ชุมชนพหุทางวัฒนธรรมย่านธนบุรี (ตอนจบ)


ความหลากหลายที่อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ

ตอนที่ 3 ชุมชนอิสลาม

          เรียกได้ว่า  ทั้ง 3 ศาสนา  มีระยะเวลาในการสร้างชุมชนใกล้เคียงกัน  คือ  ช่วงสมัยกรุงธนบุรี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน  จากคำบอกเล่าของชาวชุมชนที่เก่าแก่ว่า  สมัยเริ่มแรกตั้งชุมชนใหม่ๆ  จะเกิดความขัดแย้งกันระหว่างคริสต์กับพุทธเป็นประจำ  ซึ่งความขัดแย้งมาจากเรื่องจิปาถะ  คือ  คนในชุมชนใกล้เคียงที่ชอบในความงดงามของสตรีชาวมุสลิม  จึงมักเข้ามาภายในชุมชนและเกี้ยวพาราสี  สร้างความไม่พอใจให้กับเจ้าของบ้านอย่างมาก  บางครั้งถึงกับต้องใช้กำลังในการตัดสิน จนกลายเป็นการทะเลาะระหว่างชุมชน  

         แต่เมื่อเวลาผ่านไป ทั้ง 3 ฝ่ายต่างรู้จักประนีประนอมและพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น  กระทั่งปี  พ.ศ.  2526  เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ  พี่น้องชาวมุสลิมซึ่งมีความชำนาญงานด้านช่างไม้  ได้เข้าช่วยเหลืออำนวยความสะดวกในการสร้างสะพานทางเดินและที่พักชั่วคราวให้กับชุมชนชาวพุทธและคริสต์  จากนั้นมา ความขัดแย้งลดลงและหมดไป  กลายเป็นความร่วมมือช่วยเหลือกันเมื่อชุมชนใดมีความเดือดร้อน

         ชุมชนวัดกัลยาณมิตร  จึงเป็นชุมชนขั้วพหุทางศาสนา  วัฒนธรรม  และวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน  แต่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติจนถึงปัจจุบัน

หญิง  สคส.

หมายเลขบันทึก: 109060เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2007 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท