กฤตภาคเรื่องจานพระเจ้าหลุยส์


การค้นพบจานพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
จานพระเจ้าหลุยส์

สมาคมจดหมายเหตุไทย ร่วมกับหอจดหมาย เหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ ส่งนัดหมายเชิญประชุมเรื่อง หลักฐานเก่าบอกเล่าปัจจุบันฯ ระหว่างวันที่ 14-16 ตุลาคม 2547 ณ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่ ฝากให้ช่วยประชาสัมพันธ์

ความน่าสนใจของงานนี้ อยู่ที่เรื่องราวของการค้นพบจาน พระเจ้าหลุยส์ที่ 14

จานกระเบื้องมีภาพเขียนพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ใบนี้ เป็นจานรูปไข่ ความสูง 14 นิ้วครึ่ง

จานใบนี้เป็นหนึ่งในของเก่ามีค่า ที่บริษัทโซ- เทบีส์นำมาประมูลขาย จากหลักฐานที่ปรากฏในจาน เป็นของคณะทูตจากประเทศสยาม ซึ่งถูกตีความว่า จะเป็นจานที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระราชทานให้ทูตสยาม ซึ่งหมายถึงเจ้าพระยาโกษาปาน หรือไม่

หรือเป็นจานชุดเครื่องราชบรรณาการจากกษัตริย์ฝรั่งเศสถวายกษัตริย์อยุธยา

ผู้เชี่ยวชาญบริษัทประมูลในอังกฤษยืนยันว่า ได้ จานใบนี้มาจากจีน และเมื่อมีผู้สู้ราคาประมูลไปได้ในราคา 4.8 หมื่นปอนด์ หรือเกือบ 3 ล้านบาทไทย ปัจจุบัน จานพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 อยู่ในความครอบครองของพิพิธภัณฑ์คอร์นิง นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

ประวัติโกษาปาน...มีกล่าวไว้ในพระราช-พงศาวดาร ตอนหนึ่งว่า

"ฝ่ายหลวงสรศักดิ์ก็ไปเฝ้าเจ้าแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นมารดาเจ้าพระยาโกษาเหล็ก เจ้าพระยาโกษาปาน อันเป็นพระนมผู้ใหญ่ของสมเด็จพุทธเจ้าอยู่หัว"

แสดงว่า มารดาเจ้าพระยาโกษาปาน เป็นพระนมของสมเด็จพระนารายณ์

15 ปี ก่อนหน้านั้น รับราชการเป็นออกพระวิสูตร-สุนทร เมื่อมองซิเออร์ เลอเซอร์วาเลีย เดอโชมอง ทูตฝรั่งเศส มาถึงกรุงศรีอยุธยา ต้น พ.ศ.2228 ออกพระวิสูตรสุนทรออกไปรับถึงสันดอน

เดอโชมองบันทึกไว้ว่า "ครั้งแรกที่ข้าพเจ้าเห็นพระวิสูตร ข้าพเจ้าทราบได้ทันทีว่าเป็นคนมีตระกูล และเป็นคนฉลาด ข้าพเจ้าได้พูดกับเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ว่า ชายคนนี้แล สมควรที่จะเป็นราชทูตออกไปเมืองฝรั่งเศส"

และในที่สุด ออกพระวิสูตรสุนทรก็ได้เป็นราชทูตไปเมืองฝรั่งเศสจริงๆ

เดอโชมองบันทึกด้วยว่า ในคณะราชทูตนี้ มีออกหลวงกัลยาราชไมตรีเป็นอุปทูต ท่านผู้นี้เคยเป็นทูตไปประเทศจีนถึงสองครั้ง และออกหลวงขุนศรีวิศาล-วาจา อายุราวๆ 25-30 ปี เป็นตรีทูต ท่านผู้นี้เคยเป็นทูตไปเมืองโมกุล มีบิดาที่เคยเป็นทูตไปเมืองโปรตุเกส จึงนับว่าทูตคณะนี้เคยงานมาแล้ว

คณะราชทูตไทยออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2228 โดยเรือราชทูตฝรั่งเศสสองลำ ไปถึงเมืองเบรสต์ ฝรั่งเศส เมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ.2229

อยู่ในฝรั่งเศส 8 เดือน 12 วัน กลับถึงไทย เมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ.2230

เที่ยวเดินทางกลับ คณะโกษาปาน มีกองทหารฝรั่งเศส 636 นาย ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลเดฟาร์ชเดินทางมาด้วย กองทหารกองนี้ เจ้าพระยา วิชเยนทร์ให้ทำหน้าที่ประจำป้อมเมืองมะริด

ผลัดแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ปรากฏหลักฐานฮอลันดาว่า ออกพระเพทราชาใช้ให้หม่อมปาน โกษาธิบดีคนใหม่ เป็นผู้ไปเจรจาความเมืองกับนายพลเดฟาร์ช ที่เมืองบางกอก

เหล่านี้คือข้อมูลพื้นฐาน เจ้าพระยาโกษาปาน กับบทบาททางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับฝรั่งเศส

จะมีส่วนเชื่อมโยงไปถึงจานพระเจ้า หลุยส์ที่ 14 ที่ถูกนำออกมาประมูลขายใบละ 3 ล้าน มากน้อยแค่ไหน อย่างไร อาจารย์ที่ฝากข่าวบอกว่า รายละเอียดหาอ่านได้ในจดหมาย ข่าวสมาคมจดหมายเหตุไทย ฉบับเดือนตุลาคม.

"บาราย"

------------------------------------
แหล่งข้อมูล/เว็บที่เกี่ยวข้อง:
ไทยรัฐ
www.thairath.co.th/thairath1/2547/column/bible/sep/12_9_47.php.htm
คำสำคัญ (Tags): #พระนารายณ์
หมายเลขบันทึก: 108253เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2007 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ...อ่านแล้วเพลินม้าก มากเลยค่ะ  (รูปที่ตกแต่งบล็อกเหมือนของหนึ่งเลยค่ะ ใจตรงกันเลย..)

ขอบคุณมากค่ะน้องหนึ่งที่แวะมาเยี่ยมชมและให้ข้อเสนอแนะ ...พอเห็นบล็อกสวยเก๋ของน้อง พี่คิดเลยว่าทำยังไงบล็อกเราจะได้มีสีสันอย่างนั้นบ้าง จะบอกว่าเว็บบล็อกของน้องหนึ่งก็เป็นแรงบันดาลใจให้พี่ต้องไปขวนขวายหา Theme ฟ้าหลังฝนมาตกแต่งทันทีเลยค่ะ...มีเวลาเมื่อไรจะเข้ามาแชร์ความรู้สะสมที่ได้อ่านเฉพาะทางด้านวิชาการนี้อีกค่ะ

เข้ามาร่วมjam ด้วยคนนะคะ

พี่เฉ่งมีรูปจานพระเจ้าหลุยส์ไหมคะ อย่าเห็นภาพคะ

ขอบคุณคะ...น้องเม OD

ขอบคุณค่ะน้องเมย์ที่แวะมา jam แล้วจะพยายามขุดหาภาพจานพระเจ้าหลุยส์มาให้ดูน่ะค่ะ

ทำไมต้องขุดด้วยละคะ  รอชมอยู่เหมือนกันน้า

มีเอกสารดอกเฟื่องฟ้า บ่ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท