ภูกระดึง


อุทยานแงชาติภูกระดึง จังหวัดเลย

                   Image

            ภูกระดึง(คลิกดูรูปภาพ)มีสัณฐานบนยอดเขาตัดเรียบ  มีพื้นที่ครอบคลุม อยู่ในท้องที่ อ. ภูกระดึง จ. เลย ประกอบด้วย ภูเขาที่มีธรรมชาติ สวยงามมาก ที่ราบยอดภูกระดึง เป็นสังคมของพืชเมืองหนาว

ลักษณะภูมิประเทศ :

                เป็นภูเขาหินทราย ที่มีพื้นที่ราบกว้างใหญ่ สลับกับเนินเตี้ยๆ ยอดภูกระดึงประกอบไปด้วย ป่าสนสลับป่าก่อ และทุ่งหญ้า มีพันธุ์ไม้ดอก ไม้ใบขึ้นอยู่ทั่วไปตามบริเวณน้ำตก ลำธาร และลานหิน

ลักษณะภูมิอากาศ :

                เย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15 องศาเซลเซียส ในฤดูหนาวอากาศ หนาวเย็นมาก จนบางครั้งอุณหภูมิลดต่ำลงถึง  0  องศาเซลเซียส    ช่วงฤดูฝนอากาศแปรปรวนบ่อยครั้ง มีหมอก และเมฆฝนลอยต่ำ ฝนตกชุก ทำให้เกิดภัยธรรมชาติบางประการเช่น ดินถล่มตามหน้าผาสูงชัน และน้ำป่าไหลรุนแรง ตามลำธารเชิงเขา

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :

                มีหลายชนิด เช่น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบเขา ป่าดิบแล้ง และป่าสนเขา มีพันธุ์ ไม้ดอกที่สวยงามออกดอกบานสะพรั่ง สลับกันไปในแต่ละฤดูกาล  เนื่องจากภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้า และลำธาร เป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ จึงมีสัตว์ป่า และนกหลายชนิด นอกจากนี้ ยังมีเต่าหายาก คือ "เต่าปูลู" หรือ "เต่าหาง" ซึ่งเป็นเต่าที่มีหางยาว อยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และลาว

การเดินทาง :

                รถยนต์  จากเส้นทางหลวงหมายเลข 201 แยกซ้ายเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 2019 บริเวณกม.ที่ 276 ประมาณ 8 กม. ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ

                รถโดยสารประจำทาง  ลงรถที่บ้านผานกเค้า จ. เลย ติดต่อรถสองแถวเข้าไปที่ทำการอุทยานฯ ที่ร้านเจ๊กิม หรือลงรถที่ แยกภูกระดึง แล้วนั่งรถสองแถวประจำทาง เข้าไปยังที่ทำการอุทยานฯ

                รถไฟ  จากสถานีขอนแก่น นั่งรถประจำทาง มาที่ผานกเค้า แล้วใช้วิธีเดียวกับการเดินทาง โดยรถโดยสารประจำทาง

                เครื่องบิน  ขึ้นเครื่องบินไปลงที่ขอนแก่น แล้วโดยสารรถต่อไปยังที่ทำการอุทยานฯ

สิ่งอำนวยความสะดวก :

                1.มีบ้านพัก สำหรับนักท่องเที่ยว จำนวน 6 หลัง ค่ายพัก 2 หลัง และเต้นท์ 300 หลัง นักท่องเที่ยว สามารถนำเต้นท์ ขึ้นไปเองได้ โดยกางเต้นท์ ในบริเวณที่กำหนดให้เท่านั้น เสียค่าธรรมเนียม คนละ 5 บาท

                2.อาหาร และเครื่องดื่ม มีบริการขาย ที่บริเวณอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ในฤดูกาลท่องเที่ยว จะมีร้านค้าหลายร้านบนยอดภู 

                3. บริการลูกหาบสำหรับแบกสัมภาระ  โดยเสียค่าลูกหาบ กก.ละ 10 บาท

                4.สำรองที่พักได้ที่กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900 โทร. 579-5734 , 579-7223 หรือที่ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ม.1 ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย 42180    ควรจองบ้านพักล่วงหน้า ประมาณ 1 เดือน

เส้นทางเดินขึ้นภูกระดึง

              การเดินทางขึ้นเขา ตามทางเดินจะมีที่พัก เป็นราวนั่ง หรือศาลา อยู่เป็นระยะ ซึ่งมีชื่อเรียกต่างกันไป บางชื่อขึ้นต้นด้วย ซำ หมายถึง บริเวณที่เป็นตาน้ำ มีนำซึมขึ้นมาจากดิน หรือมีชื่อขึ้นต้นด้วย บาง หมายถึง ที่พักระหว่างทาง เช่น ซำแฮก คือซำแรก ปางกกค่า คือต้นมะค่า ซำกกกอก คือซำต้นมะกอก เป็นต้น ระหว่างทาง อาจจะมีชาวบ้าน มาขายขนม น้ำอัดลมไปวางขาย ตามจุดพักที่เรียก ซำ หรือ บางต่างๆ บางแห่งก็มีข้าวเหนียว ส้มตำ หรือที่ซำกกโดน ซึ่งมักจะเป็นบริเวณที่ หยุดพักกินอาหารกลางวัน ก็มีก๋วยเตี๋ยว ขายด้วย แต่ในฤดูฝน ที่มีนักท่องเที่ยวน้อย อย่าหมายน้ำบ่อหน้า ว่าจะมีอาหารขายระหว่างทาง จงเตรียมไปให้พร้อมเป็นดีที่สุด เวลาที่ใช้ในการเดินทางขึ้นภูกระดึงนั้น ตามปกติ ของผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงดี ก็จะใช้เวลาประมาณ 3-4 ชม. จากเชิงเขาขึ้นไปถึงบ้านพัก ถ้าหากได้ขึ้นแต่เช้า จะมีเวลาในช่วงบ่ายเดินเที่ยวภูได้บ้าง แต่ถ้าขึ้นในเวลา ตอนบ่าย ก็อย่าให้บ่ายมากนัก เพราะถ้าไปมืดค่ำ ระหว่างทางก็จะลำบาก รวมระยะทางปีนเขา 5.4 กม. และเดินบนที่ราบ ความชันของเส้นทาง จะเริ่มชันมากขึ้น ในช่วงแรก หลังจากนั้นเป็นทางราบบ้าง เป็นเนินบ้าง ในช่วงก่อนถึงพร่านพรานแป ถ้าจะเดินไปตามทางที่ตัดซิกแซก ทำให้ไม่เหนื่อยเร็ว แต่บางคน ชอบทางลัด กลับเดินขึ้นไปตามทางชัน และไปจนช่วงสุดท้าย จากซำแคร่ถึงหลังแป ดูเหมือนจะเป็นช่วงที่ชันที่สุด ในขณะที่ทุกคนเหน็ดเหนื่อย จนจะหมดแรงเดินอยู่แล้ว พลันก็โผล่พ้นหลังแป ได้แลเห็นทิวทัศน์ท้องทุ่งที่ราบกว้าง และหมู่ดงสนที่ขึ้นแซมอยู่งดงาม ความเหนื่อยยากที่อุตส่าห์ บากบั่นขึ้นมา ก็แทบหายไปจากหลังแป ยังต้องเดินต่อไปตามทางราบอีกประมาณ 3 กม. จนถึงบริเวณบ้านพัก (ดูเส้นทางตามตาราง)

จุดพักต่างๆ

ระยะทางจากจุดที่ผ่านมา (เมตร)

ระยะทางจากเชิงภู(เมตร)

ที่ทำการเชิงภู
ปางกกค่า
ซำแฮก
ซำบอน
ซำกกกอก
พร่านพรานแป
ซำกกหว้า
ซำกกไผ่
ซำกกโดน
ซำแคร่
หลังแปร
ที่ทำการฯ บนภู

0
800
200
200
700
360
440
440
460
300
480
1,070

0
800
1,000
1,700
2,060
2,500
2,940
3,500
3,800
4,280
5,350
8,350

สถานที่ท่องเที่ยวบนภูกระดึง

น้ำตกวังกวาง

              เป็นน้ำตกที่อยู่ใกล้ที่พักมากที่สุด เพียงแต่เดินไปตามลำธารวังกวางครู่เดียวก็ถึงแล้ว ลักษณะของน้ำตกแห่งนี้เป็นหน้าผากว้าง หน้าตัด ใต้หน้าผาเว้าเข้าไปบ้าง ข้างล่างมีหมู่หินที่ถล่ม เสริมให้น้ำตกแลดูสวยงามยิ่งขึ้น 

น้ำตกเพ็ญพบใหม่

                จากน้ำตกวังกวางเดินลงไปทางซ้ายขึ้นสู่ไหล่ภูกุ่มข้าว ซึ่งเป็นเนินสูงจนไปถึงสี่แยก ซึ่งมีทางจากองค์พระพุทธรูปมาจากทางซ้าย ตรงไปเป็นทางไปสู่ป่าไผ่กว้างใหญ่ ต่อไปจะเป็นป่าทึบขึ้น ไม่นานก็ถึงน้ำตกเพ็ญพบใหม่ . . . น้ำตกเพ็ญพบใหม่ จะต้องเดินจากลานหินเหนือน้ำตกลงไป จึงจะเห็นลักษณะของแผ่นหินใหญ่ที่หักพังลงไปเกิดเป็นน้ำตกโค้งเว้าเข้ามาในฤดูหนาวเมเปิ้ลที่มีอยู่หลายต้นบริเวณนี้ จะเปลี่ยนสีใบเป็นสีดง บ้างก็ร่วงลงมาตามลำธาร และก้อนหิน เติมแต้มสีสันให้น้ำตกแห่งนี้สวยงามขึ้น 

น้ำตกโผนพบ

               ทางไปน้ำตกแห่งนี้จะไปตามทางที่กลับมาแล้ว หรือเดินต่อจากน้ำตกเพ็ญพบใหม่  โดยมีทางเดินเลาะลำธาร ไปตามป่าดงดิบ ซึ่งเดินได้สะดวกกว่า . . . . . น้ำตกโผนพบ เป็นน้ำตกค่อนข้างสูง แต่ไหลลดหลั่นลงมาตาม ชะง่อนหินเป็นชั้นๆ ในหน้าหนาว ก็จะเห็นใบเมเปิ้ลสีแดง ขึ้นแซมอยู่ตามหมู่ไม้ริมฝั่งเช่นกัน

น้ำตกเพ็ญพบ

              เมื่อเดินต่อไปตามเส้นทางที่ตัดเลียบลำธารวังกวาง จะพบลำธารอีกเส้นหนึ่งที่มาบรรจบกับลำธารวังกวาง ลำธารนั้นคือ ธารสวรรค์ ลำธารช่วงต่อไปจึงกว้างขึ้น บริเวณนี้จะมีหลุมหินธรรมชาติ ซึ่งจะเห็นได้ชัด ในหน้าแล้งที่น้ำในลำธารมีน้อยลงไป จะเป็นบริเวณที่พื้นหินยุบตังลง กลายเป็นผากว้าง เกิดเป็นน้ำตกเพ็ญพบที่สวยงาม 

น้ำตกถ้ำใหญ่

            ย้อนกลับมาเดินเลียบลำธารสวรรค์ ย้อนทางน้ำขึ้นไป ผ่านป่าทึบแล้ว ขึ้นอีกพักใหญ่ จะพบน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งเป็นน้ำตกค่อนข้างสูง ใต้หน้าผาน้ำตกมีหินเรียบอยู่ก้อนหนึ่ง เหมาะที่จะไปยืนถ่ายรูปคู่กับน้ำตกได้พอดิบพอดี จากน้ำตกถ้ำใหญ่ จะมีทางเดินออกจากป่าดงดิบขึ้นสู่ทุ่งหญ้า ก่อนจะออกจากป่าดงดิบ จะมีหมู่ก้อนหินโตๆ เป็นกลุ่มใหญ่ เรียกได้ว่าเป็นสวนหินอีกแห่งหนึ่ง ในจำนวนหลายๆ แห่งบนภูกระดึง  สวนหินเหล่านี้มีสนทราย ขึ้นแซมอยู่ตามระหว่างก้อนหิน มีกล้วยไม้

น้ำตกธารสวรรค์

              จากสวนหินขึ้นสู่ทุ่ง จะพบทางแยก หากเลี้ยวซ้ายจะกลับไปบริเวณ องค์พระพุทธรูป และที่พักได้ แต่ถ้าเลี้ยวขวา ไปสักครู่จะถึงน้ำตกธารสวรรค์ ซึ่งเกิดจากหินในลำธารแตกพังทลาย ลงไปยังเห็นเป็นหินก้อนใหญ่ที่น่าจะประกบกับตัวผานำตกได้อย่างเหมาะเจาะ . . . . . ข้ามลำธารเหนือน้ำตกไปยังฝั่งตรงข้าม จะมีการเดินต่อไปตามทุ่ง ผ่านดอนมะเขือเถื่อน ซึ่งเป็นเนินใหญ่ และเนินถัดไปคือ ดอนมน ซึ่งเป็นเนินที่มีทุ่งหญ้ากว้างขวางสวยงา

น้ำตกพระองค

              ต่อจากดอนมน จะพบลำธารพระองค์ซึ่งไหลมาจากสระอโนดาต ข้ามลำธารไปจะมีลานหินกว้างให้นั่งพักผ่อนได้ อย่างสบายใจ ตัวน้ำตกพระองค์จริงๆ นั้นอยู่ใต้น้ำลงไปอีกมากพอสมควร และไม่มีทางเดินที่สะดวก การจะไปน้ำตกแห่งนี้จึงต้องลุยน้ำไป หรือเดินตัดทุ่งเข้าไป แต่เนื่องจากบริเวณนี้  เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ทางอุทยานฯ จึงไม่ได้ตัดทางเข้าไปเพื่อรักษาถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าไว้ และเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ . . . . . น้ำตกพระองค์เป็นน้ำตกที่สูงใหญ่มากที่สุดแห่งหนึ่ง การขึ้นน้ำตกนี้ จะต้องไต่หน้าผาลงไปจากหน้าน้ำตก ซึ่งค่อนข้างจะอันตราย จึงไม่แนะนำให้ไปเที่ยว . . . . . จากลานหินริมลำธารที่กล่าวไว้ในตอนแรก จะมีทางเดินต่อไป ตามพื้นที่ลุ่มค่อนข้างแฉะ มีมอสสีเขียวสด ติดต่อกันเป็นผืนใหญ่ ประดุจพรมชั้นดี พ้นบริเวณนี้ไป จะเป็นทางขึ้นสู่เนิน ที่มีชื่อว่า สวนสวรรค์ ซึ่งเคยเป็นบริเวณที่มีกุหลาบขาวขึ้นอยู่หนาแน่น แต่ปัจจุบันล้มตายไปหมดแล้ว

น้ำตกถ้ำสอเหนือ

               จะถึงที่โล่งซึ่งมีสนเรียงราย เส้นทางจะไปบรรจบกับทาง จากสระอโนดาต และเหลี่ยมผาแดง แต่ถ้าเลี้ยวไปทางขวาจะไปถึงน้ำตกถ้ำสอเหนือ หรือถ้ำสอตอนบน บริเวณโขดหินมีร่มเงาไม้ให้นั่งพักผ่อนได้ เป็นอย่างดี ส่วนบนของน้ำตกเป็นแผ่นหินค่อนข้างเรียบ น้ำแผ่เป็นสายไหลตกหน้าผาลงไป เมื่อไต่ลงไปข้างล่างหน้าน้ำตก จะเห็นว่าแผ่นหินนี้ค่อนข้างจะบาง เพราะส่วนล่างพังทลายกลาย เป็นเวิ้ง ถ้ำกว้างสามารถเดินเข้าไปดูน้ำตกจากด้านในได

น้ำตกถ้ำสอใต้ หรือน้ำตกถ้ำสอตอนล่าง

                 อยู่ห่างกันไม่มากนัก เมื่อเลาะริมลำธารตามน้ำไป หรือจะข้ามลานหินเหนือน้ำตอนบน ไปฝั่งตรงข้าม ก็จะมีทางเดินที่สะดวกกว่า ผ่านก้อนหินโตๆ ที่เรียงรายอยู่ริมทาง จนทางเดินแคบ และมีก้อนหินใหญ่สูง ขนาบอยู่ ดูลึกลับน่ากลัว แล้วไต่บันไดลงไปหน้าน้ำตก น้ำตกถ้ำสอใต้นี้มีหน้าผาหินก้อนใหญ่ๆเต็มหน้าผา และสูงกว่าน้ำตกอื่นๆ ดูสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง . . . . . เดินย้อนกลับออกมาที่น้ำตกตอนบน จะมีทางเดินต่อไปยังถ้ำน้ำ ซึ่งมีลักษณะเป็นเพียงเพิงหินกว้างริมลำธาร เป็นจุดพักบนเส้นทางที่ยาวไกล จากน้ำตกถ้ำสอไปผาหล่มสัก 

น้ำตกขุนพอง

                ภายในเขตป่าปิดของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง มีน้ำตกสวยงามมากมายที่ซ่อนตัวอยู่ "น้ำตกขุนพอง" ก็เป็นอีกแห่งหนึ่ง ที่สร้างเสน่ห์ให้กับภูกระดึงได้อย่างมากมาย เรียกได้ว่าใครที่มาภูกระดึงแล้ว ก็ไม่ควรที่จะพลาดการยลโฉม "น้ำตกขุนพอง" ความงาม และความยิ่งใหญ่บนภูกระดึง . . . . . ระยะทางจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เดินทางเข้าสู่น้ำตกขุนพองใช้เวลาประมาณ 2 ชม. เสียงดังของสายน้ำตกมีมาแต่ไกล ก่อนที่จะได้เห็นตัวน้ำตก เราต้องปีนป่ายลงสู่หนทางเบื้องล่างอันสูงชัน น้ำตกแห่งนี้สวยงามคุ้มค่ากับระยะเวลาการเดินทาง สายน้ำลดหลั่นกันลงมาเป็นชั้นๆ จากที่สูงบวกกับสีแดงสด ของใบเมเปิ้ล ที่เพิ่มความตระการตา ให้กับน้ำตกงามกลางป่าใหญ่ได้อย่างลงตัว จึงทำให้ขุนพอง เปรียบเสมือนเพชรเม็ดงาม ในป่าปิด

ผาหล่มสัก

              เป็นหน้าผา ที่มีชื่อเสียงที่สุด ของภูกระดึง จุดที่มีความงามแปลกตา คือ จุดที่8 กม. จึงไม่ค่อยมีใคร มีโอกาสชมดวงอาทิตย์ที่นี่มากนัก แต่ถ้าได้มี โอกาสชมแล้ว ก็จะเห็นว่าคุ้มค่าต่อการ เดินทางกลับ ท่ามกลางความมืดทีเดียว . . . . . จากผาหล่มสัก มีเส้นทางตัดขึ้นเหนือ ไปบรรจบกับเส้นทาง เที่ยวน้ำตกต่างๆ ได้ แต่เป็นทางที่ตัดไป กลางทุ่ง ซึ่งมีหมู่สน ขึ้นอยู่ แลดูงดงามหลายแห่งด้วยกัน มีแผ่นหินก้อนใหญ่ ยื่นลอยออกไปจากหน้าผา มีต้นสนต้นหนึ่ง ขึ้นริมผา ใกล้ๆกันนี้ ชูกิ่งก้าน ขนานออกไปกับแผ่นหิน ผู้ที่ไปภูกระดึงแล้วหากไม่ได้ไปชม และนั่งถ่ายรูปบนก้อนหินนี้แล้วก็ออกจะเหมือนไปเสียเที่ยว เพราะลักษณะภูมิประเทศเช่นนี้ ไม่มีที่ไหนในโลกจะเหมือนได้ . . . . . ผาหล่มสักนี้ เป็นบริเวณที่ มองเห็นทัศนียภาพ กว้างขวางมาก จนสามารถมองเห็นเทือกเขาใน อ. หล่มสัก ของ จ. เพชรบูรณ์ได้ ตรงส่วนมุมด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ จึงมองออกไปได้ทั้งทิศตะวันตก และทิศใต้ จึงเป็นทำเลที่จะดูดวงอาทิตย์ตก ได้ชัดเจนที่สุดตลอดทั้งปี แต่ความที่อยู่ห่างจากที่พักกว่า

ผานกนางแอ่น

               อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 2 กม. และห่างจากหลังแป 2.5 กม. ผานกแอ่นเป็นลานหินเล็กๆ มีสนขึ้นโดดเด่นริมผาต้นหนึ่ง เป็นจุชมพระอาทิตย์ขึ้นที่งดงามยิ่ง อากาศก็สดชื่น เย็นสบายมองทิวทัศน์ เบื้องล่างซึ่งเป็นท้องทุ่ง และเทือกเขา เห็นผานกเค้าได้ชัดเจน ริมทางเดินใกล้ผานกแอ่น เป็นสวนหิน มีดอกกุหลาบป่า ขึ้นอยู่เป็นดงใหญ่ จะบานสะพรั่งเต็มต้นในเดือนมีนาคม - เมษายน 

ผาหมากดูก

                อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 2 กม. และห่างจากหลังแป ประมาณ 2 กม. เป็นจุดชมวิวอีกจุดหนึ่ง ซึ่งอยู่ใกล้พอๆ กับผานกแอ่น เรียกว่าเป็นอีกจุดหนึ่ง ซึ่งมีนักท่องเที่ยวให้ความนิยม เป็นจำนวนมาก เพราะระยะทางที่ไม่ไกลจนเกินไปนัก 

ผานาน้อย

           จุดนี้เป็นอีกจุดหนึ่ง ซึ่งสามารถบรรจุลงในโปรแกรมของท่านได้ ถ้าท่านต้องการไปเที่ยวสระแก้วก่อน หรือสระอโนดาตก่อน เพราะถ้าเลยจากผานาน้อยไปแล้ว เรียกว่าท่านจะถอยหลังก็คงจะยาก เพราะแต่ละจุดห่างกันประมาณ 2 กม. เลยที่เดียว 

ผาเหยียบเมฆ

             จากที่ทำการประมาณ 4.5 กม. ท่านจะเห็นจุดชมวิว ในช่วงที่หมอกจัดๆ นักท่องเที่ยว สามารถที่จะสัมผัส กับละอองของสายหมอก ได้ถึงตัวของหน้าผาเหยียบเมฆ 

ผาแดง

             จากที่ทำการประมาณ 4.5 กม. ผาแดงเป็นอีกเหลี่ยมเขาที่ท่านจะสามารถชมทัศนียภาพใกล้เคียง กับผาหล่มสัก ซึ่งจากผาแดงท่านต้องใช้ระยะทางกว่าอีก 2.5 กม. ถึงจะพบกับผาหล่มสัก หรือบางครั้ง  นักท่องเที่ยวก็เลือกที่จะอยู่ถ่ายรูปที่ผาแดง เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวจะน้อยกว่าผาหล่มสักมาก

การเตรียมความพร้อม

              จากประสบการณ์ที่ไปมา 2 ครั้ง จึงขอแนะนำการเตรียมตัวสำหรับท่านที่ไม่เคยเดินทางไปภูกระดึง  ดังนี้

                     1.เตรียมอาหารสำเร็จรูป เช่น  มาม่า ขนมปัง ปลากระป๋อง  กาแฟ น้ำดื่ม กับแกล้ม และอุปกรณ์ เช่น ถ้วยกาแฟ จานชาม สำหรับก่อกองไฟในยามกลางคืน ส่วนภาชนะเช่น หม้อ เตาไฟมีให้เช่า

                    2.เตรียมเสื้อผ้าประมาณ 2 – 3 ชุด    เสื้อกันหนาว   ผ้าเช็ดตัว  ถุงเท้า ถุงมือ หมวกไหมพรม  ส่วนผ้าห่ม หมอนไม่ต้องเตรียมให้หนักเพราะมีให้เช่า โดยผ้าห่มสภาพใหม่ผืนละ 40บาท/คืน   ผ้าห่มเก่าผืนละ 20บาท/คืน   หมอนใบละ 10 บาท/คืน

                   3.เตรียมรองเท้าผ้าใบที่ใส่ประจำที่ไม่กัดเท้า และเตรียมรองเท้าแตะสำหรับใส่บนภู

                   4.เตรียมไฟฉายและถ่านไฟฉาย เพราะไม่มีไฟ และต้องใช้ในการเดินทางไปดูพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก

                   5.เตรียมเครื่องใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ ยาสระผม   ครีมทาผิว ยาระงับกลิ่นตัว  ยาแก้ไข ยาคลายเส้น น้ำมันนวดขา  กล้องถ่ายรูป

                   6.เตรียมเชือกฟางสำหรับทำราวผ้า

                                  โชคดีกับการเดินทาง

หมายเลขบันทึก: 107314เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2007 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท