กาพัฒนาชุมชนบ้านท่าไร่ไปสู่ความพอเพียง


การบูรณาการอาชีพสู่ชุมชนที่เข็มแข็ง

วันที่  25  มิถุนายน  2550
 เวทีที่  1.  เวทีเสวนาชุมชนบ้านท่าไร่  หมู่ที่  1  ตำบลท่าไร่  ณ  ศาลาอเนกประสงค์โรงเรียนราษฎรเจริญ  โดยได้รับการเอื้ออำนวย จากผู้อำนวยการโรงเรียนราษฎรเจริญ

    ผู้ใหญ่สำราญ  ขวัญมณี  ได้กล่าวต้อนรับสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการด้วยความชื่นชมและภูมิใจ ที่ชาวชุมชนบ้านท่าไร่ให้ความร่วมมือร่วมใจกันมาพบกันในวันนี้ประชุม เสวนาเพื่อวางแผนการขับเคลื่อนชุมชนบ้านท่าไร่ให้พัฒนาเท่าเยมกับ ชุมชนอื่น  และได้ถือโอกาสชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ  ว่า  ให้ทุกคนมาช่วย กันวางแผนการขับเคลื่อนชุมชน บ้านท่าไร่ให้ ้้พัฒนา ไปสู่ชุมชนที่  พอมี  พอกินซึ่งก็จะมีชีวิตที่อยู่ดี  มีสุข หรือเป็นชุมชน เป็นชุมชน ที่อยู่อย่าง พอเพียงตามแนวพระราชดำริของในหลวง

ดิฉันครูอาสาสมัครฯของศูนย์ศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองก็ได้นำกระบวนการ เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมความเข้มแข็งของ อย่างสมบูรณ์และยั่งยืน  ได้เกิดแนวคิดในกิจกรรมที่ทำอยู่ ในวิถีชีวิต ของชุมชนบ้านท่าไร่ โดยให


     คุณโยธิน  กาละกาญจน์ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ทำนามาตลอด  ออกมา เล่า เรื่องการทำนาที่เคยประสบความสำเร็จ  และล้มเหลว  ท่านบอกว่า ทำนาข้าวมาตั้งแต่สมัยปู่  ย่า  ตา  ยาย จนปัจจุบันก็ยังทำอยู่  เมื่อคิดย้อนหลังกลับไปสมัยก่อนต้นในการทำนาข้าวน้อยมากเมื่อหัก ลบต้นทุนในการทำก็พอจะมีผลกำไรบ้างแถบยังมีข้าวเหลือกินตลอด ปีทีเดียวซึ่งแตกต่างจากต้อนนี้มากทีเดียวการทำนาในปัจจุบันต้องลง สูงมากจึงทำในขาดทุนเกือบทุกปีและกลุ่มที่ทำนาข้าวทุกคนที่เข้าร่วม ในวันนี้ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นอย่างที่ลุงโยธิน  เล่าจริง 

  และได้ให้สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการแบ่งกลุ่มกันแลกเปลี่ยนเรียนกัน  ว่า สิ่งที่ทำอยู่ในชุมชนบ้านท่าไร่มีอะไรบ้าง  แบ่งออกได้เป็น  3  กลุ่ม
1. กลุ่มปลูกพืชผัก  2  กลุ่ม  คือ  กลุ่มบ้านท่าไร่และกลุ่มบนดอนสงวน
2. กลุ่มทำปุ๋ยชีวภาพ
ซึ่งในแต่ละกลุ่มก็ได้บอกถึง  ปัญหา  ความล้มเหลว  ความสำเร็จ  ผลประโยชน์
1. กลุ่มปลูกพืชผัก  2  กลุ่ม  คือ  กลุ่มบ้านสระยศและกลุ่มดอนสงวน นำเสนอโดย  คุณชูศรี  โอทอง ผักที่ปลูกเหมือนกันทั้ง  2  กลุ่ม แตงกาว  ถั่วพู  มะละกอ  พริกขี้หนู  ฝักเขียว  มะเขือ  แต่พื้นที่ในการใช้ปลูกแตกต่างกันเล็กน้อยโดยเฉพาะกลุ่มบ้านดอนสงวนพื้นที่เป็นท้องท่าเพราะเมื่อก่อนพื้นที่ตรงนั้นเป็นที่ลุ่ม ได้นำดินจากที่อื่นมาถมเมื่อฝนตกจะทำให้อมน้ำไว้มากจึงทำให้มีผล กระทบต่อรากของพืชผักที่ปลูกมากทีเดียวัญหาของพืชผัก ที่ปลูกของ บ้านสระยศและกลุ่มดอนสงวน    โรคต่าง ๆ  เช่น พริก ทำให้เป็นกุ้งแห้ง  มะเขือโรครากเน่า  ซึ่งจากปัญหาดัง กล่าวทำให้นำไปสู่ความล้มเหลว ในอาชีพการปลูกพืชผัก  ส่วนพืชผักที่ทำรายได้ให้กับชุมชนบ้านสระยศ และกลุ่มดอนสงวน   มีฝักเขียว  ถั่วพู  และมะละกอ ซึ่งกลุ่มปลูก พืชผัก ทั้ง 2กลุ่มบอกว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพี่สามารถ พยุงความอยู่รอดให้ กับพวกเขาตลอดมาส่วนทำนาก็เพื่อหวังว่าให้ข้าวสารกินไม่ต้องซื้อ และเลี้ยงปลา  เป็ด  ไก่ไว้กิน  เหลือจากกินขายและลดการ ใช้ปุ๋ยเคมีหันมาใช้ ปุ๋ยหมัก แทนเพื่อลดต้นทุนในการปลูกลงได้ส่วนหนึ่ง
        สรุปว่าที่นำเสนอมาข้างต้น มีทั้งลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้  และการออมอยู่ในตัวของมันปะปนอยู่แล้วค่ะ

คุณพรรษา  ดาษนิกร  พัฒนาชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลท่าไร่เพิ่มเติมเกี่ยวปัญหาโรค ต่าง  ๆที่มีผลกระทบต่อพืชว่าควรจะปรึกษากับหน่วยงาน ที่มีความ รู้ ความสามารถในเรื่องพืชผัก คือเกษตรประจำตำบลหรืออาจจะไปแลก เปลี่ยนเรียนกับกลุ่มอื่นที่เขาประสบความสำเร็จก็ได้แถบยังเสนอแนะ ให้ปรับเปลี่ยนพืชผักที่ปลูก  เช่นถั่วพลูมีโรคน้อยควรขยายพื้นที่ จะปลูก ให้มากลดพืชผักที่มีโรคมากให้เหลือน้อยลง

ส่วนคุณลุงน้าว  อดีตผู้ใหญ่ ได้เสนอแนะให้กับกลุ่มบ้านดอนสงวนที่ประสบปัญหาโรครากเน่าเนื่อง จากพื้นที่เป็นท้องท่า/ลุ่ม  บอกว่า เวลาปลูกพืชผักควรจะยกเป็นร่อง ให้สูงกว่าพื้นที่ปกติหรือยกเป็นคุกขึ้นก่อนนั้นเอง


2. กลุ่มคนรักดิน (กลุ่มป๋ยหมักชีวภาพ)  นำเสนอโดย
ที่กลุ่มคนรักดินก็ปลูกพืชผักด้วยประสบปัญหาเรื่องดินแข็งกระด่างจึง ได้จุดประกายให้เกิดแนวคิดในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพขึ้นมาเพื่อฟื้นฟูู สภาพหน้าดินให้กลับมาสมบูรณ์  และอีกประเด็นคือสามารถ สร้างราย ได้ให้กับชุมชนอีกทางหนึ่งเหลือจากใช้เองก็จะนำไปขายให้กับชุมชน อื่นส่วนประเด็นสุดสามารถลดต้นทุนในการปลูกพืชผักได้มากทีเดียว จากที่ใช้เฉพาะปุ๋ยเคมีล้วน ๆซึ่งราคาแพงมากหันมา ใช้ปุ๋ยหมัก ที่ทำ เองใช้เอง  แถบยังทำให้เงินหมุนเวียน อยู่ในชุมชนบ้านท่าไร่ อีกด้วย และพืชผักที่ ปลูกก็จะลดสารพิษจากปุ๋ยเคมีได้ในระดับหนึ่ง        ทางกลุ่มนี้ยังบอกว่าวัสดุที่นำมาทำปุ๋ยหมักเน้นวัตถุดิบที่มีอยู่ใน ชุมชน  เช่นผักกระเฉด  ผักบุ้ง  ผักตบชวา  ฯลฯ ขี้วัว  ขี้หมู  หาซื้อได้จาก ในท้องถิ่นและจะนัดสมาชิกที่ทำปุ๋ยหมักมาทำทุกวันเสาร์ ของทุกเดือน เพราะสมาชิกจะมีเวลาว่างในวันหยุดกัน เป็นส่วนใหญ่ ่และกลุ่มนี้ยัง มีแนวคิดใหม่ที่จะทำต่อไปคือทำปุ๋ยหมักน้ำ  และทำฮอร์โมน เพื่อเร่งใบ  ดอกอีกถ้าหากมีโอกาส

    ครูสุธาสินี  เลขจิตร  ครูศูนย์การเรียนชุมชนตำบลบางจากได้เพิ่มเติมเรื่องการทำบัญชีของ กลุ่มโดยเสนอแนะว่า  ถ้าทางกลุ่มนี้มีปัญหาเรื่องการ ทำบัญชี ให้ประสาน ไปยังกลุ่มปุ๋ยหมักตำลบางจาก ได้เพื่อจะได้แลก เปลี่ยน เรียนรู้ กับกลุ่มปุ๋ยหมักตำบลบางจากได้  และการสร้างเครือข่ายระหว่าง กลุ่มบางจากกับกลุ่มบ้านท่าไร่เกี่ยวกับเรื่องของวัสดุต่าง  ๆที่ใช้ทำปุ๋ย ถ้าหากทางกลุ่มบ้านท่าไร่ขาดก็สามารถไปขอซื้อจากกลุ่มบ้านบางจาก ได้

    ดิฉันให้สมาชิกทั้ง  3  กลุ่มไปทำการบ้านโยทบทวน กิจกรรม ในวิถีชีวิต ให้ทำทันทีและฝึกตั้งความคาดหวัง ในอาชีพของ ตนเอง ไว้อย่างไรและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเวทีที่  2  ตาม กำหนดการ

    ปิดเวทีการประชุมโดยคุณลุงน้าว  อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  1 ท่านได้ฝากแนวคิดไว้ว่าถ้าทุกคนในชุมชนบ้านท่าไร่อยู่อย่างพอเพียง ตามแนวคิดของในหลวงก็สมารถมีความสุขได้คือสุขแบบพอเพียงนั้นเอง  

หมายเลขบันทึก: 108582เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2007 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท