โก๊ะจิจัง แซ่เฮ
เด็กเสียงเหน่อ จิราภรณ์ โก๊ะจิจัง แซ่เฮ กาญจนสุพรรณ

ก็หนูเขิน...นี่ค่ะ ~_~


วันจันทร์ต้องรายงานเรื่องขันธ์๕แล้ว......ทำไงดีเนี่ยเรา....เขินอ๊ะ ^_^

            เรียนอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนๆทุกคน...(ว้า..เขินอีกและ เอาใหม่อีกครั้ง)  เรียนอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนๆที่น่ารักทุกคน ดิฉันเป็นตัวแทนของกลุ่ม จะมาอธิบายเกี่ยวกับขันธ์ ๕ ....(อุ้ย!! ลืมเนื้อหาหมดและ ....ใจมันเต้น ตึกๆๆๆๆๆ)...............แหะๆๆๆ ลองเอามาซ้อม เตรียมพร้อมการรายงานให้ได้ฟังกันค่ะ  วันจันทร์นี้หนูต้องรายงาน ขันธ์ ๕ หน้าชั้นเรียนแล้ว  แบบว่า มันเขินอะค่ะ เลยซ้อมดูก่อน .....

                เรามารู้เกี่ยวกับขันธ์ ๕ กันสักหน่อยดีกว่านะค่ะ  ....ถือซะว่า หนูทบทวนเนื้อหา ก่อนที่หนูจะนำไปรายงานแล้วกันค่ะ .....จะเขินดีไหมเนี่ย...คิคิ

             ขันธ์ ๕    ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา มนุษย์มีองค์ประกอบ ๕ อย่าง เรียกว่า ขันธ์ ๕  มีดังนี้

                 ๑. รูปขันธ์ หรือ รูป คือ  ส่วนที่เป็นร่างกายของมนุษย์

                 ๒. เวทนาขันธ์ หรือ เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นแล้ว เมื่อมนุษย์รับรู้สิ่งต่างๆความรู้สึกนี้มี ๓ อย่าง คือ ชอบหรือเป็นสุข ไม่ชอบหรือเป็นทุกข์ และเฉยๆ เช่น กินขนมหวานเข้าไปแล้วชอบ  รู้สึกอร่อย  กินบอระเพ็ดเข้าไปแล้วไม่ชอบเพราะขม

                  ๓. สัญญาขันธ์ หรือ สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้

                  ๔. สังขารขันธ์ หรือ สังขาร คือ การปรุงแต่งให้คิดดี หรือไม่ดี หรือเป็นกลาง ไม่ดี ไม่ชั่ว

                  ๕. วิญญาณขันธ์ หรือ วิญญาณ คือ การรู้แจ้ง เช่น รู้ว่านี่เปรี้ยว  นี่หวาน นี่เย็น นี่ร้อน  วิญญาณมี ๖ อย่างดังนี้

  •  เมื่อตาเห็นรูป                 เกิด จักขุวิญญาณ
  •  เมื่อหูได้ยินเสียง            เกิด  โสตวิญญาณ
  •  เมื่อจมูกได้กลิ่น             เกิด  ฆานวิญญาณ
  •  เมื่อลิ้นรู้รส                     เกิด  ชิวหาวิญญาณ
  •  เมื่อกายรู้โผฏฐัพพะ       เกิด  กายวิญญาณ
  •  เมื่อใจรู้ธรรมารมณ์        เกิด  มโนวิญญาณ

 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้ง ๖ นี้ เรียกว่า อายตนะภายใน ซึ่งเป็นประตูที่ทำให้มนุษย์รับรู้โลกภายนอก

      รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะและ ธรรมารมณ์ทั้ง ๖ นี้ เรียกว่า อายตนะภายนอก 

          คำว่า วิญญาณ ที่ใช้ในภาษาไทยทั่วไปนั้น มีความหมายไม่ตรงกับทางพระพุทธศาสนา  ความหมายที่ใช้กันทั่วไปนั้น คือ สิ่งจีรังยั่งยืน ที่สิงสถิตอยู่ในร่างกายคน  แต่ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง การรับรู้ที่เกิดขึ้นจากประตูทั้ง ๖ ไม่จีรังยั่งยืน  เกิดแล้วดับ

    กลุ่มของพวกเราขอจบการรายงานเพียงเท่านี้ค่ะ ขอบคุณค่ะ....ยังไม่หายเขินเลยอะ  ....นี่เรารายงานได้ดีหรือเปล่าเนี่ย...( ซ้อมนิดหน่อย)

            ไหนๆก็หยิบยกเรื่องขันธ์ ๕ มาแล้ว  ทุกท่านลองนำหลัก ขันธ์ ๕ ไปใช้กันนะค่ะ    แล้วชีวิตของท่านจะมีความสุขค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #ขันธ์ ๕
หมายเลขบันทึก: 109447เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2007 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับ  น้องจิ

  • มานั่งฟังการซ้อมรายงานของนักเรียนคนเก่ง
  • และอดที่จะปรบมือให้ไม่ได้ ... เยี่ยมมากครับ
  • สมัยที่เรียนมัธยมผมเป็นคนที่ชอบเรียนพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก
  • สอบได้เกือบเต็มแทบทุกครั้ง
  • น่นอาจจะเป็นเพราะเคยเป็นเด็กวัดมาก่อนก็เป็นได้
  • ....
  • เช่นเคยครับ ... เป็นกำลังใจให้เสมอ
ขอบคุณค่ะ คุณครูแผ่นดิน...ถิ่นสยาม (เติมต่อให้อีก) เอิ๊กๆๆ........เดี๋ยวพรุ่งนี้หนูต้องรายงานแล้วค่ะ  ก็ยังตื่นเต้นไม่หายเลย  แม้นจะมีประสบการณ์ในการรายงานมาแล้ว แต่ตอนรายงานก็ตื่นเต้นทุกครั้ง ขอบคุณนะค่ะ ที่แวะมาฟังหนูซ้อมการรายงาน.......^_^

สวัสดีจ้ะ

  • โอ๊ะโอ่ มาด้วยหลักขันธ์ 5 เลยน้องนู๋ จะพยายามนำไปใช้นะจ้ะ  
ตามมาขอบคุณ พี่ศิรินทิพย์ในบล๊อคนี้ต่อ   ....หลักธรรมในข้อนี้ เป็นหลักทีดีทีเดียวค่ะ  ถ้านำไปใช้ รับรองได้เลยว่า  พี่ปลงได้อย่างแน่นอนค่ะ -------->น้องจิ ^_^
  • เดี๋ยวผมไปขันก่อน โอ เสียงไม่ดีเลย ต้องไปกินมะนาวกับน้ำผึ้งก่อน
  • สวัสดีครับ
  • ขันธ์ ๕ แยกออกเป็น ๒ คือ รูปและนาม (รูปขันธ์และนามขันธ์) รูปประกอบมาจากธาตุ ๔ คือ ธาตุดิน มีธรรมชาติเข้นแข็ง ได้แก่ เนื้อหนัง กระดูก เป็นต้น ธาตุน้ำ มีธรรมชาติเอิบอาบ ได้แก่ น้ำตา น้ำมูก น้ำลาย น้ำหนอง น้ำเหลือง (ล้วนน่ากินทั้งนั้น) เป็นต้น ธาตุลม ได้แก่ลมในช่องท้อง ลมในกระเพาะ ลมระหว่างขุมขน เป็นต้น ธาตุไฟ ได้แก่ อุณหภูมิภายในร่างกาย นอกจากธาตุนี้แล้ว ยังมีส่วนที่อาศัยรูปอีก เรียกว่า อุปายทายรูป ส่วนนามนั้นได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สรุปว่า เมื่ออายตนะภายในอายตนะภายนอกกระทบกัน ทำให้เกิดวิญญาณ เช่น รูปกระทบตา หรือตาสัมผัสรูป เรียกว่า จักษุวิญญาณ ฯลฯ
  • พอหรือยัง ถ้ายังไม่พอเดี๋ยวจัดการให้ HAHA

จ๊ะเอ๋!! ครูนมินทร์......ไม่น่าเชื่อเลยว่า ครูนมินทร์เก่งทางพระพุทธศาสนาอีกด้วย.....หนูรายงานและสอบไปเรียบร้อยแล้วค่ะ .......ครูเก่งมากๆค่ะ ขอนับถือจริงๆ ขอบคุณค่ะ----------> น้องจิ ^_^  

           พึ่งรู้นะเนี่ยว่า  นอกจากเล่านิทานเก่งแล้ว....ยังรู้เรื่องหลักธรรมมากมายเลยทีเดียว

  • ถ้ามีนักเรียนนักศึกษาอย่างนี้สักห้องละ ๑๐ คน ผมว่าอาจารย์และครูหลายๆ คนคงหายเหนื่อยกันแน่นอนเลย
  • ทำไงดีนะ เด็กๆ จึงจะมุ่งมั่น สนุกกับการเรียนรู้เช่นนี้บ้าง
ครูนมินทร์ค่ะ...........สมัยนี้นักเรียนเห็นใจครูค่ะ ไม่อยากให้ครูเหนื่อย เวลาตรวจข้อสอบ ...ไม่ต้องมานั่งเช็คว่าข้อนี้ถูกหรือผิด  ปล่อยโล่งให้ครูตรวจง่ายๆ 555555++++ จะได้ใส่ 0  ตัวใหญ่ๆ กินไข่ไปเลย คิคิ.................ขอบคุณค่ะ -------------> น้องจิ ^_^
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท