ยุทธจักร..บทที่ 9 ความยั่งยืน


ยุทธจักร.. ความยั่งยืนน่านน้ำสีคราม บท 9

                  ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จมักหนีไม่พ้น และแล้วทุกคนก็มาถึงบทที่ 9 ความยั่งยืนและการสร้างกลยุทธน่านน้ำสีครามขึ้นมาใหม่ อ่านกันให้สนุกนะคะ

บทที่ 9   ความยั่งยืนและการสร้างกลยุทธ์น่านน้ำสีครามขึ้นมาใหม่                                  

           ลยุทธ์น่านน้ำสีคราม ไม่มุ่งเน้นที่จะตอบสนองต่ออุปสงค์ที่มีอยู่  แต่จะเน้นในการสร้างความต้องการหรืออุปสงค์ขึ้นมาใหม่ (Demand Creation) โดยไม่สนใจและให้ความสำคัญกับคู่แข่งเดิมๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรม เป็นการสร้างความต้องการของลูกค้า  และอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นมา  ก่อให้เกิดประโยชน์หรือคุณค่าทั้งต่อองค์กรเองและลูกค้า  ก่อให้เกิดประโยชน์หรือคุณค่าทั้งต่อองค์กรเองและลูกค้า  โดยลูกค้าก็จะได้รับคุณค่าที่ก่อให้เกิดความแตกต่าง ในขณะที่องค์กรก็จะลดต้นทุนในส่วนที่ไม่จำเป็น  และนำไปสู่การเติบโตขององค์กร การสร้างน่านน้ำสีครามนั้นไม่ใช่ความสำเร็จที่ยั่งยืนเมื่อสามารถสร้างมาได้ไม่ช้าผู้เลียนแบบก็จะปรากฎตัวดังนั้นบริษัทควรเน้นที่ความยั่งยืนและการสร้างน่านน้ำสีครามใหม่ สำหรับกลยุทธ์น่านน้ำสีครามนั้นก็มีอุปสรรคต่อการเลียนแบบได้ระดับหนึ่งคือ                                                            

1.การคิดริเริ่มเชิงคุณค่าที่ดูไม่เข้าท่า                                                                                                       

2.กลยุทธ์น่านน้ำสีครามอาจขัดแย้งกับภาพลักษณ์แบรนด์ของบริษัทอื่น                                                              

  3.การครองตลาดแต่เพียงผู้เดียวโดยธรรมชาติ                                                                                                                                        

  4.สิทธิบัตรหรือการได้รับอนุญาตทางกฎหมายปิดกั้นการเลียนแบบ                                                                                                      

  5.การสร้างเครือข่ายกับภายนอกทำให้เลียนแบบยาก                                                                                                                               

  6.การเลียนแบบมักต้องมีการเปลี่ยนแปลงหลักๆทางด้านการเมืองการปฏิบัติการและวัฒนธรรม                                                     

      7.บริษัทที่คิดริเริ่มอย่างมีคุณค่าได้เสียงกระหึ่มและความซื่อสัตย์ของลูกค้าเดิมทำให้คู่แข่งยากที่จำเลียนแบบ  หลักการของ กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม พยายามหักล้างแนวคิดทางด้านกลยุทธ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยเสนอว่า แทนที่จะมุ่งลอกเลียนแบบและเอาชนะคู่แข่งขัน ถ้าองค์กรต้องการที่จะเติบโตจริงๆ จะต้องแสวงหาทะเลแห่งใหม่ แทนที่จะเป็นทะเลที่แดงด้วยเลือดแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเขาก็อุปมาเหมือนกับเป็นน่านน้ำสีคราม( Blue Ocean Strategy )โดยมีแนวทางในการวิเคราะห์อยู่สี่ข้อได้แก่   

1.การยกเลิก (Eliminated) ของบางอย่างที่เราเคยคิดว่า ลูกค้าต้องการ แต่จริงๆ แล้ว ในปัจจุบันลูกค้า อาจจะไม่มีความต้องการเลยก็ได้                                                                                                                                                                                        

 2.การลด (Reduced) การนำเสนอคุณค่าบางอย่างให้ต่ำกว่าอุตสาหกรรม ซึ่งเราอาจจะเคยคิดว่าคุณค่านั้นๆลูกค้ามีความต้องการมากแต่จริงๆอาจจะไม่มากอย่างที่เราคิด                                                                                                                                                       

 3.การเพิ่ม(Raised)ปัจจัยบางอย่างให้สูงกว่าระดับอุตสาหกรรม                                                                                                                

4.การสร้าง (Created) คุณค่าบางประการที่ไม่เคยมีการนำเสนอ ในอุตสาหกรรมมาก่อน       

                ตัวอย่าง ที่ใช้และเห็นภาพอย่างชัดเจนคือ เครื่องสำอาง Body Shop ซึ่งในช่วงแรกๆ ที่ออกมาผู้อ่านคงจำได้ถึงกระแสความตื่นตัว และตื่นเต้นไปกับแนวคิดของ Body Shop นะครับ รวมทั้งความสำเร็จ เนื่องจาก Body Shop ได้ใช้กลยุทธ์ Blue Ocean ในการขายเครื่องสำอางของตนเอง นั้นคือแทนที่จะมุ่งเน้นทำเหมือนคู่แข่งขันรายเดิมๆ ที่อยู่ในธุรกิจเครื่องสำอาง ไม่ว่าจะเป็นการเน้นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม หรือการสร้างภาพลักษณ์ของเทคโนโลยีชั้นสูง หรือการใช้ดาราหรือนางแบบชื่อดังมาโฆษณา หรือการตั้งราคาที่สูงสิ่งที่ Body Shop นำเสนอคือคุณค่าที่แตกต่างจากผู้เล่นรายอื่นๆ ในตลาดเครื่องสำอาง นั้นคือไม่เน้นในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ และหีบห่อที่สวยงาม (ลดเนื่องจากคิดว่าไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้ามองหา) ไม่เน้นเป็นผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชั้นสูง ไม่เน้นภาพลักษณ์ที่หรูหรา แต่เน้นการใช้ส่วนผสมตามธรรมชาติ และการดำรงชีวิตแบบมีสุขภาพที่สมบูรณ์ ผู้อ่านจะเห็นได้ว่า Body Shop ไม่ได้เน้นในการแข่งขันกับผู้ผลิตรายเดิมๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง แต่พยายามนำเสนอคุณค่าใหม่ๆ ให้ลูกค้า เป็นการสร้าง Blue Ocean ขึ้นมา แทนที่จะมุ่งเน้นแต่ Red Ocean แบบเดิมๆข้อคิดที่สำคัญประการหนึ่ง ก็คือเมื่อ Body Shop สร้าง Blue Ocean มาได้แล้ว ไม่ช้าไม่นาน ก็จะมีคู่แข่งที่อยากจะเข้ามาในทะเลสีฟ้านี้ด้วยเช่นกัน และเมื่อคู่แข่งเข้ามามากขึ้น และกลยุทธ์ที่ใช้ก็จะไม่หนีกัน

                                                              ขอขอบคุณผู้สรุปนะคะ

ติดตามบทในภาคผนวกคะ

 

คำสำคัญ (Tags): #ความยั่งยืน
หมายเลขบันทึก: 107862เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2007 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆนี้มากเลยค่ะ..กำลังมองหาแนวคิดกลยุทธ์น่านน้ำสีคราม (Blue Ocean) อยู่เลยค่ะ...ความรู้ที่ได้สามารถนำมาใช้ในการทำงานได้มาก ขอชื่นชมคุณส่าหรีค่ะที่นำความรู้ดีๆมาเผยแพร่ให้ผู้อื่น

จะติตามภาคผนวกต่อไปนะคะ...ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

 ขอบคุณมากๆคะ กำลังหารายงานเรื่องนี้พอดีเลย จะติดตามจนจบนะคะ

ขอบคุณสำหรับเนื้อหาคะ ดีมากๆเลย  แต่หาภาพผนวกไม่เจอคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท