อาจารย์ยม
อาจารย์ อาจารย์ยม บทบาทนักวิชาการ คือการชี้ทางสว่างให้สังคม นาคสุข

ผู้นำการเปลี่ยนแปลง


ภาวะผู้นำคืออะไร แตกต่างกับผู้นำอย่างไร แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับภาวะผู้นำ

 ผู้นำคานธี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน

ผมเปิด blog นี้ ขึ้นมา เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ "ภาวะผู้นำ"

ในยุคของโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ผู้นำ-ภาวะผู้นำ-เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร เป็นพลังการนำการเปลี่ยนแปลง

ในยุค "เศรษฐกิจฐานความรู้" ผู้นำที่ใฝ่เรียนรู้ พัฒนาภาวะผู้นำ พัฒนาความรู้ด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่ ย่อมสร้างโอกาสแห่งความสำเร็จได้มากกว่า

นอกจากนี้ นโยบายรัฐบาล ต้องการพัฒนานักบริหาร นักปกครองท้องถิ่น เช่น นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ปลัด อบต. ทั่วประเทศ ให้มีความรู้ที่ทันสมัย เกี่ยวกับการบริหารจัดการสมัยใหม่ การพัฒนาภาวะผู้นำ สถาบันพัฒนานักปกครองส่วนท้องถิ่น จึงมีภารกิจที่ต้องเร่งพัฒนานักปกครองท้องถิ่นทั่วประเทศ ให้มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา มากยิ่ง ๆ ขึ้น

เหล่านี้ล้วนมีส่วนจุดประกายให้เกิด บล๊อคนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นแหล่งความรู้ด้านภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลง

<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p>

ขอเชิญ ท่านผู้อ่าน ผู้สนใจทุกท่าน ติดตามสาะะที่เป็นประโยชน์ดังกล่าวได้ในบล๊อคนี้  ครับ

ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน

</span>

หมายเลขบันทึก: 110084เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2007 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ผู้นำ-การเปลี่ยนแปลง-พลังขับเคลื่อนองค์กร(ตอนที่ 1)

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ผู้นำที่มีภาวะผู้นำที่ดี มีความสำคัญต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของกิจกรรมกลุ่ม ของหน่วยงาน ขององค์กร สังคม ประเทศชาติ เป็นอย่างมาก

ดังมีผู้กล่าวว่า หากมีผู้นำไม่ดี ก็อย่ามีผู้นำเสียเลยจะดีกว่า เพราะผู้นำที่ไม่ดีนั้นจะนำพาองค์กร ชุมชน สังคม ประเทศชาติ ไปสู่ความล้มเหลวและความพ่ายแพ้ทุกสิ่งทุกอย่างได้

นอกจากนี้ จากหลักฐานการศึกษาวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่า ผู้นำ ภาวะผู้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของกิจการต่าง ๆ กล่าวคือ ได้มีผู้ศึกษาพบว่า บริษัทที่เปิดดำเนินกิจการใหม่ ทุก ๆ  100 บริษัท จะมีบริษัทถึงครึ่งหนึ่งหรือ 50 บริษัทล้มเลิกกิจการภายใน 2 ปี และจะเหลือเพียงหนึ่งในสามเท่านั้น  หลังจากได้ เปิดกิจการมาครบปี

ทั้งนี้เป็นเพราะบริษัทเหล่านั้นขาดผู้นำที่มีภาวะผู้นำที่ดี มีผู้นำที่ไร้ประสิทธิภาพ  ขาดความรู้ ความสามารถที่เหมาะสมกับงานในหน้าที่ของผู้นำที่ดีนั่นเอง

ผู้นำ-การเปลี่ยนแปลง-พลังขับเคลื่อนองค์กร(ตอนที่ 1)

ด้วยเหตุที่เห็นความสำคัญของภาวะผู้นำที่มีต่อความสำเร็จ ความล้มเหลวของกิจกรรมกลุ่มหรือองค์การ จึงได้มีการศึกษาค้นคว้า และวิจัยเกี่ยวกับลักษณะของผู้นำที่ดีและเหมาะสมกันอย่างกว้างขวางตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามความรู้ที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำที่มีมีประสิทธิภาพก็ยังคงหาข้อยุติมิได้อยู่นั้นเอง Ulllrich และ Wieland ได้กล่าวถึงภาวะผู้นำไว้ ดังนี้

ภาวะผู้นำนั้นส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม(ที่ดำเนินการอยู่ในแวดวงขององค์การ) ซึ่งมีอิทธิพลต่อวิถีทางของสมาชิกนำในองค์การที่ถือเป็นแนวประพฤติปฏิบัติ ภาวะผู้นำบางครั้งก็เป็นเสมือนอำนาจบารมี แต่ในที่นี้เราเห็นว่า มันคือพฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งอาจหมายรวมถึง ผู้นำแบบเผด็จการนิยมด้วย ดังจะเห็นได้ว่าประสิทธิภาพผู้นำที่มีพฤตกรรมแตกต่างกันนั้น จะมีความแตกต่างกันตามลักษณะของสถาการณ์นั้น ๆ (Ulrich) and Wieland, 1980:316) 

G.R. Terry กล่าวถึงภาวะผู้นำไว้ ดังนี้ “เรามองภาวะผู้นำ เสมือนความสามารถของบุคคลหรืผู้นำที่จะแสดงวิธีการทำงานและทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถทำงานร่วมกันได้ด้วยความเชื่อมั่นและความกระตือรือร้นในงานนั้น” (Terry,1981:105)

จากตัวอย่างความหมายของภาวะผู้นำ พอสรุปได้ลักษณะของภาวะผู้นำโดยทั่วไปได้ดังนี้

  1. มีผู้นำแลผู้ตามโดยการใช้อำนาจและอิทธิพ
  2. มีลักษณะเป็นกระบวนการ
  3. มีวัตถุประสงค์รวมกัน
  4. แสดงออกในรูปพฤติกรรมต่าง ๆ 
  5.  อาศัยสถานการณ์เข้ามาเยวข้องด้วย

อย่างไรก็ตามลักษณะของภาวะผู้นำเท่าที่เป็นอยู่  ยังคงต้องการศึกษาค้นคว้าวิจัยต่อไปอีก ทั้งนี้เพราะยังหาข้อยุติไม่ได้แน่ชัดว่า ผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะต้องอาศัยปัจจัย สถานการณ์ และสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง เพราะสภาพแวดล้อมทางการบริหารจัดการ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อยู่เสมอ "ความสำเร็จในอดีต จึงไม่สามารถรับรองความสำเร็จในอนาคตได้อีกต่อไป"

ผู้นำ-การเปลี่ยนแปลง-พลังขับเคลื่อนองค์กร(ตอนที่ 2)

ด้วยเหตุที่เห็นความสำคัญของภาวะผู้นำที่มีต่อความสำเร็จ ความล้มเหลวของกิจกรรมกลุ่มหรือองค์การ จึงได้มีการศึกษาค้นคว้า และวิจัยเกี่ยวกับลักษณะของผู้นำที่ดีและเหมาะสมกันอย่างกว้างขวางตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามความรู้ที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำที่มีมีประสิทธิภาพก็ยังคงหาข้อยุติมิได้อยู่นั้นเอง Ulllrich และ Wieland ได้กล่าวถึงภาวะผู้นำไว้ ดังนี้

ภาวะผู้นำนั้นส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม(ที่ดำเนินการอยู่ในแวดวงขององค์การ) ซึ่งมีอิทธิพลต่อวิถีทางของสมาชิกนำในองค์การที่ถือเป็นแนวประพฤติปฏิบัติ ภาวะผู้นำบางครั้งก็เป็นเสมือนอำนาจบารมี แต่ในที่นี้เราเห็นว่า มันคือพฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งอาจหมายรวมถึง ผู้นำแบบเผด็จการนิยมด้วย ดังจะเห็นได้ว่าประสิทธิภาพผู้นำที่มีพฤตกรรมแตกต่างกันนั้น จะมีความแตกต่างกันตามลักษณะของสถาการณ์นั้น ๆ (Ulrich) and Wieland, 1980:316) 

G.R. Terry กล่าวถึงภาวะผู้นำไว้ ดังนี้ “เรามองภาวะผู้นำ เสมือนความสามารถของบุคคลหรืผู้นำที่จะแสดงวิธีการทำงานและทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถทำงานร่วมกันได้ด้วยความเชื่อมั่นและความกระตือรือร้นในงานนั้น” (Terry,1981:105)

จากตัวอย่างความหมายของภาวะผู้นำ พอสรุปได้ลักษณะของภาวะผู้นำโดยทั่วไปได้ดังนี้

  1. มีผู้นำแลผู้ตามโดยการใช้อำนาจและอิทธิพ
  2. มีลักษณะเป็นกระบวนการ
  3. มีวัตถุประสงค์รวมกัน
  4. แสดงออกในรูปพฤติกรรมต่าง ๆ 
  5.  อาศัยสถานการณ์เข้ามาเยวข้องด้วย

อย่างไรก็ตามลักษณะของภาวะผู้นำเท่าที่เป็นอยู่  ยังคงต้องการศึกษาค้นคว้าวิจัยต่อไปอีก ทั้งนี้เพราะยังหาข้อยุติไม่ได้แน่ชัดว่า ผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะต้องอาศัยปัจจัย สถานการณ์ และสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง เพราะสภาพแวดล้อมทางการบริหารจัดการ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อยู่เสมอ "ความสำเร็จในอดีต จึงไม่สามารถรับรองความสำเร็จในอนาคตได้อีกต่อไป"

โอยบาม่า กับภาวะผู้นำ

บารัค โอบาม่ากับภาวะผู้นำ

โดย ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์

จาก น.ส.พ.มติชน

วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11062



ต้นฉบับชิ้นนี้เขียนขึ้นก่อนอะไรต่อมิอะไรจะเกิดขึ้นในบ้านเมืองเรา เมื่อกลุ่มพันธมิตรเริ่มเคลื่อนขบวนสู่ทำเนียบ ไม่รู้ว่าเหตุที่ไม่อยากให้เกิด เกิดไปแล้วหรือไม่อย่างไร พลังของริบบิ้นขาว เจ้าของประเทศตัวจริงเงียบหงอยอย่างน่าใจหาย นับตั้งแต่ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล จากรั้วเหลืองแดงออกมาเชิญชวน ผมยังไม่เคยเห็นริบบิ้นขาวที่ไหนผ่านสายตาตัวเองเลยสักริบบิ้น เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกที่ดูเหมือนพลังของความสุดโต่งคือบรรยากาศที่ครอบงำสังคมอยู่

คนที่อยู่ตรงกลางๆ ซึ่งน่าจะเป็นส่วนใหญ่ของประเทศคงจะมีอยู่สามพวก พวกหนึ่งคือมิได้แยแสสนใจอะไรทั้งสิ้น ใครจะเป็นใครจะตายก็ช่าง พวกหนึ่งคือพวกที่ไม่ปรารถนาจะให้เกิดเหตุการณ์ร้ายๆ ได้แต่ภาวนาให้เรื่องราวทั้งหลายผ่านไปโดยดี และอีกพวกสาปแช่งให้ตีกันเสียให้ตายไปเร็วๆ จะได้จบๆ กัน (ซึ่งจริงๆ แล้วไม่มีทางจบอยู่ดี)

เท่าที่เฝ้าติดตาม โอกาสที่จะจบลงสวยๆ เห็นทีจะยาก นอกจากบาดแผลจะฝังลึกแล้ว เรายังตกอยู่ในภาวะขาดผู้นำที่มีเมตตา บารมี และมีวุฒิภาวะอีก อย่างที่เห็นกันอยู่ พูดจาพาทีแต่ละครั้งเหมือนสาดน้ำมันเข้าไปในกองไฟในทุกๆ เรื่องๆ ที่หยิบมาพูด

พูดถึงเรื่องภาวะความเป็นผู้นำของผู้นำระดับประเทศ ชวนให้นึกถึงคนอย่าง "บารัค โอบาม่า" ผู้แทนจากพรรคเดโมแครตที่จะเป็นผู้เข้าชิงชัยในตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก ถึงแม้จะยังหนุ่ม แต่คำพูดหรือวิสัยทัศน์ของโอบาม่าหลายๆ อย่างน่าสนใจ เปี่ยมด้วยภาวะผู้นำอย่างแท้จริง ผู้นำที่จะใช้พลังของเขาประคับประคองสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุขและก้าวหน้าไปโดยสงบสันติ

ถ้าเปรียบประเทศเป็นดินน้ำมันในมือโอบาม่าเขาก็จะค่อยๆ บรรจงปั้นให้เป็นรูปเป็นร่าง มากกว่าจะทุบโครมๆ หรือบิส่วนที่ไม่ต้องการทิ้งอย่างไม่ปรานีปราศรัย

โอบาม่าเป็นคนอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน (เคนยา) เป็นลูกครึ่งผิวสีคนแรกที่ทำลายประวัติศาสตร์อมริกาด้วยการก้าวขึ้นมาถึงขั้นนี้

ในหนังสือ "Dream of My Father" (บารัค โอบามา : ผมลิขิตชีวิตเอง โดยสำนักพิมพ์มติชน) ซึ่งโอบาม่าเขียนเล่าเรื่องราวชีวิตของตัวเองเนื่องจากการทาบทามโดยบรรณาธิกาารไทมส์ บุ๊คส์ เป็นหนังสืออัตชีวประวัติที่น่าสนใจอย่างยิ่งในการแสวงหาตัวตนของลูกครึ่งซึ่ง "ขาวก็ไม่ใช่ ดำก็ไม่เชิง" จนตระหนักถึงความเป็นตัวตนของตัวเอง และฟันฝ่าเข้ามาสู่ถนนสายการเมืองอย่างมีอุดมการณ์ เริ่มจากการเมืองท้องถิ่นในอิลลินอยส์ จนถึงการเมืองระดับประเทศในฐานะวุฒิสมาชิก

และก้าวขึ้นสู่การเป็นตัวแทนเดโมแครตเข้าชิงชัยในตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกาในที่สุด บทเรียนชีวิตจากปลายปากกาของโอบาม่าเองน่าเรียนรู้ครับ อาทิตย์หน้าลองเลียบเคียงตามร้านหนังสือดู กลัวซื้อไม่ทันสั่งจองกับร้านไว้ก่อนก็ยังได้

มีข้อเขียนบางส่วนของโอบาม่าซึ่งสะท้อนภาวะผู้นำอย่างที่ในบ้านเราก็ขาดแคลน อยากให้ลองอ่านดูสักนิด

"ถึงผมจะเห็นว่านโยบายของพวกเขามุ่งหน้าไปผิดทางแค่ไหน ถึงผมจะยืนกรานหนักแน่นเพียงใดว่าพวกเขาต้องรับผิดชอบในผลที่เกิดจากนโยบายดังกล่าว ผมก็ยังเห็นว่าเรายังพูดคุยกับชายหญิงเหล่านี้ได้ ทำความเข้าใจเรื่องเหตุจูงใจของพวกเขาได้ และรู้ได้ว่าความเชื่อบางอย่างของผมก็เหมือนกับความเชื่อของพวกเขา

"นี่ไม่ใช่ท่าทีที่จะรักษาไว้ได้ง่ายๆ ในกรุงวอชิงตัน เดิมพันในการโต้แย้งเรื่องนโยบายนั้นสูงมากจนกระทั่งความแตกต่างในมุมมองที่เล็กนิดเดียวอาจถูกขยายให้เป็นเรื่องใหญ่โตได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ว่าเราควรส่งคนหนุ่มสาวไปร่วมรบหรือไม่ หรือควรอนุญาตให้การวิจัยสเต็มเซลล์เดินหน้าต่อไปหรือไม่

"การเรียกร้องให้จงรักภักดีต่อพรรค ความจำเป็นที่รีบเร่งของแผนรณรงค์ต่างๆ การที่นักข่าวหมั่นกระพือความขัดแย้ง ทั้งหมดนี้ล้วนแต่ทำให้เกิดบรรยากาศของความหวาดระแวงแคลงใจ ยิ่งไปกว่านั้น คนส่วนใหญ่ที่ทำงานให้วอชิงตันยังถูกฝึกมาให้เป็นนักกฎหมายหรือนักการเมือง ซึ่งเป็นอาชีพที่มักจะให้ความสำคัญกับการเอาชนะการโต้แย้งมากกว่าการแก้ไขปัญหา หลังจากอยู่ในเมืองหลวงมาได้นานพอสมควร ผมก็เข้าใจว่าทำไมมันถึงง่ายที่จะเหมาเอาว่าคนที่ไม่เห็นด้วยกับเราก็คือคน ที่มีค่านิยมแตกต่างไปจากเราแทบทุกด้าน ถูกชักจูงด้วยศรัทธาที่เลวร้าย และอาจจะเป็นคนเลว"

และอีกท่อนหนึ่ง

"เกินกว่าหนึ่งครั้งในประวัติศาสตร์ที่เราได้เห็นความรักชาติกลับ กลายไปเป็นความคลั่งชาติ การเกลียดกลัวชาติอื่น และการเก็บกดความไม่เห็นด้วยเอาไว้ เราได้เห็นศรัทธาเปลี่ยนสภาพไปเป็นการคิดว่าตนเองถูกต้องอยู่ฝ่ายเดียว ความใจแคบ และความโหดร้ายต่อผู้อื่น" (จาก Audacity of Hope โดย บารัค โอบาม่า)

โอบาม่ากับภาวะผู้นำ

บารัค โอบาม่ากับภาวะผู้นำ

โดย ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์

จาก น.ส.พ.มติชน

วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11062



ต้นฉบับชิ้นนี้เขียนขึ้นก่อนอะไรต่อมิอะไรจะเกิดขึ้นในบ้านเมืองเรา เมื่อกลุ่มพันธมิตรเริ่มเคลื่อนขบวนสู่ทำเนียบ ไม่รู้ว่าเหตุที่ไม่อยากให้เกิด เกิดไปแล้วหรือไม่อย่างไร พลังของริบบิ้นขาว เจ้าของประเทศตัวจริงเงียบหงอยอย่างน่าใจหาย นับตั้งแต่ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล จากรั้วเหลืองแดงออกมาเชิญชวน ผมยังไม่เคยเห็นริบบิ้นขาวที่ไหนผ่านสายตาตัวเองเลยสักริบบิ้น เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกที่ดูเหมือนพลังของความสุดโต่งคือบรรยากาศที่ครอบงำสังคมอยู่

คนที่อยู่ตรงกลางๆ ซึ่งน่าจะเป็นส่วนใหญ่ของประเทศคงจะมีอยู่สามพวก พวกหนึ่งคือมิได้แยแสสนใจอะไรทั้งสิ้น ใครจะเป็นใครจะตายก็ช่าง พวกหนึ่งคือพวกที่ไม่ปรารถนาจะให้เกิดเหตุการณ์ร้ายๆ ได้แต่ภาวนาให้เรื่องราวทั้งหลายผ่านไปโดยดี และอีกพวกสาปแช่งให้ตีกันเสียให้ตายไปเร็วๆ จะได้จบๆ กัน (ซึ่งจริงๆ แล้วไม่มีทางจบอยู่ดี)

เท่าที่เฝ้าติดตาม โอกาสที่จะจบลงสวยๆ เห็นทีจะยาก นอกจากบาดแผลจะฝังลึกแล้ว เรายังตกอยู่ในภาวะขาดผู้นำที่มีเมตตา บารมี และมีวุฒิภาวะอีก อย่างที่เห็นกันอยู่ พูดจาพาทีแต่ละครั้งเหมือนสาดน้ำมันเข้าไปในกองไฟในทุกๆ เรื่องๆ ที่หยิบมาพูด

พูดถึงเรื่องภาวะความเป็นผู้นำของผู้นำระดับประเทศ ชวนให้นึกถึงคนอย่าง "บารัค โอบาม่า" ผู้แทนจากพรรคเดโมแครตที่จะเป็นผู้เข้าชิงชัยในตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก ถึงแม้จะยังหนุ่ม แต่คำพูดหรือวิสัยทัศน์ของโอบาม่าหลายๆ อย่างน่าสนใจ เปี่ยมด้วยภาวะผู้นำอย่างแท้จริง ผู้นำที่จะใช้พลังของเขาประคับประคองสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุขและก้าวหน้าไปโดยสงบสันติ

ถ้าเปรียบประเทศเป็นดินน้ำมันในมือโอบาม่าเขาก็จะค่อยๆ บรรจงปั้นให้เป็นรูปเป็นร่าง มากกว่าจะทุบโครมๆ หรือบิส่วนที่ไม่ต้องการทิ้งอย่างไม่ปรานีปราศรัย

โอบาม่าเป็นคนอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน (เคนยา) เป็นลูกครึ่งผิวสีคนแรกที่ทำลายประวัติศาสตร์อมริกาด้วยการก้าวขึ้นมาถึงขั้นนี้

ในหนังสือ "Dream of My Father" (บารัค โอบามา : ผมลิขิตชีวิตเอง โดยสำนักพิมพ์มติชน) ซึ่งโอบาม่าเขียนเล่าเรื่องราวชีวิตของตัวเองเนื่องจากการทาบทามโดยบรรณาธิกาารไทมส์ บุ๊คส์ เป็นหนังสืออัตชีวประวัติที่น่าสนใจอย่างยิ่งในการแสวงหาตัวตนของลูกครึ่งซึ่ง "ขาวก็ไม่ใช่ ดำก็ไม่เชิง" จนตระหนักถึงความเป็นตัวตนของตัวเอง และฟันฝ่าเข้ามาสู่ถนนสายการเมืองอย่างมีอุดมการณ์ เริ่มจากการเมืองท้องถิ่นในอิลลินอยส์ จนถึงการเมืองระดับประเทศในฐานะวุฒิสมาชิก

และก้าวขึ้นสู่การเป็นตัวแทนเดโมแครตเข้าชิงชัยในตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกาในที่สุด บทเรียนชีวิตจากปลายปากกาของโอบาม่าเองน่าเรียนรู้ครับ อาทิตย์หน้าลองเลียบเคียงตามร้านหนังสือดู กลัวซื้อไม่ทันสั่งจองกับร้านไว้ก่อนก็ยังได้

มีข้อเขียนบางส่วนของโอบาม่าซึ่งสะท้อนภาวะผู้นำอย่างที่ในบ้านเราก็ขาดแคลน อยากให้ลองอ่านดูสักนิด

"ถึงผมจะเห็นว่านโยบายของพวกเขามุ่งหน้าไปผิดทางแค่ไหน ถึงผมจะยืนกรานหนักแน่นเพียงใดว่าพวกเขาต้องรับผิดชอบในผลที่เกิดจากนโยบายดังกล่าว ผมก็ยังเห็นว่าเรายังพูดคุยกับชายหญิงเหล่านี้ได้ ทำความเข้าใจเรื่องเหตุจูงใจของพวกเขาได้ และรู้ได้ว่าความเชื่อบางอย่างของผมก็เหมือนกับความเชื่อของพวกเขา

"นี่ไม่ใช่ท่าทีที่จะรักษาไว้ได้ง่ายๆ ในกรุงวอชิงตัน เดิมพันในการโต้แย้งเรื่องนโยบายนั้นสูงมากจนกระทั่งความแตกต่างในมุมมองที่เล็กนิดเดียวอาจถูกขยายให้เป็นเรื่องใหญ่โตได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ว่าเราควรส่งคนหนุ่มสาวไปร่วมรบหรือไม่ หรือควรอนุญาตให้การวิจัยสเต็มเซลล์เดินหน้าต่อไปหรือไม่

"การเรียกร้องให้จงรักภักดีต่อพรรค ความจำเป็นที่รีบเร่งของแผนรณรงค์ต่างๆ การที่นักข่าวหมั่นกระพือความขัดแย้ง ทั้งหมดนี้ล้วนแต่ทำให้เกิดบรรยากาศของความหวาดระแวงแคลงใจ ยิ่งไปกว่านั้น คนส่วนใหญ่ที่ทำงานให้วอชิงตันยังถูกฝึกมาให้เป็นนักกฎหมายหรือนักการเมือง ซึ่งเป็นอาชีพที่มักจะให้ความสำคัญกับการเอาชนะการโต้แย้งมากกว่าการแก้ไขปัญหา หลังจากอยู่ในเมืองหลวงมาได้นานพอสมควร ผมก็เข้าใจว่าทำไมมันถึงง่ายที่จะเหมาเอาว่าคนที่ไม่เห็นด้วยกับเราก็คือคน ที่มีค่านิยมแตกต่างไปจากเราแทบทุกด้าน ถูกชักจูงด้วยศรัทธาที่เลวร้าย และอาจจะเป็นคนเลว"

และอีกท่อนหนึ่ง

"เกินกว่าหนึ่งครั้งในประวัติศาสตร์ที่เราได้เห็นความรักชาติกลับ กลายไปเป็นความคลั่งชาติ การเกลียดกลัวชาติอื่น และการเก็บกดความไม่เห็นด้วยเอาไว้ เราได้เห็นศรัทธาเปลี่ยนสภาพไปเป็นการคิดว่าตนเองถูกต้องอยู่ฝ่ายเดียว ความใจแคบ และความโหดร้ายต่อผู้อื่น" (จาก Audacity of Hope โดย บารัค โอบาม่า)

 

Peter Drucker ร้อนแรงในจีน[1]

โดย วรากรณ์ สามโกเศศ
มติชน รายวัน ประจำวันที่ 03 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11072


ชื่อของ Peter Drucker เจ้าพ่อแห่งวิชาการการจัดการ (management) ของโลกมายาวนาน ผู้จากไปในปี 2005 เมื่ออายุ 95 ปี ด้วยผลงานหนังสือ 39 เล่ม เริ่มเลือนรางไปจากวงวิชาการสหรัฐอเมริกาเพราะมีเรื่องใหม่ๆ เกี่ยวกับบริหารธุรกิจที่ดึงดูดความสนใจมาแทน เช่น Balanced Scorecard, Logistic Management, Blue Ocean Strategy, 360 Management ฯลฯ

อย่างไรก็ดี ในจีนและเอเชียบางประเทศ ชื่อของ Peter Drucker ยังร้อนแรงอยู่อย่างน่า แปลกใจ

หลายคนอาจไม่เชื่อว่าศาสตร์เกี่ยวกับการจัดการเพิ่งเป็นตัวตนและรู้จักกันเมื่อไม่นานมานี้เอง ถึงแม้จะมีการกล่าวถึงโดยนักปราชญ์สมัยโบราณมานานแล้ว ตำราเล่มแรกของศาสตร์การจัดการที่เรียนกันในมหาวิทยาลัยแต่งโดย J. Duncan ใน ค.ศ.1911

ทฤษฎีการจัดการปรากฏตัวเป็นเรื่องราวประมาณ ค.ศ.1920 และ The Harvard Business School เป็นผู้ริเริ่มปริญญาที่เรียกว่า Master of Business Administration (MBA) เป็นครั้งแรกใน ค.ศ.1921

หนังสือเล่มแรกๆ ของ Peter Drucker ที่มีชื่อเสียงคือ Concept of the Corporation ตีพิมพ์ใน ค.ศ.1945 และตามมาอีกจนนับได้ 39 เล่ม และมีการแปลถึง 30 ภาษา

Peter Drucker มีกำเนิดเป็นคนออสเตรีย เกิดในเวียนนา พ่อเป็นนักกฎหมายและเป็นข้าราชการระดับสูง เขาเล่าว่าครูอนุบาลเป็นผู้เริ่มสอนให้เขารู้จักความคิดเกี่ยวกับการจัดการ ในชั้นประถมปีที่ 4 ครูได้ถามคำถามที่โดนใจเขามากนั่นก็คือ "what do you want to be remembered for?" (จะให้ผู้คนเขานึกถึงตัวเธออย่างไร)

เขาทำงานหนังสือพิมพ์ตอนกลางวันและเรียนกฎหมายตอนกลางคืนที่ Hamburg University ในเยอรมัน ต่อมาเขาเรียนจบปริญญาเอกด้านกฎหมายระหว่างประเทศจาก Frankfurt University ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเขียนหนังสือเกี่ยวกับชีวิตของยิวในเยอรมันจนหนังสือถูกเซ็นเซอร์และเผาโดยนาซี เขาจึงอพยพมาสหรัฐอเมริกา

Peter Drucker สอนเศรษฐศาสตร์ที่วิทยาลัยเล็ก ๆ ในนิวยอร์ก และย้ายมาเป็นศาสตราจารย์ด้านการจัดการที่ New York University เขาทำงานอยู่ที่นี่เป็นเวลา 21 ปี ก่อนที่จะย้ายมาอยู่ที่ Claremont Graduate University มหาวิทยาลัยที่มีเฉพาะบัณฑิตศึกษาซึ่งมีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกาจนถึงช่วงสุดท้ายของชีวิตเขา

เขามีประสบการณ์เป็นที่ปรึกษาของบริษัทใหญ่ๆ ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ของรัฐบาลต่างประเทศ ขององค์การไม่มุ่งกำไร หลายแห่งมายาวนานกว่า 60 ปี จนเขามีวัตถุดิบสำหรับการวิเคราะห์มหาศาล

ปัจจุบันในจีนมีการตั้งสถาบัน Drucker ถึง 14 แห่งในเมืองต่างๆ (Clarement Graduate University ได้ตั้ง The Drucker Institute และ Drucker-Ito Graduate School of Management) มีหลักสูตรหลากหลายที่เรียนสิ่งที่ Drucker ได้เขียนไว้และมีการแปลหนังสือของเขาเป็นภาษาจีนเกือบครบทุกเล่ม

สาเหตุที่ Drucker ร้อนแรงในจีนก็เพราะเขาย้ำในเรื่อง integrity (ความซื่อสัตย์สุจริตและซื่อตรงต่ออุดมการณ์) ความดีงาม ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความกตัญญูรู้คุณ ฯลฯ ซึ่งสอดคล้องกับคำสอนของขงจื๊อ (นักปราชญ์จีนผู้ยิ่งใหญ่และเป็นคนร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า)

Drucker เชื่อว่าจุดมุ่งหมายของธุรกิจ คือการสร้างสรรค์และรักษาลูกค้าไว้ ธุรกิจต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ให้คุณค่าแก่ลูกจ้าง ลูกค้า และต้องมีพันธกิจ ไม่ใช่เป็นไปเพื่อกำไรแต่เพียงอย่างเดียว

เขาบอกว่า integrity starts from the top และต้องมาเป็นสิ่งแรก ถ้า "top" ไม่มี integrity แล้ว ยากที่จะเกิด integrity ที่ "bottom" ขึ้นมาได้ คำสอนต่างๆ เหล่านี้ใช้ได้กับทุกลักษณะขององค์กร ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรไม่มุ่งกำไร

คำสอนเหล่านี้สอดคล้องกับปัญหาและสภาวการณ์ของจีนในปัจจุบัน การป้องกันและการแก้ไขต้องเรียนรู้จากความสำเร็จ ความล้มเหลว และปัญหาขององค์กรภายใต้ระบอบทุนนิยมของประเทศที่พัฒนาแล้ว มีคนจำนวนมากเชื่อว่ารัฐบาลจีนอยู่เบื้องหลังการสนับสนุนการเรียนรู้คำสอนของ Peter Drucker

ก่อนเสียชีวิต 5 ปี Peter Drucker เองได้มีส่วนในการวางรากฐานของการเรียนรู้คำสอนของเขาโดยเขาได้พบปะกับผู้นำของมูลนิธิ Bright China Management Foundation เพื่อจัดตั้งสถาบัน Drucker (ปีที่แล้วมีผู้บริหารจีน 6,000 คน จบจาก 14 สถาบันนี้ที่มีอยู่ทั่วประเทศ)

ในเกาหลีและญี่ปุ่นหนังสือของเขาขายดีมาก เกิดมีกลุ่มเรียนรู้แลกเปลี่ยนถกเถียง คำสอนของเขา และมีวารสารชื่อ Civilization and Management รวบรวมบทความซึ่งประยุกต์ คำสอนของเขากับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นจริงในองค์กรต่างๆ

Drucker ถูกนักวิชาการบางคนในสหรัฐอเมริกาวิจารณ์ว่าเป็นนักปรัชญามากกว่านักวิชาการด้านการจัดการ หาว่าเขายกตัวอย่างล้าสมัย ไม่มีคณิตศาสตร์ หรือสถิติสนับสนุนทฤษฎีหรือข้อสรุป ในปัจจุบันถึงจะมีหนังสือของเขาออกมาตีพิมพ์ใหม่หลายเล่ม มีการปรับปรุงหนังสือเก่าโดยเขียนร่วมกับคนอื่นหนึ่งเล่มที่กำลังดังในชื่อ Management และมีหนังสือที่นำเสนอคำสอนของเขาในรูปใหม่ (เช่น เล่มที่ชื่อว่า Diary Drucker) หนังสือเหล่านี้ขายได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ไม่อาจเทียบได้กับความร้อนแรงในจีน เกาหลี และญี่ปุ่น

Peter Drucker ไม่ต้องตอบคำถามของครูตอนประถมสี่ที่ว่า "what do you want to be remembered for ?" พวกเราสามารถตอบแทนได้อย่างเต็มปากและอย่างเต็มตื้นในหัวใจที่เขาได้ช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของชาวโลกมายาวนานผ่านการบริหารจัดการซึ่งมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเพราะคำสอนของเขา

หน้า 6

พ.ต.ชูชีพ มากบำรุง(MPA มะขามเปรี้ยว)

ความประทับใจต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ได้รับรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา

ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO)

ในฐานะที่เป็นคนไทย เมื่อได้รับทราบข่าวจาก นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ประเทศไทย กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ทรงได้รับรางวันผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) รางวัลโกลบอล ลีดเตอร์ อวอร์ด (Global Leader Award) รู้สึกดีใจมาก เพราะพระองค์ทรงงานหนักมาก เพื่อความสุขของประชาชนของพระองค์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศตน และทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริมและพัฒนาประเทศ รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นได้อย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก อีกทั้งยังทรงเป็นผู้นำของประเทศพระองค์แรก ที่ได้รับการทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัลนี้

ในโครงการพระราชดำริต่าง ๆ มีหลายโครงการที่ได้ทราบประดิษฐ์ คิดค้นเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการใช้งาน และมีพระบรมราชานุญาตให้ยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาจำนวนมาก เห็นได้ชัดว่าพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์ คิดค้น และเข้าพระทัยถึงระบบงานทรัพย์สินทางปัญญาอย่างดี

สำหรับผลงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และจดแจ้งแล้วต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ด้านสิทธิบบัตรและอนุสิทธิบัตร ได้แก่ สิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (กังหันน้ำชัยพัฒนา) เครื่องกลเติมอากาศแบบอัดอากาศและดูดน้ำ การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล การใช น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์สองจังหวะ การคัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน (ฝนหลวง) ภาชนะรองรับของเสียที่ขับออกจากร่างกาย อุปกรณ์ควบคุมการผลักดันของเหลว กระบวนการปรับปรุงเป็นสภาพดินเปรี้ยว เพื่อให้เหมาะต่อการเพาะปลูก (โครงการแกล้งดิน)

เครื่องหมายการค้า ไม่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในพระปรมาภิไธย แต่พระราชทานให้บริษัทสุวรรณชาด จำกัด และมูลนิธิชัยพัฒนา จดทะเบียนเครื่องหมายค้ารวม 13 คำขอ ได้แก่ เครื่องหมายการค้าสวรรณชาด 1 คำขอ,ทองแดง 2 คำขอ,โกลเด้นเพลส 4 คำขอ,ธรรมชาติ 5 คำขอ และมุมสบาย ฯ 1 คำขอ ด้า ผลงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิสทธิ์ เช่น เพลงพระราชนิพนธ์ หนังสือต่าง ๆ ภาพถ่ายและภาพวาดฝีพระหัตถ์ เป็นต้น และที่ทรงจดแจ้งต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญามี 4 ผลงาน คือด้านวรรณกรรม 3 ผลงานคือ หนังสือแนวคิดทฤษฏีใหม่,โครงการทฤษฏีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริและพระมหาชนก ด้านศิลปกรรม 1 ผลงานคือ ประติมากรรมเหรียญพระมหาชนก

ส่วนผลงานที่ได้รับการถวายการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ ได้แก่ ฝนหลวง ซึ่งได้รับการจัดทะเบียนที่ยุโรป และเขตเศรษกิจพิเศษฮ่องกง ส่วนในสหรัฐ ฯ อยู่ระหว่างการตรวจสอบของสำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐ

นางพวงรัตน์ กล่าวอีกว่า เมื่อวันที 12 พ.ย.2550 หลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาได้เคยทูลเกล้า ฯ ถวายเหรียญรางวัล และปราศนียบัตรต่าง ๆ แต่พระองค์มากมาย ได้แก่ IFIA ประเทศอังการีทูลเกล้า ฯ ถวายถ้วยรางวัล IFIA CUP 2007 สำหรับผลงานกังหันน้ำชัยพัฒนา เหรียญ Genius Prize สำหรับผลงาน ทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง

Association;(KIPA) ทูลเกล้าถวายรางวัล Special Prize พร้อมประกาศนียบัตร ซึ่งถือเป็นรางวัลทรงเกียรติของนักประดิษฐ์ในระดับโลก

2

นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา โดยทรงมีพระ ราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้ว สิทธิบัตรและลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความสำคัญมาก เมื่อปี 2500 พูดกันว่าเราไปลอกจากต่างประเทศได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้สิทธิ การพูดอย่างนี้ไม่ถูกต้อง เป็นการดูถูกคนไทย” ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายฟรานซิส เกอร์รี่ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกเข้าเฝ้า ฯ เพื่อทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัล ณ วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 14 มกราคม 2552 เวลา 17.00 น.

ตลอดระยะเวลา 62 ปี แห่งการดำรงสิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ

เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักอย่างยิ่ง เพื่อยังความผาสุก แก่พสกนิกรของพระองค์ในทุกภูมิภาคและเพื่อความเจริญก้าวหน้าของงประเทศชาติ ทรงพระปรีชาญาณในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการปกครอง ด้านการจัด

การทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านสือสารคมนาคม และด้านการศาสนาที่ทรงรอบรู้หลักธรรมอย่างละเอียด ลึกซึ้ง อีกทั้งทรงบำเพ็ญพระองค์อยู่ในราชธรรมจริยาอย่างครบถ้วน ได้แก่ ทศพิธราชธรรม 10 ประการ จักรวรรดิวัตร 12 ประการ ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ และขัตติยพละ 5 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรมนับเนื่องแต่วันเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489

ในขณะที่ดำรงสิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอกดุลยเดช ฯ ได้เสด็จออกทรงพระผนวชเป็นเวลา 15 วัน นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งพระบรมราชจักรี ที่ทรงพระผนวชในขณะทรางพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดระยะเวลา 15 วัน ที่ทรงพระผนวช ทรงศึกษาและปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังทรงปฏิบัติพระองค์และบำเพ็ญศาสนกิจเช่นเดียวกับพระสงฆ์รูปอื่น ๆ อาทิ ทรงรับบิณฑบาด เสด็จลงพระอุโบสถ สวดมนต์ ทำวัตรเช้า – เย็น มีพระราชจริยวัตรอันงดงามน่าเลื่อมใสศรัทธาอย่างยิ่ง

นับเป็นบุญอย่างใหญ่หลวงของคนไทยและประเทศไทย ที่มีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรมอันประเสริฐ ทำให้ประเทศชาติและทวยราษฏร์ทุกหมู่เหล่าภายใต้พระบรมพิสมภารของพระองค์ร่มเย็นเป็นสุข สมดังพระปฐมบรมราชโองการ และพระราชปณิธาณที่ทรงตั้งไว้ในวันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนขาวสยาม”

สรุปได้ว่า เราฐานะประชาชนคนไทย รู้สึกดีใจและภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย และมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นศูนย์รวมใจคนไทยทั้งประเทศ จะเห็นได้ว่าต่างประเทศ และกลุ่มองค์การต่าง ๆ ในโลก ยังยอมรับว่า พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถ จึงได้ ทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัล และประกาศนียบัตรต่าง ๆ แด่พระองค์ มากมาย ประชาชนชาวไทยรู้สึกปราบปลื้มหาที่สุดมิได้ และน้อมเกล้า ฯ ถวายความจงรักภักดีและพลังศรัทธาจากดวงใจทุกดวงของเหล่าพสกนิกรทั่วประเทศแต่พระองค์ท่าน และนำแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงของเรา มาใช้ดำรงชีพตลอดไป พันตรี ชูชีพ มากบำรุง 511307148111

นายวัฒนา ไผ่นอก

511307148125

รปม.รุ่นที่ 1

มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์

ความภาคภูมิใจของข้าพเจ้าที่มีต่อพระองค์ท่านที่ได้รับรางวัล “ ผู้นำระดับโลก ”

ข้าพเจ้าที่เกิดมาเป็นคนไทยในแผ่นดินไทยของพระองค์ท่าน และประชาชนคนไทยทุกคนต่างก็มีความรักและเทแดทูลไว้เหนือหัวและมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างหาที่สุดมิได้อยู่แล้ว พระองค์ท่านทรงเป็นมิ่งขวัญปวงชนชาวไทยทั้งประเทศ เพราะพระองค์ท่านทรงเป็นพระมหากษัตริย์ทรงใช้ทศพิธราชธรรมในการปกครองประเทศ คือพระองค์ มีทาน คือการให้ กาเสียสละ ทั้งแรงพระวรกาย และทั้งทรัพย์สอนส่วนพระองค์ พระองค์ มีศีล คือความประพฤติที่ดีงามทั้งกายวาจา และใจ ให้ปราศจากโทษทั้งในการปกครอง กฎหมาย และนิติราชประเพณี และในศาสนา พระองค์มีบริจาค คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม พระองค์มีความซื่อตรงคือความซื่อตรง ในฐานะที่เป็นผู้ปกครองดำรงในสัตย์สุตจริต พระองค์ มี ความอ่อนโยน เคารพให้เหตุผลที่ควรมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส และอ่อนโยนต่อผู้เสมอกันและต่ำกว่า พระองค์มีความเพียร มีอุตสาหะในการปฏิบัติงานโดยปราศจากความเกียจค้าน พระองค์มีความไม่โกรธ ความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏไม่มุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล พระองค์มี ความไม่เบียดเบียน การไม่เบียดเบียนหรือบีบคั้นไม่ก่อทุกข์ หรือเบียดเบียนผู้อื่น พระองค์มีความอดทน มีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวงรักษาอาการ กาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อยมีความยุติธรรม มีความหนักแน่น คือ ความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหว ด้วยคำพูด อารมณ์ หรือ ลาภสักการะใดๆ ด้วยพระองค์ทรงใช้ทศพิธราชธรรมมาปกครองเหล่าทวยราชทั้งหลายทั้งปวงจึงมีความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่าน และด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ ก็เป็นที่ทราบและรู้จักของเหล่านานาประเทศทั้งหลาย และด้วยเหตุนี้เองพระองค์ท่านจึงได้รับรางวัล “ ผู้นำระดับโลก ” เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 ที่ผ่านมา ดังนั้นข้าพเจ้าจึงมีความภาคภูมิใจที่ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็น “ผู้นำระดับโลก” ที่ทั่วโลกได้รู้จักและควรนำเอาแบบอย่างของพระองค์ท่านไปปฏิบัติ เพราะพระองค์ท่านเปรี่ยมด้วยพระเมตตา ทรงรักและห่วงใยประสกนิกรของพระองค์โดยตลอด โดยทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่จะช่วยเหลือปวงชนชาวไทยให้อยู่เย็นเป็นสุขไปทุกหย่อมหญ้าโดยมิได้เห็นแก่ความเหน็จเหนื่อยและย่อท้อแต่อย่างใด เพื่อมุ่งหวังให้ชาวไทยและประเทศชาติเจริญรุ่งเรื่องเทียบทันอาณาประเทศอื่นๆ พระองค์ท่านไม่อยู่นิ่งเฉยโดยไม่ใช้ความคิด พระองค์ท่านทรงคิดอยู่ตลอดเวลา พยายามพระราชดำริโครงการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนส่วนมากได้ประโยชน์จากโครงการพระราชดำริ แม้จะกระทบคนส่วนน้อยบ้างก็ทรงยอม พระองค์ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระองค์ท่านทรงมีพระราชโองการให้ประชาชนชาวไทยทุกคนได้นำไปปฏิบัติ ให้กินอยู่แบบพอเพียง จนต่างประเทศได้ไปใช้ จากความดีและพระปรีชาสามารถขอลพระองค์ ทำให้ทุกคน และข้าพเจ้าเชื่อว่าชาวต่างชาติที่มีพระหมากษัตริย์ต่างก็ต้องอิจฉาประชาชนชาวไทยที่มีพระหมากษัตริย์อย่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของคนไทย ข้าพเจ้าปราบปลื้มเป็นอย่างยิ่งที่ได้เกิดมาเป็นคนไทยบนผืนแผ่นดินไทย และยิ่งมีความภาคภูมิใจอย่างมากที่พระองค์ท่านทรงได้รับ การถวายรางวัล “ ผู้นำระดับโลก” ฉะนั้นคนไทยทุกคนก็ต้องช่วยกันรักษาความภาคภูมใจนี้เอาไว้ให้นานเทานาน โดยการปฏิบัติตน และนำเอาแนวทางของพระองค์ท่านมาดำเนินชีวิต และการปฏิบัติงานไม่ว่าจะเป็นประชาชนคนธรรมดา หรือข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะเหล่านักการเมืองทั้งหลายแหล่ยิ่งน่าจะนำแบบอย่าของพระองค์ท่านมาใช้ในการบริหารบ้านเมือง นักการเมืองทั้งจงอย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน และประโยชน์ของพรรคมากกว่าประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนจงปฏิบัติและเดินตามพระองค์ท่านเถิดแล้วท่านและประเทศชาติ และการเมืองไทยจะได้เจริญรุ่งเรืองเสียทีเลิกแบ่งข้างแบ่งสีแล้วต่างชาติเขาจะมองว่าชาติเจริญแล้วเราทุกคนสมารถที่จะทำได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะความสามัคคี ปัจจุบัน กว่าพระองค์จะได้รับรางวัลนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย พระองค์ท่านทรงปฏิบัติพระองค์มาตั้งแต่ขึ้นครองราชย์สมบัติมาเป็นเวลาถึง 62 ปี กว่าคนไทยทุกคนจะได้รู้จะได้เห็นพระปรีชาของพระองค์ และนานาประเทศกว่าจะรู้จะเห็นจน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วพวกเราชาวไทยทุกคนต้องช่วยกันรักษาความดีของพระองค์อันเปรียบเสมือนชื่อเสียงที่ยิ่งใหญ่ของประเทศชาติโดยการรักใคร่สามัคคีปองดองกันไม่แบ่งพรรคไม่แบ่งพวก และไม่แบ่งสี มาช่วยกันดูแลคุมครองปกป้องผืนแผ่นดินไทย และสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยให้ดำรงไว้ไปตลอดกาล

นายวัฒนา ไผ่นอก (MPA มะขาวเปรี้ยว)

นายวัฒนา ไผ่นอก

511307148125

รปม.รุ่นที่ 1

มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์

ความภาคภูมิใจของข้าพเจ้าที่มีต่อพระองค์ท่านที่ได้รับรางวัล “ ผู้นำระดับโลก ”

ข้าพเจ้าที่เกิดมาเป็นคนไทยในแผ่นดินไทยของพระองค์ท่าน และประชาชนคนไทยทุกคนต่างก็มีความรักและเทแดทูลไว้เหนือหัวและมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างหาที่สุดมิได้อยู่แล้ว พระองค์ท่านทรงเป็นมิ่งขวัญปวงชนชาวไทยทั้งประเทศ เพราะพระองค์ท่านทรงเป็นพระมหากษัตริย์ทรงใช้ทศพิธราชธรรมในการปกครองประเทศ คือพระองค์ มีทาน คือการให้ กาเสียสละ ทั้งแรงพระวรกาย และทั้งทรัพย์สอนส่วนพระองค์ พระองค์ มีศีล คือความประพฤติที่ดีงามทั้งกายวาจา และใจ ให้ปราศจากโทษทั้งในการปกครอง กฎหมาย และนิติราชประเพณี และในศาสนา พระองค์มีบริจาค คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม พระองค์มีความซื่อตรงคือความซื่อตรง ในฐานะที่เป็นผู้ปกครองดำรงในสัตย์สุตจริต พระองค์ มี ความอ่อนโยน เคารพให้เหตุผลที่ควรมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส และอ่อนโยนต่อผู้เสมอกันและต่ำกว่า พระองค์มีความเพียร มีอุตสาหะในการปฏิบัติงานโดยปราศจากความเกียจค้าน พระองค์มีความไม่โกรธ ความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏไม่มุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล พระองค์มี ความไม่เบียดเบียน การไม่เบียดเบียนหรือบีบคั้นไม่ก่อทุกข์ หรือเบียดเบียนผู้อื่น พระองค์มีความอดทน มีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวงรักษาอาการ กาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อยมีความยุติธรรม มีความหนักแน่น คือ ความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหว ด้วยคำพูด อารมณ์ หรือ ลาภสักการะใดๆ ด้วยพระองค์ทรงใช้ทศพิธราชธรรมมาปกครองเหล่าทวยราชทั้งหลายทั้งปวงจึงมีความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่าน และด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ ก็เป็นที่ทราบและรู้จักของเหล่านานาประเทศทั้งหลาย และด้วยเหตุนี้เองพระองค์ท่านจึงได้รับรางวัล “ ผู้นำระดับโลก ” เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 ที่ผ่านมา ดังนั้นข้าพเจ้าจึงมีความภาคภูมิใจที่ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็น “ผู้นำระดับโลก” ที่ทั่วโลกได้รู้จักและควรนำเอาแบบอย่างของพระองค์ท่านไปปฏิบัติ เพราะพระองค์ท่านเปรี่ยมด้วยพระเมตตา ทรงรักและห่วงใยประสกนิกรของพระองค์โดยตลอด โดยทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่จะช่วยเหลือปวงชนชาวไทยให้อยู่เย็นเป็นสุขไปทุกหย่อมหญ้าโดยมิได้เห็นแก่ความเหน็จเหนื่อยและย่อท้อแต่อย่างใด เพื่อมุ่งหวังให้ชาวไทยและประเทศชาติเจริญรุ่งเรื่องเทียบทันอาณาประเทศอื่นๆ พระองค์ท่านไม่อยู่นิ่งเฉยโดยไม่ใช้ความคิด พระองค์ท่านทรงคิดอยู่ตลอดเวลา พยายามพระราชดำริโครงการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนส่วนมากได้ประโยชน์จากโครงการพระราชดำริ แม้จะกระทบคนส่วนน้อยบ้างก็ทรงยอม พระองค์ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระองค์ท่านทรงมีพระราชโองการให้ประชาชนชาวไทยทุกคนได้นำไปปฏิบัติ ให้กินอยู่แบบพอเพียง จนต่างประเทศได้ไปใช้ จากความดีและพระปรีชาสามารถขอลพระองค์ ทำให้ทุกคน และข้าพเจ้าเชื่อว่าชาวต่างชาติที่มีพระหมากษัตริย์ต่างก็ต้องอิจฉาประชาชนชาวไทยที่มีพระหมากษัตริย์อย่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของคนไทย ข้าพเจ้าปราบปลื้มเป็นอย่างยิ่งที่ได้เกิดมาเป็นคนไทยบนผืนแผ่นดินไทย และยิ่งมีความภาคภูมิใจอย่างมากที่พระองค์ท่านทรงได้รับ การถวายรางวัล “ ผู้นำระดับโลก” ฉะนั้นคนไทยทุกคนก็ต้องช่วยกันรักษาความภาคภูมใจนี้เอาไว้ให้นานเทานาน โดยการปฏิบัติตน และนำเอาแนวทางของพระองค์ท่านมาดำเนินชีวิต และการปฏิบัติงานไม่ว่าจะเป็นประชาชนคนธรรมดา หรือข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะเหล่านักการเมืองทั้งหลายแหล่ยิ่งน่าจะนำแบบอย่าของพระองค์ท่านมาใช้ในการบริหารบ้านเมือง นักการเมืองทั้งจงอย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน และประโยชน์ของพรรคมากกว่าประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนจงปฏิบัติและเดินตามพระองค์ท่านเถิดแล้วท่านและประเทศชาติ และการเมืองไทยจะได้เจริญรุ่งเรืองเสียทีเลิกแบ่งข้างแบ่งสีแล้วต่างชาติเขาจะมองว่าชาติเจริญแล้วเราทุกคนสมารถที่จะทำได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะความสามัคคี ปัจจุบัน กว่าพระองค์จะได้รับรางวัลนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย พระองค์ท่านทรงปฏิบัติพระองค์มาตั้งแต่ขึ้นครองราชย์สมบัติมาเป็นเวลาถึง 62 ปี กว่าคนไทยทุกคนจะได้รู้จะได้เห็นพระปรีชาของพระองค์ และนานาประเทศกว่าจะรู้จะเห็นจน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วพวกเราชาวไทยทุกคนต้องช่วยกันรักษาความดีของพระองค์อันเปรียบเสมือนชื่อเสียงที่ยิ่งใหญ่ของประเทศชาติโดยการรักใคร่สามัคคีปองดองกันไม่แบ่งพรรคไม่แบ่งพวก และไม่แบ่งสี มาช่วยกันดูแลคุมครองปกป้องผืนแผ่นดินไทย และสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยให้ดำรงไว้ไปตลอดกาล

สวัสดีครับพี่ยม

       ไม่ได้พบกันมานานมาก ผมและ นักศึกษา ระดับปริญญาโท M.P.A. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ เขาคิดถึง โดยเฉพาะ พี่ชูชีพ และพี่วัฒนา ที่เข้ามาอ่าน และแสดงความคิดเห็น ใน BLOG ของพี่

        ผมชอบ การสรุปภาวะผู้นำ  ซึ่ง G.R. Terry กล่าวถึงภาวะผู้นำ ว่า “เรามองภาวะผู้นำ เสมือนความสามารถของบุคคลหรืผู้นำที่จะแสดงวิธีการทำงานและทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถทำงานร่วมกันได้ด้วยความเชื่อมั่นและความกระตือรือร้นในงานนั้น” ซึ่งได้สรุปลักษณะของภาวะผู้นำ ดังนี้

       1.มีผู้นำและผู้ตามโดยการใช้อำนาจและอิทธิพล

       2.มีลักษณะเป็นกระบวนการ

       3.มีวัตถุประสงค์รวมกัน

       4.แสดงออกในรูปพฤติกรรมต่าง ๆ

       5.อาศัยสถานการณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง

ผมจะนำไปปฏิบัติ เพื่อนำไปพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ของชาวเพชรบูรณ์

                             สมบัติ  บุญเลี้ยง

สวัสดี อาจารย์สมบัติ ผู้นำ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

อาจารย์สมบัติ เป็นอาจารย์ที่มีความมุ่งมั่น ขยันทำงาน มีอุดมกาณ์ในความเป็นครูอาจารย์ สร้างคน สร้างสรรค์สังคม ชุมชน สมเป็นผู้นำรุ่นใหม่ ไฟแรง

ที่สำคัญคือรับผิดชอบงานสำคัญทางด้านการศึกษา ในการสร้างผู้นำ MPA

นักศึกษา MPA ที่นั่น มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สมกับว่าที่มหาบัณฑิต ผมได้มีโอกาสไปสัมผัส แลกเปลี่ยน ถ่ายทอดประสบการณ์ ได้พบว่าที่มหาบัณฑิตที่น่าสนใจหลายท่าน

ขอชื่นชม ผู้ริเริ่มโครงการ MPA ที่นั่น อาจารย์สมบัติและทีมงานน่ายกย่องสรรเสริญ ด้วยความจริงใจ ขอเป็นกำลังใจให้กับทีมงานนี้ และว่าที่มหาบัณฑิต หลายท่านเขียนบทความมาลงในบันทึกเกี่ยวกับการเป็นผู้นำ เห็นว่ามีความตั้งใจสูง  ที่ยังควรเพิ่มเติมคือ การอ่านหนังสือ การจับประเด็น การบูรณาการ ความต่อเนื่อง ขยายผล สู่การพัฒนาตนเอง องค์การและสังคมอย่างยั่งยืน

การสรุปประเด็นโดยใช้องค์ความรู้ ทฤษฎี หรือหลักการ กรอบแนวคิดต่าง ๆ ในโลกมาเป็นกรอบความคิด เป็นสิ่งสำคัญ เช่น การนำเอากรอบแนวคิดเกี่ยวกับหลักศาสนา หลักรัฐศาสตร์ หรือแนวความคิดของ JIM COLLINS ที่เขียนไว้ในหนังสือ GOOD TO GREAT หนังสือเล่มนี้ออกมาตั้งแต่ปี 2001 และขายดีมาก จนกระทั่งในปัจจุบันก็ยังเป็นหนังสือขายดีติดอันดับของ Amazon.com อยู่ ซึ่งสิ่งที่ทางผู้เขียนหนังสือสรุป ได้มาจากผลการศึกษาวิจัยล้วน ๆ

ผู้เขียนกล่าวไว้ในหนังสือบางตอนว่า  เนื่องจากเป็นการยากที่จะหาชื่อที่เหมาะสมสำหรับเรียกผู้นำขององค์กร เขาก็เลยเรียกด้วยภาษาง่ายๆ ว่า เป็นผู้นำในระดับที่ 5 โดยได้มีการแบ่งว่าเมื่อคนเราก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำนั้น จะสามารถแบ่งผู้นำที่ดีออกเป็น 5 ระดับ

ระดับที่ 1 High Capable Individual เป็นผู้ที่มีความสามารถส่วนตัวที่ดี ทั้งทักษะ ความรู้ ความสามารถ และพฤติกรรมในการทำงานที่ดี ซึ่งล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร

ระดับที่ 2 Contributing Team Member เป็นผู้ที่สามารถทำงานเป็นทีมได้ดี เป็นพวกที่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และช่วยให้กลุ่มและทีมบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

ระดับที่ 3 Competent Manager เป็นผู้บริหารที่สามารถบริหารบุคลากรและทรัพยากรได้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายขององค์กร

ระดับที่ 4 Effective Leader เป็นพวกผู้นำที่สามารถทำให้ทุกคนเกิดความมุ่งมั่น มีการกำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และสามารถจูงใจให้บุคลากรทุกคนทำงานอย่างทุ่มเทเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์

จะเห็นว่า ในสี่ระดับต้นนั้นจะเป็นลักษณะของบุคลากร และผู้นำในองค์กรที่เราพบเจอในหนังสือทางด้านภาวะผู้นำทั่วๆ ไป แต่ในองค์กรที่สามารถปรับตนเองจากดีธรรมดา ให้เป็นดีสุดยอดได้นั้น ลักษณะผู้นำจะเป็นผู้นำในระดับที่ 5 ได้นั้นมีความเป็นผู้นำในสี่ระดับได้ก่อน แต่ระดับที่ห้าจะมีความแตกต่างก็คือ ผู้นำจะต้องสร้างความสุดยอดยั่งยืนให้กับองค์กรได้ด้วยคุณสมบัติที่ดูเหมือนจะขัดกัน ระหว่างความมุ่งมั่นที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จกับความถ่อมตัว

ความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จ และความถ่อมตัวนั้นเป็นคุณสมบัติที่ขัดแย้งกัน และดูเหมือนว่าไม่ควรจะอยู่ด้วยกันได้ แต่สิ่งที่ Jim Collins พบจากการศึกษาวิจัยก็คือ ในตัวผู้นำที่สร้างปรับเปลี่ยนองค์กรจากดีธรรมดาให้เป็นดีสุดยอดได้ จะมีปัจจัยทั้งสองประการอยู่ด้วยกัน

การที่ผู้นำระดับที่ 5 ถ่อมตัวนั้น ก็ไม่ได้หมายความผู้นำจะต้องขี้กลัว ไม่กล้า หรือขาดความทะเยอทะยาน ผู้นำอาจจะไม่ชอบความมีชื่อเสียง หรือ ชอบเป็นจุดสนใจของคนทั่วไป แต่ผู้นำเหล่านี้ก็มีความมุ่งมั่น และทะเยอทะยาน สำหรับองค์กร ไม่ใช่เพื่อตนเองหรือเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว

ผู้นำเหล่านี้เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ขัดแย้งกันก็ได้ นั้นคือ มุ่งมั่นและต้องการที่จะนำความสำเร็จมาสู่องค์กร แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นคนถ่อมตัว ไม่ได้มุ่งเน้นที่จะทำเพื่อตนเอง แต่เป็นองค์กรเป็นหลัก ลองมอง และหารอบๆ ตัวดูนะครับว่า พบผู้นำที่มีลักษณะดังกล่าวบ้างหรือไม่

ในการเขียนบทความ การสรุปประเด็น สำคัญมากสำหรับว่าที่มหาบัณฑิต จะต้องฝึกใช้ให้คล่อง เปรียบเสมือน จอมยุทธ์ที่ต้องฝึกลมปราณให้คล่อง จนนำกระบี่ไว้ที่ใจ จะนำมาใช้เมื่อใด ย่อมได้เสมอก็คือ การฝึกนำเอาองค์ความรู้ ทฤษฎี หลักการ มาเป็นกรอบแนวคิดในการสรุป  เสนอแนะ  การฝึกให้ศิษย์ ใฝ่รู้ขยันอ่านหนังสือ ค้นคว้า จับประเด็นองค์ความรู้ในอากาศ มาทำความเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ต่อเนื่อง สู่ความยั่งยืน ยังเป็นสิ่งที่ท้าทายขีดความสามารถุของผู้นำยุคใหม่ ว่าที่มหาบัณฑิตทุกสถานบัน

ขอขอบใจศิษย์ MPA อาจารย์สมบัติและทีมงาน ที่ได้ให้เกียรติผมเสมอมา

ด้วยความจริงใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท