สถาปัตยกรรม


หอพระไตรปิฏกที่ชาวไทยลื้อหวงแหน

 พ่อคำ อินต๊ะแดง ลูกหลานชาวไทยลื้อผู้เฒ่าวัยชราอายุ  89 ปี :2550  "เมื่อครั้งท่านยังเด็กและได้บรรพชาเป็นสามเณร(พ.ศ.2473 อายุ 11 ปี)จำพรรษาที่วัดออนหลวยแห่งนี้ เห็นช่างไม้ชาวไทยลื้อกับช่างปูนชาวพม่า หลายคนช่วยกันก่อสร้างวิหารและหอธรรมเพื่อเก็บรักษาพระไตรปิฏก(ธรรมใบลานและปั๊บกระดาษสา)ไว้ให้พระภิกษุ สามเณรได้ค้นคว้า ศึกษา  เล่าเรียน และนำมาเล่า อ่าน สั่งสอน คณะศรัทธาสาธุชน พุทธศาสนิกชน" พ่อคำเล่าต่อว่า "คนไทยลื้อเป็นช่างไม้  แกะสลักตกแต่งหอธรรมชั้นบนได้สวยงามมาก แต่ปั้นปูนไม่เป็น จึงจ้างช่างพม่ามาปั้นปูนและก่อสร้างหอธรรมชั้นล่าง  และปั้นสิงห์หน้าวัดอีก"  เวลาล่วงมานานเกือบร้อยปี ทำให้หอธรรมชำรุดทรุดโทรมมาก งานปูนเสื่อมสภาพ งานไม้ผุพัง สภาพงานแกะสลักหน้าบรรณยังคงสภาพสมบูรณ์ สวยงาม เข้มขลัง จำเป็นต้องทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ให้แข็งแรงมั่นคง  เพื่อให้เยาวชน พุทธศาสนิกชน และผู้สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ถึงงานศิลป์ และสถาปัตยกรรมอันล้ำค่าแห่งนี้สืบไป    ดังนั้น พระปฏิวัติ ปัญญาวัฒฑโน  รักษาการเจ้าอาวาสวัดออนหลวย   คณะกรรมการวัดและคณะศรัทธาวัดออนหลวยได้ประชุมปรึกษาหารือตกลงบูรณะปฏิสังขรไห้มั่นคง จึงได้ขออนุมัติเพื่อดำเนินการต่อเจ้าคณะตำบลออนเหนือ-สหกรณ์ เจ้าคณะอำเภอสันกำแพง-แม่ออน เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ตามลำดับชั้น  และได้รับอนุมัติตามที่ขอฯ  ด้วยบุญญาธิการและอำนาจแห่งกุศลจิตอันแรงกล้าทำให้ทุกฝ่ายปลื้มปิติ โสมนัส  เป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเมตตาจิตจากผู้ใจบุญ คือคุณนิพนธิ์   คุณบุบผา นิ่มพงศ์ศักดิ์ สองสามีภรรยา และบรรดาญาติธรรม  กัลญาณมิตร ทั้งในกรุงเทพมหานคร ต่างประเทศ  ต่างจังหวัดและในจังหวัดเชียงใหม่  รับเป็นผู้จัดหาทุนทรัพย์มาดำเนินการโดยการทอดกฐินและทอดผ้าป่า ได้ทุนทรัพย์จ้างเหมา เป็นเงิน 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน) โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 9 ตุลาคม 2549  จนกระทั่งให้แล้วเสร็จตามสัญญาจ้างเหมา โดยมีนายบุญยืน ปัญญาละ กำนันตำบลออนเหนือ เป็นผู้ทำนิติกรรมแทนคณะศรัทธาสาธุชนวัดออนหลวย กับนายช่างผู้รับเหมาครั้งนี้ คือ นายเกรียงศักดิ์ ปลอดโปร่ง

โบราณสถานและสถาปัตยกรรมอันล้ำค่าที่ชาวไทยลื้อออนหลวย หวงแหนแห่งนี้  ตั้งอยู่เลขที่ 37 หมู่ 6 บ้านออนหลวย ต.ออนเหนือ  อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ 50130 

หมายเลขบันทึก: 109602เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2007 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีเจ้า...กลุ่มรุ่งอรุณ ต้องหาโอกาสไปเยี่ยมชมให้ได้..แหล่งความรู้อยู่ไกล้แค่นี้เอง...ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีเจ้า..กลุ่มรุ่งอรุณต้องหาโอกาสไปเยี่ยมชมให้ได้ในเร็ววันนี้....หอพระไตรปิฎกแห่งแคว้นเมืองออน

มยุราเองเจ้าค่ะ.

    ดีใจ๋ยิ่งแล้ว  แขกแก้ว มาเฮือน   ยินดีต้อนรับกลุ่มรุ่งอรุณ  ดอยสะเก็ดครับ

คนเฒ่าบ่าเก่าเปิ้ลเล่าเรื่องบ่าเก่า ชั่งสุขใจยิ่งนักเพราะมีประวัติความเป็นมาบ้านเมืองที่น่าศึกษา....แต่ปัจจุบันถึงอนาคตเราจะเล่าเรื่องอะไรให้ลูกหลานฟังหนอ..(มีแต่การบ้านการเมืองที่ปั่นป่วน...กลัวแต่ประเทศไทยจะกลายเป็น"แคว้น............")

กลุ่มร้องวัวแดง 1

  ขอขอบคุณที่ให้ข้อคิด ติ ชม ท่านได้ตั้งกระทู้เปิดประเด็นใหม่โดยอาศัยแนวคิดของคนโบราณ..ก็น่าคิดนะ...ผมคงตอบไม่ได้ ดั่งใจ..แต่ถ้าอาศัยภูมิปัญญา และรากเหง้า เดิม ๆของชาติพันธุ์ของเราแล้ว ก็ตรงแนวปรัชญาเศรฐกิจพอเพียง ดี ๆ

จริงๆแล้วควรเรียกไตลื้อครับ

ไตลื้อเป็นชนชาติไต-สิบสองพันนาอยู่ตอนใต้สุดของมณฑลยูนาน เป็นชนชาติไตที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในสิบสองปันนา คิดเป็น ๑ใน๓ ของประชากรทั้งหมด

อ้างอิงโดย...ทองแถม นาถจำนง

ขอขอบคุณมาก..คุณ chainung..

ในอดีต..หลายร้อยปีที่ผ่านมาความหมาย ไตลื้อ คือเผ่าพันธ์ที่ไม่ได้เปลี่ยนสัญชาติ หรือมีเชื้อชาติไทย

บล๊อกนี้  ไทยลื้อ หมายถึงไทยลื้อ ที่อยู่ในประเทศไทย โดยเฉพาะ ที่ อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ครับ

ความรู้ใหม่ ที่น่าสนใจครับ

คุณภาวะจิตร

นี่เป็นความรู้เก่า ๆ ที่เป็นประวัติของวัดออนหลวย(มิ่งแก้ว)แต่ไม่มีใครนำมานำเสนอให้สาธารณชนรู้ ก็เลยคิดว่าใหม่ ไงๆ ก็ขอเล่าต่อ ๆ กันๆปด้วย เพื่อเป็นจุดขายให้ใครต่อใครทราบมาก ๆ จะได้บุญกุศลยิ่งครับ

ควรจะมีรูปภาพประกอบให้ดูด้วย

อยากเห็นรูปภาพ เชิญที่ ไฟล์อัลบัมครับ

ข้อมูลน่าสนใจ ได้มีโอกาสเห็นของจริงแล้ว สวยงามจริง ๆ ค่ะ

อ้อย พช.

ควรจะเรียกว่าสถานที่และวัดมากกว่า ไม่ใช่"ของ"ครับ

ขอบคุณมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท