อุตสาหกรรมอาหาร


ในปัจจุบันมีการกำหนดกฎกติกาของโลกเพื่อมุ่งไปสู่การค้าเสรีระหว่างประเทศ มีการจัดตั้งองค์การค้าโลก มีการทำข้อตกลงระหว่างประเทศและระหว่างภูมิภาคเพื่อเปิดการค้าเสรีขึ้นทำให้สินค้าจากประเทศหนึ่งสามารถส่งไปจำหน่ายยังอีกประเทศหนึ่งได้สะดวกและมีภาระภาษีลดน้อยลง จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคตข้างหน้าอัตราภาษีศุลกากรระหว่างประเทศจะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 0 - 5 ทำให้แต่ละประเทศต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกอุตสาหกรรมอาหารก็เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งซึ่งหนีไม่พ้นที่จะต้องปรับตัวเอง ผู้ผลิตรายใดที่ไม่มีประสิทธิภาพ มีต้นทุนการผลิตสูงก็จำเป็นต้องเลิกกิจการไป เพราะไม่สามารถแข่งขันได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนถึงการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในประเทศไทย และอีกหลายประเทศ ก็คือธุรกิจบริการด้านการค้าปลีก
 การนำเข้าอาหารจะถูกกีดกันมากขึ้นด้วยมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Measures/Barriers) ด้วยการอาศัยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ การให้การคุ้มครองผู้บริโภค และการให้การคุ้มครองผู้ผลิตภายในประเทศ ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าประเทศที่พัฒนาแล้วมีความได้เปรียบอย่างมาก เนื่องจากมีบุคลากรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่เป็นจำนวนมาก มีพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสูง มีโครงสร้างพื้นฐานและระบบการบริหารงานที่ดีเยี่ยม ในขณะที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการพัฒนาระดับกลางๆ จึงทำให้การแข่งขันหรือการตอบโต้ทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร การเปิดการค้าเสรีทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเพิ่มขึ้นในการส่งออกสินค้าอาหาร หากสามารถที่จะดูแลการผลิตและสินค้าให้มีความปลอดภัย ได้มาตรฐานในระดับสากล แต่ขณะเดียว กันการเปิดการค้าเสรีจะทำให้สินค้าและอาหารจากต่างประเทศถูกนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยได้มากขึ้น ซึ่งหากภาครัฐไม่มีระบบในการควบคุมที่ดีพอ อาหารที่มีคุณภาพตํ่าอาหารที่ไม่ปลอด ภัยเพียงพอ และอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการซึ่งไม่เหมาะสม ก็จะถูกนำเข้ามาจำหน่ายอย่างแพร่หลาย
 สำหรับในประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งในสหรัฐอเมริกา และยุโรป ต่างก็เห็นปัญหาของการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมทำให้ประชากรจำนวนมากมีนํ้าหนักตัวเกินมาตรฐานหรือ “โรคอ้วน” อันเป็นสาเหตุของโรคต่างๆตามมา และประชากรมีอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวมากขึ้นอุตสาหกรรมอาหารถูกมองว่าเป็นต้นเหตุหนึ่งของปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นการผลิตอาหารที่มีปริมาณต่อหนึ่งหน่วยบริโภคมากเกินความเหมาะสม การผลิตอาหารที่มีสารอาหารไม่ได้สัดส่วน และมีส่วนผสมที่ไม่เป็นมิตรต่อสุขภาพ การสร้างค่านิยมในการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ การโฆษณาและส่งเสริมการจำหน่ายที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น ทำให้ทั้งองค์กรพัฒนาเอกชน และภาครัฐให้ความสนใจในเรื่องนี้มากขึ้นและผลักดันรัฐบาลของตนเองรวมทั้งองค์การอนามัยโลกกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาเช่น การลดปริมาณอาหารต่อการบริโภคหนึ่งครั้ง การควบคุมโฆษณาสู่เด็ก เป็นต้น
 บทบาทของอุตสาหกรรมอาหาร
 ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารก็เช่นเดียวกันกับธุรกิจอื่นๆ ที่มุ่งเน้นการผลิตและการตลาดในเชิงเศรษฐกิจและการแสวงหากำไรเป็นหลัก และด้วยความต้องการที่จะให้ธุรกิจอยู่รอดมีความเจริญก้าวหน้าจึงทำการผลิตและการตลาดทั้ง2ลักษณะคือการผลิตและการตลาดที่การสนองความต้องการของผู้บริโภคและการผลิตและการตลาดที่การสร้างความต้องการแก่ผู้บริโภคในการดำเนินธุรกิจยุคปัจจุบัน อุตสาหกรรมอาหารนอกจากมีภาระหน้าที่โดยตรงต่อเจ้าของกิจการหรือผูถื้อหุ้น ด้วยการสร้างผลกำไรให้แล้ว อุตสาหกรรมอาหารยังมีภาระหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของประเทศ และความต้องการของคู่ค้าอีกทั้งจะต้องรับผิดชอบต่อสังคม และกติกาทางสังคมในด้านต่างๆอีก อาทิ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน การอนุรักษ์แหล่งนํ้าการผลิตทางการเกษตรที่ยั่งยืน การค้าที่เป็นธรรม การใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ สวัสดิการสัตว์ และ ฯลฯ ดังนั้นการที่จะให้อุตสาหกรรมอาหารเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาโภชนาการของประเทศคงต้องหาสิ่งจูงใจที่เหมาะสม เช่น ช่วยให้สินค้าขายดีขึ้น มีผลกำไรมากขึ้น การสร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์และธุรกิจหรือการให้ได้รับความสะดวกในการผลิตและการตลาด
 คงต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่าการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารซึ่งเป็นองค์กรทางธุรกิจที่แสวงหากำไร กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงย่อมได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ใกล้ชิดมากกว่ากลุ่มคนที่มีกำลังซื้อตํ่าสินค้าอุตสาหกรรมอาหารที่ผลิตออกสู่ตลาดต่างก็มุ่งเน้นเพื่อให้จำหน่ายได้ มีกำไรสูง ดังนั้นการผลิตอาหารเพื่อสนองความต้องการและสร้างความต้องการแก่ผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงย่อมได้ผลกำไรมากกว่าดังจะเห็นได้จากมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารลดนํ้าหนักอาหารไขมันตํ่าอาหารที่ใช้นํ้าตาลเทียมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และอาหารที่มีการเสริมสารอาหารเพื่อมุ่งเน้นการเพิ่มราคาจำหน่าย เป็นต้น แต่ผลิตภัณฑ์อาหารที่มุ่งเน้นตลาดระดับล่างที่ผู้บริโภคได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกลับไม่ค่อยได้รับความสนใจจากผู้ผลิตที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณค่าทางโภชนาการที่สูงขึ้นทั้งนี้เพราะทำให้ต้นทุนของอาหารเพิ่มสูงขึ้นจนอาจไม่สามารถแข่งขันได้ เนื่องจากผู้ที่มีรายได้ตํ่าให้สำคัญต่อปัจจัยด้านคุณภาพและโภชนาการน้อยกว่าปัจจัยด้านรสชาติและราคา
 อย่างไรก็ดี บทบาทของอุตสาหกรรมอาหารในการแก้ปัญหาโภชนาการน่าจะครอบคลุมถึงกระบวนการต่อไปนี้
 1. การผลิตอาหารที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัย
 อาหารที่ผลิตจากอุตสาหกรรมอาหารจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีคุณภาพและความปลอดภัยผู้ผลิตอาหารจะต้องมีความรู้และความเข้าใจถึงคุณสมบัติของอาหารที่ตนเองผลิต วัตถุดิบที่ใช้กระบวนการผลิต การขนส่งและการเก็บรักษา เข้าใจในระบบควบคุมคุณภาพ และเข้าใจในกระบวนการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บริโภค อุตสาหกรรมอาหารต้องดำเนินการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการในการผลิตอาหาร รวมทั้งการปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎระเบียบด้านอาหารของประเทศเป็นที่น่ายินดีว่ารัฐบาลได้กำหนดให้ปี พ.ศ. 2547 เป็นปีแห่งความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งนับได้ว่าเป็นรัฐบาลที่ให้ความสนใจในเรื่องนี้อย่างจริงจังและรัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงต้องออกกฎระเบียบรวมถึงมาตรการที่จะผลักดันให้หลักประกันความปลอดภัยของอาหารแก่ประชาชนมากขึ้น
 2. การเสริมสารอาหารที่ช่วยแก้ปัญหาการขาดสารอาหาร
 ผู้ผลิตอาหารควรติดตามสถานการณ์ปัญหาโภชนาการของประเทศและหาหนทางที่จะผลิตอาหารให้มีความสอดคล้องกับนโยบายด้านโภชนาการของภาครัฐเพื่อแก้ปัญหาการขาดสารอาหารของประชาชน ผู้ผลิตอาหารแต่ละรายย่อมทราบดีว่าผลิตภัณฑ์ของตนเองมีประชากรกลุ่มใดเป็นกลุ่มเป้าหมายหรือเป็นผู้บริโภค จำหน่ายได้มากที่ไหน ผลิตภัณฑ์มีจุดแข็งและจุดอ่อนอย่างไร แม้ว่าการเสริมสารอาหารในผลิตภัณฑ์จะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผลิตภัณฑ์ แต่ก็เป็นการเพิ่มต้นทุนเพียงเล็กน้อย ซึ่งเปรียบเทียบไม่ได้กับคุณประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับการเลือกชนิดของอาหารที่จะเป็นพาหะนำสารอาหารไปสู่ผู้บริโภคที่เหมาะสม ต้องพิจารณาปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ คือ การยอมรับของผู้บริโภค (Acceptable) การมีราคาที่ผู้บริโภคสามารถซื้อได้ (Affordable) และผู้บริโภคจะสามารถหาซื้ออาหารนั้นได้ง่าย (Available)
 การแก้ปัญหาโภชนาการด้วยการเสริมสารอาหารที่พบได้ในประเทศไทยในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น นมพร้อมดื่ม นมผง อาหารเสริมสำ หรับทารกและเด็กเล็ก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเกลือบริโภค นมข้นหวาน ซอสมะเขือเทศ ขนมปังแซนวิช มาการีน นํ้าผลไม้ เครื่องดื่ม เป็นต้น อย่างไรก็ดี การแก้ไขปัญหาโภชนาการไม่ใช่มีเพียงแต่เสริมสารอาหารในผลิตภัณฑ์เท่านั้น หากแต่ต้องรวมเอาทุกองคาพยพที่เกี่ยวข้องกับอาหารเข้ามาวิเคราะห์ เพื่อแก้ไขและดำเนินการให้สามารถแก้ปัญหาได้ตรงตามวัตถุประสงค์
 3. การให้ความรู้ทางโภชนาการแก่ผู้บริโภค
 อาหารที่ผลิตจากอุตสาหกรรมอาหารแต่ละผลิตภัณฑ์จะมีการแสดงฉลากตามที่กฎหมายอาหารกำหนด ซึ่งฉลากอาหารถือเป็นส่วนหนึ่งในการสื่อสารกับผู้บริโภค ถ้าทำให้ฉลากอาหารเป็นสื่อหนึ่งในการถ่ายทอดความรู้ทางโภชนาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงฉลากโภชนาการตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด การให้ความรู้เกี่ยวกับข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย การให้ความรู้เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของสารอาหารแต่ละชนิด ย่อมจะทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการและการบริโภคอาหารที่ถูกต้องมากขึ้น
 4. การโฆษณา ประชาสัมพันธ์อย่างมีจริยธรรม และการสร้างค่านิยมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง
 ในปัจจุบันมีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์อาหารผ่านสื่อต่างๆอย่างมากเพื่อใหผู้บริโภคทราบคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์และเพื่อเป็นการชี้ชวนให้มีการบริโภค เป็นการดำเนินการทั้งด้านการสนองความต้องการของผู้บริโภคและด้านการสร้างความต้องการของผู้บริโภค การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ถ้าทำอย่างมีจริยธรรม ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องและครบถ้วน รวมทั้งไม่สร้างค่านิยมในการบริโภคที่ผิดๆก็คงไม่สร้างปัญหาทางด้านโภชนาการให้เกิดขึ้นแต่ในยุคแห่งการแข่งขันทางการค้าผู้ผลิตอาหารแต่ละรายได้ลงทุนทางการโฆษณาและประชาสัมพันธ์อย่างมาก และบ่อยครั้งที่มีการลงทุนในด้านนี้มากยิ่งกว่าการลงทุนในผลิตภัณฑ์ ถ้าผู้ผลิตอาหารนำงบประมาณด้านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์มาสร้างความรู้ด้านอาหารและโภชนาการที่ถูกต้องก็น่าจะทำให้ผลิตภัณฑ์และธุรกิจของตนเองมีภาพลักษณ์ที่ดีและเป็นที่เชื่อมั่นของผู้บริโภค
 5. การค้นคว้าวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์
 ในประเทศไทยอุตสาหกรรมอาหารยังไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์มากนักส่วนใหญ่มักเลียนแบบหรือซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ หากผู้ผลิตอาหารให้ความสำคัญในเรื่องนี้มีการค้นคว้าวิจัย และ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้อาหารที่ผลิตมีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มขึ้นมีการเสริมสารอาหารในผลิตภัณฑ์ หรือลดส่วนประกอบของอาหารที่ไม่เป็นมิตรต่อสุขภาพ และรวมถึงการหาสิ่งทดแทนที่เหมาะสมเพื่อให้อาหารมีคุณประโยชน์ทางโภชนาการที่ดีขึ้นโดยไม่ทำให้คุณสมบัติของอาหารต้องสูญเสียไปก็จะทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการบริโภคอาหารที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับสุขภาพของตนเอง


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท