ภาษาอีสาน


กะดิง (น.)

  เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน มีผู้ใช้บริการห้องสมุดมาสอบถามความหมายของคำว่า "กะดิง" ในภาษาอีสาน ดิฉันได้ค้นพจนานุกรมภาษาถิ่นอีสาน ฉบับรวบรวมและเรียบเรียงโดย บุญเกิด และนภาพร พิมพ์วรเมธากุล (๒๕๔๕ หน้า ๒๔) พบความหมายของคำดังกล่าวหลายความหมายด้วยกัน ซึ่งดิฉันได้ตอบคำถามผู้ถามไปเรียบร้อยแล้ว แต่เพื่อให้คนอื่นได้รับความรู้ไปด้วย จึงขอนำมาเผยแพร่เป็นความรู้แก่ผู้สนใจ ดังนี้

กะดิง ๑ (น.) หมายถึง กระดิ่ง ในภาษาภาคกลาง คือ เครื่องทำสัญญาณทำด้วยโลหะ มีรูปคล้ายระฆัง แต่ขนาดเล็กกว่า มีตุ้มเล็ก ๆ อยู่ข้างในเป็นลูกตีทำให้เกิดเสียง

กะดิง ๒ (น.)  ชื่องูชนิดหนึ่ง

กะดิง ๓ (น.)  ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งคล้ายบวบ มีผลคล้ายกะดิง

กะดิง ๔ (น.)  ลมชนิดหนึ่ง เรียก "ลมกะดิง"

กะดิง ๕ (น.) หมายถึง กระดึง ในภาษาภาคกลาง คือ เครื่องโลหะหรือเครื่องไม้มีรูปคล้ายกระดิ่ง มีลูกกระทบแขวนอยู่ภายใน หรือห้อยกระหนาบอยู่ภายนอก ใช้แขวนคอควายและวัวเพื่อให้เกิดเสียงดัง ภาษาถิ่นบางแห่ง เรียก โปง  ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกับกระดึง หรือ กะดิง

กะดิง ๖ (น.)  ชื่อภูเขาสูงลูกหนึ่งอยู่ในจังหวัดเลย เรียก "พูกะดิง" หรือ ที่รู้จักกันในนาม "ภูกระดึง"

    ก่อนจะจากกัน ดิฉันใคร่ขออนุญาตแฟนพันธุ์แท้ของบล็อกนี้ เปลี่ยนชื่อบันทึกนี้ใหม่จาก "อีสานวันละคำ" เป็น "เว่าอีสาน" แทน เนื่องจากดิฉันไม่สามารถจัดการเวลาของตนเองให้มาจัดการบล็อกได้ทุกวัน เนื่องจากภารกิจทางราชการยุคปฏิรูประบบราชการที่รัดตัว ทำให้บันทึกที่กล่าวอ้างว่าเป็น "อีสานวันละคำ" กลายเป็นอีสานเดือนละคำหรือหลายเดือนคำ ดิฉันรู้สึกละอายใจ จึงขออนุญาตเปลี่ยนชื่อบันทึกนี้ใหม่ตามเหตุผลที่กล่าวมา

 

คำสำคัญ (Tags): #เว่าอีสาน
หมายเลขบันทึก: 107063เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2007 18:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ทางบ้านผม ญาติเว่า "ลาว" กัน  แต่ว่ามาจากภาคอีสาน  ไม่รู้ว่าภาษาคล้ายๆ กันหรือเปล่า

จะเว่าลาว หรือเว่าอีสานก็ความหมายเดียวกันค่ะ แต่ที่ไม่พูดเว่าลาว เพราะเกรงคนจะเข้าใจว่าเป็นภาษาลาว ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านค่ะ

นายิกา

คล้ายๆ american english กับ british english อะไรแบบนั้นเปล่าครับ?

 

ภาษาลาวอีสาน กับ ภาษาลาวสปค.ลาว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท