ขนาดดวงอาทิตย์ = ขนาดดวงจันทร์ : บังเอิญ หรือฟ้าลิขิต?


 

เรื่องหนึ่งที่ค้างคาใจหลายคนมานานแล้ว ก็คือ

ขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์กับขนาดปรากฏของดวงจันทร์นั้นพอๆ กัน

คิดอย่างไรกับข้อสังเกตนี้ครับ?


สำหรับผม.... 

มองแง่วิทยาศาสตร์ : นี่ทำให้เรามีสุริยุปราคาแบบเต็มดวงได้...สวยงามจริงๆ

มองในแง่ตำนาน / ความเชื่อ : นี่ทำให้เกิดมี สุริยเทพ และจันทรเทพ หรือไม่?

 

หมายเลขบันทึก: 106983เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2007 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • แปลกจริงด้วยครับ
  • เป็นไปได้ไหมครับ ว่าเกิดจาก synchronization ของ dynamical systems หรือเปล่า

 

เท่ากันยังไงเหรอคะ อ่านแล้วยังงงๆ

(ขอโทษด้วยค่ะ ช่วงนี้สมองเบลอๆ ^^' )

คิดว่าอาจารย์ตั้งโจทย์มาให้ฟุ้งซ่านได้ดีครับ

ผมพยายามดูเรื่อง angular momentum ของดวงจันทร์ และกฏข้อสองของ Kepler แต่สรุปได้ว่าผมเป็นนักดาราศาสตร์ไม่ได้ครับ

สวัสดีครับ อาจารย์ P wwibul
          หากเป็นเรื่องที่ว่า ทำไมดวงจันทร์หันหน้าเดียวเข้าหาโลก ก็อาจจะเป็น synchronization ของ dynamical system ครับ
          แต่กรณีนี้น่าจะเป็น cosmic coincidence ครับ
(แต่เป็น coincidence ที่น่าทึ่งจริงๆ ในความเห็นของผม)
สวัสดีครับ คุณจูน P k-jira
         ดีใจจังที่ได้คุยกันอีก ^__^
         เรื่องขนาดปรากฏ (apparent size) ของดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ที่เท่ากันเป็นอย่างนี้ครับ
         เรารู้ว่าดวงอาทิตย์ใหญ่กว่าโลกมาก ถ้าคิดขนาดเป็นตัวเลข ก็จะพบว่า
          ขนาดของดวงอาทิตย์ = 1.390 x 10^9 เมตร (เครื่องหมาย ^ คือ ยกกำลัง)
          ขนาดของโลก = 1.276 x 10^7 เมตร
           นั่นคือ ดวงอาทิตย์ใหญ่กว่าโลกราว 109 เท่า หรือหากให้ดวงอาทิตย์มีขนาดราวลูกบาสเก็ตบอล โลกก็จะมีขนาดราวหัวเข็มหมุดเท่านั้น
           ส่วนดวงจันทร์นั้นเล็กว่าโลก คือ
           ขนาดของดวงจันทร์ = 3.48 x 10^6 เมตร
           นั่นคือ ดวงจันทร์เล็กกว่าโลกราว 3.67 เท่า
           หากเปรียบขนาด (จริง) ระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ ก็จะพบว่า
           ดวงอาทิตย์ใหญ่กว่าดวงจันทร์ถึง 400 เท่า!

           แต่เนื่องจากดวงอาทิตย์อยู่ไกล และดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมาก ขนาดปรากฏ (apparent size) ของดวงจันทร์จึงดูสูสีกับขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์

            ที่น่าสนใจก็คือ ทำไมขนาดถึงเท่ากัน (โดยประมาณ) เพราะหากดวงจันทร์อยู่ไกลกว่านี้ ก็จะดูเล็กกว่านี้ หรือหากดวงจันทร์อยู่ใกล้กว่านี้ ก็จะดูใหญ่กว่านี้ครับ 


สวัสดีครับ คุณ  P Conductor
          เรื่องนี้มีคนฟุ้งซ่านเหมือนผมเหมือนกันครับ หนึ่งในนั้นคือ คุณประภาส (บิ๊กบอสของ WorkPoint)
          แต่คุณประภาสไปไกลกว่า คือ เอามาเป็นชื่อปกหนังสือเลย!  
          Prapas-book-equal_the_sun

        โดยโปรยข้อความไว้ด้านในว่า

        "ผมรู้สึกว่า...การที่เรามองเห็นดวงจันทร์เท่าดวงอาทิตย์ มันเป็นเรื่องบังเอิญเหมือนไม่บังเอิญอย่างไรก็ไม่รู้"

-----------------------------------------------------------------

         ถ้าจำไม่ผิด มีข้อมูลทางดาราศาสตร์เพิ่มเติมอีกนิดว่า ดวงจันทร์กำลังใกล้โลกเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งหมายความว่า ขนาดปรากฏจะดูใหญ่ขึ้น (หากดวงอาทิตย์มีขนาดคงที่ - แต่วันหนึ่งดวงอาทิตย์ ก็จะใหญ่ขึ้นเช่นกันในช่วงปลายของชีวิต ก่อนเป็นดาวยักษ์แดง)

         ฝากข้อมูลนี้ไว้ เผื่อมีคนชอบคิดผ่านมาอ่านพบเข้า อาจนำไปคิดต่อได้...เผลอๆ อาจจะมีอะไรสนุกๆ โผล่ออกมาก็ได้นะครับ :-)

 

และนั่นก็เป็นคำตอบไงครับ

ถ้าดวงอาทิตย์ใหญ่กว่าดวงจันทร์ 400 เท่า และหากรัศมีวงโคจรของดวงจันทร์น้อยกว่าวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ 400 เท่า ดวงจันทร์ก็จะบังดวงอาทิตย์มิดพอดี

โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ 93 ล้านไมล์ = 1488 ล้าน กม. หากบังมิดพอดี วงโคจรของดวงจันทร์ต้องเท่ากับ 372,000 กม.

จากลิงก์อุปราคา (ย่อหน้าที่สามจากท้าย)

นอกจากนี้ วงโคจรของดวงจันทร์ยังมีรูปร่างที่ค่อนข้างรี คือ ในบางเวลา ดวงจันทร์ก็อยู่ห่างจากโลกแค่ประมาณ 356,000 กิโลเมตร แต่ในบางเวลาก็อยู่ห่างออกไปถึง 405,000 กิโลเมตร ความแตกต่างของระยะห่างนี้เองที่ทำให้เงาของดวงจันทร์ที่ทอดลงบนโลก หรือเงาของโลกที่ทอดลงบนดวงจันทร์มีความแตกต่างกันในแต่ละครั้งที่เกิดอุป ราคา ถ้าดวงจันทร์และโลกอยู่ใกล้กัน เงาที่เกิดขึ้นย่อมมีขนาดใหญ่ และมีเงามืดเป็นบริเวณกว้าง อุปราคาที่เกิดขึ้นจะเป็นอุปราคาแบบเต็มดวง (Total eclipse) ดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์จะถูกบังมิดทั้งดวง ถ้าเรานำวัตถุไปวางไว้ด้านหน้าแหล่งกำเนิดแสง เราจะพบว่า จะเกิดเงาของวัตถุนั้นทอดลงบนฉากที่อยู่อีกด้านหนึ่งของวัตถุ ตรงข้ามกับแหล่งกำเนิดแสง ถ้าแหล่งกำเนิดแสงมีขนาดใหญ่กว่าวัตถุ เงาที่เกิดขึ้นบนฉากจะมีสองส่วน คือ เงามืด และเงามัว ยิ่งฉากอยู่ห่างจากวัตถุมากเท่าไร ขนาดของเงามัวก็จะมากขึ้น ในขณะที่ขนาดของเงามืดจะเล็กลง

ดังนั้น บางทีก็บังมิดพอดี บางทีก็เล็กไป บางทีก็ใหญ่ไป

ว้าว! ยอดเยี่ยมมากครับคุณ  P Conductor

ทำให้ได้มุมมองที่แม่นยำขึ้นไปอีก (แม้อาจจะถามต่อว่า แล้วทำไมต้องบ้งเอิญเป็น 400 โดยประมาณ ทั้งสัดส่วนขนาดและสัดส่วนระยะทางด้วย แต่นั่นดูเหมือนจะอยู่นอกขอบเขตของวิทยาศาสตร์ไป กลายเป็น metaphysics ไปแล้ว)

ผมเลยขอเพิ่มเติมข้อมูลต่อไปนี้ด้วย เพื่อให้ชัดเจนขึ้นไปอีก :

Eclipse-diagram

ที่มา : http://zatmeni-slunce.navajo.cz/

A : สุริยุปราคาแบบเต็มดวง (total solar eclipse)

B : สุริยุปราคาแบบวงแหวน (annular eclipse)

C : สุริยุปราคาแบบบางส่วน (partial eclipse)

-------------------------------------------------------------------

ภาพสุริยุปราคาแบบเต็มดวง ได้ให้ไว้แล้วในตอนเปิดประเด็น

ส่วนนี่เป็นสุริยุปราคาแบบวงแหวน

Annular_eclipse_3-10-2005

ที่มา :  http://sci.esa.int/science-e/www/object/index.cfm?fobjectid=38080

 

ส่วนนี่ก็ สุริยุปราคาแบบบางส่วนครับ

Partial_solar_eclipse

ที่มา : http://www.mreclipse.com/SEreports/PSE2000Jul30/PSE2000-1.JPG

-------------------------------------------------------------------

โดยสรุปแล้ว คุณ  P Conductor มีแววเป็นนักดาราศาสตร์ได้ครับ! ;-)  

(สรุปตรงประเด็นไหมครับเนี่ย) 

มีคนบอกให้ผมเป็นอะไรที่ผมไม่ได้เป็นหลายอย่างแล้วครับ เช่นเป็นนักภาษาศาสตร์ ไปบวช เป็นอาจารย์ เป็นด๊อกเตอร์ เป็นนักเขียน ฯลฯ แต่เรื่องเป็นนักดาราศาสตร์นี่แปลกใหม่จริงๆ ครับ

 

สงสัยผมจะสรุปเกินไปหน่อย ต้องการจะบอกว่าข้อความ 

"....แต่สรุปได้ว่าผมเป็นนักดาราศาสตร์ไม่ได้ครับ"

อาจจะไม่จริงก็ได้ เท่านั้นครับ ;-)

น่าสนใจมากครับ ผมเขียนเรื่องนี้ในบันทึก โลกให้แสงสว่างกับดวงอาทิตย์?  ซึ่งอาจจะเป็นในคนละมุมมองกัน แต่มีความเกี่ยวโยงกันแน่นอน

อัตราส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ต่อโลก = 109 :1

อัตราส่วนขนาดของดวงอาทิตย์ต่อดวงจันทร์ = 400 :1

วงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ต่อวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก = 4000 : 1

สิ่งที่เรากำลังพูดถึงกันนี้ เป็นความเชื่อมโยงกันของ ดวงดาวและตัวเลข ซึ่งคล้ายๆกับความลับของ ตัวเลขและสัญลักษณ์ที่ สหรัฐอเมริกาได้ค้นพบเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมาแล้ว และนำมันมาใช้ใน New World Order นั่นเอง

อีกประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ตั้งแต่มหาภาคและจุลภาค มีความเชื่อมโยงกัน เช่นการโคจรของ อิเล็คตรอน,วาเลนส์อิเล็คตรอนรอบนิวเคลียส กับการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ หรือการหมุนรอบตัวเองของกาเล็คซี่หรือจักรวาล

ซึ่งหากมีข้อมูลเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เราอาจจะเชื่อมโยงให้เห็นภาพที่ชัดเจนได้ยิ่งขึ้น คงต้องฝากประเด็นการขบคิด ให้ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ ขบให้แตกด้วยนะครับ

เราต่างอยู่ภายใต้กฎของธรรมชาติและกฎแห่งการกระทำ ดังนั้นหากรู้การทำงานหรือความลับของกฎบางข้อ เราก็เป็นเหมือนแฮ็คเกอร์ที่ใช้กฏโดยอยู่ภายใต้กฏ หรือจะแหกกฎออกไปสู่ความอิสระได้ตามที่ต้องการ

อิทธิปาฎิหารริย์ miracle ต่างๆที่ปรากฏอยู่ในธรรมชาติ โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา มันคงไม่ต่างอะไรกับการที่เราใช้สูตรโกงเกมส์ที่เรากำลังเล่น ใช้กฏที่ถูกซ่อนอยู่กับกฏอีกต่อหนึ่ง สิ่งที่เหนือธรรมชาติก็เป็นธรรมชาติอีกรูปแบบหนึ่งนั่นเอง

ดังนั้นวิทยาศาสตร์และพุทธสาสตร์คือเรื่องเดียวกัน ประเด็นสำคัญอาจอยู่ที่ว่า เราจะก้าวพ้นกฏนั้นได้หรือไม่ ?

 

 

         

 


มันเป็นการคัดเลือกทางธรรมชาติอย่างหนึ่ง 

ธรรมชาติต้องการแยกแยะคนช่างสังเกตออกจากคนไม่ช่างสังเกต

แต่ไม่รู้มันจะแยกแยะไปทำไม

ทุกวันนี้การคัดเลือกตามธรรมชาติดำเนินไปอย่างเข้มข้น

 

แต่ไม่มีใครรู้แน่ว่าเพื่ออะไร 

 

เห็นพระจันทร์เท่ากับพระอาทิตย์ เพราะหลักการPerspective

วัตถุที่อยู่ไกลออกไปมองดูมีขนาดเล็กกว่าวัตถุที่ไกล้กว่า

บังเอิญจริงๆที่ พระอาทิยต์ใหญ่กว่าพระจันทร์400เท่า เเต่พระจันทร์ก็อยู่ไกล้กว่าโลก400เท่า เช่นกัน

เลยดูมีขนาดพอกัน

ผมคิดว่า ดวงตาของเรา เป็นเครื่องรับแสง ที่มี คุณสมบัติ แตกต่างจาก
สัตว์ที่เล็กกว่า เช่นมด .. ความจริง แล้ว เราก็รู้ว่า พระจันทร์ ดวงอาทิตย์
มันไม่ได้กลมกิ๊กอย่างที่เราเห็นจริงๆ เพราะความสามารถในการมองของคนเรา
มันได้เท่านี้ เค้าไม่ได้สร้างให้ดวงตาสามารถกะเกณฑ์ สิ่งที่มองเห็นได้แม่นยำ
ร้อยเปอร์เซ็น แค่ภาพบนมอนิเตอร์ ในผืนผ้าในกระดาษ ยังหลอกตาเราได้

เรื่องของเลนส์ตาของเรา ต่างหากที่ หลอกให้ทุกอย่าง เป็นอย่างที่เราเห็น
ความเท่ากันพอดีของเงาจันทร์กับดวงอาทิตย์ที่เราเห็น นั้น มันคือ
ระยะที่ห่างเกินไปที่ดวงตาจะสามารถเห็นความเป็นจริงได้
แต่ด้วยขนาดที่ใหญ่และพลังแสงของดวงอาทิตย์ที่ต่อเนื่องตลอดมา
ขนาดที่ใหญ่ระดับดวงดาวหรือดาวเคราะห์ แค่ดวงตาของคนเรา
จะสามารถแยกแยะได้เพียง สองขนาด คือ ขนาดที่ใกล้ กว่า และขนาดที่ไกลกว่า
ใกล้กว่าจะเห็นเท่า ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ไกลกว่า จะเห็น เหมือนแสงระยิบระยับ
เช่นกลุ่มดาวต่างๆ ซึ้งเราเห็นว่ามันมีอยู๋ ขนาดเท่ากัน แต่จริงๆแล้ว
สายตาของเราแยกแยะขนาด และระยะไม่ได้ สิ่งที่เราเห็นว่ามันเท่ากันนั้น
มันจึงไม่ใช่เรื่องสำคัญ มันเป็นเพียง ความสามารถของดวงตาของเราที่มีจำกัด
เท่านั้นเอง สรุปว่าที่มันดูเท่ากัน นั้น เพราะสายตาเรามันยาวไม่พอจะไปวัดขนาดจริงๆของสิ่งใดได้สักอย่าง
สุดท้ายเราต้องใช้การวัดกำหนดและจำจำขนาดไว้ในสมองของเราเท่านั้น
ร่างกายส่วนประกอบอวัยวะของคนเราก็มีขีดจำกัดของตัวมันเอง
ตัวอย่างเช่น ทำมัยแขนเราจึงถอดเฟี้ยงหัวหมาไม่ได้

ผมเชื่อว่า ระบบสุริยะและโลกของเราถูกสร้างมา ถูกโปรแกรมมา จากอะไรก็แล้วแต่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท