พุธนี้ นั่งทำ ADLI กันค่ะ


บรรยากาศ ขำ-ขำ

              สำหรับ " Coffee   talk "  พุธนี้ ของชาวสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกะเปอร์ คือการ หากระบวนการในการหาคำตอบ ของข้อคำถามในหมวดที่ 1-6 เป็นแนวทางในการตอบแบบประเมินตนเอง (Self Assessment) PMQA ซึ่งหมายถึงวิธีที่องค์กรใช้เพื่อตอบสนองข้อกำหดต่างๆ ของหัวข้อในหมวด 1-6 โดย องค์กรต้องตอบจน ผู้ประเิมินเห็นภาพอย่างชัดเจนว่า  องค์กรมีวิธีการ หรือกระบวนการอะไรเพื่อรองรับคำถามที่มาตรฐานนั้นกำหนด  ปัจจัยทั้ง 4 ที่ใช้ในการประเมินกระบวนการ เรียกว่า ADLI ประกอบด้วย

Approach => วิธีการ หรือ กระบวนการที่มีความเหมาะสม และมีประสิทธิผลเวลานำไปปฏิบัติ

Deployment => การนำ แนวทาง ดังกล่าวมาสู่การปฏิบัติิิอย่างไร สามารถปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอ  และครอบคลุมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในองค์กรหรือไม่   มีความแตกต่างหรือ Gap ในการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานต่างๆในองค์กรหรือไม่  

Learning =>  เป็นการที่หน่วยงานภายในองค์กรมีการเรียนรู้ อย่างไร มีการใช้ข้อมูลจริงหรือไม่    มีการเรียนรู้อย่างเป็นระบบหรือไม่  และระดับของการเรียนรู้นั้น ถึงขั้นของการเรียนรู้ในระดับองค์กรหรือไม่  ถ้าเป็นการเรียนรู้ในระดับองค์กรแล้ว  หน่วยงานส่วนใหญ่เรียนรู้จนสามารถสร้่างนวัตกรรมได้อย่างสม่ำเสมอหรือไม่

Integration => การบูรณาการงานอย่างไร  ต่างคนต่างทำ่หรือทำงานร่วมกันอย่างบูรณากร ทิศทางหรือเป้าหมายของหน่วยงานสอดคล้องกับทิศทางหรือเป้าหมายขององค์กรหรือไม่

 บรรยากาศการทำ ADLI 

              ในการเขียนแบบประเมินตนเอง  หรือการจัดระบบงานที่มองทั้ง 4 มิติ ทั้ง Approach , Deployment , Learning , Integration จะทำให้สามารถมองภาพรวมและมีการบูรณาการ อย่างครบวงจร

               โดยการตอบคำถามคร้งนี้ มีผู้ปฏิบัติงานในองค์กร ที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม (หรือเรียนรู้แนวทางการการตอบ) แต่ทุกคนก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วม ในการค้นหาคำตอบของการประเมินตนเองที่สามารถมองเห็นถึงภาพรวมขององค์กรอย่างแท้จริง

มีแซว กันแบบ ขำ-ขำ ว่า " เรื่องทำแอ๊ด-ลี น้องเปิ้ลถนัด" -----> แอ๊ดลี /  อีแร๊ดดดด  อิอิ (อ้าว!!! เวงกำ)

 

 

คำสำคัญ (Tags): #pmqa คปสอ.กะเปอร์
หมายเลขบันทึก: 108794เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2007 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับคุณอรุฎา

ผมเคยมีส่วนร่วมใน PMQA ของมหาวิทยาลัยอยู่บ้าง อยู่ในหมวดที่เท่าไหร่จำไม่ได้ แต่เกี่ยวกับการประเมินผล

จริงๆแล้วถ้าทำเพื่อการพัฒนาหน่วยงานอย่างจริงจังนั้น มีผู้รู้หลายคนบอกว่า ผมไม่ได้เกิดวันนี้วันพรุ่งนี้ ต้องดูกันเป็น 2 3 ปี จึงจะเห็นผล ของระบบคุณภาพนี้

แต่หลายครั้งเราทำเพื่อที่จะตอบคำถาม หรือมีงานส่งส่วนกลาง จึงเป็นการทำเพื่อกฏ รูปแบบ ที่มีใครกำหนดมาให้ทำ

ผมเพิ่งรู้ตัวว่า ต้องไปศึกษา ไม่ว่า TQA หรือ PMQA ซึ่งก็คล้ายกัน ต่างกันตรงที่เป็นของใครเท่านั้น สิ่งเหล่านี้ผมว่าก่อนจะเริ่มทำนั้น

  • ต้องมีหน่วยงานตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ ให้คนในหน่วยงานได้ดูก่อน
  • หลังจากนั้นให้ความรู้ และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ว่าทำไปแล้วจะได้อะไรบ้าง

ดีคะ จะได้มีทิศทางแนวการทำงานที่ไปทางเดียวกัน

ทีนี้ก็ไม่มีใครรู้มากกว่าใครหรือน้อยกว่าใครในเรื่องนี้

แอ๊ดลีนี่ไม่จริงหรอกเหรอคะเพื่อนเปิ้ล

  • สวัสดีคะ เขามาทักทาย และทำความรู้จักนะคะ
  • แอบอ่านหลายบันทึกแล้วคะ
  • งานพัฒนาคุณภาพไม่ว่าจะมาทางสายไหน  น่าจะเหมือนๆกันนะคะ  คือเราต้องรู้เรา (รู้เป้าหมาย) เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ และพัฒนา อย่างต่อเนื่อง และเชื่อมโยง จริงไหมคะ
  • ขอบคุณคะ
  • สวัสดีคะ คุณ กัมปนาท อาชา (แจ๊ค) เพื่อนอั้มและ คุณก้ามปู
  • ขอบคุณสำหรับการร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์คะ
  • เชื่อคะว่า... แนวทางการพัฒนาคุณภาพทุกงาน ปลายทางมันอยู่ที่การนำมาใช้ในกระบวนการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องนั้นเอง

สวัสดีครับ

แวะมาติดตามและเกาะติดสถานการณ์ -

หลายเรื่องที่เราลงมือทำยังคงต้องใช้เวลาอีกมากโข  รวมถึงการประสานร่วมระหว่างคนและองค์กรที่มีความหลากหลายทั้งด้านกายภาพและชีวิต

ถ้าเราไม่ถอดใจและเหนื่อยหน่ายกับระบบเหล่านี้  งานที่เราลงแรงกายและแรงใจทำนั้นก็ย่อมเติบโตและวิวัฒน์ไปสู่จุดที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

หากแต่บางครั้ง  อาจจะใช้เวลาบ้างก็แค่นั้นเอง

เช่นเคยครับ ... ผมเป็นกำลังใจให้ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท