คิดเรื่อยเปื่อย


คิดเรื่อยเปื่อย เพื่อตอบคุณอารดา  และคุณประภาศรี

คุณอารดา  เขียนมาถามว่า “ทฤษฎีการจัดการ  มีความประณีต  พิถีพิถันกว่าทฤษฎีในสาขาฟิสิกส์  หรือจิตวิทยาหรือไม่  อย่างไร?”
ที่ขอให้ช่วยตอบด่วน  คงด่วนได้แค่นี้ละครับ

หากจัดกลุ่ม 3 ทฤษฎี  ตามคำถามจะแบ่งได้ 2 กลุ่ม  คือ  ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ (การจัดการกับจิตวิทยา)  และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์)

ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์  กับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ต่างกัน  โดยสรุปดังนี้ครับ

1.  หน่วยในการศึกษาวิเคราะห์
           -  ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์  ศึกษาคน  โดยเน้นความสัมพันธ์ของมนุษย์  มีชีวิตจิตใจ  อารมณ์  ความรู้สึก  เน้นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) มุ่งอธิบายคุณสมบัติ  ความคิดเห็น  การประพฤติปฏิบัติ
           -  ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์  ศึกษาจากสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  แม้จะศึกษาคนก็ศึกษาในฐานะที่เป็นสื่อ  เป็นสสารพลังงาน  เน้นศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Approach) มุ่งอธิบายจำนวน/การแจงนับ  ชั่ง  ตวง  วัด  หรือปริมาณที่ระบุเป็นรูปธรรม  เป็นตัวเลข
           ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์  มีความเที่ยงตรงมากกว่าสังคมศาสตร์

2.  รูปแบบทฤษฎี
           -  ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์  สร้างขึ้นเพื่อศึกษาความคิด  ความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม  ซึ่งเป็นเรื่องนามธรรม  และเป็นพลวัต  คือ  เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา  เพราะจิตใจ  พฤติกรรม  ความสัมพันธ์  ของมนุษย์สลับซับซ้อน  และมีวัฒนธรรมห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่ง
           -  ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์  สร้างขึ้นโดยการพิสูจน์  ทดลอง  ด้วยการกระทำซ้ำๆ โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ทฤษฎีมีความแน่นอนตายตัว  หากจะมีทฤษฎีใหม่เกิดขึ้นก็ต้องมีการพิสูจน์  และหักล้างทฤษฎีเก่า

3.  ผลของการนำทฤษฎีไปปฏิบัติ
          -  ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์  ทำนายผลล่วงหน้าได้ยาก  เพราะอาจมีตัวแปรแทรกซ้อน  หรือมีการจงใจเปลี่ยนกระแสการเปลี่ยนแปลง  ทำให้ผลไม่เป็นไปตามคาดหมาย
          -  ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์  ทำนายผลล่วงหน้าได้แม่นยำ  ตายตัว  หากจะมีการเปลี่ยนแปลงมักจะระบุตัวแปรแทรกซ้อนได้

4.  กรอบความคิดทฤษฎี
           -  ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์  มักอยู่ในรูปความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (correlation) มากกว่าความเป็นเหตุเป็นผล (causal) ข้อสรุปจึงเป็นการคาดการณ์  หรือความน่าจะเป็นมากกว่าความแน่นอนเด็ดขาด
           -  ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์  ศึกษาความเป็นเหตุเป็นผล (causal) นำผลการพิสูจน์  ทดลอง  มาสรุปอย่างตรงไปตรงมา  และผลนั้นควรต้องแน่นอน  ไม่เปลี่ยนแปลง  ผู้ศึกษาต้องเป็นกลางไม่มีอคติ
 

จากความแตกต่างที่ผมยกมาข้างต้น  จะเห็นว่าทั้ง 3 ทฤษฎี  มีความประณีต  พิถีพิถันเหมือนกัน  หรือหากจะเปรียบเทียบจริงๆ  อาจกล่าวได้ว่า  ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์  มีความละเอียดอ่อนที่ต้องศึกษามากกว่า  เพราะการศึกษาคนต้องไม่ลืมเรื่องอารมณ์  ความรู้สึก  ความรัก  โลภ  โกรธ  หลง  ฯลฯ  ซึ่งเป็นตัวแปรแทรกซ้อนการใช้ทฤษฎีทางสังคม  เมื่อนำไปปฏิบัติจะยากกว่าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์

หากจะย้อนไปดูจุดเริ่มต้นของการหาคำตอบ  และเอาคำตอบมากำหนดเป็นทฤษฎี  ทุกทฤษฎีมีจุดเริ่มต้นมาจากปรัชญาดังนี้

ปรัชญาตะวันตก  ที่ถือกำเนิดในประเทศกรีก  ราวๆ 600 ปีก่อนคริสตศักราช  ปัญหาที่นักคิดชาวกรีกโบราณพยายามแสวงหาคำตอบจากความประหลาดใจ  ความอยากรู้  เพื่อหาความรู้  ก็ยังคงเป็นปัญหาเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว  เช่นเดียวกับสมัยดึกดำบรรพ์

ปรัชญาตะวันออก  มีแหล่งกำเนิดต่างจากปรัชญาตะวันตก  คือเกิดจากความประจักษ์ในความชั่วร้ายในแง่ศีลธรรม  และความทุกข์ในชีวิต  จึงทำให้เกิดปัญหาว่า  ทำอย่างไรจึงจะกำจัดความชั่วร้าย  และความทุกข์ในชีวิตได้

โลกตะวันตก  จึงเป็นแหล่งกำเนิดของทฤษฎีวิทยาศาสตร์มากกว่าโลกตะวันออก
โลกตะวันออก  จึงเป็นแหล่งกำเนิดของทฤษฎีสังคมศาสตร์มากกว่าโลกตะวันตก

แถมท้าย  เรื่องคุณประภาศรี  จันสม  ที่เขียนมาถามว่า  ความเป็นจริง (Reality)  และข้อเท็จจริง (Fact)  คืออะไร?  ผมตอบไว้กว้างๆ แล้วใน คิดนอกกรอบ (2)  ที่ตอบคุณฉันทนา  กองตองกาย

ส่วนทฤษฎี (Theory) คืออะไร?
น่าจะใช้คำตอบของคุณอารดา  เป็นคำตอบได้นะครับ

คิดเรื่อยเปื่อย  เพื่อเขียนตอบคำถามบล็อกนี้  ค่อนข้างหนักคนอ่าน (แม้ผมจะพยายามย่อยแล้วก็ตาม) เพราะคำถามหนักไปทางวิชาการค่อนข้างมาก

ขอแถมนิทานชาวไทยภูเขาแล้วกันครับ

ปลัดอำเภอหนุ่มไฟแรง  บรรจุไปรับราชการที่ภาคเหนือในเขตที่มีชาวไทยภูเขา  ตรงกับช่วงที่รัฐบาลไทยมีนโยบายให้ชาวไทยภูเขาเปลี่ยนชื่อเป็นไทย

ชายชาวไทยภูเขาสามพี่น้องตระกูล “หลัก” ไปที่อำเภอเพื่อแจ้งขอเปลี่ยนชื่อพร้อมกัน

ปลัดหนุ่มทราบความต้องการก็จัดการให้ทันที  ปลัดหนุ่มถามชื่อพี่ชายคนโต  ได้รับคำตอบว่าชื่อ “หลักเซอ”

ปลัดหนุ่มตั้งชื่อใหม่ให้ทันทีชื่อ “เลอศักดิ์”  ปลัดหนุ่มถามพี่ชายคนรองบ้าง  เจ้าหนุ่มตอบชื่อ “หลักซือ”

ปลัดหนุ่มดีดนิ้ว  หวานหมู  ตั้งชื่อ “ลือศักดิ์”  ทันที

พอถึงน้องคนสุดท้อง  ปลัดหนุ่มก็ถามชื่อเหมือนที่ถามพี่สองคน  เจ้าน้องคนสุดท้องตอบว่าชื่อ “หลักฮึง”

ปลัดหนุ่มนิ่งคิดสักครู  ก็บอกว่า “เอ็งตั้งชื่อเอง  ข้าไม่ว่าง”

***************************

หมายเลขบันทึก: 107291เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2007 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
อ่านทฤษฎีเครียด มาเจอของแถมตอนจบ ลืมทฤษฎีหมดเลยค่ะ....555

อ่าน ทฤษฎี เยอะๆ มีนิทาน ตบท้ายค่อยยังชั่ว ลดความเครียดได้เยอะครับ

  • อ.ค่ะ คือว่า คนสึชุดท้องต้องชื่ออะไรอ่ะ คิดไม่ออก ค่ะ พูดได้ไหมเอ่ย จะลองพยายามนึกดูนะคะ
  • อย่างนี้คนสุดม้ายก็ยังไม่ได้ชื่อซิค่ะ
  • ทฤษฎีได้ความรู้
  • นิทานได้ผ่อนคลาย นี่แหละชีวิตเรา

สวัสดีครับ

เคยมีคนเค้าว่าสังคมศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์เชิงสังคม คือใช้ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษาสังคมของมนุษย์ อ่ะครับ

คณบดีเราเก่งจังเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท