ครอบครัวคุณภาพควรมีคุณลักษณะอย่างไร


ครอบครัวมีความสำคัญในฐานะที่เป็นสถาบันพื้นฐานแรกที่สุดและเก่าแก่ที่สุดที่ทำหน้าที่หล่อหลอมและอบรมเลี้ยงดูแก่สมาชิกใหม่ซึ่งในที่นี้หมายถึงทารกและเด็ก คุณภาพของครอบครัวมักจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพของสมาชิกด้วย แม้ว่าปัจจุบันมีความยากลำบากในการให้ความหมายของคำว่า"ครอบครัว"

เนื่องจากสังคมมีความสลับซับซ้อนขึ้นและมีการยอมรับ "การเป็นครอบครัว" ในลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิมซึ่งมีอยู่เพียง 2 ลักษณะที่ชัดเจนคือครอบครัวเดี่ยวซึ่งประกอบด้วยพ่อแม่ลูกและครอบครัวขยายที่มีนอกจากจะมีพ่อแม่ลูกแล้วยังมี ปู่ ย่า ตา ยายและญาติคนอื่นๆอาศัยร่วมอยู่ด้วย

นอกจากนี้นายแพทย์ มล.สมชาย จักรพันธ์ จากกรมสุขภาพจิตได้กล่าวถึงระบบครอบครัวใหม่ (new family )ว่าครอบครัวอาจเกิดขึ้นได้จากความผูกพัน ความไว้วางใจ ความเห็นอกเห็นใจและความต้องการที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันกลายเป็นลักษณะครอบครัวทางสังคม( social family ) เช่นการสาบานเป็นพี่น้องกัน เป็นต้น


อย่างไรก็ตามก็ได้มีการให้ความหมายไว้กว้างๆว่า ครอบครัวคือ กลุ่มบุคคลที่มีความผูกพันกันทางอารมณ์และจิตใจในการดำเนินชีวิตร่วมกันรวมทั้งการพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจ สังคมและมีความสัมพันธ์กันทางกฎหมายหรือทางสายโลหิต โดยครอบครัวบางครอบครัวอาจจะมีลักษณะที่เป็นข้อยกเว้นบางประการก็ได้


แม้ว่าครอบครัวจะมีลักษณะและความหมายที่แปลกและแตกต่างไปจากเดิมหาได้บั่นทอนให้คุณค่าหรือความสำคัญของครอบครัวในความหมายที่เป็นแหล่งเพาะบ่มและฟูกฟักสมาชิกใหม่ ให้เติบโตเป็นสมาชิกของสังคมที่มีความสมบรูณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์และสติปัญญาไม่ ในทางกลับกันยิ่งสังคมกว้างใหญ่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเพียงใดมนุษย์กลับยิ่งต้องทำความเข้าใจกับรากเหง้าของชีวิต


ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัว คณะอนุกรรมการพัฒนาครอบครัว และแก้ไขความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ(กสส.)สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จึงได้กำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครอบครัวไทยขึ้นดังนี้

  • สมาชิกทุกคนในครอบครัวมีความรักใคร่กลมเกลียว สมานฉันท์ช่วยเหลือเกื้อกูล เออาทร มีการพูดจาให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน มีการแก้ปัญหาร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
  • สมาชิกในครอบครัว มีการทำกิจกรรมร่วมกันและรู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
  • พ่อ แม่และสมาชิกในครอบครัวมีความรับผิดชอบ ประกอบอาชีพสุจริต รู้จักประหยัดและออม ร่วมกันเสริมสร้างฐานะของครอบครัวให้มั่นคง
  • พ่อ แม่ หรือหัวหน้าครอบครัว ต้องทำตนเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ทำร้ายกันและกัน อบรมเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัวให้เป็นคนดีและมีประโยชน์ต่อสังคม ปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรมของศาสนา
  • พ่อ แม่ หัวหน้าครอบครัวหรือผู้ใหญ่ในครอบครัว ถ่ายทอดการเรียนรู้และภูมิปัญญาแก่สมาชิก และส่งเสริมให้ได้รับการศึกษา มีความสนใจใฝ่รู้ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และรู้จักใช้เหตุผล
  • สมาชิกในครอบครัวมีสุขภาพดี รู้จักดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองสถานที่อยู่อาศัยให้สะอาดถูกสุขลักษณะ และเป็นระเบียบเรียบร้อย
  • สมาชิกในครอบครัวบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม มีส่วนร่วมในการทะนุบำรุง รักษาสิ่งแวดล้อม ศิลป และวัฒนธรรมไทย
  • สมาชิกปฏิบัติตนตามครรลองประชาธิปไตยในครอบครัว เคารพกฏหมายรู้จักใช้สิทธิและปฏิบัติตนส่งเสริมการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

สรวงธร นาวาผล 

หมายเลขบันทึก: 109312เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2007 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ผมรักแม่ และครอบครัว นะ คับบบ!!!

รักแม่มากๆๆคับ

หนูรักทุกคนในครอบครัวมากที่สุดๆๆๆๆ ตา พ่อ แม่ น้อง

อยากทราบวัตถุประสงค์ของครอบครัวว่าเป็นอย่างไรและมีประโยชน์อะไรบ้างและมีเป้าหมายอย่างไร

คำว่าครอบครัวมีความสำคัญมากๆๆค่ะเป็นเหมือนโลกใบหนึ่งที่โอบอุ้มความสุขและความเข้าใจกันและกันซึ่งมีพ่อและแม่คอยเป็นกำลังใจให้กับลูกๆทุกคนและอยากจะเป็นกำลังใจให้กับทุกทุกคนนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท