โรงพยาบาลบ้านหมี่
โรงพยาบาลบ้านหมี่ โรงพยาบาลบ้านหมี่ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

สุขภาพผู้สูงอายุไทย


จำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุ60 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้น

          การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรวัยสูงอายุในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรโลก กล่าวคือจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุ60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้คาดประมาณแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงประชากรไทย ไว้ว่า สัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มจากร้อยละ 7.2 ในปี 2533 เป็นร้อยละ 15.3 ในปี 2563

           จากการที่จำนวนผู้สูงอายุทั้งของโลกและของประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขรวมทั้งการกระจายบริการด้านสาธารณสุข และจากนโยบายการวางแผนครอบครัวที่ส่งผลให้อัตราการเจริญพันธุ์ของประชากรลดลง จึงทำให้ประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นและมีอายุยืนยาวขึ้น

          จากสถิติของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อ 1 มกราคม 2547 พบว่า ผู้สูงอายุไทยมีจำนวนถึง 6.6 ล้านคน และมีอายุขัยเฉลี่ยยืนยาวขึ้น กลุ่มผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นนี้จะนำมาซึ่งภาวะเสี่ยงและปัญหาด้าน สุขภาพโดยเฉพาะการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เนื่องจากวัยสูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ เสื่อมลงทั้งทางด้านร่างกายจิตใจ เศรษฐกิจ และสังคม จากปัญหาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมในระบบบริการทางสังคมและสุขภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าสู่ภาวะวัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี และคงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพที่ดี

          ภาวะสุขภาพที่ดี  หมายถึง ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีเศรษฐกิจหรือปัจจัยที่จำเป็นพอเพียงมีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ มีจิตใจที่มีความสุข มีการอยู่ร่วมกันด้วยดี มีครอบครัวอบอุ่น และมีจิตสัมผัสกับสิ่งที่มีคุณค่าอันสูงส่ง เช่นการเสียสละ มีเมตตากรุณาสถานสุขภาพและปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุไทย  ดัชนีวัดภาวะสุขภาพทางกายในภาพรวม พบว่ามีแนวโน้มดีขึ้นตลอด 3 ทศวรรษที่ผ่านมา  โดยพิจารณาค่าเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดในปี พ.. 2545 คนไทยมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดเท่ากับ 69.1  ปี ถึงแม้ว่าอายุคาดเฉลี่ยของคนไทยสูงกว่าอายุคาดเฉลี่ยของประชากรประเทศกำลังพัฒนาแต่พบว่ายังด้อยกว่ากลุ่มประเทศเอเซียนหลายประเทศ

          การวัดปัญหาสุขภาพของคนไทยโดยใช้การสูญเสียปีสุขภาวะ (Disability Adjusted LifeYear : DALY ) เป็นตัวบ่งชี้พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 85.2 มีสาเหตุการสูญเสียปีสุขภาวะเนื่องจากโรคไม่ติดต่อ  ดังนั้นจึงควรมีการควบคุม ป้องกัน คัดกรองและฟื้นฟู โรคไม่ติดต่อในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งมีความจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อลดความสูญเสีย เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี

          จากรายงานการสำรวจผู้สูงอายุสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ พบว่ากลุ่มผู้สูงอายุเป็นโรคฟันผุมากกว่ากลุ่มเด็ก วัยรุ่นและวัยทำงาน และมีแนวโน้มฟันผุมากขึ้นจากร้อยละ 95.2 ในปี2527 เป็นร้อยละ 95.6 ในปี 2544 แต่การได้รับการรักษาฟันผุ ถอน อุด มีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 16.3 ในปี 2527 เป็นร้อยละ 14.4 ในปี 2544

โรคและอาการของโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหลัง รองลงมาปวดข้อ (ข้อเสื่อม) และนอนไม่หลับ เมื่อเปรียบเทียบโรคหรืออาการที่พบบ่อยในปี 2537 และปี 2545 พบว่ามีแนวโน้มลดลง นอกจากความจำเสื่อมเพิ่มจากร้อยละ27.2 ในปี 2537 เป็นร้อยละ 29.8 ในปี 2545 และยังพบว่าสัดส่วนผู้สูงอายุที่มีความจำเสื่อมเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นในกลุ่มที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนของผู้สูงอายุป่วยในทุกโรค/อาการของโรคมากกว่ากลุ่มอื่นๆ

กลุ่มอาการสมองเสื่อม เป็นปัญหาที่มีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตแก่ทั้งผู้ป่วย ผู้ดูแล และสังคมอย่างมาก ซึ่งจากการศึกษาความชุกของกลุ่มอาการสมองเสื่อมในประชากรสูงอายุไทย พบว่า ปัจจุบันมีความชุกประมาณร้อยละ 3.04 และคาดว่าในอนาคต ใน..2573 จะมีผู้สูงอายุมีปัญหาจากกลุ่มอาการสมองเสื่อมร้อยละ 3.4 ในจำนวนนี้จะเป็นผู้สูงอายุเพศหญิงมากกว่าชายประมาณ 2 เท่านอกจากนี้ ยังพบว่า ความชุกของโรค สมองเสื่อมจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่สูงขึ้น

โรคและภาวะบกพร่องของผู้สูงอายุ   จากการสำรวจคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป พ.. 2544 พบว่าโรคที่เป็นปัญหาในผู้สูงอายุที่สำคัญ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคข้อต่าง ๆ โรคหอบหืด  โรคอัมพฤกษ์ สาเหตุการตายที่สำคัญในผู้สูงอายุ พบว่า โรคที่เป็นสาเหตุการตายมากที่สุดเรียงลำดับคือ โรคหัวใจ มะเร็ง เบาหวาน ตับ ไต อัมพาต ปอดอักเสบและอุบัติเหตุจากการ ขนส่งโดยทุกโรคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็ง มีอัตราการตายเพิ่มจาก253.9 ต่อประชากร 100,000 คนใน พ.. 2534 เป็น 297.6 ต่อประชากร 100,000 คน ใน.. 2543 และลดลงเป็น 218.2 ต่อประชากร 100,000 คน ในปี 2544 เบาหวานมีอัตราการตายเพิ่มจาก 39.9 ต่อประชากร 100,000 คน ใน พ.. 2534 เป็น 88.4 ต่อประชากร 100,000 คนใน พ.. 2544 และโรคไตมีอัตราการตายเพิ่มจาก 38.3 ต่อประชากร 100,000 คน ใน พ..2534 เป็น 89.6 ต่อประชากร 100,000 คนใน พ.. 2544

          สาเหตุการตายของประชากรผู้สูงอายุต่อประชากร 100,000 คน ในปี พ. .2543 –2546 พบว่ามะเร็งทุกชนิดเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 อุบัติเหตุและการเป็นพิษเป็นสาเหตุ การตายอันดับสอง โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายอันดับ 3  

พฤติกรรมการสูบบุหรี่   พบสัดส่วนการสูบบุหรี่ลดลงจากร้อยละ 23.3 ในปี 2542 เป็นร้อยละ 21.1 ในปี 2544

การใช้บริการทางการแพทย์  จากการสำรวจพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ใช้สถานบริการของรัฐร้อยละ 87.0 ซื้อยากินเอง ร้อยละ 2.5 ทั้งนี้อาจเนื่องจากมีโครงการให้การรักษาพยาบาลฟรีแก่ผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงและใช้บริการของรัฐมากขึ้น

การออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพ  จากการสำรวจพบว่าในระหว่าง 6 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์มีผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายเพียงร้อยละ 17.7 ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 69.2 ออกกำลังกายโดยการเดิน ร้อยละ 12.8 ใช้วิธีบริหารร่างกาย และร้อยละ 8.2 ออกกำลังกายโดยการวิ่ง ที่เหลือออกกำลังกายโดยวิธีอื่นๆ ได้แก่ เล่นกีฬา แอโรบิค และไทเก๊ก ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ร้อยละ 66.9 ออกกำลังกายทุกวัน รองลงมาร้อยละ 15.0 ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และในแต่ละครั้งที่ออกกำลังกายร้อยละ 42.9 จะใช้เวลาในการออกกำลังกายประมาณ 10-20 นาที และพบว่ามีผู้สูงอายุร้อยละ 35.2 ที่ได้รับการตรวจสุขภาพในรอบปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของ ผู้สูงอายุทั้งหมด

ความต้องการการช่วยเหลือจากรัฐบาล   รัฐบาลและเอกชนได้จัดสวัสดิการและบริการต่างๆ เพื่อผู้สูงอายุ เช่น สถานสงเคราะห์คนชรา บัตรสุขภาพ บัตรประจำตัวผู้สูงอายุ การให้เบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่ยากจน และการลดหย่อนค่าโดยสารรถไฟ เป็นต้น เมื่อพิจารณาความต้องการการช่วยเหลือจากรัฐบาล พบว่า   ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ร้อยละ 82.9 ต้องการมีบัตรประจำตัวผู้สูงอายุ เพื่อใช้ในการรักษาพยาบาลฟรีร้อยละ 74.1 ต้องการเข้าร่วมโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ร้อยละ 70.4 ต้องการมีบัตรสุขภาพเพื่อลดหย่อนค่ารักษาพยาบาล ยังมีผู้สูงอายุอีกร้อยละ 24.4 ที่ต้องการพักอาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์คนชราของรัฐบาล และร้อยละ 18.4 ต้องการพักอาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์ คนชราของเอกชน

ความต้องการให้รัฐบาลจัดสวัสดิการเพิ่ม  ในเรื่องความต้องการที่จะให้รัฐบาลจัดสวัสดิการต่างๆ เพิ่มจากที่มีอยู่ พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 92.0 ต้องการให้รัฐบาลจัดสวัสดิการเพิ่มในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ โดยจัดศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุ จัดบ้านพักสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรังและต้องการให้รัฐบาลจัดหางานหรือกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย เพื่อจะได้มีงานทำ มีรายได้ ผู้สูงอายุร้อยละ 89.1 ต้องการให้มีการลดหย่อนภาษีให้กับบุคคลที่เลี้ยงดูผู้สูงอายุ เพื่อแบ่งเบาภาระของบุตรหลานที่ดูแลผู้สูงอายุ

การบริการสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นปัญหาในอนาคต  ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องในการให้บริการสุขภาพผู้สูงอายุได้แก่1. โรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นและเป็นปัญหาในอนาคตอันใกล้เมื่อคนมีอายุยืนยาว ได้แก่  ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง (อัมพาต) ไขมันในเลือดสูง สมองเสื่อม เข่าเสื่อม การหกล้ม การกลั้นปัสสาวะไม่ได้  และภาวะซึมเศร้า2. ภาวะทุพพลภาพ และภาวะพึ่งพาพบว่าผู้สูงอายุ 1 ใน 4 คน จะมีปัญหาสุขภาพที่ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้3. ระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นปัญหาเร่งด่วน ที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้เพียงพอแก่การให้บริการและสามารถรองรับปัญหาผู้สูงอายุมาตรฐานการให้บริการสุขภาพผู้สูงอายุในแต่ละระดับของสถานบริการ เช่น การจัดการคลินิกผู้สูงอายุ หอผู้ป่วยสูงอายุ และสถานบริการสุขภาพเรื้อรังมาตรฐานการให้การรักษาโรคผู้สูงอายุในแต่ละสหสาขาวิชาชีพสนับสนุนส่งเสริม การให้บริการและมาตรฐานการให้การรักษาโรคผู้สูงอายุแบบสหสาขาวิชา (แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ และนักกายภาพบำบัด)สร้างเครือข่าย/สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแล บำบัดรักษา ฟื้นฟูผู้สูงอายุ   การจัดตั้งและการพัฒนามาตรฐานการบริการสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนโดยเน้นการบริการถึงบ้าน การเชื่อมโยงหน่วยบริการสุขภาพและชุมชน /ครอบครัว ให้ครอบคลุมบริการดังต่อไปนี้- ศูนย์อเนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุ- ศูนย์ดูแลกลางวัน- บริการเยี่ยมบ้าน- บริการสุขภาพที่บ้าน- จัดตั้งระบบเฝ้าระวัง เกื้อกูล และดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชน- ส่งเสริมสนับสนุน การเรียนรู้ เพิ่มศักยภาพการดูแล / ผู้สูงอายุ / อาสาสมัคร  ความสามารถให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุและอาสาสมัครผู้ดูแล4. ขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ด้านผู้สูงอายุทุกระดับ5. สร้างระบบข้อมูลด้านสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นระบบ และทันสมัยเข้าถึงได้ง่ายรวมทั้งการวิจัย พัฒนาเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อให้วิชาการทางการแพทย์ด้านผู้สูงอายุ มีทิศทาง มีความชัดเจนและยั่งยืนต่อเนื่อง และพัฒนาการให้บริการ 

ที่มา : สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข www.agingthai.org

 

คำสำคัญ (Tags): #ผู้สูงอายุ
หมายเลขบันทึก: 107197เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2007 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 03:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ...สมุนไพรทางเลือก!!!

***มีคุณหมอที่ให้คำปรึกษาฟรี!!!

***มีศูนย์ประจำ 53 จังหวัด

***อาการชามือ,อาการชาเท้า,เส้นเลือดอุดตันหรือตีบตัน,โรคตับ

***โรคข้อบวมอักเสบ,โรคหมอนรองกระดูกทรุด,โรคเก๊าท์,โรคเกี่ยวกับเส้นเอ็น,การกดทับเส้นประสาท

***โรคเบาหวาน,ความดันสูง-ต่ำ,โรคอัมพฤกอันเกิดจากเส้นเลือดอุดตัน,โรคหอบหืด

***โรคเกี่ยวกับเส้นเอ็น,โรคผิวหนังเรื้อนกวาง,สะเก็ดเงินสะเก็ดทอง

***โรคเกี่ยวกับภูมแพ้,โรคไซนัส,ไมเกรน,ความดัน,โรคระบบทางเดินหายใจ,โรคระบบทางเดินอาหาร

***โรคไต ลดอาการบวมน้ำ,โรคกระเพาะ,โรคริดสีดวงทวาร,ต่อมลูกหมากโต

สนใจติดต่อ คุณแอ๋ว 081-7154855

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท