ความร่วมมือในการสร้างคุณอำนวยระหว่าง BRT และกรมส่งเสริมการเกษตร


เมื่อวานเป็นวันนัดหมายคุยกันเรื่อง KM สืบเนื่องจากคราวที่แล้วที่คุยกัน ซึ่งแผนเดิมก็คือการประชุมครั้งนี้จะมีคุณทรงพลผู้เชี่ยวชาญการสร้างคุณอำนวย และคุณธุวนันท์จากกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งกำลังทำโครงการเกษตรยั่งยืนอยู่ แต่เนื่องจากคุณทรงพลติดภาระกิจอยู่ที่ต่างจังหวัดจึงไม่สามารถมาได้ แต่มีคุณธุวนันท์ และทีมงานมาประชุม ซึ่งการประชุมวันนั้นก็เป็นการพบกันระหว่างโครงการ BRT และกรมส่งเสริมการเกษตร โดยโครงการ BRT มีความต้องการที่จะจัดหลักสูตรคุณอำนวยขึ้นมาเพื่อใช้อบรมให้กับบุคคลากรที่จะต้องลงทำงานกับชุมชนในพื้นที่ และกรมส่งเสริมมีความต้องการข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ การพบกันคราวนี้จึงเหมือนเป็นการเจอกันของ 2 หน่วยงานที่มีจุดเด่นที่เป็นที่ต้องการของแต่ละฝ่าย

ฝ่ายกรมส่งเสริมได้มาพูดถึงโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่โดยกรมจะมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมฯอยู่ในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่มานานจนรู้จักพื้นที่ค่อนข้างดี เค้ามีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 64 คน อยู่คนละตำบลทั่วประเทศ คอยทำหน้าที่เป็นคุณประสาน คนเหล่านี้จะทำหน้าที่กระตุ้นให้ชาวบ้านจัดเวทีพูดคุย และทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็ฯสิ่งที่ทาง BRT ต้องการ

ในขณะเดียวกันกรมส่งเสริมการเกษตรก็กำลังให้ชาวบ้านทำ road map เกี่ยวกับ biodiversity ในพื้นที่ของตน แต่เนื่องจากที่ผ่านมามักจะทำกันแต่ในเรื่องของพื้นที่เกษตรจึงอาจจะขาดมุมมองด้าน biodiversity ดังนั้นก็หวังว่าโครงการ BRT น่าจะเป็นแหล่งข้อมูลทางด้านนี้ได้

อ.สมศักดิ์ สุขวงศ์ อยากจะให้มีการทำหลักสูตรสอนการเป็นคุณอำนวย แต่เนื่องจากไม่เคยมีหลักสูตรเหล่านี้มาก่อน และการฝึกคุณอำนวยควรที่จะเห็นสภาพ และสถานที่จริง มากกว่าที่จะมานั่งอบรมกันในห้องดังนั้นจึงได้ข้อสรุปว่า จะมีการร่วมมือกันระหว่างกรมฯ และ BRT โดยทางกรมมีเป้าหมายที่จะเปิดมุมมองด้าน biodiversity ให้เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องก่อนที่จะลงมือทำ roadmap ของพื้นที่ของเค้า ในขณะที่ BRT ต้องการเพิ่มทักษะของคุณอำนวยไปอยู่ในตัวนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะคุยกับชาวบ้านไม่รู้เรื่อง ซึ่งกรมได้เลือกพื้นที่ของ จ.ราชบุรี และ BRT เลือกพื้นที่ทองผาภูมิเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนดูงานกัน นับว่าเป็นการร่วมมือ พัฒนาหลักสูตรที่ใหม่ และน่าสนใจที่เดียว

ตอนแรกคุณธุวนันท์เลือกพื้นที่ที่จ .น่านด้วย เพราะมีชุมชนที่เข้มแข็งมาก แต่สำหรับตัวเองมีข้อสงสัยว่าถ้าเลือกพื้นที่ที่สำเร็จแล้ว และไม่มีปัญหามาเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการอบรม มันจะเหมือนเป็น idea model หรือเปล่า แบบว่าดูว่าเป็นสิ่งง่ายในการสร้างเครือข่ายชุมชน ซึ่งถ้าผู้ที่เข้ารับการอบรมกลับไปที่พื้นที่ของตนแล้วไม่สามารถทำได้ จะเป็นการบั่นทอนกำลังใจหรือไม่ แต่สิ่งเหล่านี้ก็อาจจะไม่เกิดก็ได้ อาจจะเป็นการดีที่ได้เห็นตัวแบบที่ดี ซึ่งก็เป็นการมองคนละมุมที่น่าคิดที่เดียว 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 10771เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2005 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การทำงานโดยเริ่มจากตัวอย่างที่ดี หรือ best practice นั้น เป็นเทคนิคด้านการจัดการความรู้อย่างหนึ่งค่ะ  คือต้องใช้ความคิดเชิงบวก (positive thinking)  ซึ่งในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในวงพูดคุยนั้น จะพบว่าอย่างไรก็ตามจะมีเรื่องของปัญหามาพูดคุยเสมอ  แต่ต้องไม่ลืมที่จะบอกวิธีแก้ไขด้วย  อย่างนี้จะเป็นการจัดการความรู้ที่ดีทีเดียวค่ะ

 

การทำงานโดยเริ่มจากตัวอย่างที่ดี หรือ best practice นั้น เป็นเทคนิคด้านการจัดการความรู้อย่างหนึ่งค่ะ  คือต้องใช้ความคิดเชิงบวก (positive thinking)  ซึ่งในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในวงพูดคุยนั้น จะพบว่าอย่างไรก็ตามจะมีเรื่องของปัญหามาพูดคุยเสมอ  แต่ต้องไม่ลืมที่จะบอกวิธีแก้ไขด้วย  อย่างนี้จะเป็นการจัดการความรู้ที่ดีทีเดียวค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท