ได้รับตามปกติหากเงินได้ดังกล่าวถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้โดยบริษัท-ต่างประเทศผู้จ่ายเงินได้หรือที่ได้เสียไว้ในต่างประเทศ บริษัทฯไทยอาจถือเอาภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายหรือเสียไว้เป็น เครดิตภาษีโดยนำมาหักออกจากภาษีที่ต้องเสียประจำรอบระยะเวลาบัญชีนั้นๆในประเทศไทย
 ทั้งนี้ตามบทบัญญัติและเงื่อนไขตามอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับบริษัทฯผู้หักภาษีไว้เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่(กรณีถูกหักไว้ ณ ประเทศที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศ-ไทย) หรือตามวิถีตามเงื่อนไขการเครดิตภาษีที่หักหรือไว้ในต่างประเทศตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 300 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ฉบับที่ 65
 2.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินค่านายหน้า ตัวแทนถือเป็นค่าตอบแทนจากการให้บริการโดยผู้ประกอบการและได้ให้ค่าบริการนั้นในประเทศไทย บริษัทฯไทยต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากบริษัทต่างประเทศ โดยถือเป็นภาษีขายและต้องนำไปรวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือนภาษีปกติเนื่องจากการให้บริการนายหน้า ตัวแทนกระทำโดยบริษัทฯไทย และได้ใช้บริการนั้นได้ใช้ในประเทศไทยการเรียกเก็บและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มจึงแตกต่างจากกรณีที่บริษัทจากต่างประเทศได้ให้บริการ หรือกระทำในต่างประเทศแล้วนำบริการนั้นมาใช้ในประเทศซึ่งกรณีนี้ บริษัทฯไทยจะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ประกอบการต่างประเทศแล้วนำส่งโดยแบบ ภ.พ.36 และถือเป็นภาษีซื้อของบริษัทฯไทยเอง เพื่อนำไปคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอีกเดือนถัดไปดังเช่นกรณีการจ่ายค่า management fee, ไปต่างประเทศเป็นต้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท