การจัดการความรู้ในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช


การจัดการความรู้ การพัฒนาคุณภาพบัณฑิต

เมื่อวันที่ 12-13 มิถุนายน 2550 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ได้จัดโครงการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ หัวข้อการจัดการความรู้สู่การพัฒนาคุณภาพบัณฑิต โดยมีบุคลากรภายในคณะจำนวน 30 คน และบุคลากรจากกองแผนงานจำนวน 10 คน รวม 40 คน ในการจัดการความรู้ครั้งนี้ได้แก่นความรู้ 6 แก่น ได้แก่ ความเป็นกันเอง กระบวนการจัดการการเรียนรู้ การให้คำปรึกษาการปรึกษา บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ กฎระเบียบ และการเสริมทักษะและประสบการณ์ โดยมีรายละเอียดแต่ละแก่น ดังนี้

แก่นที่ 1 ความเป็นกันเอง มีระดับ ประเด็นสำคัญ
1. การเสริมกำลังใจ:  โดยการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี เช่น มีการตกลงในห้องเรียนการตัดเกรด อาจจะตัดเกรดอิงเกณฑ์หรืออิงกลุ่ม หรือจะอิงทั้งเกณฑ์และกลุ่ม
2. ความผูกพัน: โดยนักศึกษามีความผูกพันกับอาจารย์ผู้สอน เช่น ให้คำปรึกษา และช่วยชี้แนะนักศึกษา
3. อาจารย์ดูแลและช่วยเหลือนักศึกษา: ผู้สอนและผู้เรียนมีกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีความสุข
4. อาจารย์ให้โอกาสแก่นักศึกษา: เช่น ถ้านักศึกษาทำงานที่สั่งไม่ได้ก็ให้โอกาสนักศึกษาแก้ตัว ให้โอกาสนักศึกษาได้เรียนกับอาจารย์ที่มีคุณภาพ และเลือกเรียนตามความถนัดของตนเอง
5. ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น: เช่น นักศึกษาขอเลือกผู้สอน และเสนอแนะให้มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา

แก่นที่ 2 กระบวนการจัดการเรียนรู้ มีระดับ ประเด็นสำคัญ
1. การนำสื่ออิเล็คทรอนิกส์และสื่ออย่างง่าย: มาใช้ในการศึกษาค้นคว้า กระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียน การประเมินผลก่อน - หลัง
2. จัดการเรียนการสอนแบบปฏิบัติจริง: ด้วยวิธีการประดิษฐ์เอง ทำ LAB การปฏิบัติภาคสนาม ผู้ช่วยสอน การจัดการเรียนการสอนแบบกลุ่ม
3. ประเมินกระบวนการจัดการเรียนรู้: แบบเดิมก่อนการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงวิธีใหม่
4. ใช้กระบวนการวิจัย
5. พัฒนาหลักสูตร (บุคลากร ,ความต้องการของผู้เรียนและผู้ใช้)

แก่นที่ 3 การให้คำปรึกษา ปรึกษา มีระดับ ประเด็นสำคัญ
1. คำปรึกษาเรื่องส่วนตัว:  เข้าใจปัญหาของนักศึกษา รักษาความลับของนักศึกษา นักศึกษามีเจคคติที่ดีเมื่อได้รับคำปรึกษา ให้ น.ศ.มีความมั่นใจในตนเอง ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง เห็นอกเห็นใจ น.ศ. ใช้หลักทางศาสนาแนะนำ
2. คำปรึกษาเรื่องเรียน:  ให้ น.ศ. ฝึกปฏิบัติจริง , ให้กำลังใจ , เปิดโอกาสให้ปรึกษาได้ตลอดเวลา
3. คำแนะนำทั่วไป: ให้คำปรึกษาแนะนำอย่างต่อเนื่อง , สืบหาสาเหตุจากเพื่อน ๆ
4. คำปรึกษาเรื่องการทำงาน การศึกษาต่อ  แจ้งข่าวการรับสมัครงาน, ให้คำปรึกษา เรื่องการศึกษาต่อ / การทำงาน
5. คำปรึกษาเรื่องโครงงาน:  ให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงงานอย่างต่อเนื่อง

แก่นที่ 4 บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ มีระดับ ประเด็นสำคัญ
1. การแต่งกายที่เหมาะสม:  ให้นักศึกษาแต่งกายให้ถูกกาละเทศะ เช่น ไม่ใส่กางเกงยีนส์ ไม่ใส่กระโปรงสั้นเกินไป ไม่ใส่เสื้อนักศึกษาปล่อยชาย เป็นต้น  ตักเตือน รณรงค์
2. คุณธรรม จริยธรรม จิตสาธารณะ  จัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น จัดกิจกรรมค่ายคุณธรรม จริยธรรมในวัด , กิจกรรมค่ายอาสาพัฒนา , การอบรมพัฒนาคุณลักษณะ
3. กิจกรรมกลุ่ม:  ให้นักศึกษาร่วมทำกิจกรรมกลุ่ม  เช่น การออกค่าอาสาพัฒนา  การให้นักศึกษาทำงานกลุ่มร่วมกัน , งานสโมสรนักศึกษา
4. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์:   จัดเวทีให้นักศึกษามีโอกาสนำเสนอผลงาน จัดกิจกรรมนักศึกษา เช่น การประกวดเฟรชชี่  , การแข่งขันกีฬา , จัดชมรม, การทำโครงงาน
5. กิริยามารยาท:  จัดอบรมมารยาทให้กับนักศึกษา ส่งเสริมและกระตุ้นให้คณาจารย์ใส่ใจดูแลนักศึกษาในเรื่องมารยาท

แก่นที่ 5 กฎ ระเบียบ มีระดับ ประเด็นสำคัญ
1. ระเบียบเข้าชั้นเรียน  เช่น  เช็คชื่อ
2. ระเบียบการตกลงชี้แจงรายวิชา  ในแต่ละภาคเรียน  เช่น  การชี้แจงแผนการสอน , การชี้แจงระเบียบเข้าชั้นเรียน  ,การส่งงานให้สม่ำเสมอ
3. ระเบียบการมีวินัยของนักศึกษา  เช่น  การแต่งกาย ,การปฏิบัติตน
4. ระเบียบการตักเตือนนักศึกษา เช่น  การตักเตือนรายบุคคล, การตักเตือนรายกลุ่ม  , การตรงต่อเวลา
5. ระเบียบหนังสือราชการ ระหว่างหน่วยงานภายนอก กับมหาวิทยาลัย เช่น การออกหนังสือล่วงหน้า   การประกาศขั้นตอนการออกหนังสือราชการให้ทราบ

แก่นที่ 6 การเสริมทักษะและประสบการณ์นักศึกษา มีระดับ ประเด็นสำคัญ
1. ความรู้ทักษะวิชาชีพ  การใช้เทคนิคการสอนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นแบบอย่างให้นักศึกษานำไปใช้ , นำความรู้ภาคทฤษฎีมาสร้างสิ่งประดิษฐ์ , ฝึกเรียนรู้จากประสบการณ์จริง , การแข่งขันทักษะ วิชาชีพ สิ่งประดิษฐ์ ,พัฒนานักศึกษา ค่ายนักศึกษา หรือนำไปเสริมประกอบอาชีพ นำไปประยุกต์ใช้ , ฝึกทักษะจากผู้เชี่ยวชาญ
2. คุณธรรม จริยธรรม เข้าค่ายอบรม / ช่วยอาจารย์ทำงาน, ทัศนะศึกษา, ค่ายจริยธรรม
3. IT จัดอบรมเพิ่มทักษะด้าน IT เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความชำนาญ สามารถสืบค้นความรู้เพิ่มเติม ได้ตลอดชีวิต และนำไปใช้ในวิชาชีพ
4. ภาษาและการสื่อสาร อบรม ,ทดสอบความรู้ด้านภาษา , เรียนรู้ผ่านสื่อ นวัตกรรมใหม่
5. สุขภาพอนามัยและบุคลิกภาพ  การตรวจสุขภาพประจำปี , การส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกาย, การฝึกอบรมบุคลิกภาพ ,การประเมินและปรับปรุงบุคลิกภาพ

 

หมายเลขบันทึก: 106937เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2007 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท